สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เขมร,สังคม,ประเพณี,ความเชื่อ,นิยาย,ประเทศไทย
Author พระมหาศักดิ์ เพชรประโคน
Title ผฺกาสฺรโพน การศึกษาวิเคราะห์สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อของชาวเขมร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 274 Year 2540
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract

สังคมเขมรในสมัยประมาณ พ.ศ. 2476 เป็นสังคมชนบท การประกอบอาชีพส่วนมากเกี่ยวเนื่องด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การทำนา หาของป่า การค้าขายข้าวและสิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตประจำวัน ความเป็นอยู่ของหญิงด้อยกว่าชาย หญิงสาวต้อง อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ รักนวลสงวนตัวตามขนบธรรมเนียมเขมรโบราณ คนส่วนมากไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาแบบสมัยใหม่ คนที่ฐานะดีเท่านั้นที่จะส่งเสริมลูกชายให้เล่าเรียนเพื่อรับราชการเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล ผู้หญิงสูงอายุนิยมกินหมากพลูและ เข้าวัดรักษาอุโบสถศีล คนส่วนมากนิยมยกย่องคนดีมีคุณธรรมมีความรู้ความสามารถ แต่กำลังมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไปในทางวัตถุนิยม โดยเริ่มยกย่องคนที่มีฐานะทางการเงิน ประเพณีแต่งงานเป็นหน้าที่ของพ่อแม่จะจัดการให้ลูกตามที่เห็นสมควร หญิงสาว ไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นเรื่องคู่ครอง การจัดงานศพนิยมตั้งรูปถ่ายคนตายไว้หน้าโลงศพ มีการปักธงจระเข้ มีการบรรเลงเพลงโศกเศร้าที่เรียกว่า "ทามมีง" เป็นเอกลักษณ์ การตั้งศพบำเพ็ญกุศลไม่มีกำหนดวันที่แน่นอนขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้าภาพ ปรัชญาความเชื่อมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเชื่อตามหลักพุทธศาสนา เช่น หลักกรรม ความเชื่อท้องถิ่น เช่น เชื่อผี เชื่อวิญญาณบรรพบุรุษ ความเชื่อแบบพราหมณ์ เช่น ความเชื่อต่อเทพเจ้า พระอินทร์ พระพรหม ถึงแม้จะถือพุทธศาสนาเป็นหลักแต่ ก็มีพิธีกรรมแบบท้องถิ่นและพราหมณ์เข้ามาเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยเสมอ

Focus

ศึกษาวิเคราะห์สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อของคนเขมรในสมัย พ.ศ. 2476 จากนวนิยายเขมรเรื่อง "ผกาสรโพน"

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เขมร

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

กันยายน พ.ศ. 2530 - ตุลาคม พ.ศ. 2531

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ประชาชนเขมรมีอาชีพหลักคือ การทำนาและหาของป่า เช่น น้ำผึ้ง ขี้ผึ้งและปลา นอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพค้าขายและแลกเปลี่ยนกันในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยและเริ่มมีธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่นการระเบิดหิน (หน้า 15,17, 20, 22)

Social Organization

สังคมเขมรประมาณ พ.ศ.2476 เป็นสังคมชนบท ดำเนินชีวิตด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ค่อยมีการแข่งขันกันมากนัก มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติบ้าง เพื่อนบ้านบ้าง มีค่านิยมยกย่องคนดีและคนที่มีฐานะทางครอบครัวดี (หน้า 10) สถานภาพของหญิงด้อยและมีอิสรภาพน้อยกว่าชาย ต้องอยู่ในโอวาทและปฏิบัติตามคำสอนของพ่อแม่ พ่อแม่ถือเป็นเรื่องเคร่งครัดที่จะอบรมสั่งสอนลูกให้อยู่ในขนบธรรมเนียมโบราณ (หน้า 22) หญิงสาวเขมรโดยปกติจะรักนวลสงวนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ชายในลักษณะชู้สาวหรือเกี้ยวพาราสีกันจนถึงขั้นจับเนื้อต้องตัว ส่วนหญิงสูงอายุจะมีลักษณะที่ค่อนข้างพิเศษอย่างเป็นเอกลักษณ์ คือ การเข้าวัดรักษาศีล ตัดผมสั้นหรือโกนผม ถือเป็นทางอันสงบและเป็นการสั่งสมบุญเพื่อเดินทางไปสู่ปรโลกต่อไป หญิงสาวที่แต่งงานแล้วเมื่ออายุมากขึ้นจะนิยมกินหมากพลู และมีบางกลุ่มที่ไม่กินหมากเพราะพยายามทำตัวให้เป็นคนสมัยใหม่ (หน้า 24-25, 27) การแต่งงาน การหาคู่ครองให้ลูกสาวลูกชายถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องจัดหาให้ลูก โดยขั้นตอนการแต่งงาน มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นทาบทาม ขั้นหมั้น ขั้นกำหนดวันและขั้นแต่งงาน สำหรับผู้หญิงที่ยังไม่มีคู่หมั้นหรือยกเลิกกับคู่หมั้นเก่าไปแล้ว ถ้ามีชายใดสนใจก็จะให้พ่อแม่มาติดต่อสู่ขอให้ ซึ่งโดยมากมักจะเป็นหน้าที่ของแม่มากกว่าพ่อ (หน้า 32-33)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

"วิธีการหาผึ้ง" เชื่อว่าเมื่อพบผึ้งดูดเกสรดอกไม้ ถ้าดูดเสร็จแล้วบินต่ำๆตรงไปที่ใดที่หนึ่งแสดงว่ารังผึ้งนั้นอยู่ไกล แต่ถ้าดูดเอาน้ำหวานจากเกสรแล้วบินสูงลิบลิ่ว แสดงว่ารังผึ้งอยู่ไม่ไกลจากนี้นัก (หน้า 19-20) "พิธีเกี่ยวกับการตาย" เมื่อมีคนตาย เขมรมักจะเก็บศพไว้ประกอบพิธีทางศาสนาประมาณ 3 หรือ 7 วัน ตามแต่ฐานะทางครอบครัว ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ในพิธีจะเปิดเพลง "ทามมีง" ซึ่งเป็นเพลงเฉพาะในงานศพ นอกจากนี้ยังนิยมนำผ้าดิบทำธงจระเข้ผูกที่ปลายไม้ไผ่และนิยมตั้งรูปถ่ายของผู้ตายไว้ด้านหน้าที่ตั้งศพ ปรัชญาความเชื่อของเขมร มีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของเขมรคือความเชื่อเรื่องวิญญาณ ความลึกลับของธรรมชาติ ป่าเขาศักดิ์สิทธิ์ตลอดจนเวทมนตร์คาถาต่างๆ ที่บรรพบุรุษยึดถือกันมา ผสมกับความเชื่ออันเนื่องมาจากศาสนาพราหมณ์ เช่น ความเชื่อเรื่องพระอินทร์ พระพรหมและศาสนาพุทธ เช่น หลักกรรมและหลักไตรลักษณ์ เป็นต้น (หน้า 35-36,43-45,49) เมื่อมีคนป่วยหรือเกิดเหตุร้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ จะเชื่อว่า ถูกเจ้าพ่อหรือปีศาจเบียดเบียน ต้องไปหาคนที่มีวิชา เรียนเวทมนตร์จนแก่กล้าเป็นผู้รักษา บางคนก็มิได้เรียนเวทมนตร์มาเพียงแต่ถูกเจ้าต่างๆ จับให้เป็นร่างทรงคอยช่วยรักษาคนโดยการแนะนำให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่เจ้าหรือผีนั้นต้องการ คนที่เข้าทรงมีทั้งโดยสมัครใจและโดยจำยอม ที่เป็นโดยจำยอมคือคนนั้นจะเจ็บป่วยกระออดกระแอดรักษาอย่างไรก็ไม่หาย แต่เมื่อทำพิธีรับ (เจ้าหรือเทวดา) แล้วก็จะหายป่วยหรือดีขึ้น นอกจากนี้ เขมรยังมีความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ จากนวนิยายเรื่องผกาสรโพน ปรากฏวิธีการดูดวงชะตา 2 วิธีคือ ดูจากวัน เดือนปีเกิดของเจ้าของดวง โดยการบวกลบแล้วทำนายตามเศษเลขที่ได้ ส่วนวิธีที่สองคือการดูจากการเสี่ยงทายคัมภีร์ โดยคัมภีร์ที่ใช้เสี่ยงทายนั้นมีอิทธิพลของศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ เช่น คัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับทศชาติชาดก โดยถือเอาว่าถ้าผู้เสี่ยงทายชี้ก้านธูปไปตรงกับข้อความหรือภาพตอนใดในเรื่องชาดกก็ทายตามเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนที่เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เช่น คัมภีร์ที่มีข้อความหรือภาพเรื่องรามเกียรติ (หน้า 37, 41-42)

Education and Socialization

เขมรผู้มีความคิดก้าวหน้า มีฐานะดี โดยเฉพาะพวกพ่อค้ามักจะส่งเสริมให้ลูกไดรับการศึกษาสูงสุดเท่าที่ทำได้ หากโรงเรียนอยู่ไกลบ้าน พวกนักเรียนจะพักเรียนอยู่ประจำจนปิดเทอมจึงกลับบ้าน การศึกษาสำหรับผู้ชายถือเป็นเกียรติศักดิ์ศรีแก่ครอบครัวและเป็นเครื่องยกฐานะตน สำหรับผู้หญิงพ่อแม่ไม่นิยมส่งเสริม ให้ศึกษาเล่าเรียนแค่เพียงอ่านออกเขียนได้เท่านั้น นอกจากการศึกษาแบบสมัยใหม่แล้วยังมีการศึกษาสมัยเก่าคือการศึกษาวิชาคาถาอาคมที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตอีกด้วย (หน้า10-14)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เครื่องมือที่ใช้ในการจับปลาในสมัยนั้นมีเพียงสุ่ม ส้อม ปี๊บ โดยถ้าในที่ที่มีน้ำมากจะใช้สุ่ม และใช้ส้อมแทงปลา ถ้าน้ำไม่มากจะใช้ปี๊บวิดน้ำออกแล้วจับปลา (หน้า 19)

Folklore

นวนิยายเรื่องผกาสรโพน พ่อนางวิธาวี กับเจ๊กบุน-ถน พ่อของบุน-เธือน เป็นเพื่อนรักกัน ได้ตกปากรับคำให้ลูกสาวลูกชายเป็นคู่รักกันเมื่อเขาโตขึ้น เจ๊กบุน-ถนส่งบุน-เธือนไปเรียนหนังสือที่วิทยาลัยในกรุงพนมเปญ ต่อมาค้าขายข้าวขาดทุนอย่างหนัก บุน-เธือนทราบข่าวแล้วไม่สบายใจ ฝ่ายยายนวนแม่นางวิธาวีหลังจากสามีตายแล้ว เห็นว่าครอบครัวของบุน-เธือนยากจนลง จึงคิดจะยกเลิกคำสัญญา จึงขอร้องให้นางวิธาวีตัดใจจากบุน-เธือน แต่นางวิธาวีรักบุน-เธือนมาก จึงขอให้เห็นแก่การศึกษาของเขา บุน-เธือน คิดจะเลิกเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำงาน แต่ถูกพ่อห้ามและเขาพิจารณาเห็นว่ายายนวนคงไม่ยอมยกลูกสาวให้มาทนทุกข์อยู่กับตนเป็นแน่ จึงเกิดความมุ่งมั่นที่จะศึกษายิ่งขึ้น ขณะที่ยายนวนกำลังคิดหาโอกาสจะยกเลิกคำสัญญาอยู่นั้น ยายจันผู้เป็นเพื่อนรักได้มาบอกข่าวว่ายายถูกับเถ้าแก่ไณสาน อยากมาสู่ขอนางวิธาวีให้ไณสต ลูกชายของเขา และต่อมายายนวนตกลงรับหมั้นหนุ่มไณสต นางวิธาวีเขียนจดหมายไปบอกให้ บุน-เธือนทราบและตั้งใจเรียนให้จบ ตัวนางจะไม่มีวันลืมบุน-เธือนเลย ตั้งแต่นั้นมา นางวิธาวีมีแต่ซูบผอมเพราะตรอมใจ หลังจากนั้นไม่นานนางวิธาวีเศร้าหมองลงเรื่อยๆ ยายนวนจึงรีบแจ้งฝ่ายชายรีบมาจัดการแต่งงานโดยเร็ว เพราะคิดว่าเมื่อแต่งงานแล้ว นางวิธาวีคงจะดีขึ้น ฝ่ายบุน-เธือนทราบข่าวว่านางวิธาวีจะแต่งงาน ก็เสียใจมาก พอดีได้ยินเสียงตาสูเข้าไปอนุญาตเจ๊กบุน-ถนไปหาของป่า จึงขออนุญาตพ่อเข้าไปหาของป่ากับตาสูด้วย ส่วนนางวิธาวีเมื่อเห็นสิ่งของที่จัดเตรียมไว้เพื่อแต่งงานก็ซึมเศร้าถึงกับล้มป่วยลง หลังจากที่บุนเธือนกลับมาจากป่าเดินผ่านไปทางหน้าวัดได้ยินเสียงเพลงบรรเลงในงานศพ นึกสงสัยจึงเดินไปดู เขาตกใจมากเมื่อรู้ว่าเป็นงานศพของนางวิธาวี ขณะที่เขากำลังโศกเศร้าอยู่นั้น ยายไผได้มาบอกว่ายายนวนเฝ้าคอยมาหลายวันแล้ว เพราะนางวิธาวีได้ฝากจดหมายไว้ เมื่อยายนวนเห็นบุน-เธือนมาถึงจึงให้คนพยุงลุกขึ้นนั่ง แล้วเรียกบุน-เธือนเข้ามาใกล้ๆ แล้วบอกว่านางวิธาวีเรียกหาบุน-เธือนตลอดเวลาและได้ฝากจดหมายและแหวนทับทิมไว้ให้บุน-เธือนก่อนตาย บุน-เธือนรับจดจดหมายแล้วเดินออกมาและไม่ลืมที่จะดูรูปนางวิธาวีที่ตั้งไว้ในงานศพอีกครั้งหนึ่งอย่างไม่รู้จักเบื่อ ตกกลางคืนบุน-เธือนอ่านจดหมายที่นางวิธาวีเขียนลาก่อนจะตายจากไป ด้วยความเศร้าโศก ท่ามกลางความเงียบสงัดแห่งราตรีและเสียงร้องของนกเขาผี (หน้า 5-7)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

คนสมัยก่อนยึดมั่นอยู่กับคุณงามความดีและความรู้ความสามารถเป็นหลัก แต่ต่อมาสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปในด้านวัตถุนิยมและมีการแข่งขันมากขึ้น ค่านิยมเงินเริ่มสูงขึ้นคนไม่มีคุณธรรมตแต่ถ้ามีความรู้ดี มีฐานะดีก็ถือเป็นคนที่น่ายกย่อง(หน้า 28,30)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 29 มิ.ย 2560
TAG เขมร, สังคม, ประเพณี, ความเชื่อ, นิยาย, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง