สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทย้อ,ไทดำ,ผู้ไท,วิถีชีวิต,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Author ทวี ถาวโร
Title การศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อยในเขตพื้นที่ภาคอีสาน
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ญ้อ ไทญ้อ, ผู้ไท ภูไท, ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 100 Year 2540
Source สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

1.ไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อาชีพหลักทำนาข้าวเหนียว อาชีพรองคือทอผ้า และทำไร่ถั่วเหลืองและข้าวโพด เรือนอยู่อาศัยแบบเฮือนไต ยกใต้ถุนสูง ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนเป็นคอนกรีตและเรือนพื้นติดดิน ชีวิตประจำวันแต่งกายเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ส่วนชุดที่มีเอกลักษณ์ตามวัฒนธรรมเดิมจะแต่งเมื่อมีงานประเพณีต่าง ๆ รับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักไม่นิยมรับประทานเนื้อวัว เวลาเจ็บป่วยนิยมรักษาแผนปัจจุบันร้อยละ 85 รักษาแบบพื้นบ้านร้อยละ 10 และซื้อยามารับประทานเองร้อยละ 5 เป็นสังคมที่มีการนับถือผีมาตั้งแต่โบราณเป็นจุดรวมสำคัญทำให้พฤติกรรมของผู้ไทตั้งอยู่ในกรอบประเพณีของกลุ่ม และยังคงสืบสานประเพณีที่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องผี เช่น การเสนเฮือน การแต่งงาน เป็นต้น 2. ผู้ไท บ้านหนองช้างและบ้านแก่นทราย ลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นเรือนไม้จริง ใต้ถุนสูง ปัจจุบันยังคงนิยมบ้านแบบดั้งเดิม ที่เปลี่ยนมาใช้วัสดุแบบใหม่มีน้อยมาก ผู้ชายนิยมสักตามร่างกายโดยเฉพาะที่ขาลงมาถึงหัวเข่า ในระยะเวลาประมาณ 40 ปีมานี้ คนหนุ่มสาวและเด็ก ๆ เปลี่ยนมาแต่งกายเหมือนคนไทย แต่คนแก่ยังคงแต่งกายตามวัฒนธรรมดั้งเดิม อาหารการกินเหมือนอาหารพื้นบ้านอีสาน เมื่อเจ็บป่วยนิยมรักษาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 90 รักษากับหมอพื้นบ้าน ร้อยละ 8 ลักษณะทางวัฒนธรรมจะกลมกลืนกับวัฒนธรรมลาวและอีสาน นับถือผีบรรพบุรุษเรียกว่า "ถลา" การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแบบสังคมสมัยใหม่ยังไม่ปรากฏในชุมชนผู้ไทที่นี่ 3. ไทย้อ บ้านท่าขอนยาง บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเดิมเป็นบ้านไม้ ใต้ถุนสูง มุงหญ้าคาและได้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและวัสดุมาโดยตลอด แต่ยังคงลักษณะใต้ถุนสูงไว้ ปัจจุบันจะแต่งกายแบบดั้งเดิมเฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น ตามปกติจะแต่งกายแบบคนไทยทั่ว ๆ ไป อาหารการกินเหมือนอาหารพื้นบ้านอีสานทั่วไป เมื่อเจ็บป่วยนิยมรักษาแผนปัจจุบันร้อยละ 95 รักษาทั้งแบบแผนปัจจุบันและหมอพื้นบ้านร้อยละ 5 ไทย้อมีวิถีชีวิตหนักไปทางสังคมเมืองแต่การปฏิบัติตามความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบสังคมเกษตรกรรมและสังคมชนบท และยึดตามฮีตสิบสองคลองสิบสี่ของอีสานยังเด่นชัดหลายเรื่อง เช่น การไหว้ผีตาแฮก

Focus

การศึกษาวิถีชีวิตชนกลุ่มน้อย 3 กลุ่ม ได้แก่ ไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ผู้ไท บ้านหนองช้าง และบ้านหนองแก่นทราย ตำบลหนองช้าง กิ่งอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ไทย้อ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยเน้นเรื่องปัจจัยสี่ในการครองชีพ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหารการกิน และการบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ โดยบริบทที่ศึกษาประกอบได้แก่ขนบประเพณี การประกอบอาชีพ การสังคมในชุมชน ศิลปะบางแขนงที่เป็นจุดเด่นของกลุ่มและความตื่นตัวในการพัฒนาคุณภาพชีวิต (หน้า 82)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2. ผู้ไท บ้านหนองช้าง และบ้านหนองแก่นทราย ตำบลหนองช้าง กิ่งอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 3.ไทย้อ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Language and Linguistic Affiliations

ไทดำ ที่อ่านเขียนภาษาไทดำได้มีอยู่ไม่กี่คนและเป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้น (หน้า21) ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ไทและไทย้อ

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

1. พ.ศ.2484 พระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) เจ้าเมืองเชียงคานได้ขอให้ไทดำซึ่งอยู่ระหว่างอพยพหาถิ่นที่อยู่อยู่นั้น ตั้งหลักแหล่งถาวรในเขตเมืองเชียงคาน ไทดำจึงอยู่ที่บ้านนาเบน อยู่มาระยะหนึ่งเกิดโรคระบาดขึ้น จึงย้ายมาตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่ที่บ้านนาป่าหนาด ซึ่งเป็นชื่อที่เจ้าเมืองเชียงคานตั้งให้เนื่องจากที่บริเวณนี้เดิมมีต้นหนาดอยู่ชุกชุม (หน้า 22) 2. เดิมผู้ไทซึ่งอพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองกุดสิม (อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์) มีจำนวนมากจนที่ดินไม่เพียงพอ จึงมีกลุ่มย่อยหลายกลุ่มแยกย้ายไปหาทำเลตั้งถิ่นฐานใหม่ กลุ่มหนึ่งมาตั้งหลักแหล่งที่บ้านจอก (ปัจจุบันเป็นทุ่งนา) ต่อมาเกิดโรคระบาดชาวบ้านที่ไม่เป็นโรคจึงพากันย้ายมาอยู่ที่บ้านหนองช้าง ที่ชื่อบ้านหนองช้างเพราะมีช้างมาแวะกินน้ำที่หนองน้ำแล้วดูดเอาปลาติดขึ้นมา ทำให้หายใจไม่ออกจนตาย จึงพากันเรียกว่าบ้านหนองช้างตาย ต่อมาจึงตัดคำว่าตายออกเพราะไม่เป็นมงคล กระทั่ง พ.ศ.2497 มีประมาณ 3 ครอบครัวได้ไปตั้งหลักแหล่งที่บ้านหนองแก่นทราย ซึ่งห่างกันครึ่งกิโลเมตร ปัจจุบันติดต่อเป็นชุมชนเดียวกัน (หน้า 41) 3.เดิมชาวเมืองท่าขอนยางตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองคำเกิด แขวงเมืองกาฬสินธุ์ พ.ศ .2381 รัชกาลที่ 3 ทรงพระราชดำริว่าครัวเมืองคำเกิดที่ไร่ที่นาไม่พอ และที่บ้านท่าขอนยางริมฝั่งลำน้ำชีฟากคลองตะวันออก แขวงเมืองกาฬสินธุ์ ไร่นามีมากพอครอบครัวจะตั้งอยู่ได้อีก จึงทรงให้แบ่งครอบครัวเมืองคำเกิดไปตั้งภูมิลำเนา ณ บ้านท่าขอนยาง (หน้า 63)

Settlement Pattern

1.ไทดำ เลือกทำเลที่อยู่อาศัยโดยคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ คือมีแหล่งน้ำ มีดินที่เหมาะแก่การเกษตร แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือพื้นที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน และป่าช้า สำหรับพื้นที่อยู่อาศัยนั้นจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กันเป็นกลุ่ม มีตัวเรือนและบริเวณโดยเฉลี่ยประมาณ 200 ตารางวา (หน้า 83) 2.ผู้ไท เลือกทำเลที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติและเหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่อยู่และแปลงเกษตรไม่ห่างกันมากนัก ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กันเป็นคุ้ม ๆ (หน้า 85) 3.ไทย้อ ในอดีตภายหลังจากอพยพมาจากเมืองคำเกิด ประเทศลาว ได้มาอยู่ที่บ้านแซบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาอยู่ที่บ้านท่าขอนยางเนื่องจากมีแหล่งน้ำและที่นาที่อุดมสมบูรณ์ และทรงยกฐานะขึ้นเป็นเมืองท่าขอนยาง และอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาถึง 160 ปี โดยจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นกลุ่ม ๆ (หน้า 86-87)

Demography

1. ประชากรไทดำ บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย หมู่ที่ 4 มีจำนวน 101 ครัวเรือน ประชากรชาย 251 คน ประชากรหญิง 236 คน รวมมีประชากร 487 คน หมู่ที่ 12 จำนวน 114 ครัวเรือน ประชากรชาย 269 คน ประชากรหญิง 222 คน รวมมีประชากร 491 คน จากประชากรเหล่านี้เป็นไทดำประมาณร้อยละ 95 (หน้า 19) 2. ประชากรผู้ไท บ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทราย ตำบลหนองช้าง กิ่งอำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ บ้านหนองช้างมีจำนวน 140 ครัวเรือน ประชากรชาย 373 คน ประชากรหญิง 359 คน รวมมีประชากร 732 คน บ้านหนองแก่นทราย มีจำนวน 174 ครัวเรือน ประชากรชาย 516 คน ประชากรหญิง 512 คน รวมมีประชากร 1,028 คน (หน้า 38) เป็นผู้ไทประมาณร้อยละ 99 3. ประชากรไทย้อ บ้านท่าขอนยาง ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม หมู่ที่ 1 มีจำนวน 140 ครัวเรือน ประชากรชาย 258 คน ประชากรหญิง 271 คน รวมมีประชากร 529 คน หมู่ที่ 2 มีจำนวนครัวเรือน 57 ครัวเรือน ประชากรชาย116 คน ประชากรหญิง 129 คน รวมมีประชากร 245 คน หมู่ที่ 3 มีจำนวน 150 ครัวเรือน ประชากรชาย 336 คน ประชากรหญิง 387 คน รวมมีประชากร 723 คน หมู่ที่ 4 มีจำนวน 146 ครัวเรือน ประชากรชาย 362 คน ประชากรหญิง 363 คน รวมมีประชากร 725 คน หมู่ที่ 11 มีจำนวน 54 ครัวเรือน ประชากรชาย 127 คน ประชากรหญิง 149 คน รวมมีประชากร 276 คน (หน้า 60)

Economy

1.ไทดำ บ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยทำนาปี ปลูกข้าวเหนียว ทำในปริมาณพออยู่พอกิน นอกฤดูทำนามีการปลูกข้าวโพด และถั่วเหลือง มีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่ ไว้บริโภคในครัวเรือน ไม่มีการเลี้ยงวัว ควาย รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปีตกประมาณ 11,000 บาท ครอบครัวประมาณร้อยละ 80 เป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ส่วนครอบครัวที่มีหนีสินกับสถาบันการเงินอื่นและหนี้นอกระบบมไม่มากและวงเงินไม่สูง (หน้า 20) 2. ผู้ไท บ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทรายส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาปลูกข้าวเหนียวซึ่งมีพอต่อการบริโภคและมีเหลือขายบ้างแต่ไม่มาก มีอาชีพเสริมคือ ทอผ้า ไหมแพรวาซึ่งทำรายได้ให้ครอบครัวอย่างต่อเนื่อง มีการเลี้ยงหมู เป็ด ไก่เพื่อบริโภคในครัวเรือน เฉลี่ยรายได้ต่อครอบครัวต่อปี คือ 18,000 บาท ผู้ไทที่นี่มีฐานะความเป็นอยู่ที่ไม่ร่ำรวยแต่ไม่ยากจน แต่ประมาณร้อยละ 80 เป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (หน้า 39) 3.ไทย้อ บ้านท่าขอนยาง ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพหลักทางเกษตรกรรมคือทำนาปลูกข้าวเหนียว ประมาณร้อยละ 10 รับราชการ อาชีพค้าขายและรับจ้างอย่างละประมาณร้อยละ 5 ครอบครัวส่วนใหญ่คือประมาณร้อยละ 80 มีฐานะปานกลาง ประมาณร้อยละ 10 มีฐานะดี มีฐานะยากจนประมาณร้อยละ 10 รายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวต่อปีประมาณ 30,000 บาท มีครอบครัวเป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ประมาณร้อยละ 15 มีหนี้กับสถาบันการเงินอื่นประมาณร้อยละ 4 (หน้า 61)

Social Organization

1.ไทดำ กลุ่มผู้สูงอายุยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม คนในชุมชนมีการคบค้าสมาคมและพึ่งพาอาศัยกันในลักษณะญาติมิตร (หน้า 19-20) 2.ผู้ไท ครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย ผัวเดียวเมียเดียว จำนวนสมาชิกเฉลี่ยครอบครัวละ 5.6 คน คนในชุมชนมีการพึ่งพาอาศัยกันเสมือนว่าเป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน (หน้า 38-39) 3.ไทย้อ ระบบครอบครัวขยาย ผัวเดียวเมียเดียว วิถีชีวิตของคนในชุมชนมีลักษณะผสมผสานระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท คนในชุมชนอยู่ร่วมกันทำนองเครือญาติแต่ไม่เข้มข้นนัก(หน้า 60-61)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

1.ไทดำ บ้านนาป่าหนาด นับถือศาสนาพุทธทั้งหมด แต่ไม่ยึดถือและนิยมการบวช และพิธีกรรมต่าง ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์เลย แต่ชาวบ้านมีการทำบุญใส่บาตรถวายสังฆทานอยู่เสมอ (หน้า 20) นอกจากนี้ไทดำยังนับถือผีด้วยดังปรากฏในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น พิธีเสนเฮือน เป็นการเซ่นไหว้ผีเรือนซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ (หน้า 26) พิธีแซปาง ซึ่งเป็นการขอบคุณผีมดที่ช่วยในการประกอบพิธีกรรมรักษาโรคและขจัดทุกข์ภัยต่าง ๆ เป็นต้น (หน้า 28) วิถีชีวิตของไทดำผูกพันกับความเชื่อและพิธีกรรมแทบทุกเรื่องตั้งแต่เกิดจนตาย โดยยังคงเห็นคุณค่าในวัฒนธรรมของตนและยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมของกลุ่มไว้ได้เป็นส่วนมาก (หน้า 64) 2.ผู้ไทบ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทราย นับถือศาสนาพุทธทั้งหมดและยึดปฏิบัติตามฮีตสิบสองคลองสิบสี่ในวัฒนธรรมอีสานด้วย นิยมบวชใน "งานบุญเผวส" เชื่อว่าได้กุศลแรงกว่าการบวชในเทศกาลอื่น (หน้า 30) เนื่องจากผู้ไทได้สัมผัสกับวัฒนธรรมลาวและวัฒนธรรมอีสานมายาวนาน ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จึงคล้ายกับชาวอีสานทั่วไป แต่การปลูกเรือนจะมีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า มีการนับถือผีหลายประเภท เช่น ผีปู่ตา ผีตาแฮก ผีเฮือน ผีถลา ผีเผต เป็นต้นจึงมีพีธีเลี้ยงผีหลายครั้งรวมทั้งการขับผีร้ายออกไปจากครัวเรือนและชุมชนด้วย งานประเพณีที่สำคัญมักเกี่ยวข้องกับผีและศาสนา เช่น การไหว้ผีตาแฮก ซึ่งเป็นผีประจำไร่นา ไหว้ผีปู่ตา เลี้ยงผีถลา ซึ่งเป็นผีบรรพบุรุษ ขับผีเผตในประเพณีบุญชำฮะ ซึ่งเป็นการขับผีร้ายออกไปจากหมู่บ้าน การบูชาผีแถนในงานบุญบั้งไฟ (หน้า 86) 3.ไทย้อ บ้านท่าขอนยางนับถือศาสนาพุทธทั้งหมด ผู้สูอายุมีความเคร่งครัดในการทำบุญ มีการนับถือผีหลายประเภท เช่น ผีบ้าน ผีเรือน ผีนา ผีป่า ผีน้ำ ผีเทวดา ผีเปรต จึงมีพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับผีเหล้านั้น เช่น การไหว้ผีตาแฮก การไหว้ผีปู่ตา และยังเชื่อในโชคลางมีการแก้บนกับผีปู่ตาเป็นเรื่องปกติในชีวิต (หน้า 88)

Education and Socialization

1. ไทดำ ประมาณร้อยละ 90 ของประชากรบ้านนาป่าหนาดเป็นผู้รู้หนังสือภาษาไทย มีโรงเรียนในหมู่บ้าน 2 โรง สอนถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย และสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนผู้ที่อ่านเขียนภาษาไทดำได้มีอยู่ไม่กี่คนและเป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้น (หน้า 21) 2. ผู้ไทบ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทรายรู้หนังสือประมาณร้อยละ 85 มีโรงเรียนสอนถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย 1 โรง หากต้องการเรียนสูงกว่านี้ต้องไปเรียนที่ตัวอำเภอหรือจังหวัด (หน้า 40) 3. บ้านท่าขอนยาง มีผู้รู้หนังสือประมาณร้อยละ 99.99 มีโรงเรียน 2 โรง สอนถึงระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาประมาณร้อยละ 3 (หน้า 62)

Health and Medicine

1. บ้านนาป่าหนาด การรักษาโรคประมาณร้อยละ 85 นิยมรักษาแผนปัจจุบันคือไปหาหมอที่สถานีอนามัย โรงพยาบาล และคลินิก ประมาณร้อยละ 10 นิยมรักษากับหมอพื้นบ้าน ซึ่งเป็นการรักษาด้วยยาสมุนไพร และรักษาด้วยวิธีเป่า (เป่ามนต์) เป่าเช้า เป่าเย็น วันละ 2 เวลา ประมาณร้อยละ 5 นิยมรักษาด้วยตนเอง คือซื้อยามารับประทานเอง (หน้า 25-26) 2. บ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทราย ประมาณร้อยละ 90 นิยมรักษาโรคกับหมอแผนปัจจุบัน ร้อยละ 8 รักษากับหมอพื้นบ้าน ร้อยละ 2 รักษาด้วยตนเองโดยการซื้อยามารับประทาน ชาวบ้านประมาณร้อยละ 80 มีบัตรสุขภาพ หมอพื้นบ้านมีหลายประเภท เช่น หมอเหยา หมอเป่า หมอยาฮากไม่ (หมอยาสมุนไพร) หมอธรรม หมอลำผีฟ้า เป็นต้น (หน้า 44) 3. บ้านท่าขอนยาง ประมาณร้อยละ 95 นิยมรักษาแผนปัจจุบัน ประมาณร้อยละ 5 นิยมรักษาทั้งแผนปัจจุบันและรักษากับหมอพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันหมอที่ยังทำการรักษาอยู่มีเพียงคนเดียว เป็นหมอสมุนไพร (หน้า 68)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

1.ไทดำ ผู้ชายสวมหมวกเมื่อมีพิธีกรรมเป็นหมวกสีดำหรือสีน้ำเงินคล้ายหมวกมุสลิม เสื้อมีเสื้อวาดและเสื้อฮี ซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวสีดำหรือสีครามเข้ม คอแบบเสื้อจีนไม่มีปก สวมแบบปล่อยชายไว้นอกกางเกง กางเกงขายาวจรดข้อเท้า สีดำ ผู้หญิง ไว้ผมยาวเกล้ามวย สวมเสื้อแลงเอิ๊ก เป็นเสื้อผ่าอก คอตั้งไม่มีปก แขนทรงกระบอกยาวจรดข้อมือ ชายเสื้ออยู่ระดับสะโพก เสื้อฮี ตัวเสื้อยาวประมาณครึ่งน่อง สีดำหรือสีครามเข้ม นุ่งผ้าซิ่นสีดำล้วนหรือลายแตงโมตามแนวตั้ง ตีนซิ่นอยู่ระดับกลางน่องนุ่งด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง สวมเครื่องประดับทำจากเงิน (หน้า 23-24, 84) 2. ผู้ไท ผู้ชาย นุ่งกางเกงหูรูด ขาสั้น ผ้าฝ้าย สีดำหรือสีทึบ หรือนุ่งผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ถ้าไปงานประเพณีจะนุ่งผ้าหางคล้ายนุ่งโจงกระเบน เสื้อลักษณะคล้ายเสื้อม่อฮ่อม แขนยาวจรดข้อศอก นิยมสักที่ขาตั้งแต่โคนขาลงมาถึงเข่า ผู้หญิงไว้ผมยาวเกล้ามวย สวมเสื้อแขนยาวจรดข้อมือสีดำหรือน้ำเงินเข้ม ไม่มีปก นุ่งผ้าซิ่น ต่อหัวต่อตีน มีทั้งซิ่นคั่นและซิ่นมัดหมี่ เครื่องประดับทำจากเงิน (หน้า 42-43, 86) 3. ไทย้อ ผู้ชาย นุ่งกางเกงหูรูดสีครามเข้ม หรือโสร่งตาหมากรุก สวมเสื้อแบบเสื้อม่อฮ่อมหรือเสื้อกุยเฮง สีดำหรือสีคราม ผู้หญิง สวมเสื้อคอตั้งไม่มีปก มีกระเป๋าล่าง 2 ใบ เป็นเสื้อผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายสีทึบแขนทรงกระบอกยาวถึงศอก นุ่งซิ่นสูงประมาณครึ่งน่อง (หน้า 66-67, 87)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

1.ไทดำ ชุมชนบ้านป่าหนาดเป็นชุมชนขนาดกลางโดยพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้ตัวอำเภอและตัวจังหวัดจึงได้รับอิทธิพลของสังคมเมืองค่อนข้างมาก มีการใช้เครื่องบริภัณฑ์สมัยใหม่ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น รถยนต์ เป็นต้น กลุ่มผู้สูงอายุยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม มีการคบค้าสมาคมและพึ่งพาอาศัยกันในลักษณะญาติมิตร (หน้า 19-20) 2. ผู้ไท ชุมชนบ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทรายเป็นชุมชนค่อนข้างใหญ่การอยู่อาศัยมีการพึ่งพาอาศัยกันเสมือนว่าเป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน มีการรับอิทธิพลจากสังคมเมืองเริ่มจากพวกหนุ่มสาว ส่วนคนแก่เฒ่ายังยึดมั่นในวัฒนธรรมผู้ไท (หน้า 38-39) 3.ไทย้อ ชุมชนบ้านท่าขอนยางเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งแต่มีการก่อตั้งเมืองท่าขอนยางมา ก็มีลักษณะเป็นสังคมเมืองมาโดยตลอด วิถีชีวิตของคนในชุมชนมีลักษณะผสมผสานระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท คนในชุมชนอยู่ร่วมกันทำนองเครือญาติแต่ไม่เข้มข้นนัก ทุกครัวเรือนได้อิทธิพลจากสังคมเมืองอย่างเห็นได้ชัดทั้งการแต่งกายของเด็ก ๆ และคนหนุ่มสาวตลอดจนการใช้เครื่องบริภัณฑ์ต่างๆ เช่นวิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น (หน้า 60-61)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางที่ 1 จำนวนครัวเรือนและประชากรของบ้านนาป่าหนาด (หน้า 19) ตารางที่ 2 จำนวนครัวเรือนและประชากรของบ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทราย (หน้า 38) ตารางที่ 3 จำนวนครัวเรือนและประชากรของบ้านท่าขอนยาง (หน้า 60) ตารางที่ 4 เปรียบเทียบเกณฑ์การเลือกกลุ่มเป้าหมายกับกลุ่มเป้าหมายที่เลือกได้ (หน้า 83) ภาพที่ 1 แผนที่บางส่วนของอำเภอเชียงคาน จ.เลย แสดงที่ตั้งบ้านนาป่าหนาด (หน้า 29) ภาพที่ 2 ลักษณะอักษรไทดำ (หน้า 30) ภาพที่ 3 ลักษณะของเฮือนไต (หน้าที่ 31) ภาพที่ 4 ลักษณะของเรือนที่เปลี่ยนแปลง (หน้า 31) ภาพที่ 5 เรือนของผู้มีฐานะดีรุ่นเก่าที่ยังคงสภาพอยู่ในปัจจุบัน (หน้า 32) ภาพที่ 6 ลักษณะภายนอกและภายในเรือนครัวของไทดำ (หน้า 32) ภาพที่ 7 การแต่งกายชุดพิธีของผู้ชายไทดำ (หน้า 33) ภาพที่ 8 การแต่งกายชุดพิธีของผู้หญิงขาวไทดำ (หน้า 33) ภาพที่ 9 ประเพณีการลงข่วง (หน้า 34) ภาพที่ 10 ประเพณีการเลี้ยงแซปาง (หน้า 35) ภาพที่ 11 ดนตรีไทดำ (หน้า 36) ภาพที่ 12 ปานตงที่สถิตผีเฮือน (หน้า 37) ภาพที่ 13 ศาลเจ้าบ้านไทดำบ้านนาป่าหมาด (หน้า 37) ภาพที่ 14 แผนที่บางส่วนของกิ่งอำเภอสามชัย จ.กาฬสินธุ์แสดงที่ตั้งบ้านหนองช้างและบ้านหนองแก่นทราย (หน้า 50) ภาพที่ 15 เรือนผู้ไท (หน้า 51) ภาพที่16 การแต่งกายของผุ้หญิงผู้ไท (หน้า 52) ภาพที่ 17 การแต่งกายผู้ชายผู้ไทและการสักขาลาย (หน้า 53) ภาพที่ 18 อาหารการกินของผู้ไท (หน้า 54) ภาพที่ 19 เด็กหญิงผู้ไท ทอผ้า (หน้า 55) ภาพที่ 20 ช่างทอผ้าผู้ไทและผลงาน (หน้า 56) ภาพที่ 21 ผู้ไทกับศิลปหัตถกรรมเครื่องจักสาน (หน้า 57) ภาพที่ 22 ช่างศิลป์ผู้ไททำบั้งไฟ (หน้า 58) ภาพที่ 23 ศิลปะการฟ้อนรำของผู้ไท (หน้า 59) ภาพที่ 24 แผนที่บางส่วนของอำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคามแสดงที่ตั้งบ้านท่าขอนยาง(หน้า 74) ภาพที่ 25 ลักษณะหนึ่งของเรือนไทย้อปัจจุบัน (หน้า 75) ภาพที่ 26 การรับประทานอาหารของไทย้อ (หน้า 75) ภาพที่ 27 การแต่งกายสตรี ชุดไทย้อประยุกต์ (หน้า 76) ภาพที่ 27 การแต่งกายสตรีชุดไทย้อประยุกต์ (หน้า 76) ภาพที่ 28 การเข้าวัดทำบุญและบวชชีพราหมณ์ของไทย้อ (หน้า 77) ภาพที่ 29 ศาลปู่ตาของไทย้อ (หน้า 78) ภาพที่ 30 ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา (หน้า 79) ภาพที่ 31 ประเพณีการไหลเรือนไฟ : ขบวนแห่เรือไฟ (หน้า 80) ภาพที่ 32 ศิลปะบันเทิงของไทย้อ (หน้า 81)

Text Analyst รุ่งทิวา กลางทัพ Date of Report 26 ม.ค. 2564
TAG ไทย้อ, ไทดำ, ผู้ไท, วิถีชีวิต, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง