สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยวน คนเมือง ไทยวน, วัฒนธรรม , ประเพณี, ภาษา , นครราชสีมา
Author ลัดดา ปานุทัย, ละอองทอง อัมรินทร์รัตน์ และ สนอง โกศัย
Title วัฒนธรรมพื้นบ้านยวนสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 108 Year 2526
Source สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นภาพรวมวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยเชื้อสายยวน (โยนก) ซึ่งอพยพมาจากเชียงแสน มายังเชียงใหม่ สระบุรี ราชบุรี บางส่วนอพยพมายังสีคิ้ว ทำให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมพื้นบ้าน ประเพณีท้องถิ่น ศิลปะพื้นบ้าน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่มีประเพณีเหมือนคนไทยทั่วไป แต่คงมีเอกลักษณ์ของยวน (โยนก) ตรงที่พูดภาษาเหนือ มีประเพณีความเชื่อเรื่องผีและวิญญาณ มีการละเล่นในประเพณีสงกรานต์ เรียกว่า "ลำเดือนห้า" และลักษณะการแต่งกายที่มีลักษณะเฉพาะตัวของยวนโยนก (หน้าบทคัดย่อ)

Focus

ศึกษาประเพณีและการละเล่นของยวนสีคิ้ว นครราชสีมา (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนยวนสีคิ้วเรียกตัวเองว่า "ยวน" คำว่าคนเมืองไม่ได้เป็นคำที่แยกประเภทคนไทยว่าเป็นคนเมืองเหนือหรือคนเมืองใต้ แต่คนเมืองเป็นคำที่มีความหมายโดยเฉพาะหมายถึงคนที่มีบ้านเป็นหลักแหล่ง เป็นถิ่นฐาน มีที่ทำมาหากิน และเป็นการเรียกเพื่อแบ่งแยกระหว่าง "คนเมือง" กับ "คนม่าน" หรือพม่า (หน้า 10) จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า ความเป็นมาของชื่อคนเมือง เป็นการเรียกชื่อเพื่อยืนยันตนเองว่าเป็นชาวเมืองไม่ใช่ชาวป่า อีกทางหนึ่ง กล่าวว่าเกิดขึ้นในสมัยพม่าปกครองล้านนา คนไทยภาคเหนือเรียกคนพม่าว่า "คนม่าน" เพื่อแยกตัวเองว่าไม่ใช่คนม่าน (หน้า 11) พม่าจะเรียกคนยวนว่า ซาน หรือ "ซานยูน" หรือ ชาน คือ ไตนั่นเอง คำว่า "ยูน" ถอดตามตัวอักษรเป็น "ยวนะ" หมายถึงยวน หรือ โยน หรือ โยนก นั่นคือ ซานยูน ก็คือไทยยวน หรือ ไตโยน (หน้า 11) คนยวนสีคิ้วเรียกตนเองว่า ยวน ไม่เรียกว่า คนเมือง เพราะคำว่า คนเมือง เป็นคำที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังจากกลุ่มคนยวนสีคิ้ว (และยวนเสาไห้) อพยพลงมาอยู่ทางใต้แล้ว จึงไม่ใช้คำว่าคนเมือง (หน้า 12)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษายวน หรือที่เรียกว่า "ฟู่พื้นบ้าน" (หน้า 50) มีภาษาดั้งเดิมคือภาษาเหนือ มีการใช้คำเหมือนภาคกลาง แต่มีความแตกต่างเฉพาะสำเนียง เสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์เล็กน้อย เช่นเดียวกับภาษาเหนือ (เชียงใหม่) ต่างจากภาษากลาง (กรุงเทพฯ) เช่น /ก/ เป็น /ค/ /ท/ เป็น /ต/ /ช/ เป็น /จ/ ฯลฯ (หน้า 66) คนยวนสีคิ้วสามารถพูดได้หลายภาษา ทั้งภาษาภาคกลาง (กรุงเทพฯ) ภาษาอีสาน (โคราช-ชัยภูมิ) ภาษาโคราช (ภาษาถิ่นโคราช) (หน้า 67)

Study Period (Data Collection)

มกราคม พ.ศ. 2526 - ธันวาคม พ.ศ. 2527

History of the Group and Community

ยวนสีคิ้วอพยพมา 2 ทาง พวกแรกอพยพมาจากทางเหนือ มาอยู่ที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ต่อมาเจ้าเมืองสระบุรีแบ่งครอบครัวยวนมาอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว เพราะต้องการตั้งกองเลี้ยงโคขึ้นในท้องที่เมืองนครจันทึก จึงแบ่งครอบครัวยวนเสาไห้ สระบุรีมาอยู่ที่อำเภอสีคิ้ว นครราชสีมา ส่วนอีกพวกหนึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์ ในช่วงรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ยกทัพมายึดทัพเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไทยจึงต้องขับไล่เจ้าอนุวงศ์ไปถึงเวียงจันทน์ ตอนยกทัพกลับได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์ และคนยวนกลับมาด้วยจำนวนมาก กลุ่มยวนที่มาทีหลังจึงมาสมทบกับยวนกลุ่มแรกที่สีคิ้ว ต่อมาประชากรเพิ่มขึ้น จึงขยายที่ทำมาหากินมาถึงแถบบ้านโนนกุ่ม บ้านถนนคต บ้านน้ำเมา บ้านโนนทอง บ้านโนนแต้ และบ้านไก่เซา ส่วนยวนบ้านเสาไห้ เริ่มอพยพมาตั้งบ้านเรือนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งข้อมูลอีกด้านเล่าว่า ชาวสีคิ้วเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากอำเภอเสาไห้ เมื่อประมาณ 100 ปี เพื่อต้องการหาที่ดินทำกินใหม่ (หน้า 16-17)

Settlement Pattern

รูปทรงบ้านสีคิ้วคล้ายบ้านเรือนทางภาคเหนือ เป็นเรือนเครื่องสับชั้นเดียว ใต้ถุนสูงประมาณ 5-6 ศอก แปลนบ้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาแฝดสองหรือสามหลัง รูปหน้าจั่วแหลม ทรงมะลิลา มีปั้นลมยอดเล็กแหลม เรียกว่ากาแล หลังคามุงกระเบื้องหน้าวัว กระเบื้องดินเผา สังกะสี และหญ้า หลังคา นิยมสร้างหลังคาปกคลุมชานและบันได ตัวเสาเรือนไม่เอียงสอบเข้าเหมือนบ้านทรงไทย ชานเรือนอยู่ทางด้านตัวเรือนหรืออยู่ที่ฝั่งหัวเรือนและท้ายเรือน บริเวณทำครัวอาจปลูกไว้ต่างหากหรือมีการกั้นห้องไว้ต่างหาก พื้นเรือนปูยกระดับลดหลั่นกับชานเรือน ส่วนฝาบ้านเป็นฝาเพี้ยม ฝาปะกบ มีหน้าต่างไม่มาก และเป็นหน้าต่างบานเล็ก ส่วนประตูบ้านจะมีรูปเคารพบูชา (หน้า 133, 137)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ยวนสีคิ้วมีประเพณีตามเทศกาลต่าง ๆ ดังนี้ 1) ประเพณีสงกานต์ เริ่มวันที่ 12-15 เมษายน เป็นประเพณีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตรและฟังเทศน์ บ่ายสรงน้ำพระ ขนทรายเข้าวัดและเล่นสาดน้ำกัน ทุกคืนมีการละเล่น ลำเดือนห้า หมายถึงกลอนผะหยา เป็นผะหยาสั้นๆ เรียกว่าผะหยายอย มีแคนเป็นเครื่องดนตรีประกอบผู้เล่นผู้ร้อง จะฟ้อนตามจังหวะแคนและเดินเป็นวง เป็นคู่หญิงชาย 2) ประเพณีสารท มีการจัดสิ่งของเหมือนตานก๋วยสลาก แต่มีชื่อเรียกว่าก๋วยตื้น (ก๋วยตีน) ใส่ของถวายพระแบบสลากภัตร จะมีการนำอาหาร ขนมและกระยาสารทไปถวายพระในตอนเช้า หลังฉันเพล จะนำต้น "ก๋วยตี๋น" มาถวายพระโดยตั้งรวมกันไว้ ปัจจุบันไม่ค่อยมีคนทำก๋วยตี๋น แต่ทำเป็นต้นไม้ดอกแทน ซึ่งประดับด้วย ธนบัตร บุหรี่ ไม้ขีด เทียน แฟ๊บ สบู่ ฯลฯ ตอนถวายพระจะใช้วิธีจับสลากชื่อพระ แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้อง 3) ประเพณีแต่งงาน เจ้าบ่าวจะยกขันหมากมาบ้านเจ้าสาว ขันหมากจะมีบายศรี ทำด้วยใบตอง แต่ใส่พานหรือโตก ในกระทงบายศรีจะใส่ข้าวต้มมัด กล้วย ไข่ขวัญ หมอจะมาทำพิธีเรียกขวัญ หลังจากนั้นผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะเข้ามาผูกข้อมือบ่าวสาวพร้อมให้ศีลให้พร พอเสร็จเจ้าสาวจะจูงเจ้าบ่าวเข้าห้องพอเป็นพิธี ต่อมาเจ้าสาวจะมาทำเครื่องสมา (เครื่องไหว้) มาสมาพ่อแม่ฝ่ายชาย ซึ่งเป็นผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ที่นอน หมอน หลังจากเสร็จพิธีทั้งหมดแล้ว จะมีพิธีเซ่นไหว้ปู่ย่าตายาย บอกกล่าวให้ทราบ 4) ประเพณีทำบุญงานศพ แบ่งเป็นการตายเพราะสิ้นอายุขัย กับการตายผิดธรรมชาติ จะมีการบอกหนทาง คือบอกให้ระลึกถึงพระคุณรัตนตรัย การเฝ้าศพ คือการอยู่ยามตามไฟ เอาผ้าคลุมศพ และระวังไม่ให้แมวดำกระโดดข้ามศพ บางครั้งต้องกางมุ้งให้ด้วย การอาบน้ำศพ ใช้สำหรับการตายปกติ ถือเป็นการทำความสะอาดและชำระบาป เสร็จและจะตกแต่งร่างกาย สวมเสื้อผ้าให้ด้วย บางแห่งมีรดน้ำศพ เงินใส่ปากศพ ใช้เหรียญบาทใส่ปากศพ ถ้าเป็นคนเคยกินหมาก ก็จะเอาหมากใส่ไปด้วย นอกจากนี้มีการมัดตราสังข์ และลงเก็บในโรงไม้ เพื่อนำมาตั้งศพก่อนเผา การตามไฟหน้าศพ พระสวด และคฤหัสถ์สวด และมีการบวชชี - พราหมณ์ (ไม่โกนผม) หรือบวชหน้าศพอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย ในงานศพอาจมีการละเล่นลำแคน ว่าผะหยายอย ที่เรียกว่าลำเดือนห้า แบบเดียวกับที่เล่นในวันสงกรานต์ 5) ความเชื่อเรื่องผี มีความเชื่อเรื่องผีปู่ย่าตายาย จะสามารถบันดาลให้ลูกหลานเจริญรุ่งเรือง จึงต้องมีการเลี้ยงผีปู่ย่า โดยมีเครื่องเซ่น หัวหมู ไก่ เหล้า และไข่ต้มคู่ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องเจ้าพ่อพระยาสี่เขี้ยว ซึ่งมีอยู่หลายแห่งในหมู่บ้าน การเซ่นไหว้บวงสรวงจะทำทุกเดือนหก ขึ้นหกค่ำเพื่อคุ้มครองบ้านเมืองให้สงบสุข มีคนทรงเป็นผู้เชิญวิญญาณ บริเวณที่ทำพิธีกรรม จะเลี้ยงกันที่ศาลในหมู่บ้าน เครื่องเซ่นไหว้ประกอบด้วย กระทงบายศรี ขนมต้ม กล้วย หัวหมู เหล้า 2 ขวด ไก่ 2 ตัว นำไปวางไว้ที่หิ้ง เสร็จแล้วมีการเล่นรำโทนเชิญเจ้าพ่อมาเล่นสนุกสนานร่วมกับชาวบ้าน และมีลิเกเล่นจนถึงตีสาม เจ้าพระยาสี่เขี้ยวเกี่ยวข้องกับการแฮกนา เพราะมีพิธีเลี้ยงผีในเดือนหก ขึ้นหกค่ำ มีความเชื่อเกี่ยวกับความฝันและวิญญาณ เช่น ฝันว่าไฟไหม้ ฟันหัก จะโชคร้าย ความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อีแร้งจับหลังคา เชื่อว่าจะมีเคราะห์ นกแสกร้อง เชื่อว่าจะมีเด็กเกิด (หน้า 89-96)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

มีความเชื่อเกี่ยวกับยากลางบ้าน และคาถารักษาโรค เช่น ตะขาบต่อย ให้เอาเครือนักคะราดฝนใส่น้ำมะนาวปิดตรงที่ถูกต่อย ถ้าเป็นลมพิษ เป็นคางทูม ให้ใช้คาถาเป่า (หน้า 96)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ได้มีการศึกษาจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง เห็นได้ว่าคนยวน (โยนก) นุ่งซิ่นลายขวาง ใส่เสื้อแขนกระบอก มีผ้าสไบหรือห้อยคอ ผู้หญิงไว้ทรงผมมวย ผู้ชายนุ่งผ้าโจงกระเบนสั้น แบบหยักรั้ง มีผ้าขาวม้าคาดพุง ไม่ได้ใส่เสื้อ เครื่องประดับใส่สายสร้อยและกำไรข้อมือหลายเส้น ขึ้นมาถึงครึ่งแขน นิยมใส่ทองและนาค (หน้าที่ 20) ลายผ้าสีคิ้ว มีการทอผ้าฝ้าย โดยทำเป็นผ้าซิ่น ผ้าห่อเสื่อ ผ้าคลุมศรีษะนาค ปัจจุบันเริ่มทอผ้าฝ้ายสีพื้น และลายจำหน่ายในหมู่บ้าน ลายผ้าซิ่นของยวนสีคิ้วมีลักษณะเป็นลายสอดสีต่าง ๆ สีพื้นนิยมสีน้ำเงินหรือสีดำ สีน้ำตาลและสีเขียวเข้ม ส่วนลายขวางอาจมี 2 - 3 สี มีด้ายเกลียวสอดเป็นระยะ เรียกว่า ไก เป็นด้ายเกลียวที่ปั่นควบกันเป็นสองสี เช่น ขาวกับดำ ที่หัวผ้าตรงชายพกต้องต่อด้วยผ้าดิบสีแดง กว้างประมาณ 1 คืบ ส่วนผ้าห่มมุก ผ้าห่อเสื่อเป็นผ้าคลุมไหล่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร เป็นการเอาผ้ามาต่อกัน ลายผ้าห่มมุกเป็นพื้นสีแดง ดำ ด้ายยืนเป็นพื้นสีแดง ด้ายพุ่งเป็นสีดำ มีดอกกลมเป็นจุดตรงกลางตาสี่เหลี่ยมเล็กๆ ดูเหมือนมุก ส่วนลายผ้าห่อเสื่อเป็นลายขัดกันด้ายสีขาวทั้งด้ายยืนและด้ายพุ่ง เชิงของผ้าห่มมุกและผ้าห่อเสื่อมีลายหลักตอนกลาง มีลายเล็กเป็นบริวารทั้งสองข้าง ส่วนเชิงผ้าจะมีลายริ้วสวยงาม ชื่อลายผ้าห่อมุกและผ้าห่มเสื่อที่ปรากฏปัจจุบันมีดังนี้ ลายก้านก้อม, ลายฟันปลา, ลายมะลิเลื้อย, ลายจี่ดอกเปา, ลายงูค้าเส้า, ลายดอกจัน, ลายช้าง, ลายม้า, ลายหงส์, ลายกุดน้อยหรือกุดย้อย (หน้า 168-172)

Folklore

การละเล่นพื้นบ้านของยวนสีคิ้ว จะเล่นกันในวันสงกรานต์ เรียกว่า "ลำเดือนห้า" ประกอบด้วยการลำกลอนผะหยา การเป่าแคน และการฟ้อนตามจังหวะแคน จึงมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผะหยายอย และลำแคน คำร้องหรือกลอนมีลักษณะคล้ายระหว่าง "คำเครือ" ของภาคเหนือ กับ ""ผะหยายอย" ของภาคอีสาน เนื้อเพลงเป็นการเกี้ยวพาราสี ว่าตอบโต้กัน ไม่นิยมคำหยาบหรือคำด่า จะเป็นการตอบโต้ด้วยคำพูดไพเราะอ่อนหวาน ลักษณะลายแคน เป็นการเป่าให้จังหวะฟ้อนรำ และจังหวะว่ากลอน การเป่าจึงมีลักษณะเป็นจังหวะมากกว่าทำนอง ลักษณะการฟ้อน แตกต่างจากการเซิ้ง เพราะเน้นลีลาความอ่อนช้อยที่มือจีบ และการวาดแขน ผู้ชายวงกว้าง ผู้หญิงวงแคบ ผู้ฟ้อนจะใช้วิธีย่อตัวตามจังหวะแคน แต่ก้าวเดินช้า (หน้า 98-99)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

วัฒนธรรมพื้นบ้านยวนสีคิ้วปัจจุบันมีการผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทย แต่ยังคงความเป็นยวน เช่นภาษาพูด แต่ผสมกับภาษาอีสาน และภาษาโคราช (หน้า 177)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช Date of Report 11 เม.ย 2556
TAG ยวน คนเมือง ไทยวน, วัฒนธรรม, ประเพณี, ภาษา, นครราชสีมา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง