สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ความเป็นอยู่,ประเพณี,น่าน
Author อำนวยศาสตร์ หัสดิน
Title ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของชาวไทยภูเขาเผ่าแม้ว หมู่ที่ 19 บ้านป่ากลาง ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 99 Year 2528
Source สาขาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

ม้ง เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีการดำรงวิถีชีวิต ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี แตกต่างไปจากคนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นราบ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง วิธีการศึกษาผู้วิจัยกระทำโดยการสัมภาษณ์หัวหน้าครอบครัวม้ง จำนวน 197 คนหมู่บ้านที่ 19 บ้านป่ากลาง ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน ในปี พ.ศ. 2528 สำหรับผลของการศึกษาปรากฏดังนี้ คือ หัวหน้าครอบครัวม้งที่มีระดับการศึกษาสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบ่อยครั้ง รวมถึงการติดต่อกับชุมชนเมืองด้วย และหัวหน้าครอบครัวที่มีความสนใจรับรู้ข่าวสารจากสื่อมวลชนบ่อยครั้ง กลุ่มหัวหน้าครอบครัวต่าง ๆ เหล่านี้จะยอมมีการยอมรับนวัตกรรมมากกว่า

Focus

บรรยายถึงลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมของชาวไทยภูเขาเผ่าแม้ว อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงอันทำให้สังคมชาวเขาเผ่าม้ง เริ่มมีลักษณะเป็นสังคมเชิงซ้อน (complex society) แบบคนไทยพื้นราบ ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างทางชนชั้นหรือปัญหาระหว่างชุมชนได้ (หน้า 4-5)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรมและเชื่อมโยงกับทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม (หน้า 7) จากผลการศึกษาพบว่า ในครัวเรือนที่หัวหน้าครอบครัวมีระดับการศึกษาสูง ฐานะทางเศรษฐกิจดี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐและชุมชนเมืองบ่อยครั้ง และยังมีการรับรู้ข่าวสารจากสื่อต่างๆ มาก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการยอมรับนวัตกรรม อันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ด้านทัศนคติต่อการยอมรับการศึกษา การสาธารณสุขและอนามัย การเกษตรแผนใหม่โดยการใช้เครื่องสูบน้ำ และการใช้เครื่องจักรกล โดยมีรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กไว้ใช้งาน ซึ่งม้งส่วนใหญ่ต่างก็เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตที่จะทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขาเผ่าม้ง (ผู้เขียนเรียก "ชาวเขาเผ่าแม้ว" ) โดยสัมภาษณ์หัวหน้าครอบครัวจำนวน 197 คน

Language and Linguistic Affiliations

ผู้วิจัยกล่าวแต่เพียง ม้งที่มีความเข้าใจในภาษาไทย โดยส่วนใหญ่มีความเข้าใจบ้างและเข้าใจดี มากน้อยตามลำดับ ซึ่งม้งที่สามารถใช้ภาษาไทยได้มักเป็นคนวัยหนุ่มสาว ส่วนผู้ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจในภาษาไทยมักเป็นคนในวัยชรา (หน้า 39)

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยใช้ช่วงเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่ 9 - 29 เมษายน พ.ศ. 2528 (หน้า 25)

History of the Group and Community

แต่เดิมชาวเขาเผ่าม้งอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำฮวงโฮ ของประเทศจีนถูกรุกรานจนต้องอพยพลงไปทางตอนใต้ กระจายตัวออกไปตามพรมแดนเวียดนาม ลาว พม่า และไทย และเริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยจากฝั่งลาวครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2533 โดยส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐาน ในจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ น่าน ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์และเลย โดยเฉพาะที่จังหวัดน่านที่อำเภอทุ่งช้าง ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอปัว เพราะพื้นที่ตอนนั้นเป็นภูเขาสูงอยู่ติดกับแขวงไชยบุรีของลาว เริ่มอพยพไปอยู่หมู่ที่ 19 บ้านป่ากลาง ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.นาน เมื่อ พ.ศ.2508 สภาพม้งในขณะนั้นยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ดั้งเดิม การแต่งกายแบบประจำเผ่า ยังยึดถือประเพณีนิยมเก่าอย่างเหนียวแน่น ไม่มีการศึกษาและอุปกรณ์ดำรงชีวิตที่ทันสมัยอย่างในปัจจุบัน (หน้า 2)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่ทราบจำนวนครัวเรือนและจำนวนประชากรที่แน่ชัด ทราบแต่เพียงว่ามีครอบครัวที่ย้ายออกไปอยู่ถิ่นอื่น 12 ครัวเรือน และทำการสัมภาษณ์ได้ 197 ครัวเรือน รวมมีจำนวนครัวเรือน 207 ครัวเรือน (หน้า 25) ในจำนวนนี้มีหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นเพศชาย 180 คน และเพศหญิง 17 คน โดยกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอายุในช่วงระหว่าง 21-40 ปี มีจำนวน 123 คน และที่เหลือ 74 คน เป็นหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุ 41-80 ปี (หน้า 38)

Economy

ม้งส่วนใหญ่มีรายได้ระหว่าง 1,501-3,000 บาทต่อเดือน และผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 3,001 บาทจะเป็นครอบครัวที่ประกอบอาชีพค้าขาย หรือบางคนก็ทำนาทำไร่ควบคู่กันไป ส่วนกลุ่มที่มีการศึกษาสูงจะทำงานกับองค์การระหว่างประเทศและรับราชการ นอกจากนี้คนที่มีผีมือในการทำเครื่องเงินยังได้รับการส่งเสริมอาชีพจากโครงงานศิลปาชีพพิเศษด้วย (หน้า 42) ส่วนการยอมรับนวัตกรรมทางการเกษตรนั้น ม้งได้นำเครื่องสูบน้ำมาใช้ด้วยแต่มีจำนวนไม่มาก เพื่อเป็นการประหยัดแรงงาน และเอื้อประโยชน์ในการขยายผลผลิตให้กับพืชอีกด้วย ส่วนผู้ที่ไม่มีเครื่องสูบน้ำจะมีกังหันวิดน้ำซึ่งหน่วยราชการทำไว้ให้ (หน้า 48)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ระดับการศึกษาของหัวหน้าครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ คือ ตั้งแต่ ป.1-ป.7 มีจำนวน 83 คน ส่วนม้งที่มีการศึกษาสูง คือ ตั้งแต่ ม.ศ.1-เรียนสูงกว่า ม.ศ.5 มีเพียง 27 คน ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวที่เรียนมาจากครู ตำรวจตระเวนชายแดน บางคนทางราชการจัดการศึกษาให้ตั้งแต่เด็กและได้รับการศึกษาไทยในหมู่บ้านและในเมือง และยังมีผู้ที่ไม่ได้เรียนหนังสือถึง 87 คน ซึ่งมักเป็นคนในวัยสูงอายุ (หน้า 40) นอกจากนี้หัวหน้าครอบครัวทั้งหมดต่างมีความต้องการให้บุตรได้เรียนเหนังสือ แต่ขึ้นอยู่กับฐานะทางครอบครัว และจำนวนบุตรด้วย (หน้า 41)

Health and Medicine

ภายหลังจากการอพยพลงมาอยู่พื้นราบทำให้ม้งต้องมีการติดต่อพบปะกับเจ้าหน้าที่และชุมชนเมืองบ่อยขึ้น ประกอบกับการได้รับการศึกษาทำให้ได้รับคำแนะนำจากครู เจ้าหน้าที่อนามัยและเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับคนพื้นราบมากขึ้นในเรื่องของการแต่งกาย ทำให้ม้งจำนวน 174 ครัวเรือนที่ทำความสะอาดเสื้อผ้าทุกวัน เพื่อผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ได้ (หน้า 46)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

กล่าวถึงแต่เพียงการติดต่อกับเจ้าหน้าที่และชุมชนเมือง โดยใน 1 เดือนม้งที่มาติดต่อบ่อยครั้งจะเป็นกลุ่มที่รับราชการหรือเป็นลูกจ้างขององค์กรช่วยเหลือระหว่างประเทศ และเป็นเจ้าของกิจการค้าขายโดยเฉพาะหัวหน้าครัวเรือนที่มีร้านผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน เพื่อต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อไปร่วมงานตามโครงการ นอกจากนี้ก็ยังมีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐอื่นๆ เช่น ครู เจ้าหน้าที่การเกษตร เจ้าหน้าที่อนามัย เป็นต้น ส่วนการติดต่อกับชุมชนเมืองมักเป็นเจ้าของกิจการค้าขาย อาชีพรับราชการและรับจ้างทำงานเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรช่วยเหลือระหว่างประเทศ (หน้า 43-44)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม - จากการที่คนรุ่นใหม่ได้รับการศึกษาตั้งแต่อายุน้อย จึงได้เปรียบในด้านความรู้ความสามารถที่จะใช้ภาษาไทยในการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานราชการ ทำให้คนรุ่นใหม่เป็นผู้นำจากการเลือกตั้งของรัฐ อันเป็นที่ยอมรับของชุมชนในเรื่องทางราชการ ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีผู้นำซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชนซึ่งเป็นผู้อาวุโส มีหน้าที่ในการบริหารทำให้เกิดผู้นำซ้ำซ้อนขึ้น แต่ในบางกรณีผู้นำตามจารีตประเพณีกับผู้นำอย่างเป็นทางการก็เป็นคนเดียวกัน เป็นคนอยู่ในวัยหนุ่มและมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าม้งเริ่มมีการยอมรับคนที่มีความรู้และอยู่ในวัยหนุ่ม ขณะเดียวกันขนาดครอบครัวก็มีขนาดเล็กลงจากที่มีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย มาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการวางแผนครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติเริ่มลดน้อยลงด้วย ค่านิยมจากสังคมภายนอก ทำให้เกิดการรับทั้งการแต่งกาย การใช้เครื่องประดับ การมีรถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็กมาใช้ นอกจากนี้ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ลดน้อยลง รวมถึงการรักษาพยาบาลแบบดั้งเดิม ก็มาเป็นแบบแพทย์สมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจ - แต่เดิมม้งมีระบบเศรษฐกิจการผลิตแบบยังชีพภายในครอบครัวและชุมชนเท่านั้น ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบกึ่งยังชีพกึ่งเศรษฐกิจ ในบางพื้นที่ก็ได้เปลี่ยนเป็นแบบระบบเศรษฐกิจเต็มตัว ทำให้เกิดการรู้จักใช้เครื่องมือทุ่นแรงทางการเกษตรมากขึ้น ยังมีการใช้ระบบการเงินแบบดอกเบี้ย และการบริการด้านการเงินจากสถาบันการเงิน ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเริ่มเข้าสู่สภาพสังคมในลักษณะสังคมเชิงซ้อน (complex society) (หน้า 3-4)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางแสดงระดับการยอมรับนวัตกรรมแต่ละประเภท (หน้า 51), แผนภูมิแสดงปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของแม้วหมู่ที่ 19 บ้านป่ากลาง ต.ศิลาแลง อ.ปัว จ.น่าน (หน้า 17)

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตนรักษ์ Date of Report 30 มี.ค 2561
TAG ม้ง, ความเป็นอยู่, ประเพณี, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง