สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ขมุ,การจัดการทรัพยากร, เชียงราย
Author เสถียร ฉันทะ
Title เร๊ะ ตู๊ เร๊ง : การจัดการทรัพยากรของชาวขมุ
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity กำมุ ตะมอย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) Total Pages 44 Year 2547
Source ยศ สันตสมบัติ และคณะผู้วิจัย (บรรณาธิการ)
Abstract

ขมุเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือมานาน มีกลุ่มย่อยแตกแขนงหลายกลุ่ม ปัจจุบันพบได้ในเชียงราย น่าน อุทัยธานี กาญจนบุรี ขมุมีระบบการผลิตแบบไร่หมุนเวียนคล้ายกับปกาเกอะญอ และมีภูมิปัญญาการรักษาความเจ็บป่วยที่เกิดจากความเจ็บป่วยทั่วไปและความเจ็บป่วยที่เกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต จากกระแสตลาดภายนอก และแรงกดดันจากภาครัฐ ทำให้ขมุบ้านห้วยจ้อเริ่มทำการผลิตเพื่อขาย อย่างไรก็ตาม ขมุบ้านห้วยจ้อยังคงพยายามรักษาวิถีการผลิตแบบดั้งเดิม เป็นการผลิตเพื่อบริโภค และการปลูกพืชสวนครัวเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหาร นอกจากนี้ ขมุบ้านห้วยจ้อยังนิยมกระแสการรักษาพยาบาลมัยใหม่ แต่ยังคงไม่ละทิ้งการรักษาแบบดั้งเดิมเมื่อการแพทย์สมัยใหม่ไม่สามารถรักษาความเจ็บป่วยได้ จึงเป็นการผสานการรักษาแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่พร้อมกัน

Focus

ศึกษาการจัดการทรัพยากรของขมุบ้านห้วยจ้อ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ขมุเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มย่อยของข่า อาศัยอยู่ดั้งเดิมในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีกลุ่มย่อยที่แตกแขนงออกไปหลายกลุ่ม คือ ข่าขัด ข่าฮอก ข่าเม็ด ข่าหมุ (ขมุ) ขมุอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว จัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลมอญ-เขมร ซึ่งรวมเรียกว่า "ออสโตรเอเชียติด" (หน้า 278) ขมุเคยเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของคนในท้องถิ่น เคยเป็นผู้มีอำนาจเหนือภูติผีวิญญาณ มีบทบาทในการประกอบพิธีกรรมในราชสำนักหลวงพระบาง นครน่าน และเชียงใหม่ (หน้า 278) ตามทัศนะของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้ให้ข้อมูลว่า ขมุเป็นชนพื้นเมืองอยู่ในประเทศลาวตอนเหนือ บริเวณเมืองภูคา แขวงหัวของ เมืองไซ แขวงหลวงพระบาง "ขมุ" หมายถึง ความเป็นคน เพื่อยกระดับคุณค่า ศักดิ์ศรีกลุ่มชาติพันธุ์และตอบโต้การดูถูกเหยียดหยามจากกลุ่มอื่นที่มีการกวาดต้อนขมุไปเป็นเชลย และเป็นข้าทาส (หน้า 278) ส่วน D. G. H. Hall กล่าวว่าดินแดนที่ก่อนหน้าที่จะเป็นอาณาจักรล้านช้าง ในปี พ.ศ. 1896 บริเวณดังกล่าวเป็นอาณาจักรมีชื่อว่า เมืองชวา หรือเมืองเซ่า บริเวณหลวงพระบางปัจจุบัน มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 53 องค์ มีหลักฐานยืนยันว่ากษัตริย์องค์ที่ 9 - 12 เป็นขมุ คือ ขุนชวา หรือขุนเซ่า ขุนหงี่บา ขุนวิลังคะ ขุนกันฮาง ตามลำดับ แต่ Hall ไม่ได้ระบุว่าเมืองชวาสิ้นสุดลงเมื่อใด (หน้า 278) จากหลักฐานต่างๆ ดังกล่าว ขมุเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมมาตั้งแต่อดีตจนถึงการปฏิวัติทางสังคมเพื่อรวมวัฒนธรรมประเทศลาว ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อข่ากลุ่มต่างๆ มาเป็นลาวเทิง (ลาวที่สูง) มีประชากรมากถึง หนึ่งในสามของลาว (หน้า 278)

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาขมุอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษา ออสโตรเอเชียติก ในสาขามอญ-เขมร มีกลุ่มย่อยเรียกว่า "คมุอิค" ได้แก่ภาษาขมุ ลัวะ/ถิ่น (มัล-ปรัย) และมลาบรี (ผีตองเหลือง) (หน้า 278 - 279)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

เดิมขมุบ้านห้วยจ้ออาศัยและทำไร่หมุนเวียนในพื้นที่ระหว่างชายแดนไทย-ลาวบริเวณแนวสันดอนดอยผาหม่น ต่อมารวมตัวกันตั้งหมู่บ้านที่ผาจ่องไซ หรือผาวี (ห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันประมาณครึ่งวัน) เริ่มแรกมี 70-80 หลังคาเรือน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2510-2520 เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทางการจึงให้ชาวบ้านอพยพออกจากพื้นที่ไปตั้งบ้านเรือนใหม่ แต่มีชาวบ้านส่วนหนึ่งแยกกลุ่มกันอพยพกลับไปยังฝั่งประเทศลาว และอีกกลุ่มอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านป่าตึง ตำบลปอ อำเภอเชียงของ และมีการอพยพกลับไปมาระหว่างไทยลาวอีก และมีบางส่วนแยกตัวมาตั้งหมู่บ้านใหม่ที่บ้านห้วยจ้อปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนยังอยู่ที่บ้านป่าตึงเช่นเดิม การอพยพเริ่มแรกมีเพียง 2 ครอบครัว คือพ่ออุ้ยราง และน้องสาว จากนั้นจึงมีการอพยพตามมาเรื่อยๆ (หน้า 280-281)

Settlement Pattern

หมู่บ้านของขมุจะตั้งอยู่กับเชิงเขาติดลำน้ำ ลำห้วย เพื่อใช้อุปโภค บริโภค ใกล้กับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อเก็บหาอาหารและยารักษาโรค (หน้า 280) ลักษณะโครงสร้างบ้านเรือน ใช้ไม้ไผ่เป็นหลัก เพราะมีการอพยพโยกย้ายบ่อย ฝาผนังและพื้นบ้านทำด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงด้วยหญ้าแฝก ภายในบ้านมีการแบ่งที่นอนออกเป็นห้อง ถัดออกมาเป็นลานบ้านสำหรับพักผ่อน และเป็นที่รับแขก บริเวณครัวจะมีเตาไฟ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของครอบครัว และไว้เก็บพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก ใต้ถุนบ้านเป็นที่เก็บฟืน บริเวณบ้านเป็นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ (หน้า 280)

Demography

การกระจายตัวของขมุ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว เช่น พงสาลี น้ำทา ปากแบง เมืองไซ หลวงพระบาง สำเนาวา เชียงขวาง เวียงจันทร์ รวมทั้งสิ้น 476,000 คน ส่วนในไทยอาศัยอยู่บริเวณจังหวัดน่าน เชียงราย ลำปาง อุทัยธานี และกาญจนบุรี จำนวนทั้งสิ้น 9,000 คน ในประเทศจีน อยู่ในเขต สิบสองปันนา ประมาณ 3,000 คน และกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่อเมริกา 4,000 คน และฝรั่งเศส 500 คน การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทย ตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการกวาดต้อนผู้คนมาจากเวียงจันทร์ ขมุได้มาตั้ง บ้านเรือนในเขต อุทัยธานีและกาญจนบุรี นอกจากนี้ในช่วงหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง มีขมุเข้ามาเป็นแรงงานในการทำไม้ที่ภาคเหนือเป็นผู้คุมช้าง และอยู่อาศัยต่อกันมา ปัจจุบันมีขมุกระจายตัวอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ จังหวัดน่าน อำเภอเมือง ท่าวังผา ทุ่งช้าง เวียงสา เชียงกลาง กิ่งอำเภอสองแคว จังหวัดเชียงราย อำเภอเชียงของ เวียงแก่น ลำปางอยู่ที่แจ้ห่มและแม่เมาะ อุทัยธานีอยู่ที่อำเภอบ้านไร่ (หน้า 277-280) บ้านห้วยจ้อมีทั้งหมด 37 หลังคาเรือน ประชากร 178 คน เป็นหญิง 87 คน 91 คน (หน้า 281)

Economy

ขมุที่บ้านห้วยจ้อมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการเกษตร และรับจ้างเป็นรายได้รอง เป็นการรับจ้างนอกหมู่บ้านที่เชียงใหม่ กรุงเทพฯ บางส่วนจักสานเครื่องมืออุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน แลกเปลี่ยนเป็นข้าวสาร นอกจากการผลิตในไร่ ยังมีการเก็บหาของป่าเช่นเห็ด ลูกต๋าว หน่อไม้ และสมุนไพรต่างๆ มีการเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งาน เช่น วัว ควาย (หน้า 284-285) ระบบการผลิตของขมุ มีการทำไร่เพื่อการยังชีพ มีไร่ข้าวเจ้า และข้าวเหนียว และยังมีพืชตระกูลถั่ว ฟัก ข้าวสาลี เมื่อมีผลผลิตส่วนเกินจะนำไปแลกสิ่งของเครื่องใช้อื่นๆ เช่นเกลือ เครื่องมือต่างๆ การผลิตใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2510 ขมุทำการผลิตไร่หมุนเวียนแบบตัดฟันโค่นเผา คล้ายกับปกาเกอะญอ ขั้นตอนการทำไร่ เริ่มจากการเลือกพื้นที่ ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม มักเลือกพื้นที่ที่เป็นป่าทึบเพราะถือว่าอุดมสมบูรณ์ดี เช่นป่าเบญจพรรณ มีต้นไผ่หลากชนิดขึ้น มักไม่เลือกป่าแพะเพราะไม่อุดมสมบูรณ์และมีหินมาก และจะไม่เลือกป่าดงดิบ เพราะต้องใช้แรงงานในการโค่นเผา นอกจากนี้ยังดูลักษณะของดินที่ดี จะมีรสเค็ม สีดำ หลังจากนั้น จะตัดฟันแล้วตากทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน จึงโค่นเผาทิ้งไว้อีก 4-5 วัน จึงเก็บกิ่งไม้ออก การเผาไร่จะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เป็นช่วงเวลาเพาะปลูก เริ่มจากการหยอดข้าวไร่ หลังจากฝนตกจนดินชุ่มชื้น วันหยอดเมล็ดพันธุ์ต้องดูฤกษ์ยาม และมีพิธีบนบานผีในไร่ มักมีการปลูกข้าวเหลื่อมเวลากันและปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช หลังจากนั้นจะมีการปลูกพืชชนิดอื่นแซมในไร่ เช่น ข้าวสาลี แตงไทย แตงโม ยาสูบ ผักกาด พริก และมันสำปะหลัง ตลอดระยะเวลาการเติบโต จะมีการกำจัดวัชพืชเป็นระยะ ต่อมาจึงเป็นช่วงเก็บเกี่ยว ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ซึ่งก่อนทำการเก็บเกี่ยวจะต้องเก็บพันธุ์ข้าวที่สมบูรณ์เพื่อเป็นเชื้อพันธุ์ในปีต่อไป แล้วจึงเริ่มเก็บเกี่ยว เสร็จแล้ว จะมีพิธีเลี้ยงผีไร่ เพื่อขอบคุณที่ช่วยปกป้องดูแลพืชพันธุ์ จากนั้นจึงเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ชนิดอื่นที่ปลูกแซมไว้ (หน้า 287 - 292)

Social Organization

ขมุบ้านห้วยจ้อมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติสืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง สืบเชื้อสายทางบรรพบุรุษที่นับถือผีตระกูลเดียวกัน จะมีการรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือระหว่างกัน เช่นการแลกเปลี่ยนแรงงานในไร่ นอกจากนี้ ยังมีผู้นำในชุมชน อื่นๆ ดังนี้ 1) หมอผี หรือ "ระกูนจำหลัก" เป็นผู้นำทางความเชื่อ ประกอบพิธีกรรมของชุมชน ติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติ ปัจจุบันมีพิธีเลี้ยงผีบ้าน "ผีโสลก" เลี้ยงผีเจ้าพ่อหรือผีปาง 2) หมอคาถา ติดต่อกับอำนาจเหนือธรรมชาติ มีเวทมนต์คาถาในการรักษาอาการเจ็บป่วย เช่นกระดูกหัก ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย 3) ตรั่งนั่ง เป็นร่างทรง หรือ "ม้าขี่" ของเจ้าหลวงผาแดง คนที่เป็นร่างทรงจะเป็นคนที่เจ้าหลวงผาแดงเลือกเอง โดยจะเริ่มจากเกิดไม่สบายโดยไม่ทราบสาเหตุ รักษาอย่างไรก็ไม่หาย ซึ่งเชื่อว่าคนนั้นได้ตายแล้ว จึงเอาร่างมาเป็นทรง อาการเจ็บป่วยจึงหายไป 4) ผู้สอนศาสนาคริสต์ มีการสอนศาสนาทุกวันเสาร์ อาทิตย์ (หน้า 283-284)

Political Organization

ขมุบ้านห้วยจ้อใช้ระบบอาวุโสในการปกครองดูแลหมู่บ้าน ช่วยในการตัดสินกรณีพิพาทภายในหมู่บ้าน พิจารณาแก้ไขปัญหาต่างๆ ผู้อาวุโสจะเป็นที่เคารพของกลุ่มสายตระกูลในหมู่บ้าน ปัจจุบันรัฐเข้ามามีบทบาทในการแต่งตั้งหัวหน้ากลุ่มบ้านขึ้นมาเพื่อดูแลหมู่บ้าน (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) และคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อกำหนดการให้บริการต่างๆ เช่น สุขภาพอนามัยของชุมชน การให้การศึกษา นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ แต่ระบบอาวุโสรูปแบบเดิมยังคงใช้ปฏิบัติบางกรณี (หน้า 283)

Belief System

ขมุมีความเชื่อในเรื่อง "โร้ย" หรือผี ในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยกับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องโร้ยจะมีบทบาทกับวิถีชีวิตของขมุตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ผีบรรพบุรุษต้องมีหิ้งบูชาไว้เหนือเตาไฟ มีการจัดพิธีกรรมเลี้ยงผี นอกจากนี้ยังมีผีบ้าน "โร้งกุ๊ง" จะมี "โสลก" หรือศาลาไว้ที่กลางหมู่บ้าน มีการทำพิธีทุกเดือนเมษายน และผีเจ้าหลวง "โร้ยก๊าง" ทำพิธีในเดือนเมษายนและมิถุนายน เป็นการขอบคุณและขอให้ผีคุ้มครองคนในชุมชน (หน้า 298) ยังมีผีที่เกี่ยวกับธรรมชาติ แผ่นดิน สายน้ำ และป่าเขาดูแลอยู่ หากใครเข้าไปลบหลู่ทำให้ผีโกรธ อาจทำให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ต้องทำพิธีขอขมา ผืนดินจะมีเจ้าแม่ธรณี ดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ผีไร่ "โร้ยอร๊ะ" คุ้มครองผลผลิตในไร่ เป็นความเชื่อที่แสดงถึงความเคารพและยำเกรงต่อธรรมชาติ (หน้า 298-299)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

การรักษาพยาบาลพื้นบ้านของขมุ บ้านห้วยจ้อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือเกิดจากธรรมชาติ เช่นอุบัติเหตุ บาดเจ็บจากการถูกของมีคม กระดูกหัก มักจะรักษาโดยคาถาอาคม เป่าไปยังบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ หรือใช้สมุนไพรประกอบการรักษา ขมุมีวิธีคิดเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากธรรมชาติ โดยมีสาเหตุมาจาก 1) สาเหตุของผญาด จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ จะเกิดผดผื่นคัน หรือที่เรียกว่าภูมิแพ้ จะเป็นๆ หายๆ 2) สาเหตุจากอาหาร อาหารที่เป็นของแสลง และห้ามรับประทานสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ หญิงอยู่ไฟหลังคลอด และเด็ก เช่น หญิงตั้งครรภ์ห้ามกินยาต้มจากป่า เพราะเชื่อว่าจะเป็นอันตรายต่อเด็ก หญิงอยู่ไฟห้ามกินเนื้อสัตว์ต่างๆ และมะเขือ มะนอย แตงไทย แตงกวา น้ำปู ปลาร้า กินได้เฉพาะเนื้อปลา เด็กเล็กห้ามกินเนื้อสัตว์ต่างๆ จะทำให้เป็นผญาด 3) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในช่วงเปลี่ยนฤดู เช่นโรคทางเดินหายใจในฤดูหนาว และท้องเสียในฤดูร้อน 4) ความเจ็บป่วยจากกิจวัตรประจำวัน ปวดเมื่อยจากการทำงานหนัก หรือเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ และความเจ็บป่วยที่เกิดจากการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการกระทำของผี โดยครอบครัวและญาติจะช่วยกันหาสาเหตุเพื่อรักษาตามอาการของโรค แต่ถ้ารักษาไม่หาย จะต้องไปถามสาเหตุจากหมอผี หรือหมอเซาะเมื่อ แล้วจึงทำพิธีเลี้ยงผีเพื่อขอขมา จากนั้นจึงทำพิธีสู่ขวัญ (หน้า 302-303) ผีที่เป็นสาเหตุความเจ็บป่วย มีทั้งผีดีที่ช่วยปกป้องดูแลและผีร้าย ทำให้เกิดความเจ็บป่วย มีดังนี้ 1) ผีปางหรือผีเจ้าพ่อ เป็นผีที่ใหญ่ที่สุด คอยดูแลปกป้องหมู่บ้าน จะมีการสร้างศาลไว้เหนือหมู่บ้าน เป็นเขตหวงห้ามไม่ใครรบกวน และมีการเซ่นไหว้ปีละ 2 ครั้ง 2) ผีบ้านหรือผีโสลก เป็นผีที่ใหญ่รองจากผีปาง มีหน้าที่ดูแลหมู่บ้าน สร้างเป็นศาลไว้ที่ศาลากลางบ้าน และยังเป็นสถานที่สำหรับการประชุมหมู่บ้าน มีการเซ่นไหว้ประจำทุกปี 3) ผีพ่อผีแม่ คุ้มครองดูแลคนในครอบครัว มีการทำหิ้งผีไว้ในบ้าน การเลี้ยงผี ขึ้นอยู่กับความต้องการของผีซึ่งจะบอกให้ครอบครัวรู้ และ 4) ผีป่า คอยปกป้องดูแลป่าบริเวณนั้น และห้ามเข้าไปรบกวน หากรบกวนจะทำให้เกิดความเจ็บป่วย (หน้า 303- 304) หมอยาพื้นบ้านของขมุ มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรใช้รักษาโรค ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร เป็นความเชี่ยวชาญพิเศษ และเฉพาะตัว ที่เรียนรู้จากการฝึกฝน เล่าเรียน และจดจำ และเชื่อว่ายามีครูและผี ดังนั้น การรวบรวมตัวยา หมอยาจะต้องขออนุญาตจากสิ่งศักดิ์สิทธ์นั้นก่อน โดยจะนำสรวยใบตองบรรจุดอกไม้ เทียนและหมาก พลู นำไปฝังไว้เมื่อเอาสมุนไพรออกมา และมีพิธีถากเปลือกไม้เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสามารถนำเอายาตัวนั้นออกมาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องหาสมุนไพรต้นอื่น และการหาสมุนไพรแต่ละครั้งต้องหามาอย่างน้อย 7 ชนิด (หน้า 309) วิธีการใช้ยา เช่น การกิน การพอกและประคบ การอาบ การทา การเป่า และการล้าง (หน้า 310)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ขมุมักนิยมสักตามร่างกาย ผู้ชายจะนิยมสักทั่วทั้งตัว ส่วนผู้หญิงจะสักตามแขนและแข้งขา นิยมใส่เสื้อผ้าสีดำ เรียกว่า "หว้าย" ผู้หญิงจะแต่งกายด้วยเสื้อสีดำหรือน้ำเงินเข้ม แขนกระบอกยาวถึงข้อมือ ตัวเสื้อผ่า มีแถบสีแดงตามขอบของเสื้อ ประดับลวดลายแดง ติดกระดุมเครื่องประดับสีเงินตั้งแต่คอถึงชายเสื้อ เสื้อที่มีการประดับด้วยเงินขมุเรียกว่า "หว้ายขมุ้น" ผู้หญิงนิยมนุ่งซิ่นดำหรือดำปนแดง โพกหัวด้วยผ้าละเหวิดประดับด้วยดิ้นสีแดง และเหรียญเงินตรา การแต่งกายแบบดั้งเดิมมีให้พบเห็นน้อยมาก นอกจากพิธีกรรมสำคัญ ผู้หญิงมีเพียงเกล้าผม และผู้ชายยังนิยมนุ่งเตี่ยวอยู่ (หน้า 282-283)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การปรับตัวของระบบการผลิตในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม และความสัมพันธ์กับรัฐ มีการส่งเสริมการผลิตเพื่อขาย และกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยม อีกทั้งข้อจำกัดในด้านที่ดินทำกิน ที่ไม่สามารถทำไร่หมุนเวียนในรูปแบบเดิมได้อีกต่อไป ทำให้ขมุต้องใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นมากขึ้นเพื่อการผลิตเพื่อขาย ชาวบ้านมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตลาดภายนอก ก่อให้เกิดหนี้สิน การอพยพโยกย้ายแรงงานออกจากหมู่บ้าน แต่บางส่วนยังคงเน้นการผลิตเพื่อบริโภค พยายามปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อความมั่นคงทางอาหาร และมีการจัดการป่าต้นน้ำที่เหลือ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (หน้า 299-302) ในปัจจุบัน มีการแพทย์แผนใหม่เข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านมักนิยมไปรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งมีความสะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีขมุโดยเฉพาะวัยกลางคน ยังรู้จักการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาความเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ แต่เมื่อการแพทย์ไม่สามารถรักษาหายได้ ก็จะกลับไปใช้วิธีดั้งเดิมในการรักษาแทน การรักษาพยาบาลของขมุ จึงเป็นการผสมผสานระบบการแพทย์สมัยใหม่และแบบดั้งเดิม เป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง (หน้า 310-311)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพการจักสานของขมุ (หน้า 284) ภาพการลงแขกหยอดข้าวไร่ของขมุ (หน้า 289) ภาพการทำสวนสมัยใหม่ของขมุ (หน้า 289) ภาพหมอสมุนไพรของขมุ (หน้า 308) ภาพการใช้ยาสมุนไพรของขมุ (หน้า 308)

Text Analyst ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช Date of Report 25 ก.ค. 2559
TAG ขมุ, การจัดการทรัพยากร, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง