สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,ชาวเล,การอบรมเลี้ยงดู,การถ่ายทอดวัฒนธรรม,กระบวนการขัดเกลาทางสังคม,บ้านสังกาอู้,กระบี่
Author สุรัสวดี กองสุวรรณ์
Title การอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเลในหมู่บ้านสังกาอู้ จังหวัดกระบี่ : การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 206 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กชาวเลในหมู่บ้านสังกาอู้ คือ แม่ รองลงมาคือ ยาย โดยการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายด้วยการให้เด็กๆ ชาวเลได้รับประทานอาหารอย่างพอเพียง ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามความเชื่อของแม่ ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ผ่านการกอด อุ้ม และสัมผัสเด็กอย่างสม่ำเสมอ และมีการใช้สื่อพื้นบ้านเพื่อช่วยกล่อมเกลาทางด้านจิตใจและอารมณ์ รวมถึงได้รับการการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม ด้วยการฝึกให้เด็กรู้จักแบ่งปันและมีความสามัคคี มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ด้วยการสอนความรู้ด้านภาษา ฝึกให้เรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งฝึกใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ภายใต้บริบทของชาวเล ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเลตามทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม ได้แก่ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ปัจจัยทางระบบครอบครัวและเครือญาติ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางการศึกษา ปัจจัยทางความเชื่อ และปัจจัยทางวัฒนธรรมประเพณี (หน้า ง, 151)

Focus

ศึกษาถึงวิธีการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองชาวเล ทั้งในด้านการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (หน้า 6)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ศึกษากลุ่มผู้ปกครองชาวเลที่เลี้ยงดูเด็กชาวเลอายุระหว่าง 3-6 ปี หมู่บ้านสังกาอู้ (ม.7) ตำบลเกาะลันตา อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ (หน้า 6)

Language and Linguistic Affiliations

ตระกูลภาษาของชาวเลมีสำเนียงคล้ายคลึงกับภาษามลายูและอินโดนีเซีย จัดอยู่ในตระกูลมาลาโย-โพลินิเซียน หรือ มลาโย-อินโดนีเซีย แบ่งป็นภาษาถิ่นย่อย เช่น ภาษาอูรักลาโว้ย ภาษากลุ่มมาซิงหรือกลุ่มสิงห์หรือมอแก็น ภาษากลุ่มสิงห์บกหรือมอเกล็น ที่สำคัญคือ เป็นภาษาที่ไม่มีระบบวรรณยุกต์เสียง (หน้า 49-50) ส่วนชาวเลที่บ้านสังกาอู้ไม่มีภาษาเขียน มีเพียงภาษาอูรักลาโว้ยเป็นภาษาพูด มีลักษณะคล้ายภาษามลายู แต่จะต่างกันบ้างในเรื่องของการออกเสียง บางคำเป็นการนำภาษาไทยมาใช้ เช่น คำว่าครู โรงเรียน วัด นอกจากนี้ยังสามารถพูดและฟังภาษาไทยทางภาคใต้ได้อย่างคล่องแคล่ว (หน้า 96)

Study Period (Data Collection)

ระยะเวลาในการวิจัย 2 ปี 10 เดือน โดยเป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ.2536 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 และระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2538 (หน้า 6-7)

History of the Group and Community

มีผู้สันนิษฐานว่าชาวเลก็คือชนเผ่าอินโดนีเซียพวกหนึ่งที่อพยพลงสู่เกาะบอร์เนียว และใช้ชีวิตร่อนเร่อยู่ในท้องทะเล จนกระทั่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามที่ต่างๆ อย่างเป็นหลักแหล่ง เช่น กลุ่มอูรักลาโว้ย บนเกาะลังกาวี เกาะอาดัง จังหวัดสตูล เกาะลิบง จังหวัดตรัง เกาะลันตา และเกาะพีพีดอน จังหวัดกระบี่ บางท่านเชื่อว่าชาวเลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของมลายู ก่อนที่มลายูจะเข้ามาอยู่อาศัย บางท่านจัดให้ชาวเลอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกเมลานีเชี่ยน ต่อมาได้โยกย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ตามหมู่เกาะในทะเลใต้ (หน้า 36-37)

Settlement Pattern

ชาวเลตั้งถิ่นฐานไม่เป็นหลักแหล่งและจะอพยพโยกย้ายตามฤดูกาล ในอดีตจะอาศัยอยู่ในเรือและขึ้นมาพักแรมบนชายหาดในยามที่เกิดพายุ ต่อมามีการตั้งหมู่บ้านรวมกันเป็นกลุ่มตามชายทะเลและเกาะต่างๆ หรือตามปากน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล โดยหันหน้าบ้านเข้าหาฝั่ง และหันหลังบ้านลงทะเลเพื่อความสะดวกหากต้องการต่อเติมบ้านในภายหลัง บ้านเรือนจึงมี 2 ประเภท คือ บ้านลอยน้ำหรือเรือชาวเล และบ้านบนบก บ้านลอยน้ำยังใช้เป็นพาหนะในการเดินทางไกลออกทะเล จึงมีลักษณะเป็นเรือสำปั้น หลังคาโค้ง และมีการแบ่งพื้นที่ภายในเรือสำหรับทำกิจวัตรประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร ประกอบอาหาร ทำงานจักสาน เลี้ยงเด็ก รวมถึงใช้เป็นห้องนอน โดยมีสมาชิกในครัวเรือนประมาณ 7-12 คน ส่วนบ้านบนบกมีลักษณะเป็นกระท่อมไม้ยกพื้น ต่อมาได้มีการพัฒนาโดยสร้างจากวัสดุที่แข็งแรงทนทานด้วยการก่ออิฐถือปูน และมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านเป็นสัดส่วน เช่น ใช้ระเบียงส่วนหน้าบ้านเป็นสถานที่พักผ่อน ใช้ส่วนหลังบ้านเป็นครัว ใช้พื้นที่บริเวณใต้ถุนสำหรับนั่งเล่น เก็บของ และปอกหอย กุ้ง ปู แต่จะไม่มีส้วมอยู่ในบ้าน (หน้า 43-45, 89-90)

Demography

ผู้วิจัยได้สำรวจข้อมูลด้านประชากรภายในหมู่บ้านกรณีศึกษา เช่น บ้านเลขที่ จำนวนสมาชิกภายในครัวเรือน ชื่อ เพศและอายุของสมาชิกภายในครัวเรือน (ตารางที่ 3 สรุปลักษณะทั่วไปของครอบครัวกรณีศึกษา หน้า 107)

Economy

อาชีพหลักของชาวเล ได้แก่ การทำประมงขนาดเล็ก เช่น การทำอวนกุ้ง ชาวเลจะไปวางอวนบริเวณรอบ ๆ เกาะลันตา ในแต่ละครั้งจะวางอวน 2-3 ผืนใหญ่ โดยจะออกอวนในตอนเช้าและกลับมาในตอนสาย เนื่องจากเป็นเวลาที่หากุ้งได้มาก กุ้งที่มีราคาดีและเป็นที่ต้องการมากที่สุด คือ กุ้งแชบ๊วย การวางไซปลา ชาวเลจะวางไซดักปลาขนาดใหญ่ในน้ำลึก เช่น บริเวณหลังเกาะลันตา หน้าเกาะไห ทิ้งไว้ในทะเลประมาณ 3-4 วันจึงกู้กลับมา ปลาที่จับได้เป็นปลาขนาดใหญ่ เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลามอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกุ้งลาย ปลาหมึก กั้ง ปู ติดมากับอวนด้วย ซึ่งตามปกติแล้วชาวเลจะนำสัตว์ทะเลที่จับได้ไปขายให้กับเถ้าแก่ หรือนายทุนที่ให้กู้ยืมเงินในการจัดซื้อเรือ เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นการผ่อนชำระค่างวด อีกทั้งยังถือเป็นการตอบแทนบุญคุณเถ้าแก่ ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ การสานเสื่อจากใบเตยทะเล การทำแหวนจากกระดองกระ การขายเปลือกหอย และการขายมุก เป็นต้น (หน้า 92-94) อาหารหลักที่ชาวเลนิยมบริโภคได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตว์และอาหารทะเล เช่น หอยตาวัว หอยเข็ม หอยขี้ หอยติเตบ หอยลิ่น ปลาหมึก ปู กุ้ง ปลากระบอก เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อไก่ และไข่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำพืชผักมาประกอบอาหาร เช่น ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ลูกเนียง ผักกาดขาว มะเขือเปราะ เป็นต้น (หน้า 94-96)

Social Organization

ครอบครัวของชาวเลเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยยึดถือญาติฝ่ายมารดาหรือภรรยาเป็นหลัก ต่อมาเมื่อทางราชการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาพ.ศ.2484 บังคับให้เด็กชาวเลเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนที่ตั้งขึ้นตามหมู่บ้าน จึงได้มีการกำหนดนามสกุลที่มีความสอดคล้องกับความชำนาญและความสามารถของชาวเลแต่ละหมู่บ้าน และมีการถือฝ่ายบิดาหรือสามีเป็นหลักมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงชาวเลบางคนไปแต่งงานกับคนพื้นเมืองและใช้นามสกุลตามสามี (หน้า 45-46) การศึกษาจากโรงเรียนทำให้ชาวเลมีการใส่ใจในคุณภาพชีวิตและมีการปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น รู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเองด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง รู้จักการออม รู้จักการเข้าสังคม และดัดแปลงประเพณีของตนให้กลมกลืนกับคนพื้นเมือง รู้จักการรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าของตนออกสู่ตลาด รู้จักการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ เป็นต้น (หน้า 47-48) ลักษณะครอบครัวของชาวเลบ้านสังกาอู้มีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก และจะมีครอบครัวของลูกหลานอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวของลูกคนสุดท้องซึ่งจะต้องรับภาระเลี้ยงดูพ่อแม่ ผู้ชายจะแต่งงานเมื่ออายุประมาณ 20-23 ปี ส่วนผู้หญิงจะแต่งงานเมื่ออายุ 16-17 ปี (หน้า 90-91) สังคมชาวเลมีการแบ่งงานกันระหว่างชายหญิงในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน โดยสามีจะมีหน้าที่เลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว และแบ่งเบาภาระครอบครัวของฝ่ายภรรยาด้วยการทำประมง ออกหาปลาในทะเล ส่วนภรรยามีหน้าที่รับผิดชอบงานภายในบ้านด้วยการหุงหาอาหาร ซักผ้าและประกอบกิจวัตรประจำวัน เมื่อสามีไปหาปลากลับมาในตอนสาย คนในครอบครัวจะมาช่วยกันปลดหอย กุ้ง ปลา ฯลฯ ออกจากอวนเพื่อนำไปจำหน่าย ในยามบ่ายจะเป็นเวลาพักผ่อนของผู้หญิง ส่วนผู้ชายจะนำอุปกรณ์ประมงมาซ่อมแซม (หน้า 91-92)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อ ชาวเลยังคงมีความเชื่อทางพุทธศาสนาหยั่งรากลึกลงภายในจิตใจ จนกระทั่งมีคำกล่าวว่า "พระพุทธเจ้าตรัสว่า คนไทยมีหน้าที่สร้างวัด ทำบุญ คนจีนมีการสร้างศาลเจ้าและบูชาผีบรรพบุรุษ ส่วนชาวเลมีการสร้างศาลาและไปรับส่วนบุญที่วัด" ผู้ชายยังคงปฏิบัติตามประเพณีด้วยการบวชในพุทธศาสนา แต่ก็มีความเชื่อเกี่ยวกับผีและวิญญาณร่วมด้วย ดังมีการสร้างศาลตามชุมชนต่างๆ เช่น ศาลโต๊ะปากพร ที่แหลมหลา จังหวัดภูเก็ต เป็นต้น รวมถึงมีความเชื่อในเรื่องต่างๆ เช่น ความเชื่อในตัวโต๊ะหมอว่าสามารถรักษาโรคด้วยการนั่งทางในได้ ความเชื่อเกี่ยวกับคาถาอาคมว่าเป็นส่วนที่ทำให้พิธีต่างๆ ขลัง ความเชื่อว่ามีผีสิงสถิตอยู่ตามที่ต่างๆ และคอยคุ้มครองป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้าย และเชื่อว่ายาเสน่ห์ที่ทำด้วยน้ำตาปลาดุหยง (ปลาพะยูน) มีความขลังมาก (หน้า 51-52) นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาอาการต่าง ๆ เช่น อาการสะอึก เชื่อว่าหากใช้นิ้วมือซึ่งแตะน้ำลายมาแตะหน้าผาก หรือนำผ้าชุบน้ำลายมาวางบนหน้าผากจะหายจากอาการสะอึก หากก้างปลาติดคอให้นำเบ็ดตกปลาไปเผาไฟแช่น้ำแล้วนำมาดื่มจึงจะหาย เป็นต้น (หน้า 98) ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ - ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด ในอดีตการทำคลอดถือเป็นเรื่องยากลำบาก แต่ละหมู่บ้านจะมีหมอตำแยเพียงคนเดียว หญิงที่ตั้งครรภ์ครบ 5 เดือนจึงต้องไปทำพิธีฝากครรภ์กับหมอตำแย เมื่อครบกำหนดคลอด 9 เดือน จะต้องเตรียมข้าวสาร ด้ายดิบ เทียน หมากพลู เงิน มอบให้หมอตำแยเพื่อขอพรให้ทั้งแม่และลูกปลอดภัยและอยู่เย็นเป็นสุข เด็กที่เกิดใหม่จะได้รับน้ำที่หมอตำแยปลุกเสกให้ตบกระหม่อมทุกวันจนครบ 44 วัน และรับประทานน้ำผึ้งรวงเพื่อถ่ายของเสีย ส่วนมารดาจะต้องอยู่ไฟ 7-9 วัน และห้ามรับประทานอาหารจำพวกปลาไม่มีเกล็ดและแตงโม เป็นต้น (หน้า 53-54) - ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงาน ชาวเลนิยมแต่งงานในหมู่กันเอง โดยฝ่ายชายจะส่งตัวแทนไปสู่ขอฝ่ายหญิงกับพ่อแม่ เมื่อฝ่ายหญิงตกลงแล้วจึงจะทำพิธีหมั้น หลังจากนั้นจึงจะมีงานเลี้ยงด้วยหมากพลูและเหล้า ส่วนในพิธีแต่งงานฝ่ายชายจะจัดขันหมาก 3 ขัน ได้แก่ ขันหมากหัว (ขันหมากเอก) ซึ่งประกอบด้วยผ้านุ่ง 2 ผืน ผ้าตัดเสื้อ 2 ชิ้น และสินสอด ขันที่ 2 และ 3 ซึ่งประกอบด้วยหมากพลูไปบ้านเจ้าสาว หลังจากแต่งงานเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะไปเที่ยวทะเลหรือเกาะต่าง ๆ จากนั้นฝ่ายชายจะต้องมาอยู่ครอบครัวฝ่ายหญิง 2-3 สัปดาห์จึงจะแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่ ปัจจุบันการแต่งงานของชาวเลเปลี่ยนไปเป็นแบบชาวเมืองมากขึ้น โดยเจ้าบ่าวจะใส่สูท ส่วนเจ้าสาวสวมชุดราตรียาว และมีการจัดงานเลี้ยงรื่นเริงอย่างสนุกสนาน (หน้า 55-56) - ประเพณีเกี่ยวกับการตาย ชาวเลจะจัดพิธีศพด้วยการฝัง ซึ่งจะกระทำในวันตายทันที แต่ถ้าไม่ทันก็จะฝังในวันรุ่งขึ้น โดยจะมีพิธีอาบน้ำศพ ซึ่งผู้ที่จะอาบน้ำให้ศพจะต้องเป็นเพศเดียวกับศพ และแต่งตัวให้ศพด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ บางคนอาจนำข้าวสารและข้าวของเครื่องใช้ใส่ในโลงไปกับศพ จากนั้นจึงให้ญาติของผู้ตายลอดใต้โลงศพ 3 ครั้ง แล้วจึงไปทำพิธีกรรมที่หลุมฝังศพ โดยเชื่อว่าจะทำให้วิญญาณผู้ตายลืมเหตุการณ์ในภพปัจจุบัน และไม่มาหลอกหลอนลูกหลาน เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะปลูกมะพร้าว 1 ต้น เพื่อให้ลูกหลานมีความร่มเย็นเป็นสุข หลังจากนั้น 3-7 วัน จึงจะมีพิธีทำบุญให้ผู้ตาย (หน้า 56-58) - ประเพณีลอยเรือ เป็นประเพณีสำคัญซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการดำรงชีวิต พิธีจะจัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม และเดือนตุลาคม เพื่อขับไล่สิ่งอัปมงคลออกจากหมู่เกาะ และขออำนาจเจ้าเกาะคุ้มครองให้มีความสุขความเจริญ ในพิธีจะมีการนำไม้เนื้ออ่อนมาช่วยกันประกอบเรือปาจั๊ก ฝีพายประจำเรือ รวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และแต่ละครอบครัวจะประดิษฐ์ตุ๊กตาไม้เท่ากับจำนวนสมาชิกในครอบครัว พร้อมกับตัดเล็บมือเล็บเท้า เศษผม ใส่กระทงไปในเรือด้วย นอกจากนี้ยังนิยมนำขนมและอาหารใส่ในเรือเพื่อฝากไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับ รุ่งสางของวันรุ่งขึ้นจึงนำเรือไปปล่อยกลางทะเล หลังจากนั้นจึงนำไม้กางเขนมาปักตลอดแนวชายฝั่งทะเลเพื่อป้องกันไม่ให้ผีร้ายและโรคภัยไข้เจ็บกลับเข้ามาคุกคามคนในชุมชนได้ - นอกจากนี้ยังมีประเพณีบูชาดาโต๊ะวาราเม้น ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ (เดือนมกราคม) เพื่อเซ่นไหว้ผีเจ้าที่เจ้าทางบริเวณหน้าผาริมทะเล รวมถึงประเพณีแต่งเปลว ซึ่งจัดขึ้นในเดือนเมษายน เพื่อบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น (หน้า 58-59, 97-98)

Education and Socialization

ในอดีตกระบวนการเรียนรู้ของสังคมชาวเลเป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ โดยมีพ่อแม่เป็นผู้อบรมสั่งสอนในเรื่องการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ด้วยวิธีการบอกเล่าและการทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น เมื่อเด็กชายอายุ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการออกหาปลา ฝึกให้เรียนรู้ธรรมชาติและการดำรงชีวิตในทะเล หัดว่ายน้ำ ดำน้ำ พายเรือ ส่วนเด็กผู้หญิงจะได้รับการฝึกหัดให้ทำงานบ้าน ปัจจุบันเด็กชาวเลได้รับการศึกษาจากโรงเรียนเพิ่มขึ้น (หน้า 47) โดยมีโรงเรียนประจำหมู่บ้านได้แก่ โรงเรียนสังกาอู้ซึ่งเปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อย่างไรก็ดีชาวบ้านสังกาอู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นจึงให้ออกมาช่วยงานที่บ้าน และไม่นิยมให้บุตรหลานได้รับการศึกษาต่อแม้ว่ากรมการศึกษานอกโรงเรียนจะเข้ามาให้บริการการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ก็ตาม (หน้า 92) จากการศึกษาพบว่าแม่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กชาวเล ทั้งในด้านการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา รองลงมาคือ ยาย โดยผ่านการปฏิสัมพันธ์ด้วยการสัมผัส พูดคุย ปฏิบัติให้ดู ชมเชย ว่ากล่าวตักเตือน ลงโทษ รวมถึงการใช้สื่อต่างๆ เช่น เพลงสตริง ภาพยนตร์จีน ภาพยนตร์อินเดีย เพลงร็องแง็ง การรำวงหรือรำร็องแง็ง การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม ด้วยการฝึกอบรมเรื่องกิริยามารยาทในชีวิตประจำวัน เช่น มารยาทในการรับประทานอาหาร มารยาทต่อผู้อาวุโส มารยาทในการพูด สอนให้รู้จักช่วยเหลือและแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น มีความสามัคคีและความซื่อสัตย์ ด้วยการปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง การอบรมสั่งสอนและฝึกให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวและชุมชน การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาด้วยการถ่ายทอดความรู้ด้านภาษา ได้แก่ ภาษาอูรักลาโว้ย ภาษาถิ่นไทยใต้ และภาษาไทยภาคกลาง ผ่านการสนทนากับสมาชิกในครอบครัว คนในหมู่บ้านและพ่อค้าแม่ค้าที่เข้ามาทำการค้า จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์รายการต่าง ๆ รวมถึงได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กผู้ชาย เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพประมง และการใช้ชีวิตในทะเล บางครั้งเด็กชาวเลยังได้แลกเปลี่ยนความคิดและจินตนาการด้วยการเล่นกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน นอกจากนี้แม่ยังถ่ายทอดความเชื่อประสบการณ์เกี่ยวกับผี และประเพณีต่าง ๆ ด้วยการพาเด็กไปร่วมงาน เช่น ประเพณีแต่งแปลง พิธีแก้บน ประเพณีลอยเรือ เป็นต้น (หน้า 120-132)

Health and Medicine

สุขภาพอนามัยด้านอาหารและโภชนาการ เด็ก ๆ ชาวเลได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมข้นหวานและรับประทานอาหารที่หาได้ในท้องถิ่นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ และได้รับอิสระในการเลือกซื้อขนมรับประทานตามความพอใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมปัง หมากฝรั่ง ลูกอม หวานเย็น น้ำอัดลม กระทิงแดง เครื่องดื่มบำรุงกำลัง (หน้า 110) การดูแลสุขภาพอนามัยและการรักษาพยาบาล ชาวเลดั้งเดิมไม่ค่อยให้ความสำคัญกับสุขลักษณะและสุขภาพอนามัยเท่าที่ควร โดยยังคงรับประทานอาหารด้วยมือ ขับถ่ายในป่าหรือริมทะเล และทิ้งสิ่งปฏิกูลบริเวณรอบๆ บ้านเด็กๆ ชาวเลจะได้รับการอาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง (เช้า เย็น) โดยเด็กผู้หญิงจะได้รับการสระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ส่วนเด็กผู้ชายแม่จะสระผมให้ทุกวัน สบู่และแชมพูที่ใช้เป็นชนิดเดียวกับที่แม่ใช้ และดูแลให้เด็กแปลงฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งในตอนเช้า นอกจากนี้ยังได้รับการดูแลรักษาความสะอาดด้วยการตัดเล็บ ตัดผม และทำความสะอาดหูตามความเหมาะสม (หน้า 110-111) แต่ละหมู่บ้านจะมีอาสาสมัครประจำหมู่บ้านทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารจากโรงพยาบาลให้กับชาวบ้าน ทางโรงพยาบาลจะจัดแพทย์และพยาบาลมาฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก ๆ ถึงหมู่บ้าน อาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในเด็กชาวเล เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปวดท้อง โรคพยาธิ โรคติดต่อต่างๆ ได้แก่ ไข้อีสุกอีใส ไข้เลือดออก โรคผิวหนัง ได้แก่ ผด ผื่น แผลพุพอง และบาดแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่ มีดบาด หกล้ม เปลือกหอยบาด การรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ แม่จะทำการปฐมพยาบาลและรักษาตามอาการของโรค โดยการซื้อยามาให้รับประทานหรือใช้วิธีรักษาที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหรือผู้ที่เคยปฏิบัติกันแล้วหาย แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นจึงจะพาไปรักษาที่โรงพยาบาลหรือให้โต๊ะหมอทำพิธีทำยาและปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัวเด็ก (หน้า 48-49, 113, 115)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้ชายชาวเลนิยมนุ่งผ้าเตี่ยว ไม่สวมเสื้อ ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วนิยมนุ่งกระโจมอกด้วยผ้าโสร่งมีลาย ไม่สวมเสื้อ แต่เมื่อออกไปในตลาดหรือที่ชุมชนผู้ชายจะนุ่งกางเกงจีนผ้า 2 ด้าน ส่วนผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุง สวมเสื้อ และเครื่องประดับที่ทำด้วยทอง ไม่สวมรองเท้า เด็ก ๆ และหนุ่มสาวแต่งตัวตามสมัยนิยม (หน้า 42, 97) ศิลปะพื้นบ้านและการละเล่นของชาวเล ได้แก่ โนรากาบง รำรองแง็ง และบทเพลงต่าง ๆ สันนิษฐานว่าการละเล่นโนรากาบงได้รับอิทธิพลมาจากคนพื้นเมืองในอินโดนีเซีย การแสดงจะใช้คนรำซึ่งเป็นผู้หญิง 2 คน รำอยู่กับที่และส่ายหน้าไปทางซ้าย ขวา พร้อมกับยักคิ้วหลิ่วตา ยักย้ายส่วยสะโพกตามจังหวะดนตรีพื้นเมือง (หน้า 60) การแสดงรองแง็งหรือหล้อแง็ง จะใช้ผู้หญิงร่ายรำตามจังหวะดนตรี ซึ่งประกอบด้วยไวโอลิน ฆ้อง ฉิ่ง กรับ กลองรำมะนา (หน้า 60) บทเพลงพื้นบ้าน ได้แก่ เพลงติมังลมายา ซึ่งเป็นเพลงกล่อมเด็กเนื้อหาเป็นการรำพันของลูกที่มีชีวิตผูกพันอยู่กับพ่อแม่ และบทเพลงที่ใช้ประกอบในพิธีลอยเรือ เพลงซัมปันกาโยฮ์ (หน้า 61-62)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวเลมองว่าอาจแบ่งชาวเลได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มมอแก็นซึ่งใช้ภาษามอเก็นเป็นภาษาพูด และชาวเลกลุ่มอูรักลาโว้ยซึ่งใช้ภาษาอูรักลาโว้ยเป็นภาษาพูด (หน้า 38-39) ผู้ชายชาวเลมีรูปร่างกำยำ ผมหยิก ผิวแดงคล้ำ ส่วนผู้หญิงผิวดำ รูปร่างสูงโปร่ง หน้าตาคมคาย ผมหยิกหยักศก (หน้า 42)

Social Cultural and Identity Change

สื่อมวลชนและพ่อค้าที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับชุมชนได้ก่อให้เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากภายนอกที่เข้ามาสู่ชุมชน พร้อมกับระบบบริโภคนิยม โดยที่คนในชุมชนมิได้เตรียมตัวหรือเลือกรับวัฒนธรรมที่มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตและสภาพแวดล้อมของชุมชน ทำให้เด็ก ๆ หันมากินนมข้นหวานชง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมหวานสำเร็จรูป ผงชูรส และของเล่นสำเร็จรูปกันมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างสุขนิสัยในการบริโภคที่ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชาวเล อีกทั้งยังเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของเด็กๆ ชาวเล (หน้า 141)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้ใช้ตารางประกอบการบรรยาย เปรียบเทียบ และสรุปข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในกรณีศึกษา ได้แก่ ตารางอาหารสำหรับเด็ก 3-6 ปี (ต่อวัน) (หน้า 16) ตารางการเปรียบเทียบคำพูดของชาวเลกลุ่มต่างๆ กับภาษาไทยและภาษามลายู (หน้า 50) ตารางสรุปลักษณะทั่วไปของครอบครัวศึกษา (หน้า 107) และตารางประเภทของอาหารที่นำมาประกอบอาหารในการเลี้ยงดูเด็ก (หน้า 108)

Text Analyst ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG อูรักลาโว้ย, ชาวเล, การอบรมเลี้ยงดู, การถ่ายทอดวัฒนธรรม, กระบวนการขัดเกลาทางสังคม, บ้านสังกาอู้, กระบี่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง