สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปะโอ,ลัวะ,ม้ง,การตั้งถิ่นฐาน,ครัวเรือน,อุดมการณ์ทางวัฒนธรรม,ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
Author Kunstadter, Peter
Title Cultural Ideals, socioeconomic change and household composition: Karen, Lua', Hmong and Thai in Northwestern Thailand.(p. 299-329)
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ม้ง, ปะโอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 30 Year 2527
Source East - West Center Honolulu, Hawaii
Abstract

งานนี้แสดงให้เห็นว่า แบบแผนการกระจายตัวขององค์ประกอบครัวเรือนในชุมชนต่าง ๆ ที่ต่างชาติพันธุ์กัน สอดคล้องกับอุดมการณ์ด้านวัฒนธรรม ในเรื่องของรูปแบบครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว เช่น ม้งกับกะเหรี่ยงมีอุดมการณ์เรื่องรูปแบบครัวเรือนต่างกัน นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า การที่ชุมชนก้าวเข้าสู่ระบบแรงงานรับจ้างและตลาด จะทำให้ครัวเรือนเป็นแบบ ครอบครัวเดี่ยว เช่น กะเหรี่ยง และ ลัวะ ในเมือง (หน้า 327)

Focus

งานนี้สนใจวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในเรื่ององค์ประกอบ ของครัวเรือนในภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีชาติพันธุ์ที่หลากหลายอยู่ปะปนกัน อย่างเช่น หมู่บ้านกะเหรี่ยง หมู่บ้านลัวะ หมู่บ้านม้งผสมกับกะเหรี่ยง ซึ่งอยู่ในพื้นที่สูง และชุมชนบริเวณรอบตลาด ซึ่งประกอบด้วย คนไทย ภาคกลาง ไทใหญ่ อินเดีย จีนและปะโอ (Pao) (หน้า 300)

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาครอบคลุมหมู่บ้านชนเผ่าลัวะ กะเหรี่ยง หมู่บ้านที่มีหลายกลุ่มผสมกัน หมู่บ้านกะเหรี่ยงในพื้นที่ราบต่ำ กลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายแถบชานเมืองบริเวณรอบแหล่งชุมชนเมือง มีทั้งไทยเหนือ ไทยภาคกลาง ฉาน อินเดีย จีน ปะโอ (หน้า 300)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่เก็บมา ในช่วงปลายปี ค.ศ.1960 และในปี ค.ศ.1980, 1981 (หน้า 300-301)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ก่อน ค.ศ.1960 พื้นที่ในการศึกษาโดยเฉพาะชุมชนบนพื้นที่สูง ตั้งอยู่เหนือระดับ 500 เมตร ซึ่งมีสภาพเป็นภูเขาสูง มีหมู่บ้านและชุมชนชาวเขาตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างโดดเดี่ยวกระจัดกระจาย แต่หลังจากปี 1960 เมื่อมีถนนตัดผ่าน ไฟฟ้าและสาธารณูปโภคเข้าถึงเพิ่มขึ้น การคมนาคมสะดวกขึ้น ชุมชนต่างๆ ก็มีการติดต่อกันมากขึ้น เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และชุมชนชานเมือง มีการอพยพโยกย้ายของคนบนพื้นที่สูง อันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานในพื้นที่ราบและโครงการก่อสร้างต่างๆ ทำให้คนบนพื้นที่สูงอพยพเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้าง เพื่อหารายได้เสริมในช่วงฤดูแล้งหรือนอกฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน นอกจากนี้ยังมีการตั้งถิ่นฐานของผู้มาใหม่ เมื่อเกิดการขยายตัวของฝ่ายบริหารราชการ การขยายตัวด้านการค้าตามโครงการพัฒนารูปแบบต่างๆ ชุมชนเมืองซึ่งอยู่บริเวณกลางใจเมือง และอยู่รอบๆ ตลาด เป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มพ่อค้า ข้าราชการและผู้ที่ทำงานกินเงินเดือน ส่วนชุมชนชานเมืองจะอยู่ชายขอบตลาดและตัวเมือง ซึ่งแต่เดิมมีรากฐานจากการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบัน คนงานกินเงินเดือนและข้าราชการกลับเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบนี้เพิ่มขึ้น และเป็นที่รองรับผู้อพยพที่มาจากหมู่บ้านบนพื้นที่สูง ซึ่งเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้าง เป็นที่น่าสังเกตว่า ประชากรในพื้นที่ต่ำรอบๆ เมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมีจำนวนมากกว่าคนบนพื้นที่สูง ทำให้เกิดการขาดแคลนที่อยู่อาศัย อีกทั้งที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น อาจเป็นสาเหตุให้คนเมืองเริ่มอพยพออกไปตั้งถิ่นฐานแถบชานเมือง ซึ่งสามารถหาซื้อบ้านและที่ดินได้ง่ายกว่า ส่งผลให้เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างชุมชนชานเมืองและชุมชนเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมาเริ่มขาดความชัดเจน (หน้า 302, 308-310)

Demography

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีอัตราการตายลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะความสามารถในการควบคุมโรคติดต่อและคุณภาพการรักษาพยาบาล และก็เริ่มมีการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ในเมืองด้วยการวางแผนครอบครัว แต่ในพื้นที่สูงอัตราการตายยังไม่ลดลง (หน้า 308) ในทศวรรษของ 1970 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว(หน้า 309) โดยเฉพาะในเมือง อันเนื่องจากการขนส่งและคมนาคม การขยายตัวของประชากรเริ่มมีมากขึ้น เพราะมีคนอพยพจากพื้นที่สูงและจากท้องถิ่นอื่นเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาแออัด จึงมีคนบางส่วนอพยพไปอยู่ตามแถบชานเมือง (หน้า 310) ซึ่งในอดีตมีระบบเศรษฐกิจที่อิงอยู่กับการเกษตร ทำให้พรมแดนระหว่างเมืองและชานเมืองขาดความชัดเจนลง (หน้า 302)

Economy

ระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมของชุมชนบนพื้นที่สูง คือ การทำไร่ข้าวเพื่อยังชีพในพื้นที่ของชุมชน ชุมชนในพื้นที่ราบมีระบบเศรษฐกิจที่อิงอยู่กับการค้า ตลาดและการรับจ้าง (หน้า 302) ชุมชนที่ศึกษาซึ่งมีทั้งชุมชนกะเหรี่ยง ชุมชนลัวะ ซึ่งอยู่ในพื้นที่สูงมีระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างการทำไร่เพื่อยังชีพ การทำนาชลประทาน กับการรับจ้างแรงงานเป็นบางส่วน (หน้า 314-315) ส่วนที่ดินซึ่งชุมชนเคยจัดการร่วมกันก็เริ่มเปลี่ยนเป็นกรรมสิทธิ์ของปัจเจกบุคคล ในขณะที่สินค้าจากตลาดแม้แต่วัสดุก่อสร้างเริ่มเข้ามาเป็นที่นิยม หัตถกรรมต่าง ๆ ในครัวเรือนซึ่งเคยเป็นงานของผู้หญิง เริ่มหมดความสำคัญลง สำหรับม้งทำไร่ยังชีพด้วยการปลูกข้าว ข้าวโพด โดยมีฝิ่นเป็นพืชเงินสด (หน้า 315)

Social Organization

องค์ประกอบของครัวเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ กะเหรี่ยง ครัวเรือนกะเหรี่ยงในอุดมคติประกอบด้วย คู่สมรส บุตรที่ยังไม่ได้แต่งงาน บุตรสาวคนสุดท้องที่แต่งงานแล้ว สามีและบุตร บุตรสาวคนโตและคนรองๆ ที่แต่งงานแล้ว ย้ายไปอยู่บ้านใหม่ หรือสร้างครอบครัวใหม่เมื่อน้องสาวแต่งงาน พ่อหรือแม่ในยามวัยไม้ใกล้ฝั่งก็จะย้ายหรือแยกตัวไปอยู่ต่างหากในบ้านหลังเล็กๆ เพื่อไม่ให้วิญญาณต้องไปอยู่ปนกันในบ้านใหญ่เมื่อเสียชีวิตลง แต่การเคลื่อนย้ายนี้มิได้ทำให้เกิดหน่วยเศรษฐกิจครัวเรือนใหม่ เพราะคงอยู่กินกับครอบครัวบุตรหลานของตน ลูกชายที่แต่งงานแล้ว โดยปกติจะย้ายไปอยู่บ้านเจ้าสาว แต่บางโอกาสพวกเขาก็ยังลังเลใจที่จะไปอยู่ร่วมบ้านฝ่ายเจ้าสาว และจะนำภรรยากลับมาอยู่ที่หมู่บ้านของตนเอง (แม้ว่าจะไม่ร่วมครัวเรือนกับพ่อแม่ของตน) หากพ่อหรือแม่มีที่ดินไว้ให้ครอบครอง ครัวเรือนของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเป็นหน่วยหนึ่งของการผลิตภาคเกษตรกรรม และแรงงานภาคครัวเรือนโดยปกติถือเป็นส่วนเสริมของการแลกเปลี่ยนแรงงานในหมู่เครือญาติและในหมู่เพื่อนบ้าน (หน้า 311) อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการสำรวจองค์ประกอบครัวเรือนในชุมชนกะเหรี่ยงต่างๆ ทั้งในพื้นที่สูงและพื้นที่ราบในปี ค.ศ.1968 พบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวแบบต่างๆ ครัวเรือนที่ประกอบด้วยครอบครัวขยายมีเป็นส่วนน้อย ซึ่งสมาชิกมีความสัมพันธ์กันทางสายเลือดข้างแม่ และการสำรวจในปี 1981 พบว่า ในแบบแผนนี้ยังคงเดิม เพียงแต่สัดส่วนครัวเรือนที่มีครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้นในชุมชนกะเหรี่ยงพื้นที่สูง แต่ลดลงในชุมชนกะเหรี่ยงพื้นที่ราบ (ตาราง 12.2) ม้ง หัวหน้าครัวเรือนม้งพยายามที่จะขยายขนาดครัวเรือนให้มากที่สุด โดยการขยายสายตระกูลข้างบิดาผ่านการให้บุตรชายสมรสนอกตระกูล โดยผ่านการสมรสเกินหนึ่งครั้งหรือมีภรรยาเกินหนึ่งคน ภาพอุดมคติครัวเรือนม้งประกอบด้วย หัวหน้าครอบครัว ภรรยา (ซึ่งอาจมากกว่าหนึ่งคน) บุตรซึ่งยังไม่ได้แต่งงาน ลูกชายซึ่งแต่งงานแล้ว ภรรยาของบุตรชายและลูกๆ รวมถึงหลานชายที่แต่งงานแล้ว พร้อมทั้งภรรยาและลูก ซึ่งต่างจากครอบครัวกะเหรี่ยงและครอบครัวลัวะ หัวหน้าครัวเรือนม้งพยายามที่จะรักษาการเพิ่มจำนวนรุ่นในครอบครัว หรือรักษาขนาดครัวเรือนแบบขยายด้วยการให้บุตรชายแต่งงานหลายครั้งเท่าที่จะเป็นไปได้ การแยกครอบครัวจะเกิดขึ้นหลังจากบิดาหรือหัวหน้าครอบครัวเสียชีวิตลง ผู้หญิงที่แต่งงานเข้าบ้านจะใช้นามสกุลร่วมกับสามี รวมถึงบุตรที่ตามมา จากการสำรวจครัวเรือนม้งในชุมชนผสมม้ง-กะเหรี่ยง แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหัวหน้าครัวเรือนม้ง ในการจัดการครัวเรือนให้เป็นไปตามอุดมคติ กล่าวคือ ข้อมูลจากการสำรวจเมื่อปี 1981 พบว่า ครัวเรือนม้งมีครัวเรือนในรูปแบบของครอบครัวเดี่ยวเพียงร้อยละ 23.6 ส่วนครัวเรือนในรูปแบบของครอบครัวขยายมีสัดส่วนร้อยละ 76.5 (หน้า 315, ตาราง 12.3) ลัวะ ครัวเรือนในอุดมคติของลัวะ ประกอบด้วยคู่สมรส บุตรที่ยังไม่ได้สมรส ลูกชายคนสุดท้องที่แต่งงานแล้ว ภรรยาและบุตร ญาติสืบสายตระกูลที่อายุมากกว่ามักถูกคาดหวังว่าจะต้องแต่งงานก่อนญาติที่อายุน้อยกว่า บุตรชายที่แก่กว่าซึ่งแต่งงานแล้ว มักจะย้ายไปอยู่บ้านหลังใหม่และตั้งครอบครัวใหม่ หลังจากน้องชายแต่งงานแล้ว อาจเกิดการละเมิดกฎการอยู่ร่วมกับญาติฝ่ายบิดาหลังแต่งงาน (ในความเป็นจริงก็เกิดขึ้นบ่อยครั้ง) เมื่อครอบครัวไม่มีบุตรชาย และเมื่อมีการรับบุตรบุญธรรมเข้ามาเป็น สมาชิกของครอบครัว (หน้า 314) ข้อมูลจากการสำรวจบ่งบอกว่า ในปี 1967 ครัวเรือนประมาณร้อยละ 52 เป็นครอบครัวเดี่ยว แต่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 63.6 ในปี 1980 (ตาราง 12.2)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

เมื่อสังคมเกษตรกรรมเปลี่ยนแปลง ทรัพยากรเริ่มขาดแคลน ชาวเขาหลายแห่งได้หันมานับถือศาสนาคริสต์ ทำให้อำนาจผู้นำหมู่บ้านซึ่งนับถือผีตามระบบความเชื่อดั้งเดิมถูกสั่นคลอน และอ่อนแอลง (หน้า 310)

Education and Socialization

โรงเรียนเปิดถึงระดับชั้นประถมปีที่ 6 ในหมู่บ้านบนพื้นที่สูงหลายแห่ง และเด็กส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาชั้นต้น (แม้จะไม่ใช่ทุกครอบครัวเลือกที่จะส่งเด็กไปโรงเรียน) (หน้า 310) ในแถบพื้นที่สูง โรงเรียนรัฐบาลเปิดถึงระดับชั้นประถมปีที่ 4 (หน้า 309)

Health and Medicine

มีการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ เมื่อการแพทย์และการรักษาพยาบาลพัฒนาขึ้น โรคติดต่อหลัก ๆ อย่าง มาลาเรีย และไข้ทรพิษ สามารถควบคุมได้ มีการให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวตั้งแต่ต้นยุค 1960 การวางแผนครอบครัวเมื่อปี 1970 เริ่มแพร่หลายสู่หมู่บ้านที่ราบต่ำในชนบท แต่ยังมีน้อยมากนักในพื้นที่สูง อัตราการตายยังคงสูงขึ้น สาเหตุหลักมาจากโรคติดเชื้อ แต่เริ่มลดต่ำลงในพื้นราบโดยเฉพาะในเขตตัวเมือง (หน้า 308)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างการสร้างครอบครัวของม้งกับกะเหรี่ยงเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดเจนมาก ภายในหมู่บ้านเดียวกัน แม้จะวางอยู่บนพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน แต่กลับปรากฏว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมกว่าทศวรรษ ได้ส่งผลกระทบต่อการสร้างครอบครัวของกะเหรี่ยงและลัวะในชุมชนเป็นอันดับรอง (หน้า 327)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ศมณ ศรีทับทิม Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ปะโอ, ลัวะ, ม้ง, การตั้งถิ่นฐาน, ครัวเรือน, อุดมการณ์ทางวัฒนธรรม, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง