สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง, เมี่ยน, ลีซู, ลาหู่, ลวะ,ลัวะ,ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ขมุ,ชาวเขา,รัฐไทย,ภาคเหนือ
Author Mischung, Roland
Title The Hill Tribes of Northern Thailand: Current Trends and Problems of their Integration into the Modern Thai Nation
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, อ่าข่า, ลีซู, ลาหู่ ลาหู่ ละหู่ ลาฮู, อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, ม้ง, ปกาเกอะญอ, กำมุ ตะมอย, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, Language and Linguistic Affiliations ไม่ระบุ
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 9 Year 2542
Source Regions and National integration in Thailand 1892-1992, p.94-104, Wiesbaden: Harrassowitz
Abstract

บทความนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอบทบาทของชาวเขาที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย กับการเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยยุคปัจจุบัน โดยนำเสนอประเด็นปัญหาที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ทั้งแนวคิดและทัศนคติของชาวเขาและคนพื้นราบที่มีต่อกัน บทบาททางสังคม การเมือง และการดำเนินการของรัฐบาล โดยนำเสนอในแนวประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ผู้เขียนยังแสดงความคิดเห็นและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้จากการดำเนินนโยบายของรัฐบาล หากการดำเนินการของรัฐบาลสร้างแรงกดดัน และมองข้ามความหลากหลายทางชาติพันธุ์ซึ่งเป็นรากฐานของสังคมไทย

Focus

แสดงให้เห็นวิวัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับชาวเขาโดยพิจารณาการบูรณาการของกลุ่มชาวเขาเข้ากับรัฐไทยที่รวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง (หน้า 94)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ ลัวะ (หรือ ละว้า ในภาษาไทยภาคกลาง) ถิ่น ขะมุ กะเหรี่ยง (หรือ ยาง ในภาษาถิ่นเหนือ) ม้ง (เมี้ยว) เมี่ยน (เย้า) อาข่า (อีก้อ) ละหู่ (มูเซอ) ลีซู (ลีซอ) (หน้า 95) แต่ในงานศึกษานี้ผู้เขียนยกตัวอย่างกะเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

งานเขียนได้ระบุว่าชาวเขาได้เริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จากภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่าโดยผ่านบางส่วนของประเทศลาว แต่ชนเผ่ากะเหรี่ยงนั้นมีประวัติศาสตร์การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยนานที่สุด โดยคาดการณ์ว่าเริ่มมีการอพยพจากพม่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 18 (หน้า 95-96)

Settlement Pattern

ชาวเขาไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่แน่นอนโดยจะย้ายถิ่นฐานทุก ๆ 10-20 ปี ยกเว้นชนเผ่ากะเหรี่ยงซึ่งตั้งถิ่นฐานถาวรโดยพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานในที่เดิมสืบย้อนกลับไปได้มากกว่า 100-200 ปี (หน้า 96)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ชาวเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเผ่าม้งและลีซอปลูกฝิ่นเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยรับธรรมเนียมการปลูกฝิ่นมาจากประเทศจีนประมาณกลางคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นระยะที่เริ่มการอพยพลงทางใต้ ซึ่งฝิ่นได้กลายเป็นพืชยุทธศาสตร์สร้างรายได้ชั่วคราวอย่างหนึ่ง เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบว่า ชาวเขาเผ่า ละว้า ขะมุ ถิ่น นิยมการทำไร่แบบทุติยภูมิ กล่าวคือ ทำไร่บนพื้นที่ที่เคยมีการทำไร่มาก่อน และยังพบการทำนาข้าวแบบขั้นบันไดตามแนวเชิงเขาในบางพื้นที่ของชนเผ่ากะเหรี่ยง และช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พบว่าชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจกับคนพื้นราบ โดยสินค้าที่มีการแลกเปลี่ยนกัน ได้แก่ เหล็ก เกลือ เครื่องถ้วยชาม แลกเปลี่ยนกับผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ต่าง ๆ (หน้า 95-97)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ด้านการเมืองนั้น ได้มีหลักฐานแสดงว่าชนเผ่ากะเหรี่ยงได้มีส่วนร่วมในเรื่องการจัดการสายน้ำและปันน้ำ ในศาลไทย (Court of Siam) หรือ ศาลเจ้านายฝ่ายเหนือ (Court of Princes of Northern Thailand) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องสิทธิของชนเผ่าในการตั้งถิ่นฐานที่ควรได้รับการยอมรับและเคารพ และยังพบว่ากะเหรี่ยงยังได้รับการว่าจ้างให้ป้องกันการรุกล้ำของพม่าตามแนวชายแดนด้วย (หน้า 97) ในปีคริสตศักราช 1967-1969 ได้เกิดการลุกฮือต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐในหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง อำเภอเถิง จังหวัดเชียงราย เกิดจากความขัดแย้งเรื่องส่วนแบ่งผลประโยชน์จากฝิ่น ระหว่างกลุ่มม้งและเจ้าหน้าที่บางกลุ่มเท่านั้น แต่ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใด ๆ ขึ้น และจากเหตุการณ์นี้เองรัฐบาลจึงตระหนักถึงความสำคัญของชาวเขาที่มีอยู่อย่างหลากหลายส่งผลให้เกิดโครงการในประเทศและสากลเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวเขา ในปีคริสต์ศักราช 1967 รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายบูรณาการชาวเขาเข้ากับสังคมไทย โดยดำรงไว้ซึ่งการเคารพในสิทธิในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และวัฒนธรรมของชนเผ่า ขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้เป็นพลเมืองชั้นหนึ่งที่พึ่งพาตนเองได้ (หน้า 99-100)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ผู้เขียนให้ข้อมูลว่า ชนเผ่า ลัวะ ถิ่น ขะมุ มีจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งสามเผ่าได้สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษามอญ-เขมร ปัจจุบันได้กลมกลืนเข้ากับชาวนาท้องถิ่นเหนือของไทย (หน้า 95) ชนเผ่าม้งและเมี่ยน มีวัฒนธรรมและภาษาเป็นมรดกตกทอดร่วมกัน เช่นเดียวกันกับชนเผ่า อาข่า ละหู่ มูเซอ ที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกัน (หน้า 95) ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขาและคนพื้นราบนั้นมีความขัดแย้งเรื่องภาพลักษณ์ของชาวเขาในสายตาของคนพื้นราบ เนื่องจากคนพื้นราบเห็นว่าชาวเขามีความเชื่อ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมที่แตกต่างจากตน แต่ในทางกลับกันทัศนคติของชาวเขาต่อคนพื้นราบโดยรวมถึง ชนชาติจีน พม่า ไทย หรือชาติอาณานิคมต่าง ๆ เห็นว่าชนชาติเหล่านี้เป็นชนชาติที่มีความสำคัญและโดดเด่น สมควรได้รับบทบาทที่ สร้างสรรค์ เนื่องจากมีความสำคัญต่อความมั่นคงและสถานะความเป็นอยู่ของชนเผ่าตน (หน้า 98) แม้ว่าชาวเขาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยอย่างสมบูรณ์ ยังคงเป็นพลเมืองชายขอบ อย่างไรก็ตามการดำรงอยู่ของชาวเขาก็ได้รับความเคารพในฐานะชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่าง ในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขาและคนพื้นราบได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเนื่องจากการการทำข้อตกลงยุติการล่าอาณานิคมตามแนวชายแดน (นอกจากนี้กองกำลังชาวเขาก็ไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะต่อต้านกองกำลังต่างชาติ เช่น อังกฤษ) ประกอบกับการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจทำให้นโยบายต่อชาวเขาไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ และไม่ได้รับการดูแล เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญต่อชาวเขามาเป็นเวลานาน เนื่องจากเห็นว่าชาวเขาไม่ได้สร้างผลประโยชน์พิเศษใด ๆ ให้แก่ประชากรไทย ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขาและคนพื้นราบจึงห่างเหินกลายเป็นช่องว่าง ชาวเขากลายเป็นคนแปลกหน้า และภาพลักษณ์ที่ดีของชาวเขาในฐานะชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างก็เริ่มเลือนหายไปจากทัศนคติของคนพื้นราบ ชาวเขาได้กลายเป็นอนารยชนที่มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่แปลกแยก ก่อให้เกิดคำเรียกว่า "ชาวเขา" ขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้เรียกชนเผ่าทุกเผ่าโดยรวม (หน้า 97-98) หลังจากปีคริสต์ศักราช 1950 เป็นต้นมา ภาพลักษณ์ชาวเขายิ่งตกต่ำลงเรื่อย ๆ สาเหตุมาจากชนเผ่าม้งที่มีการปลูกฝิ่นกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นจนเป็นภัยคุกคาม เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอสาเหตุ 3 ประการที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของชาวเขาที่ตกต่ำลง ได้แก่ 1) การบุกรุกถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ทำให้สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย 2) การปลูกฝิ่น ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย และเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ 3) เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยชาวเขาได้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยในฐานะคอมมิวนิสต์ต่างชาติ (Foreign Communist) (หน้า 98)

Social Cultural and Identity Change

ในปีคริสต์ศักราช 1959 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิภาพชาวเขา (Hill Tribe Welfare Committee) เป็นช่วงเวลา 1 ปีหลังจากที่รัฐบาลได้ห้ามการปลูกและบริโภคฝิ่น กิจกรรมที่สำคัญที่คณะกรรมการได้จัดตั้งคือการสร้างนิคมสร้างตนเอง เพื่อสนับสนุนการย้ายกลับไปตั้งถิ่นฐานเดิม และให้ความช่วยเหลือความรู้ทางการเกษตร การแพทย และอนามัย และการตั้งโรงเรียนเพื่อช่วยเหลือเรื่องการศึกษา โดยได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์วิจัยชนเผ่า (Tribal Research Centre) เป็นโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมพัฒนาสวัสดิการสังคม กระทรวงมหาดไทย ในปีคริสต์ศักราช 1964 โดยช่วยเหลือการสำรวจข้อมูลของชนเผ่าต่าง ๆ นอกจากนี้องค์การสหประชาชาติก็ได้เข้ามาช่วยเหลือในปีคริสต์ศักราช 1967 เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีโครงการหลวงในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเขาให้ดียิ่งขึ้น (หน้า 99-100)์

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นโยบายเกี่ยวกับชาวเขา ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายการผลักดันให้ย้ายกลับไปตั้งถิ่นฐานในที่เดิมว่า นโยบายการผลักดันนั้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อชาวเขาทุกเผ่า ตัวอย่างเช่น ชาวเขาเผ่าลีซอและเผ่าม้งได้ยกเลิกการปลูกฝิ่นแล้ว นอกจากนี้ยังตั้งถิ่นฐานอย่างเป็นหลักแหล่งมาตั้งแต่ช่วงปีคริสตศักราช 1970 ส่วนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนั้นก็ได้หันมาทำนาแบบขั้นบันไดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว และทำไร่เลื่อนลอยเป็นครั้งคราวเท่านั้น นอกจากนี้ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงยังอาศัยอยู่ในป่าลึกที่ไม่ได้รับการรบกวนอีกด้วย ผู้เขียนได้ให้เหตุผลต่อนโยบายการผลักดันให้ย้ายกลับไปตั้งถิ่นฐานเดิมนั้นว่าได้มองข้ามปัญหาหลายประการ ได้แก่ 1) ที่ดินที่รัฐได้จัดหาไว้ให้นั้นเป็นที่ดินที่มีคุณภาพต่ำและขาดความอุดมสมบูรณ์ 2) การยกเลิกการทำไร่เลื่อนลอยได้มองข้ามเรื่องการสร้างความหลากหลายทางพืชพรรณที่ได้จากการทำไร่แบบนี้ 3) การอพยพชาวเขานั้นเป็นการปิดโอกาสการใช้ชาวเขาช่วยประชาสัมพันธ์การฟื้นฟูป่าไม้ซึ่งเป็นรูปแบบการอนุรักษ์ในสมัยใหม่ 4) นโยบายดังกล่าวมองข้ามหลักพื้นฐานการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมของชนเผ่าซึ่งมีความต้องการอาศัยอยู่ในหมู่บ้านของตนและประกอบพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อของชนเผ่าตนเองโดยยังให้ความเคารพกฎหมายไทยและได้รับการยอมรับจากคนไทย และที่สำคัญคือ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ผู้เขียนได้อ้างถึงคำกล่าวของคุณวนัช พฤกษะศรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีใจความสำคัญ ว่า ชาติไทยเป็นพหุสังคมซึ่งเกิดขึ้นจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษา สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของชาติไทย (หน้า 101-102) นอกจากนี้ ผู้เขียนได้ใช้กรณีของยุโรปเป็นการสรุปถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้หากมีการแทรกแซงและบังคับทางชาติพันธุ์ ถ้ายิ่งได้รับแรงกดดันจากรัฐบาลมากก็ยิ่งเกิดความวุ่นวายมากขึ้นเช่นกัน (หน้า 102)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst รัฐพล พิริยะธนารักษ์ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ม้ง, เมี่ยน, ลีซู, ลาหู่, ลวะ, ลัวะ, ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ขมุ, ชาวเขา, รัฐไทย, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง