สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, เมี่ยน, ลีซู ลาหู่, อ่าข่า, ลเวือะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา,ชุมชนบนพื้นที่สูง,การแก้ปัญหา,การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย,การลงทะเบียน,การจัดที่อยู่อาศัย,ภาคเหนือ
Author สำนักงาน ศอ.ชข.ทภ. 3 (ศูนย์อำนวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขา และกำจัดการปลูกพืชเสพติด กองทัพภาคที่ 3)
Title สรุปผลการประชุมสัมมนา เรื่อง การแก้ไขปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูง
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ละว้า ลัวะ ว้า, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 110 Year 2532
Source ศูนย์อำนวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขาและกำจัดการปลูกพืชเสพติด กองทัพภาคที่ 3
Abstract

เนื้อหาเป็นการบรรยายเรื่องการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด และมีการอภิปรายเรื่องแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง และเรื่องปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูง นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายกลุ่มย่อยในเรื่อง ดังนี้ - แนวทางการแก้ไขปัญหาการลงทะเบียนชาวเขาและการสกัดกั้นผลักดันชาวเขา แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดที่อยู่อาศัยและที่ทำกินแก่ชาวเขา - แนวทางการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในความเป็นไทยให้แก่ชาวเขา - บทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชาวเขาอำเภอ โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงสภาพปัญหาและข้อเท็จจริง แนวทางการพิจารณาของกลุ่ม และแนวทางการแก้ไข ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางหาข้อสรุปและจัดทำแผนแม่บทระดับชาติ จัดตั้งองค์กรระดับอำเภอเพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกต้อง สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง

Focus

การบรรยายและอภิปรายกลุ่มย่อยในประเด็นปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูง ประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ดังนี้คือ 1.วัตถุประสงค์และนโยบายแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด 2. แนวความคิดในการจัดทำแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง 3. ปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูง ส่วนในเรื่องของการอภิปรายกลุ่มย่อย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยดังนี้ 1. เรื่องปัญหาการลงทะเบียนชาวเขาและปัญหาการผลักดันชาวเขาจากนอกประเทศ 2. เรื่องปัญหาการจัดที่อยู่อาศัยและที่ทำกินถาวรให้แก่ชาวเขา 3. เรื่องปัญหาการปลูกฝังและกาสร้างสำนึกในความเป็นไทยให้แก่ชาวเขา 4. เรื่องการจัดตั้งคณะทำงานชาวเขาอำเภอและบทบาทของคณะทำงานชาวเขาอำเภอ การดำเนินงานดังกล่าวนั้นมีจุดมุ่งเน้นที่จะให้ผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนาได้รับทราบแนวนโยบายหลักของการดำเนินงานเกี่ยวกับชาวเขา พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นจากที่ประชุมเพื่อเป็นแนวทางการนำเสนอความเห็นต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับการจัดทำแผนแม่บทของชุมชนในที่สูง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ในรายงานฉบับนี้ไม่ได้ระบุกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจนแต่เป็นกลุ่มที่เรียกว่า "ชาวเขา" หมายถึงกลุ่มคนที่อาศัยในเขตที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทยและรวมถึงกลุ่มชาวเขาที่ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย (หน้า 69-73)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก นอกจากนั้นยังเข้าร่วมโครงการหลวง และ โครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐในการปรับเปลี่ยนอาชีพเพื่อแสวงหารายได้ที่มั่นคงกว่าการทำการเกษตรแบบเดิม หรือทดแทนการปลูกฝิ่น รวมทั้งหันมาทำการเกษตรเชิงอนุรักษ์เพิ่มมากขึ้นเพื่อลดปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและร่วมกันอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร (หน้า 55-56)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ส่วนใหญ่ชาวเขาที่อาศัยในชุมชนบนพื้นที่สูงในประเทศไทย ยังไม่ได้รับสัญชาติไทยที่ถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นปัญหาและอุปสรรคในการควบคุม การจัดระเบียบการปกครองและการให้บริการแก่ชาวเขาตามนโยบายของรัฐในแผนพัฒนาชนบท เช่น การให้บริการการศึกษา การสาธารณสุขและการเกษตร ดังนั้น การดูแลควบคุมชาวเขาจึงกระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ กรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยแต่ละหน่วยงานจะมีทะเบียนชาวเขาเฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตน รวมทั้งชาวเขายังอาศัยอยู่ไม่เป็นหลักแหล่งมีการอพยพเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ ทำให้ทะเบียนชาวเขาของหน่วยงานต่างๆ ไม่ตรงกับความเป็นจริง (หน้า 71) องค์กรในการดำเนินการแก้ไขปัญหาชาวเขา ประกอบด้วยองค์กร 4 ระดับ คือ องค์กรระดับชาติ องค์กรระดับภาค องค์กรระดับจังหวัด และองค์กรระดับอำเภอ 1. คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงแห่งชาติเกี่ยวกับชาวเขาและการปลูกพืชเสพติด (อขส.) นายพงศ์ สารสิน รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ ระดับปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องและมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ เป็นกรรมการระดับนโยบาย มีหน้าที่กำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้และมีหน้าที่ประสานงานเพื่อให้เกิดการปฏิบัติเป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งการกำหนดนโยบายด้วย 2. คณะกรรมการศูนย์อำนวยการประสานงานแก้ไขปัญหาชาวเขาและกำจัดการปลูกพืชเสพติดกองทัพภาคที่ 3 (ศอ.ชข.ทภ. 3) เป็นคณะกรรมการระดับภาค มีแม่ทัพเป็นประธานคณะกรรมการ ผู้ว่าราชการที่มีชาวเขาเป็นกรรมการ ผู้แทนกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ โดยมีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่จังหวัดในการแก้ไขปัญหา เสนอแผน เสนอโครงการแล้วก็มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่จังหวัดในการแก้ปัญหาร่วมกัน 3. คณะกรรมการชาวเขา เป็นคณะกรรมการที่มีอยู่เดิมแต่มีไม่ครบทุกจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และมีหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นเลขานุการและให้หัวหน้าศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเป็นผู้ช่วยเลขานุการ 4. คณะทำงานชาวเขาอำเภอ มีนายอำเภอเป็นประธาน และเป็นองค์กรที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นผู้ที่ปฏิบัติจริงในพื้นที่ และมีความใกล้ชิดมากกว่าองค์กรระดับอื่น (หน้า 32 - 35)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบัน ชาวเขาที่อาศัยอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูงได้ปรับตัวทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีความจำเป็นต้องเข้าหาหน่วยงานของรัฐ โดยมีความต้องการที่จะได้สัญชาติไทยเพื่อได้รับรองสิทธิทางกฎหมาย และการบริการจากรัฐ ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมตามคำแนะนำจากหน่วยงานและโครงการพัฒนาต่าง ๆ จากรัฐ โดยที่รัฐจำเป็นต้องรีบสำรวจทำทะเบียนชาวเขาเพื่อจำแนกกลุ่มชาวเขาให้ชัดเจน และมีแนวนโยบายในการปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยและส่งเสริมอาชีพเพื่อความอยู่รอดพึ่งพาตนเองได้ (หน้า 78-79)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

จากรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาชุมชนบนพื้นที่สูงสามารถสรุปออกเป็น 4 ประเด็นได้แก่ 1. ปัญหาการลงทะเบียนให้ชาวเขาและการผลักดันชาวเขาจากนอกประเทศ เห็นว่าการดูแลควบคุมชาวเขากระจายอยู่ในหลายหน่วยงาน เช่น กรมประชาสงเคราะห์ กรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยที่แต่ละหน่วยงานจะมีทะเบียนชาวเขาในเขตรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานซึ่งไม่ครอบคลุมชาวเขาที่อยู่ในแต่ละจังหวัด จึงสมควรให้กรมการปกครองเป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบ และจัดทำทะเบียนชาวเขาโดยตรง มีองค์กรระดับอำเภอเป็นหน่วยรับผิดชอบและควรที่จะสำรวจและจัดทำทะเบียนชาวเขาโดยพร้อมกันทุกจังหวัด หรืออาจแบ่งแยกทำทีละพื้นที่ตามความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ 2. ปัญหาการจัดที่อยู่อาศัย และที่ทำกินถาวรให้แก่ชาวเขา จากการที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2532 "ให้กลุ่มคนบนพื้นที่สูง มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินถาวร ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อพยพเคลื่อนย้ายอีกต่อไป" เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายที่อยู่และที่ทำกิน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปลูกพืชเสพติด และปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของรัฐยังเป็นปัญหา ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติของชาวเขานั้นขัดกับหลักการของรัฐ ดังนั้น จึงควรสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชาวเขา เพื่อทราบจำนวน ที่ตั้งของหมู่บ้าน และจัดจำแนกที่ตั้ง ที่ทำกินเพื่อกำหนดให้ชาวเขามีที่อยู่ ที่ทำกินอย่างถาวรและคอยควบคุมดูแลให้มีความชัดเจนเพื่อป้องกันการอพยพ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการดำรงชีวิตตามความจำเป็นและปลูกจิตสำนึกความเป็นไทยแก่ชาวเขา เพื่อให้เกิดความรักและหวงแหนในทรัพยากรของชาติ 3. การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยให้แก่ชาวเขา เนื่องจากปัญหาการขาดจิตสำนึกในความเป็นไทยโดยเฉพาะในเรื่องของภาษาไทย ชาวเขาจึงขาดความพร้อมในการรับการพัฒนาจากรัฐ นับว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานการพัฒนาชุมชนชาวเขา ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างจิตสำนึกความเป็นไทยจึงควรเร่งสร้างหลักสูตรทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ในหลายรูปแบบและมีความต่อเนื่อง โดยจัดเป็นแผนการพัฒนาจากระดับสูงลงสู่ระดับจังหวัด อำเภอและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ 4. บทบาทหน้าที่ขององค์กรดำเนินงาน องค์กรที่จะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพมี 4 ระดับ คือ ชาติ ภาค จังหวัดและอำเภอ โดยสามองค์กรแรกนั้นค่อนข้างมีความชัดเจนในนโยบายและบทบาท ส่วนองค์กรระดับพื้นที่ (อำเภอ) ยังมีหลักปฏิบัติไม่ค่อยชัดเจนและบทบาทหน้าที่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการคมนาคมและการสื่อสารในพื้นที่สูง รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานดำเนินงานไม่เต็มที่เพราะมีงานประจำอยู่แล้ว และขาดการประสานงานในการปฏิบัติจากหน่วยงานต่าง ๆ และยังมีปัญหาในเรื่องนโยบายขององค์กรที่มีความไม่ชัดเจน (หน้า 70-85)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ทรงศักดิ์ ปัญญา Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ม้ง, เมี่ยน, ลีซู ลาหู่, อ่าข่า, ลเวือะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), ชาวเขา, ชุมชนบนพื้นที่สูง, การแก้ปัญหา, การสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย, การลงทะเบียน, การจัดที่อยู่อาศัย, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง