สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอแกน,ชาวเล,การสื่อสารการศึกษา,หมู่เกาะสุรินทร์,พังงา
Author สมเกียรติ สัจจารักษ์
Title การศึกษาการสื่อสารการศึกษาของชาวเล หมู่เกาะสุรินทร์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอแกน บะซิง มาซิง, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 115 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา ภาควิชาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ศึกษาธรรมชาติของ "การสื่อสารการศึกษา" ของชาวเลหมู่เกาะสุรินทร์ ในด้านวิธีการสื่อสารการศึกษา สื่อที่ใช้ในการสื่อสารการศึกษา และประเภทของการสื่อสารการศึกษา โดยศึกษาชาวเลมอเก็น ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา 36 ครอบครัว มีประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง 134 คน ผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลจาการสังเกตุ และสัมภาษณ์ ใช้การสังเกตุแบบมีส่วนร่วม (participation observation) และแบบไม่มีส่วนร่วม และเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi -structured) ผลการวิจัยสรุปได้คือ วิธีการสื่อสารการศึกษาของชาวเลหมู่เกาะสุรินทร์ ใช้วิธีบอกเล่าโดยใช้ภาษามอเก็น (moken) ความรู้บางอย่างถูกถ่ายทอดโดยการชี้แนะ เด็กๆ เรียนรู้จากการสังเกตพ่อแม่และคนในชุมชน มีลักษณะการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (learning by doing) สื่อที่ใช้ในการสื่อสารการศึกษา ใช้จากบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด และสื่อของจริง ได้แก่ สถานที่จริงเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น ประเภทของกรสื่อสารการศึกษา ใช้การศึกษาระหว่างบุคคล (interpersonal to communication) ระหว่างกลุ่มกับบุคคล (group to person) และระหว่างกลุ่มผู้ใหญ่ไปยังกลุ่มเด็ก (group to group)

Focus

การสื่อสารการศึกษาของชาวเล หมู่เกาะสุรินทร์

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเลเผ่ามอเก็น (Moken)

Language and Linguistic Affiliations

มีภาษาพูดเป็นของตัวเองแต่ไม่มีภาษาเขียน เป็นภาษาลักษณะเดียวกันกับชาวเลบนเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และชาวเลบนเกาะย่านเชือก ประเทศสหภาพพม่า ชาวเลบนหมู่เกาะสุรินทร์สามารถพูดภาษาต่างๆ ได้หลายภาษา เช่นภาษาพม่า ภาษามอเก็น ภาษามาลายู และภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาที่พูดเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามาลายู รับอิทธิพลมาจากภาษามาลายู พม่า และไทย เป็นภาษาย่อยในตระกูลภาษา "มาลาโย-โพลินิเซียน" โดยมีอิทธิพลต่อภาษามอเก็นถึง 49 เปอร์เซ็นต์ ภาษาชาวเลบางคำคล้ายภาษามาลายู หรืออินโดนีเซีย แต่สำเนียงผิดเพี้ยนไป ภาษาตระกูล " มาลาโย-โพลินิเซียน" หรือ "มลาโย-อินโดนีเซียน" มีชนชาติต่างๆ ใช้กันมาก ได้แก่ ชวา บาหลี มาดูริส มักกะสัน บูกีส ดยัค ตามเกาะต่างๆ ภาษาตระกูลนี้จะเป็นภาษาถิ่นย่อย (Sub-dialect) ที่แบ่งออกได้อีกหลายถิ่น เช่น ภาษาที่ชาวเลที่จังหวัดภูเก็ต จะแบ่งเป็นภาษาอูรัก ลาโว้ย (Urak lawoi) ภาษากลุ่มมาซิง หรือกลุ่มสิงห์ หรือมอเก็น (Moken) แบ่งเป็นภาษาที่ชาวเลบนหมู่เกาะสุรินทร์ และเกาะพระทอง จังหวัดพังงา และภาษากลุ่มสิงห์บก หรือ มอเกล็น (Moklen)(หน้า 44)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2539

History of the Group and Community

ชาวเล พบในประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และพม่า ถูกจัดไว้เป็นชนกลุ่มน้อย (minority group) มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามวัฒนธรรมท้องถิ่น คือ ประเทศไทย เรียก ชาวเล ชาวน้ำ ชาวไทยใหม่ ชาวสิงห์ หรือ มาซิง พม่า เรียกว่า เซลัง (Selang) เซลอง (Selong) หรือเซลอน (Selon) ที่ยะโฮว์ในสิงคโปร์และมาเลเซีย เรียก โอรังละอุต (Orang Laut) หรือรายัตเลาต์ (Rayat Laut) ในอินโดนีเซีย เรียก บาโจ (Bajo) บาโรก (Barok) เซกะฮ์ (Sekah) รายัต (Rayat) หรือ ฌูรู (Juru) ทางฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตรา เรียก รายัต (Rayat) หรือ กัวลา (Kuala) ส่วนประเทศอื่นๆ เรียกตามสากลว่า Sea Gyphy หรือ Sea Dyaks หรือ Orang Selat ต้นกำเนิดของชาวเลมีผู้ศึกษาและสันนิษฐาน คือ สันนิษฐานว่าเป็นพวกมองโกลที่อพยพจากตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมาทางลุ่มน้ำแยงซีเกียง ลงมาตามลำน้ำโขงออกสู่ทะเลเร่ร่อนไปตามเกาะต่างๆ จนถึงแหลมมาลายูและแนวฝั่งพม่า โดยเชื่อว่าชาวเลเป็นบรรพบุรุษของชนชาติมลายูผสมกับชาติอื่น นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่าเดิมแหลมมลายูเป็นที่อยู่ของพวกเซมังและซาไก ต่อมามีชนพูดภาษามอญเขมรอพยพมาจากทางเหนือ เป็นพวกที่เจริญแล้ว ได้ทำแพข้ามไปอยู่ที่เกาะสุมาตรา ชวา และบอร์เนียว และขับไล่พวกมลายูเดิมเข้าไปอยู่ในป่าบ้างหนีไปอยู่ตามชายทะเลบ้าง กลายเป็นพวกจากุน ซึ่งตรงกับข้อสันนิษฐานที่ว่าเดิมคาบสมุทรมลายูเป็นที่อาศัยของพวกเชื้อสายนิกริโต (Nigrito) ต่อมาถูกพวกโปรโตมาเลย์ที่อพยพมาจากมณฑลยูนนานของจีนรุกรานจนต้องถอยร่นไปอยู่ในป่าเขา หลังจากนั้น 300 ปี ก่อน ค.ศ. มีพวกอพยพมาจากมณฑลยูนนานอีก เรียกพวกดิวเทอโรมาเลย์ ซึ่งเจริญกว่าพวกแรกมาขับไล่พวกโปรโตมาเลย์ให้ถอยลึกเข้าไปทางใต้ คือ มลายูตอนใต้จนกลายเป็นพวกจากุน ส่วนข้อสันนิษฐานขัดแย้ง ได้แก่ ข้อสันนิษฐานที่เชื่อว่าบรรพบุรุษชาวเลเริ่มจากชนเผ่าอินโดนีเซียพวกหนึ่งที่อพยพสู่เกาะบอร์เนียว ทำให้เกิดเผ่าดยัค (Dyaks) พวกที่อาศัยบนฝั่งกลายเป็นบรรพบุรุษของคนพื้นเมืองที่เกาะบอร์เนียว ส่วนพวกที่ร่อนเร่ตามท้องทะเล เรียก ดยัคทะเล (Sea Dyaks) ได้อพยพตามแนวหมู่เกาะจนถึงแหลมมลายู บางพวกขึ้นฝั่งกลายเป็นบรรพบุรุษของชาวมลายู บางพวกแล่นเรือมาทางช่องแคบมะละกา ออกสู่ทะเลอันดามัน มาตามหมู่เกาะฝั่งตะวันตกของไทย ขึ้นไปทางหมู่เกาะทางตอนใต้ของประเทศพม่า ดำรงชีวิตแบบร่อนเร่ เรียกว่า "ยิบซีทะเล" (Sea Gypsy) และนอกจากนี้เชื่อว่าชาวเลจัดอยู่ในกลุ่มชนพวก มาลานีเซียน (Melanesian) มีถิ่นฐานอยู่ในหกมู่เกาะทะเลใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก หรือ หมู่เกาะเมลานีเซีย (เกาะของคนผิวดำ) และได้ย้ายถิ่นฐานกระจายไปในเกาะทะเลใต้ มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ปัจจุบันถูกกลืนจากประเทศที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยชาวเลอาศัยตามเกาะ ชายหาด หรือชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกทางใต้ บริเวณทะเลอันดามัน แบ่งออกเป็น 3 เผ่าพันธุ์ คือ เผ่าอูรักลาโว้ย (Urak lawoi) อยู่ทางตอนใต้ของทะเลอันดามัน บริเวณเกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล เผ่ามอเกล็น (Moklen) หรือพวกสิงห์บก อยู่บริเวณหาดราไวย์ เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และชายฝั่งทะเลบริเวณหาดบางสัก อำเภอตะกั่วป่า และบ้านลำปี จังหวัดพังงา ชาวเลเผ่ามอเก็น (Moklen) หรือชาวเลพวกสิงห์หรือมาซิง ซึ่งเป็นชาวเลบนหมู่เกาะสุรินทร์เป็นชาวเลพวกเดียวกับที่อาศัยอยู่ที่เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และที่อาศัยอยู่ที่เกาะย่านเชือกของประเทศสหภาพพม่าทางทิศเหนือของหมู่เกาะสุรินทร์ (หน้า 42) ชาวเลในจังหวัดพังงา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวเลเชื้อสายมอเกล็น (Moklen) หรือกลุ่มสิงห์บก และกลุ่มชาวเลเชื้อสายมอเก็น (moken) หรือกลุ่มสิงห์ หรือมาซิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่รักษาชีวิตแบบเดิม ปัจจุบันเหลือกลุ่มเดียวคือ กลุ่มชาวเลบนอุทยานแห่งชาติทางทะเลหมู่เกาะสุรินทร์อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา (หน้า 25-36)

Settlement Pattern

ลักษณะที่ตั้งของชุมชนชาวเล ตั้งอยู่บนชายหาดด้านหลังเป็นภูเขาสูง โดยที่พักอาศัยของชาวเลบนหมู่เกาะสุรินทร์ มี 2 ลักษณะ คือเพิงพักที่อยู่บนชายหาด และเพิงพักที่อยู่บนเรือ ที่พักที่อยู่บนชายหาดใช้พักอาศัยในช่วงฤดูฝน ราวเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ลักษณะหลังคามุงด้วยใบค้อหรือใบเตย ที่เย็บติดกันเรียกว่า "แชง" ฝาบ้านใช้ไม่ไผ่ซีกสับเป็นฟาก พื้นยกสูงเรือนปลูกเรียงยาวไม่มีระเบียงมีนอกชานตรงหน้าบันได แต่ละหลังมีประตู 2 บาน หน้าบ้านและหลังบ้าน หน้าต่าง 1-2 ช่องตามขนาดบ้านพักภายในใช้ใบค้อหรือใบเตยกั้นห้อง บ้านขนาดใหญ่มี 3-5 ห้อง บ้านขนาดเล็กมี 1-2 ห้อง บ้านต้องหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต้องยกพื้นมีบันไดเป็นขั้นคี่ ถ้าเป็นขั้นคู่จะเป็นบ้านผี ก่อนจะปลูกบ้านต้องดูที่ไม่ให้เป็นหลุมเป็นบ่อเพราะผีทะเลจะไหลมาซ่อนอยู่ใต้บ้าน ระยะห่างระหว่างบ้านแต่ละหลังต้องห่างกันพอให้ผีผ่านได้ถ้าผ่านไม่ได้ผีจะเข้าบ้านจะทำให้เด็กๆ ในบ้านไม่สบาย นอกจากนี้ขอบประตูด้านบนของบ้านจะแขวนกะลามะพร้าวไว้ เรียก "กันกะตอย" ไว้กันผีกระสือเข้าไปในบ้าน ส่วนบ้านพักที่อยู่ในเรือจะไว้พักช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน โดยจะขนย้ายสิ่งของต่างๆ ลงมาอยู่บนเรือ เรียกเรือง่ามมีความยาว 6-7 วา ความกว้างกลางลำเรือ ประมาณ 2 วา ตัวเรือใช้ไม้ซุงขุดให้เป็นลำเรือแล้วต่อด้วยไม้ระกำโดยใช้ชันอุดระหว่างรอยต่อ ง่ามบริเวณหัวเรือและท้ายเรือใช้สำหรับเป็นบันไดขึ้นเรือ ตัวเรือใช้กรรเชียง หลังคามุงด้วยใบเตยเพราะสามารถม้วนเก็บได้ ปัจจุบันเรือง่ามใช้ไม้กระดานแทนไม้ระกำ และใช้เครื่องยนต์แทนกรรเชียงเรือ (หน้า 43-44)

Demography

ประชากรชาวเลที่หมู่เกาะสุรินทร์มีทั้งหมด 134 คน เป็นชาย 57 คน ชายที่เป็นเด็ก 31 คน ชายที่เป็นผู้ใหญ่ 25 คน ชายชรา 1 คน เป็นหญิง 77 คน หญิงที่เป็นเด็ก 37 คน หญิงที่เป็นผู้ใหญ่ 36 คน หญิงชรา 4 คน จากการสำรวจของผู้วิจัยในพื้นที่ และสำรวจจากข้อมูลของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ปี พ.ศ. 2540 (หน้า 42)

Economy

ปัจจุบันชาวเลประกอบอาชีพเป็น 2 ลักษณะได้แก่ การประกอบอาชีพทางทะเล คือ จับสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาและหอยต่างๆ และประกอบอาชีพบนบก คือ เก็บของป่า ได้แก่น้ำผึ้ง ซึ่งสิ่งที่หาได้จะนำไปขายให้พ่อค้าในจังหวัดระนอง หรือแลกเปลี่ยนกับร้านค้าโดยจะแลกเปลี่ยนเป็น ข้าวสาร น้ำตาล พริกแห้ง เกลือ หอม กระเทียม น้ำมัน น้ำปลา เป็นต้น (หน้า 45)

Social Organization

ครอบครัวเป็นลักษณะครอบครัวขยาย เมื่อแต่งงานแล้วจะแยกครอบครัวไปโดยปลูกบ้านอยู่ใกล้ๆ กับบ้านพ่อแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือ ต่อเติมบ้านให้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และอาศัยด้วยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ส่วนครอบครัวที่อาศัยอยู่บนเรือ เมื่อออกเรือเร่ร่อนไปตามเกาะต่างๆ ก็จะพาสมาชิกครอบครัวทั้ง ปู่ ย่า ตา ยาย ไปด้วย ครอบครัวของชาวเลจะมีพ่อเป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้หาปัจจัยสี่มาเลี้ยงดูครอบครัว และมีแม่อยู่บ้านเพื่ออบรมสมาชิกในครอบครัว ถ้ามีลูกสาวจะต้องช่วยเหลืองานบ้านต่างๆ และช่วยแม่ดูแลน้อง ส่วนลูกชายเมื่ออายุครบ 10 ขวบ ก็จะออกไปหากินกับพ่อ (หน้า50) ประเพณีของชาวเล จะคล้ายกันเนื่องจากไปมาหาสู่กันเสมอ บางครั้งก็ทำพิธีร่วมกัน ประเพณีแต่งงาน มีการแห่ขันหมากได้แก่ หมาก พลู ผ้าสีต่างๆ ไปที่บ้านเจ้าสาว ในเวลากลางคืน เมื่อเสร็จพิธีจะร้องเพลงเต้นรำกัน (หน้า 52)

Political Organization

ลักษณะสังคมจะมีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษและผีธรรมชาติ ลักษณะของครอบครัวจะเป็นครอบครัวขยาย มีหัวหน้าเผ่าเป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ ทำหน้าที่ติดต่อกับผี และตัดสินคดีความ เช่น การทะเลาะวิวาทกันทั้งระหว่างเพื่อนบ้าน และระหว่างสามีภรรยา (หน้า42)

Belief System

ชาวเลเชื่อเรื่องวิญญาณ นับถือภูติผี โดยเชื่อว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เกิดจากการลงโทษของผี เมื่อคนในชุมชนเจ็บป่วยหัวหน้าเผ่าซึ่งเป็นหมอผีประจำเผ่า "ยียังบูตี" จะเข้าทรงหาสาเหตุของการไม่สบาย ถ้าเด็กไม่สบายหัวหน้าเผ่าจะให้ไว้จุก เจาะหู ใช้พริกแห้ง กระเทียม พริกไทย ผูกด้ายแล้วนำไปแขวนคอ ผูกมือ หรือผูกเอว ผู้ใหญ่เมื่อไม่สบายต้องหาของทะเล เช่นเต่า หอย มาเซ่นไหว้ เมื่อผู้ชายจะออกทะเลหมอผีก็จะให้เครื่องรางเป็นเชือกสีขาวมาผูกต้นแขน เพื่อช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัยจากอันตรายและผีสาง นอกจากนี้หมอผียังทำหน้าที่ดูฤกษ์ยามในการทำพิธี ได้แก่ พิธีลอยเรือในเดือน 5 ของทุกๆ ปี เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อผีธรรมชาติ และเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่เรียกว่า "โต๊ะ" (ปู่หรือตา) บรรพบุรุษที่นับถือจะเป็นผู้นำคนแรกๆที่เสียชีวิต เชื่อว่าจะช่วยปกป้องลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ มีการสร้างศาลบรรพบุรุษ และบูชาปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 11 และพิธีลอยเรือ พิธีเซ่นไหว้เครื่องมือในการทำมาหากิน (หน้า 51-52) การคลอดลูก คลอดโดยหมอตำแย ชาวเลเรียก "แม่ทาน" โดยหมอผีต้องอยู่ด้วยเพื่อช่วยเรียกดวงวิญญาณแม่ทานในอดีตมาช่วยผลักเด็กออก การคลอดจะคลอดที่บ้านตนเองบนแคร่ไม้ไผ่ยกสูง ครอบครัวที่เร่ร่อนในทะเลจะมีแม่ทานไปด้วย เมื่อคลอดแล้วต้องทำพิธีเซ่นไหว้ผีแม่ทานเพื่อให้ช่วยปกป้องเด็กให้ปลอดภัย แม่ต้องอยู่ไฟโดยก่อไฟไว้ใต้แคร่ไม้ไผ่ 2-3 วันและกินข้าวสวยคลุกพริกไทยหรือเกลือ ท้องจะได้ร้อนทำให้เลือดแข็งตัวเร็ว งานศพ ผู้ชายจะช่วยกันทำโลงแล้วนำผู้ตายใส่ไว้เก็บไว้ที่บ้านผู้ตาย 2-3 คืน เรียก "เฝ้าศพ" มีการขับร้องพรรณนาความดีของผู้ตาย จากนั้นเอาไปฝังในหลุมลึก 2 เมตร บริเวณที่ฝั่งศพปัจจุบันอยู่ที่อ่าวแม่ยายทางทิศตะวันออกของเกาะสุรินทร์เหนือ โดยจะเอาของใช้เสื้อผ้าของกินใส่ลงไปในหลุมด้วย เมื่อกลบดินแล้วจะนำต้นไม้มาปลูกถ้าต้นไม้เจริญงอกงามแสดงถึงลูกหลานมีความสุข คนตายจะไม่ต้องห่วงลูกหลาน ส่วนหัวหน้าเผ่าถ้าตายจะเอา "ไมโลโบง" ซึ่งเป็นรูปแกะสลักด้วยไม้ ปักหัวหลุมท้ายหลุม ชาวเลจะเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโส เพราะเชื่อว่าเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือดูแล เมื่อออกทะเลได้เต่าทะเลจะแบ่งเนื้อเต่าส่วนหนึ่งให้ผู้อาวุโส เพราะการให้เนื้อเต่าเป็นการให้ความเคารพโดยเต่าจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ เช่นพิธีกรรมลอยเรือ และเป็นอาหารที่ใช้เซ่นไหว้ผีและวิญญาณด้วย (หน้า 52-54)

Education and Socialization

เนื่องจากเกาะสุรินทร์อยู่ไกลจากฝั่งมาก และเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใช้ชีวิตเร่ร่อน ไม่มีทะเบียนราษฏร์ที่ถูกต้อง จึงยังไม่มีหน่วยงานราชการใด เข้าไปจัดการศึกษาให้เป็นรูปแบบ การศึกษาจึงเป็นแบบการเรียนรู้จากครอบครัวและชุมชน โดยมี พ่อ แม่ หัวหน้าเผ่า ตลอดจนคนในเผ่าเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ในเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น การทำมาหากิน การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การสร้างเครื่องมือสำหรับประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล ระเบียบประเพณีของเผ่า (หน้า 50-51) การถ่ายทอดด้านศิลปะ มีการจักสานใบเตยป่าเป็นแตะกัน (เสื่อ) อีทุ้ม (กระปุก) โดยจะเป็นงานของผู้หญิง ใช้วิธีการบอกพร้อมกับทำให้ดูโดยเริ่มจากขั้นตอนง่ายๆ ก่อน การถ่ายทอดการร้องเพลงโดยถ่ายทอดจากคนอื่นๆ ร้อง แล้วจดจำมาหัดร้องเอง เมื่อติดขัดก็จะถามคนในหมู่บ้าน การถ่ายทอดด้านการอบรมเลี้ยงดูสมาชิก ภายในสังคมจะให้ความเคารพผู้อาวุโส นอกจาก ปู่ ย่า ตา ยาย แล้วยังเชื่อฟังหัวหน้าเผ่าและ "แม่ทาน" ซึ่งเป็นหมอตำแยประจำเผ่าด้วย โดยการอบรมสมาชิกในครอบครัวเป็นหน้าที่ของแม่ บางครอบครัวมี ย่า ยาย ด้วย โดยวิธีการสื่อสารการศึกษาจะถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆโดยการบอกเล่าด้วยภาษาตนเอง เป็นภาษามอเก็น ซึ่งเป็นภาษาย่อยในตระกูลภาษา มาลาโย - โพลินิเซียน มีเพียงภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน นอกจากนี้บางอย่างเป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำจากการปฏิบัติจริง (Learning by doing) เช่นแจวเรือ ถ่อเรือ สื่อที่ใช้ในการสื่อสารการศึกษาของชาวเลได้แก่บุคคล คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้อาวุโสของชุมชน นอกจากบุคคลการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้จากของจริงทั้งสิ้น ประเภทการสื่อสารการศึกษา ใช้การถ่ายทอดระหว่างบุคคล (Personal Communications) พ่อจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในการประกอบอาชีพ การสร้างที่อยู่อาศัยให้ลูกชาย แม่จะมีความใกล้ชิดกับลูกสาวจะถ่ายทอดความรู้ด้านการรักษาสุขภาพ การอบรมให้เป็นคนดี การแต่งกาย จนถึงการปรุงอาหารให้แก่ลูกๆ บางครอบครัวมีปู่ ย่า ตา ยายก็จะเป็นผู้ถ่ายทอดให้ บางครั้งมีการถ่ายทอดระหว่างเพื่อนบ้าน ระหว่างพี่น้อง หรือเป็นการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น การถ่ายทอดการเป็นหมอตำแยจากแม่สู่ลูก การถ่ายทอดการเป็นหัวหน้าเผ่าจากพ่อสู่ลูกเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดจากกลุ่มคนในชุมชนไปยังบุคคล (Group to person) ได้แก่การทำมาหากินเป็นกลุ่ม หรือการถ่ายทอดจากกลุ่มผู้ใหญ่ไปสู่กลุ่มเด็ก (Group to Group) นอกจากจะถ่ายทอดกันในกลุ่มแล้วยังมีการติดต่อกับกลุ่มอื่นเช่น ชาวเลบนเกาะพระทอง และเกาะย่านเชือก รวมถึงการแลกเปลี่ยนสินค้ากับพ่อค้าแม่ค้าในจังหวัดระนองก็จัดเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล (หน้า 68-75)

Health and Medicine

บริเวณชุมชนมีเศษขยะ เศษอาหาร และการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีการแบ่งพื้นที่ที่ชัดเจน ประกอบกับการขับถ่ายของเสีย โดยเด็กจะขับถ่ายบริเวณชายหาดแล้วให้น้ำทะเลชะล้างออกไป ผู้ใหญ่จะขับถ่ายห่างจากชุมชนประมาณ 20 เมตร จึงทำให้บริเวณรอบๆชุมชนไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเนื่องจากการใช้ชีวิตอยู่กับทะเลโดยไม่ได้สวมเสื้อ จึงมีปัญหาเรื่องโรคผิวหนังโดยผิวหนังจะกร้านดำ เป็นขุย กลาก เกลื้อน นอกจากนี้ยังมีไข้มาเลเรีย เพราะมีฝนตกชุกและมีการติดต่อกับพม่าประกอบกับไม่มีมุ้ง และเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีอหิวาตกโรคทำให้มีการย้ายถิ่นฐานจากอ่าวบอนใหญ่บนเกาะสุรินทร์ใต้มาตั้งถิ่นฐานที่อ่าวช่องขาด ในคนแก่พบโรคเกี่ยวกับหูและตา เนื่องจากการดำน้ำลึกมากโดยไม่มีเครื่องป้องกันในวัยหนุ่ม บางคนแก้วหูแตก สายตาพร่ามัว การรักษาพยาบาล รักษาแบบดั้งเดิมจากการถ่ายทอดโดยบรรพบุรุษ คือ มีการลงหมอผี เพื่อติดต่อกับผีว่าไม่สบายเพราะอะไร แล้วทำพิธีเซ่นไหว้ บางครั้งก็เก็บของป่ามาทำยา เรียก ยาผีบอก โดยเอาใบไม้มาตำแล้วผสมให้เด็กอาบตอนเช้า ถ้าเป็นเรื้อรังก็จะเจาะหูแขวนต่างหู ผูกมือ ผูกสะเอว หรือใช้กระเทียม พริกไทย แขวนคอ ปัจจุบันสาธารณสุขจังหวัดพังงามีบทบาทมากขึ้น มีการหยอดวัคซีนทารกแรกเกิด ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์รักษาพยาบาลเบื้องต้น ชาวเลจึงมีสุขภาพอนามัยดีกว่าอดีตมาก (หน้า 49)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย นุ่งผ้าโสร่งคล้ายของชาวมลายูแต่ลายผ้าคล้ายของพม่า โดยจะนุ่งแต่โสร่งไม่สวมเสื้อ ปัจจุบันพบในคนสูงอายุ ส่วนคนทั่วไปนุ่งกางเกงแบบจีนที่ชาวตังเกนิยมนุ่งแต่ไม่ใส่เสื้อเหมือนเดิม ผู้หญิงจะนุ่งผ้าถุงหรือโสร่งและไม่ใส่เสื้อ เครื่องประดับผู้หญิงชาวเลนิยมเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน เพราะในอดีตหาซื้อง่ายจากเกาะสอง ของพม่า ปัจจุบันนิยมใส่เครื่องประดับทองคำนอกจากนี้เด็กชาวมอแกนเมื่อวิ่งเล่นได้แล้วพ่อแม่จะสวมกำไลที่ทำจากกะดองเต่ากระให้เพื่อกันผีกระในป่า ศิลปะและการบันเทิง ศิลปะพบรูปแกะสลักสัญลักษณ์แทนบรรพบุรุษเรียกตัว "อีบาบ อีบูม" โดยอีบาบ เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษที่เป็นผู้ชาย อีบูม แทนสัญลักษณ์บรรพบุรุษที่เป็นผู้หญิง และมี "กาบางแลลอย" ซึ่งเป็นเรือขนาดเล็กยาวประมาณ 1 เมตรใช้ใส่สิ่งของไปลอยทะเล ผู้หญิงชาวเลจักจักสานใบเตยป่าเป็นกระปุก เรียก "อีทุ้ม" มีทั้งรูปทรงสี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม และทรงกลมไว้ใส่สิ่งของเครื่องใช้และขายให้นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังจักสานเสื่อ เรียก "แตะกัน" ไว้ใช้ในบ้านด้วย ศิลปะการดนตรีและบันเทิงมีการละเล่นพื้นบ้านมีรำวงชาวเล และรองเง็ง ซึ่งจะมีความแตกต่างกับท่ารำของมุสลิม ผู้ชายสามารถตีกลองรำมะนาได้ดี เพลงมีทั้งไว้ร้องเพื่อความสนุกสนานและขับไล่ผีร้าย เรียกเพลง "คูลาวันโด" เพลงกล่อมเด็ก เรียกเพลง "ติมังลยา" การร้องเพลงจะร้องกันทุกวันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดื่มสุราจะใช้ถังน้ำมันหรือจาน ชามเคาะเป็นจังหวะ ส่วนเพลงกล่อมเด็กจะร้องโดยคนแก่เวลาเลี้ยงหลานโดยสมัยก่อนมีเป็นสิบๆ เพลง ปัจจุบันเหลือแค่ 2 - 3 เพลง (หน้า 54-55)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณชายฝั่ง และบริเวณเกาะแก่งต่างๆ อันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเลได้ถูกชาวเลทำลาย เพื่อนำไปใช้ในการผลิตสินค้าที่ระลึกจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว เช่น ปะการัง กัลปังหา เต่ากระ หอยชนิดต่างๆ กลุ่มเยาวชนในปัจจุบันได้ถูกนักท่องเที่ยวมอมเมาสิ่งเสพติด ประเภทสุรา และบุหรี่ ซึ่งทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป (หน้า 2)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

1. ภาพแสดงองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสาร (หน้า13) 2. ภาพแสดงแบบจำลองการสื่อสารของโรเจอร์ส (หน้า14) 3. ภาพแสดงแบบจำลองการสื่อสารของออสกูด (หน้า 15) 4. ภาพแสดงการอพยพและการตั้งถิ่นฐานของชาวเลในประเทศไทย (หน้า33) 5. ภาพแสดงการโยกย้ายถิ่นฐานในอดีตและการตั้งถิ่นฐานในปัจจุบัน ของชาวเลบน หมู่เกาะสุรินทร์ (หน้า37)

Text Analyst กรสิริ คริศณุ Date of Report 24 ก.ย. 2555
TAG มอแกน, ชาวเล, การสื่อสารการศึกษา, หมู่เกาะสุรินทร์, พังงา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง