สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,ขุนนาง,อยุธยา
Author อภิเชฏฐ์ จั่นเที่ยง
Title บทบาทขุนนางมอญในสมัยอยุธยาระหว่าง พ.ศ.2127 ถึง 2310
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 247 Year 2540
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
Abstract

การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติมอญซึ่งอพยพเข้ามาในอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พ.ศ.2127 ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ.2301 การที่ชนชาติมอญอพยพเข้ามาเนื่องจากสงครามระหว่างมอญกับพม่า พระมหากษัตริย์ของอยุธยาโปรดให้ไปตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆและให้อยู่ดูแลควบคุมกันเอง โดยเน้นศึกษาบทบาทขุนนางมอญทั้งทางด้านทหารและพลเรือนปรากฏว่ามีขุนนางมอญและขุนนางเชื้อสายมอญที่น่าจะมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ขณะนั้น ดังปรากฏบทบาทขุนนางมอญในกองทหารหน้า ทหารเรือ ทหารม้า ทหารอาทมาต และขุนนางมอญยังมีบทบาทด้านพลเรือนด้วยดังจะเห็นได้จากมีขุนนางไทยเชื้อสายมอญได้รับตำแหน่งสำคัญ เช่น ออกญาโกษาธิบดีเหล็ก และออกญาโกษาธิบดีปาน และยังปรากฏว่าขุนนางมอญมีเกี่ยวข้องในการแย่งชิงอำนาจราชบัลังก์หลายครั้งและขุนนางมอญยังร่วมก่อกบฏอีกหลายครั้งด้วยกัน ขุนนางมอญจึงมีบทบาทความสำคัญต่อความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์ในขณะนั้นอย่างมาก

Focus

ศึกษาบทบาทของขุนนางมอญในด้านพลเรือน ด้านการทหารและบทบาททางการเมืองในสมัยอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ.2127 - 2310 โดยศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ศึกษาชุมชนมอญในพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยาทั้งเอกสารของไทยและต่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าในสมัยอยุธยาในระหว่างปี พ.ศ.2127ถึง พ.ศ.2310 มีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการในอาณาจักรอยุธยาหลายชาติด้วยกัน เช่น จีน ญี่ปุ่น เปอร์เชียน รวมทั้งมอญด้วย ผู้เขียนสันนิษฐานว่าขุนนางมอญน่าจะมีเป็นจำนวนมากและมีบทบาทในวงการราชการทั้งทางด้านทหารและพลเรือนเพราะปรากฏชื่อในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น ออกญาจักรีมอญ ออกญา โกษาธิบดี (เหล็ก) ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ผู้เขียนจึงศึกษาบทบาทของขุนนางมอญในสมัยอยุธยา โดยมีข้อสมมุติฐานว่าขุนนางมอญมีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้แก่อาณาจักรอยุธยา โดยมีการศึกษาชุมชนมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาจักรอยุธยาประกอบด้วยเพื่อให้มองเห็นภาพของขุนนางมอญได้ชัดเจนขึ้น

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์มอญในสมัยอยุธยาชึ่งอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในอาณาจักรอยุธยา

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระบุระยะเวลาในการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ไว้ระหว่างปี พ.ศ.2127 ถึง พ.ศ.2310

History of the Group and Community

จากหลักฐานทางเอกสารของทั้งไทยและต่างประเทศปรากฏว่าในสมัยอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ.2127 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาจนถึง พ.ศ. 2301 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มอญจำนวนหนึ่งได้อพยพเข้ามาอยู่ในอาณาจักรอยุธยา เนื่องจากปัญหาการสู้รบระหว่างมอญกับพม่า การสู้รบกับพม่าได้ก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่มอญโดยทั่วไป เนื่องจากเมื่อพม่าเป็นฝ่ายชนะจะปกครองมอญอย่างกดขี่ มอญส่วนหนึ่งจึงพากันอพยพไปยังดินแดนอื่นซึ่งส่วนหนึ่งได้เข้ามายังอาณาจักรอยุธยา การอพยพของมอญเข้ามานั้นมีด้วยกันหลายครั้ง เมื่อมอญเหล่านั้นเข้ามาในอยุธยาพระมหากษัตริย์ทรงอนุญาตให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ทั้งในเกาะเมืองและนอกเกาะเมืองอยุธยา การอพยพครั้งแรกในสมัยพระมหาธรรมราชา พ.ศ.2127 ปรากฏว่าให้ไปอยู่บริเวณบ้านใหม่มะขามหย่อง ครั้งที่2 พ.ศ.2136 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ 3 พ.ศ.2142 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2175 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2201 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านสามโคก วัดตองปุ ชานพระนครด้านทิศเหนือและแถวคลองคูจามชานพระนครด้านทิศใต้ ครั้งที่ 6 - 8 ระหว่าง พ.ศ.2290 - 2301 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (หน้า75-76) มอญเหล่านี้ได้รวมตัวกันเป็นชุมชนที่ยังคงรักษาความเป็นชุมชนมอญไว้ได้ โดยมีการดูแลปกครองกันเองเมื่อมีความขัดแย้งในชุมชนก็จะตัดสินกันเอง โดยมีมอญบางส่วนได้เข้ารับราชการทำหน้าที่ทั้งทางด้านการทหารและพลเรือนดังปรากฏบทบาทของมอญ เช่น บทบาทด้านการทหาร ผู้เขียนเสนอว่าระหว่าง พ.ศ.2127-พ.ศ.2310 ขุนนางมอญมีบทบาทสำคัญกว่ากองทหารต่างชาติอื่นๆ โดยมีส่วนสำคัญในการรบกับพม่าหลายครั้ง โดยการรบกับจะทำหน้าที่เป็นหน่วยรบ ทหารรักษาพระองค์และหน่วยลาดตระเวน ส่วนบทบาทด้านพลเรือนได้แก่ ออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) และออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าประสบความสำเร็จด้านเจรจาทางการทูต นอกจากนี้ยังปรากฏว่าขุนนางมอญเข้าไปมีส่วนร่วมในการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองหลายครั้ง และมีการก่อกบฏหลายครั้ง ขุนนางมอญจึงมีบทบาทสำคัญในด้านความมั่นคงของราชอาณาจักรอยุธยาและมีบทบาทสำคัญต่อมาในสมัยธนบุรี

Settlement Pattern

จากพงศาวดารชุมชนมอญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งอาจแบ่งลักษณะการตั้งถิ่นฐานหลักๆ ได้เป็น 2 แบบ คือ ชุมชนมอญภายในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาและชุมชนภายนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยชุมชนภายในเกาะเมือง ได้แก่ ชุมชนพระมหาเถรคันฉ่องซึ่งอยู่แถบวัดนก ตำบลหัวแหลม และวัดค้างคาว ชุมชนของพญาเกียรติ พญาพระราม อยู่ระหว่างวัดขมิ้นและวัดขุนแสน ตำบลบ้านขมิ้น ชุมชนภายนอกเกาะเมืองตามลำดับรัชกาล ได้แก่ ชุมชนมอญสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา อยู่นอกเกาะเมืองทางทิศเหนือ คือชุมชนบ้านใหม่มะขามหย่อง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มบริเวณทางแยกของแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำสัก ชุมชนมอญสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสันนิษฐานว่าอยู่แถบชานเมือง ชุมชนมอญสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก วัดตองปุชานพระนครด้านทิศเหนือและแถวคลองคูจามชานพระนครด้านทิศใต้ นอกจากนี้จากเอกสารอื่นยังปรากฏชุมชนมอญวัดพนัญเชิง ชุมชนมอญวัดโปรดสัตว์ หรือด่านขนอนบ้านตะนาวศรี ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะเมืองไปประมาณ 2 กิโลเมตรอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนมอญปากคลองขุนละครไชย ซึ่งเป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ชุนมอญนอกเกาะเมืองอยุธยาจะตั้งอยู่บริเวณที่แม่น้ำมาบรรจบกันอาจเป็นชุมชนที่ทำหน้าที่ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานพระนคร (หน้า32-45)

Demography

มีเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ระบุจำนวนมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาจักรอยุธยาไว้ เรียงตามรัชกาล คือ พ.ศ.2136 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จำนวน หลายพัน พ.ศ.2201 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จำนวน 6,000 พ.ศ.2290 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จำนวน 400 พ.ศ.2300 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จำนวน 1,000 เศษ (หน้า75-76)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

มอญที่อยู่ในอาณาจักรอยุธยาจะได้มีการดูแลควบคุมกันเองเมื่อมีความขัดแย้งกันภายในชุมชนก็ให้ตัดสินกันเอง ดังเช่นชาติอื่นๆ ที่เข้ามาในอยุธยา มีมอญบางส่วนได้มีส่วนในการปกครอง กล่าวคือ ได้เข้ารับราชการ ขุนนางมอญมีภาระหน้าที่ของความเป็นขุนนางเหมือนกับขุนนางไทยทั่วไป มอญได้เป็นขุนนางเนื่องจากความสามารถในการรบ ในขณะนั้นอยุธยาต้องสู้รบกับพม่า ซึ่งต่อมาก็มีขุนนางมอญเข้ารับราชการโดยทำหน้าที่ทั้งด้านทหารและพลเรือน 1.บทบาทขุนนางมอญด้านการทหาร ปรากฏในกองทหารหน้าหรือเรียกว่าทหารเดินหน้า ทหารมอญน่าจะเข้าร่วมกับกองทัพอยุธยารบกับพม่าตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ซึ่งผู้เขียนสันนิษฐานว่าขุนนางมอญมีส่วนสำคัญในการรบกับพม่าหลายครั้ง ซึ่งมีปรากฏชื่อขุนนางมอญชั้นผู้ใหญ่คือสมิงพระราม นอกจากนี้เหตุการณ์การสู้รบหลายครั้งที่น่าจะเป็นหน้าที่ของขุนนางมอญแม้จะไม่ระบุชื่อเช่นการส่งทหารไปตีเมืองทวายและเมืองตะนาวศรีซึ่งเป็นหัวเมืองมอญ เนื่องจากขุนนางมอญมีความชำนาญในพื้นที่มากกว่า (หน้า 53-57) บทบาทขุนนางมอญด้านทหารเรือ โดยทำหน้าที่ในการควบคุมไพร่หลวงซึ่งเป็นฝีพายเรือพระที่นั่งซึ่งมีฝีพายมอญปรากฏในบันทึกของเดอ ลาลูแบร์ นอกจากนี้การเก็บเรือพระที่นั่งและโรงเรือกระบวนต่างๆไว้ในโรงที่อยูที่วัดตองปุซึ่งเป็นวัดของชุมชนมอญ(หน้า58-63) บทบาทขุนนางมอญด้านทหารม้า สมัยสมเด็จพระนารายณ์มีขุนนางมอญเป็นทหารม้า สังกัดกรมพระอัศวราชขวา(หน้า64) บทบาททหารมอญด้านทหารอาทมาต ทำหน้าที่สืบข่าวสอดแนมข้าศึก(หน้า64-65) 2.บทบาทด้านพลเรือน ได้แก่ ออกญาโกษาธิบดีเหล็ก เป็นขุนนางเชื้อสายมอญทางฝ่ายบิดา ออกญาโกษาธิบดีปาน เป็นน้องชายของออกญาโกษาธิบดีเหล็กซึ่งได้รับยกย่องว่าประสบความสำเร็จด้านเจรจาทางการฑูต ในสมัยพระเจ้าเสือขุนนางเชื้อสายมอญมีอิทธิพลอยู่ในกรมพระคลัง(หน้า 67-71) นอกจากนี้ยังมีขุนนางมอญบทบาทในการเมือง โดยในสมัยอยุธยาช่วงพ.ศ.2171 - 2301 มีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองถึง 8 ครั้ง ในการช่วงชิงอำนาจแต่ละครั้งจะมีขุนนางมอญร่วมอยู่ด้วย (หน้า81-95) และยังปรากฏว่าขุนนางมอญมีส่วนร่วมในการก่อกบฏด้วยกันหลายครั้ง เช่น กบฏพระธรรมเถียร กบฏมอญโพธิ์สามต้น กบฏมอญเขานางบวช กบฏสุกี้พระนายกอง(หน้า100-105)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นอกจากบทบาทของขุนนางมอญในสมัยอยุธยาแล้วผู้เขียนยังกล่าวถึงภาพรวมของการปกครองในสมัยอยุธยา ตำแหน่งและสายการบังคับบัญชาที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง

Map/Illustration

ภาพที่ 1 แผนภูมิแสดงการบังคับบัญชาขุนนางมอญ(22) ภาพที่ 2 แผนภูมิแสดงการบังคับบัญชาของขุนนางมอญในระดับกรม กรมดั้งทองขวา(24) ภาพที่ 3 แผนภูมิแสดงการบังคับบัญชาของขุนนางมอญในระดับกรม กรมดาบสองมือกลาง(25) ภาพที่ 4 แผนภูมิแสดงการบังคับบัญชาของขุนนางมอญในระดับกรม กรมดั้งทองซ้าย(26) ภาพที่ 5 แผนภูมแสดงการเปรียบเทียบสายการบังคับบัญชากองทัพอยุธยากับกองทหารมอญ(28) ภาพที่ 6 แผนภูมิแสดงสายงานการบังคับบัญชาขุนนางมอญที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง(30) ภาพที่ 7 แผนภูมิแสดงการบังคับบัญชาขุนนางมอญสมัยอยุธยา(46) ภาพที่ 8 ภาพฝีพายมอญ(Pegaucurs)(61) ภาพที่ 9 ภาพเรือในสมัยอยุธยา (62) แผนที่ 1 แสดงที่อยู่ของมอญสมัยอยุธยาระหว่างพ.ศ.2127-2310 (34) แผนที่ 2 แสดงที่อยู่ของมอญและแม่น้ำเจ้าพระยาจากปากน้ำไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา(41) แผนที่ 3 แสดงที่อยู่ของPeguans(พะโค)และที่อยู่ของชาวต่างชาติรอบๆ เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา(43)

Text Analyst รุ่งทิวา กลางทัพ Date of Report 24 มี.ค 2549
TAG มอญ, ขุนนาง, อยุธยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง