สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มุสลิม,โครงสร้างสังคม,ปัตตานี
Author นิคม สุวรรณรุ่งเรือง
Title ชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจของชุมชนชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
สถาบันวิทยบรรณาการ จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ศูนย์เอกสารประเทศไทย TIC ชั้น 6 Total Pages 341 Year 2531
Source หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาถึงชนชั้นนำและโครงสร้างอำนาจของชุมชนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการใช้ชุมชนตัวอย่าง 2 ชุมชน เปรียบเทียบกัน คือ ชุมชนดาโต๊ะ และชุมชนกรือเซะโดยนำทฤษฏีชนชั้นนำนิยม และทฤษฏีพหุนิยมมาผสมผสานกันในการศึกษา เพื่อหาข้อสรุปว่าชุมชนมุสลิมตัวอย่างทั้ง 2 ชุมชนนี้ ใครเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในชุมชน โครงสร้างการปกครองมีกี่ระดับและสัมพันธ์กันอย่างไร สรุปได้ว่า ชนชั้นนำของชุมชนกรือเซะซึ่งป็นชุมชนที่พัฒนาแล้วชนชั้นนำชุมชนคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งจากทางการ ส่วนชุมชนดาโต๊ะซึ่งเป็นชุมชนกำลังพัฒนาชนชั้นนำคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางศาสนา

Focus

การพยายามค้นหาและอธิบายถึงโครงสร้าง อำนาจการปกครองของชนชั้นนำมุสลิม โดยหาว่าใครเป็นศูนย์กลางอำนาจในการตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ในสังคมมุสลิม ในชุมชนตัวอย่าง 2 ชุมชน คือ ชุมชนกรือเซะ ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่พัฒนาแล้ว กับชุมชนดาโต๊ะที่กำลังพัฒนา (ระดับการพัฒนาวัดตามกชช.2ก ของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ 2526) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างอำนาจที่คล้ายคลึงกัน

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้อาศัยแนวคิดของ C. Wright Mills ซึ่งศึกษาชนชั้นนำในอเมริกาและนักวิชาการคนอื่น ๆ ศึกษาวิเคราะห์สัมพันธภาพทางสังคม สถานภาพทางสังคม ตำแหน่งและความมั่นคงของบุคคล เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างอำนาจที่ผู้มีอำนาจสูงสุดเรียกว่า "ชนชั้นนำแห่งอำนาจ" (หน้า 49) และได้ใช้วิธีการเข้าสำรวจเพื่อแสวงหาคำตอบ โดยพิจารณาตัวแปรด้านต่าง ๆ คือ เพศ อายุ สถานที่เกิด ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน การศึกษา (ทั้งของรัฐและทางศาสนาอิสลาม) รายได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทรัพย์สิน อาชีพ การดำรงตำแหน่งทางการ การดำรงตำแหน่งทางสังคม และการดำรงตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลาม การผ่านโครงการต่างๆ ความสัมพันธ์ทางสายเลือดด้วยบุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการแต่งงานกับผู้นำเก่า ส่วนชนชั้นนำพิจารณาโดยประชาชนในชุมชนที่ศึกษา และพิจารณาจากการมีส่วนร่วมโดยการตัดสินใจ จากการวิเคราะห์ผล การระบุชนชั้นนำของทั้ง 2 ชุมชน พบว่า ในชุมชนดาโต๊ะ ชนชั้นนำระดับสูง คือบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกำนัน โต๊ะอิหม่าม และโต๊ะบอเด็ป ซึ่งมีแบบแผนต่างจากชุมชนกรือเซะ แต่แตกต่างในแง่ที่ว่าเมื่อพิจารณาผู้นำที่สำคัญที่สุด ชุมชนกรือเซะยกให้กับผู้ใหญ่บ้าน แต่ชุมชนดาโต๊ะยกให้กับโต๊ะอิหม่าม เท่ากับว่าระดับการพัฒนาของชุมชนมีอิทธิพลตามความคิดเกี่ยวกับโครงสร้างผู้นำชุมชน

Ethnic Group in the Focus

มุสลิม

Language and Linguistic Affiliations

ทั้งชุมชนดาโต๊ะ และชุมชนกรือเซะ จ.ปัตตานีเป็นชุมชนที่ประชาชนใช้ คือ ภาษายาวี (มลายูท้องถิ่น) โดยทั่วไปแล้วจะไม่นิยมพูดภาษาไทย ประชาชนที่สามารถพูด-เขียน ภาษาไทยได้ดีมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (หน้า 334)

Study Period (Data Collection)

ศึกษาชุมชนกรือเซะ 4 ม.ค.-18 ก.พ.2530 ศึกษาชุมชนดาโต๊ะ12 ก.พ.-10 เม.ย.2530 เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม หายหลังเมษายน ประชาชนจะย้ายถิ่นไปใช้แรงงานในจังหวัดใกล้เคียง และที่ประเทศมาเลเซีย (หน้า 8)

History of the Group and Community

ชุมชนดาโต๊ะ เป็นชุมชนที่ได้รับอิทธิพลทางศาสนาอิสลามในสมัยอาณาจักรปัตตานีเรืองอำนาจ และมีระยะทางที่ใกล้กันรวมทั้งเป็นเมืองร่วมประวัติศาสตร์กัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ มัสยิสเก่าประจำหมู่บ้าน สุสานโต๊ะมันยัง ชุมชนนี้น่าจะเกิดร่วมสมัยกับอาณาจักรปัตตานี นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์ ทำให้ทราบว่าหมู่บ้านดาโต๊ะเคยเป็นสถานที่ที่เจ้าเมืองปัตตานีเคยประพาสและเสด็จออกล่าสัตว์เป็นประจำ หลักฐานทางเอกสาร เช่น ตำนานเมืองปัตตานีก็กล่าวถึงสุสานโต๊ะมันยัง ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์สมัยรายาบีรู แห่งราชวงศ์รายาปัตตานี (ค.ศ.1616-1624) บริเวณใกล้เคียงก็ยังมีสุสานของเจ้าเมืองปัตตานีสมัยโบราณหลายพระองค์ และมีมัสยิดเก่าแก่ ทำให้กำหนดอายุชุมชนได้ไม่ต่ำกว่า 200 ปีมาแล้ว ชุมชนกรือเซะมีหลักฐานชื่อปรากฏในประวิติศาสตร์การสร้างเมืองปัตตานี และราชวงศ์ปัตตานี โดยอิพรอฮิม ชุกรีได้กล่าวถึง และบ่งชี้ถึงอายุได้ราว ค.ศ.1400-1500 (หน้า 320-321, 331-332)

Settlement Pattern

รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนดาโต๊ะ จะมีลักษณะกระจุกตัวแบบหมู่บ้านชาวประมงคือจะอยู่บริเวณที่ติดกับชายฝั่งทะเลมากที่สุดและค่อยๆ ลดความหนาแน่นในบริเวณที่อยู่ไกลฝั่งออกไป ทางเดินในชุมชนเป็นซอยแคบๆ ระหว่างบ้าน อาคารบ้านเรือนไร้ระเบียบ หลังคาบ้านแต่ละหลังจะเกยกับบ้านข้างเคียง นอกจากนี้ อีกจุดที่มีการกระจุกตัวหนาแน่นก็คือบริเวณรอบมัสยิสซึ่งอยู่ตอนกลางของชุมชน รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนกรือเซะ จะเป็นแบบกระจุกตัวตามแนวถนนในชุมชนมีถนนหลัก 2 สาย มีบ้านเรือนตลอดแนว และหนาแน่นอยู่ 3 บริเวณ คือ 1.บริเวณตอนกลางชุมชน เป็นศูนย์กลางการค้าขายพบปะของประชาชนมีร้านค้าสำคัญถึง 4 ร้าน 2.บริเวณท้ายหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบริเวณลำคลองกรือเซะ และแนวถนนสายหนึ่ง จะมีการปลูกบ้านเรือนไร้ระเบียบมีความหนาแน่นสูง ประชาชนส่วนมากมีอาชีพประมง 3.บริเวณรอบมัสยิสประจำหมู่บ้าน ความหนาแน่นจะเบาบางลงเมื่อห่างออกไป (หน้า 321, 332)

Demography

ชุมชนดาโต๊ะ เป็นชุมชนขนาดเล็ก เป็นครอบครัวขยายในอาณาเขต 2 ตารางกิโลเมตร มีครัวเรือน 216 ครอบครัว ประชากรจำนวน 1,467 คน ชาย 713 คน หญิง 753 คน ประชากรในครอบครัวของชุมชนดาโต๊ะเฉลี่ยครอบครัวละ 5.2 คน ชุมชนกรือเซะเป็นครอบครัวขยายในพื้นที่ 1.5 ตารางกิโลเมตร มีครอบครัวทั้งสิ้น 223 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 1,466 คน ชาย 719 คน หญิง 747 คน อัตราเฉลี่ยของประชากร 6.5 คน /ครัวเรือน (หน้า 319, 330)

Economy

ชุมชนดาโต๊ะ กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีความผูกพันกับการประมงเป็นหลัก แต่มีฐานะยากจน รายได้ต่อครอบครัว 18,000 บาท/ปี เนื่องจากเครื่องมือมีขนาดเล็กมีคุณภาพน้อย ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ลดลง จำนวนผู้ประกอบอาชีพมากขึ้นทำให้จับสัตว์น้ำได้น้อยลง บางวันหากมีเหลือก็ต้องจำหน่ายให้พ่อค้าคนกลางในราคาที่ต่ำ จึงทำให้เกิดอาชีพอื่นเป็นอาชีพเสริมด้วย โดยแยกตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1.อาชีพประมง เป็นอาชีพหลักของชุมชน 97เปอร์เซ็นจะยึดอาชีพนี้เป็นหลัก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวยและเป็นอาชีพที่ปฏิบัติสืบต่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เครื่องมือที่ใช้เป็นเรือขนาดเล็ก เช่นเรือกอและหรือเรือกูรู แหล่งประมงคือ อ่าวปัตตานีและอ่าวไทย สัตว์น้ำที่จับได้คือ ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล ปริมาณสัตว์ที่จับได้ขึ้นกับ ฤดูกาล น้ำขึ้น - ลง และสีของน้ำ อุปกรณ์จับปลา คือ เบ็ดราว อวน อวนลอย ราคาเฉลี่ยสัตว์น้ำ คือ ปลา 20-30 บาท/กก. กุ้ง 50-60 บาท/กก. ปู 15-20 บาท/กก. แมงดาทะเลไข่ 65-80/กก. ผู้มีอาชีพประมงมีรายได้เฉลี่ย 100-200 บาท/เรือหนึ่งลำ/วัน แต่ละปีออกทะเลได้ 7-8 เดือนเท่านั้น ช่วงมรสุมจะซ่อมแซมเรือ เครื่องมือ หรือรับจ้างกรีดยางที่มาเลเซีย 2. อาชีพทำข้าวเกรียบปลา การทำข้าวเกรียบในชุมชนมี 2 ประเภท เป็นผู้ผลิตเองกับเป็นผู้รับจ้างจากนายทุน โดยผู้รับจ้างได้ค่าจ้างวันละ 80 บาท ส่วนผู้ผลิตเองจะขายแก่พ่อค้าคนกลาง หรือร้านค้าตัวแทนในจังหวัดต่อไป การทำข้าวเกรียบใช้แรงงานในครัวเรือน โดยมีแม่บ้านเป็นแรงหลัก เด็กและผู้ชายจะช่วยหลังจากว่างทำการประมงแล้ว ส่วนผสมมีปลาและแป้งมัน 80 เปอร์เซ็นของปลาส่งมาจากภายนอกชุมชน สาเหตุมาจากปลาที่จับในชุมชนไม่เพียงพอ และปริมาณไม่แน่นอน การจำหน่ายมีทั้งชนิดแห้งและทอดแล้ว ชนิดแรกจำนวน 1,000 แผ่น ราคา 50 บาท ส่วนทอดแล้วราคา ร้อยละ 35 บาท 3.อาชีพเลี้ยงปลาดุก เนื่องจากการจับสัตว์น้ำได้น้อยลงและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้คำแนะนำอย่างจริงจัง โดยการขุดบ่อบริเวณรอบสวนมะพร้าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พอมีน้ำ จากนั้นนำพันธุ์ปลามาใส่ ให้อาหารตามเวลา ใช้เวลา 7-8 เดือนจึงจับได้ รายได้ต่อบ่อ 3,000-3,500 บาท นับว่าเป็นอาชีพรองที่ทำรายได้ดีพอสมควร 4.อาชีพค้าขาย ร้านค้าในชุมชนจะเป็นร้านขายของที่ถนัดในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปจะใช้ห้องชั้นล่างของบ้านจัดวางสินค้า ในชุมชนมีร้านค้าสหกรณ์ใหญ่อยู่หนึ่งแห่ง มีสมาชิกร่วมหุ้น 143 หุ้น นอกจากร้านค้าประเภทดังกล่าวยังมีร้านขายอาหารสด ร้านอาหาร และร้านกาแฟ 3 ร้าน เป็นสถานที่นัดพบในชุมชนโดยเฉพาะร้านกำนัน 5.อาชีพรับจ้าง นิยมทำกันหลังทำการประมงหรือช่วงมรสุม การรับจ้างในชุมชนคือรับจ้างทำข้าวเกรียบปลาที่นายทุนนำมาว่าจ้าง และการรับจ้างนอกชุมชนเช่นการรับจ้างไปใช้แรงงานในประเทศมาเลเซีย หรือในตัวจังหวัด ผู้ใช้แรงงานจะเป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นส่วนมาก ไปช่วงเวลาราว 2-3 เดือน และจะกลับในช่วงเดือนรอมฎอน 6.อาชีพทำสวนมะพร้าว มักนิยมทำบ่อปลาดุกควบคู่ไปด้วย สวนมะพร้าวมีจำนวน 10 ครัวเรือน เฉลี่ยครัวเรือนละ 2 ไร่ รายได้เฉลี่ย 1,000 บาทต่อปี 7.อาชีพต่อเรือ จะต่อเรือเพื่อใช้เองในชุมชน มีครอบครัวที่ต่อเรือ 3 ครอบครัวที่ต่อเรือจำหน่ายบุคคลภายนอก ชุมชนกรือเซะตั้งอยู่ในจุดที่สภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการเกษตรกรรม ลักษณะอาชีพจึงเป็นไปในลักษณะการใช้แรงงานบริการในเมืองเป็นส่วนใหญ่ บางครอบครัวมีที่ดินอยู่นอกชุมชนก็ทำสวนมะพร้าว อนึ่งการมีฝั่งคลองกรือเซะที่สามารถออกทะเลได้ จึงมีบางส่วนที่ยึดอาชีพประมง อาชีพในชุมชนนี้จึงมีแต่ความหลากหลาย แต่ที่เด่นมีดังนี้คือ 1.อาชีพค้าขาย ร้านค้าในชุมชนมักจะขายปลีกของใช้ในชีวิตประจำวัน เครื่องใช้ตกแต่งบ้าน เครื่องประกอบการตามฤดูกาล ร้านขายของบริโภค ร้านประเภทนี้มี 8 ครัวเรือน นอกจากนี้ก็มีร้านอาหารสด ร้านกาแฟอีกประมาณ 8 ร้าน มีร้านขนมเพราะเป็นแหล่งที่ทำขนมเป็นสินค้าออกชุมชน นอกจากนี้ ก็ยังขายของตามตลาดนัดในจังหวัด และตลาดนัดที่ประชาชนหรือราชการจัด สินค้าที่จำหน่ายคือเสื้อมือสองจากสิงคโปร์ ขนมหวาน ผลิตผลทางเกษตร ปลาสด สำหรับเสื้อมือสองชุมชนนี้เป็นศูนย์กลางการซื้อขายทั้งปลีกและส่ง ทำรายได้ให้ผู้ประกอบการปีละหลายล้านบาท 2.อาชีพประมง ประชาชนตามริมคลองกรือเซะทำประมงประมาณ 50 กว่าครัวเรือนทั้งหมดเป็นชุมชนขนาดเล็กบริเวณที่ทำคืออ่าวปัตตานี เครื่องมือที่ใช้มีขนาดเล็ก เรือกูรูขนาดเล็ก สัตว์ที่จับมีปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่จับได้ไม่เพียงพอในชุมชนจึงไม่เหลือพอขายชุมชนภายนอก ชาวประมงชุมชนกรือเซะมีความยากจนมาก บางครั้งฤดูมรสุมต้องไปรับจ้างที่ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย 3. อาชีพรับจ้าง ส่วนมากใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมตัวจังหวัด โดยเฉพาะกิจการห้องเย็นที่แพปลา ตัวจังหวัดปัตตานี และโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ตัวจังหวัด บางคนเป็นกรรมกรในจังหวัด ขับรถรับจ้างหรือถีบสามล้อ อาชีพนี้มักทำตอนเช้า กลับตอนเย็น เพราะเดินทางใช้เวลาแค่ 15-20 นาที่เท่านั้น ในชุมชนการรับจ้างเป็นแรงงานสตรีเสียส่วนมาก รับจ้างโรงงานทำขนนหวานบางบ้านที่ส่งขายตัวจังหวัด ในชุมชนมีการย้ายถิ่นไปใช้แรงงานภาคเกตรกรรมเช่นรับจ้างตัดยางพารา ทำประมง ในรัฐกลันตัน ตรังกานู และรัฐใกล้เคียงในมาเลเซีย ราว 2-3 เดือนแล้วกลับไม่ได้ย้ายครอบครัว 4. อาชีพทำขนมและของหวาน มักทำโดยใช้แรงงานในครอบครัวและเป็นอาชีพรองของหลายบ้าน มีประมาณ 7 แห่ง ส่งขายในตัวจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง 5. อาชีพเลี้ยงนกเขาชวาเป็นอาชีพรองที่ทำรายได้ปีละมากๆ นิยมเลี้ยงในหมู่คนจำนวนน้อย เพราะต้องใช้ทักษะและการเอาใจใส่ อาชีพอื่น ๆ ในชุมชนแต่มีจำนวนน้อย เช่น รับราชการ ทำนาเกลือ ทำข้าวเกรียบปลา ซ่อมเครื่องไฟฟ้า ปลูกผัก เป็นต้น (หน้า 322-323, 336-337)

Social Organization

ทั้ง 2 ชุมชนมีโครงสร้างทางสังคมในลักษณะเดียวกัน คือ จะแบ่งเป็นชนชั้นผู้นำและประชาชน ซึ่งชนชั้นนำนั้นจะมีคุณสมบัติสำคัญคือ การดำรงตำแหน่งจากทางราชการ และการดำรงตำแหน่งทางศาสนา นอกจากนั้นก็มีคุณสมบัติรองมาอีกเช่น ฐานะ อายุ การศึกษา การดำรงตำแหน่งทางสังคม ฯลฯ เป็นต้น โดยชนชั้นนำจะเป็นกลุ่มที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม รวมทั้งการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม (18)

Political Organization

โครงสร้างการปกครองทั้ง 2 ชุมชนนี้มีศาสนาอิสลามเป็นหลัก ซึ่งศาสนาเน้นกำหนดความเชื่อ และการปฎิบัติ เกือบทุกแง่มุม ดังนั้นบทบัญญัติของศาสนาจึงเป็นธรรมนูญของชีวิต อำนาจการปกครอง จึงตกอยู่ที่ผู้นำชุมชนซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับศาสนาเป็นอย่างดี และแตกฉานในคัมภีร์อัลกุราอาน ดังนั้นผู้นำทางศาสนาจึงคล้ายกับเป็นผู้นำชุมชนด้วย (หน้า 1, 3) แต่มีผู้นำที่เป็นทางการซึ่งแต่งตั้งโดยรัฐไทยด้วย เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

Belief System

ศาสนาอิสลาม เป็นทั้งตัวกำหนดความเชื่อ และพฤติกรรมของคนในสังคม โดยมีคัมภีร์อัลภกุรอานเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันก็สืบทอดขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันอย่างเหนียวแน่น

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียดชัดเจน

Health and Medicine

ชุมชนดาโต๊ะเป็นศูนย์กลางตำบลในการให้บริการสาธารณสุข เป็นที่ตั้งของสถานีอนามัย ประชาชนได้รับการบริการชั้นดี ชุมชนกรือเซะได้รับการดูแลพิเศษจากยูนิเซฟ เพื่อป้องกันไข้มาเลเลีย ปัจจุบันได้ถอนตัวออกไปแล้ว แต่ได้มีการสาธารณสุขที่ดี มีสถานีอนามัย และยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้วย (327-339)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เป็นชุมชนไทยมุสลิมเชื้อสายมาลายู ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชาวมาเลเซียบ้าง เช่น อาจไปรับจ้างกรีดยางที่มาเลเซีย ส่วนชุมชน กรือเซะ ก็มีความสัมพันธ์กับชาวสิงคโปร์ด้วย คือมีการรับเสื้อผ้ามือสองจากสิงคโปร์มาจำหน่าย

Social Cultural and Identity Change

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนดาโต๊ะ และชุมชนกรือเซะนั้นแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ เป็นชุมชนที่ปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามและยึดถือแบบอย่างประเพณีการปฎิบัติตามบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด เพียงแต่ลักษณะของชุมชนกรือเซะจะเปลี่ยนแปลงไปในทางสังคมเมืองมากกว่าชุมชนดาโต๊ะ ที่จะมีอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้สังคมเมืองมากกว่าชุมชนดาโต๊ะที่เป็นชุมชนชายฝั่งทะเล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง Date of Report 06 พ.ย. 2555
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มุสลิม, โครงสร้างสังคม, ปัตตานี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง