สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ไทใหญ่,หัตถกรรม,ลวดลายการต้องกระดาษ,แม่ฮ่องสอน,ภาคเหนือ
Author อนุสรณ์ บุญเรือง
Title การศึกษาลวดลายการต้องกระดาษโดยใช้สิ่วตอกของกลุ่มไทยใหญ่ ในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทใหญ่ ไต คนไต, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ห้องสมุดคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 129 Year 2545
Source รายงานประกอบวิชา หลักสูตรศิลปะบัณฑิต (ศิลปะไทย) ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

จากการศึกษาพบลวดลายต้องกระดาษประมาณ 100 ลายที่มีลักษณะคล้ายลวดลายของการฉลุโลหะ เนื่องจากมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน คือ การประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาในพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น การฉลุลวดลายต้องกระดาษส่วนใหญ่จะสร้างลวดลายให้รวมอยู่ในแผ่นเดียวกัน และมีเทคนิคการต้องลายโดยการใช้ลิ่มหรือสิ่วตอกลงบนกระดาษให้เกิดลวดลายที่อ่อนช้อยตามแบบที่ร่างขึ้น ทั้งนี้ ช่างฝีมือได้ยึดคติและความเชื่อทางพุทธศาสนาผสมผสานกับจินตนาการในการสร้างสรรค์ลวดลาย จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่างฝีมือแต่ละคน

Focus

ศึกษาลวดลาย ประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนความเป็นมา และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการต้องกระดาษของกลุ่มไทใหญ่ในอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า ค)

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ชนเผ่าไทยใหญ่ที่บ้านเมืองปอน บ้านขุนยวม บ้านดง และบ้านต่อแพ ในเขตอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หน้า 36)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2545 (ง)

History of the Group and Community

เดิมไทใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อาณาจักรเมืองมาว ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เจ้ายูน ราวพุทธศตวรรษที่ 20 จึงถูกบุเรงนองปราบลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพม่า ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 24 ได้ยก ทัพไปตีเมืองต่างๆ ทางตอนเหนือและกวาดต้อนคนไทในรัฐฉาน ไทยอง ลั้วะ หรือละว้ามาเป็นจำนวนมาก (หน้า 9) จนกระทั่งอังกฤษเข้ายึดครองพม่าเป็นเมืองขึ้น รัฐไทใหญ่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของพม่าภายใต้ชื่อรัฐฉาน มีพรมแดนติดต่อกับล้านนา ทำให้เกิดการอพยพเข้ามาตั้งชุมชนที่บ้านโป่งหมู ก่อนจะเป็นเมืองแม่ฮ่องสอนที่มีชานกะเลเป็นเจ้าเมืองคนแรก (หน้า 1, 4-6)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ชนเผ่าไทใหญ่ส่วนมากประกอบอาชีพรับจ้างทำป่าไม้ (หน้า 15)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

จังหวัดแม่ฮ่องสอนแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็นอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน อำเภอปาย อำเภอขุนยวม อำเภอแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง อำเภอสบเมย และกิ่งอำเภอปางมะผ้า (หน้า 3)

Belief System

กลุ่มไทใหญ่นับถือศาสนาพุทธและเทพหรือผีเจ้าเมือง โดยเชื่อว่าเมื่อเจ้าฟ้าหรือหัวหน้ากลุ่มเสียชีวิตวิญญาณจะยังวนเวียนปกครองดูแลชาวบ้านอยู่ บริเวณชุมชนจึงต้องมีวัดและหอเจ้าเมือง ความศรัทธาในพุทธศาสนายังก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ ศิลปหัตถกรรมและสถาปัตยกรรมเนื่องในศาสนาเพื่อเป็นพุทธบูชา จนกระทั่งเกิดเป็นลวดลายต้องกระดาษที่สะท้อนถึงความ เชื่อและเอกลักษณ์ของกลุ่มไทใหญ่ นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนิยมในการส่งกุลบุตรเข้าศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนตั้งแต่เยาว์วัยเรียกว่า บวชลูกแก้วหรือปอยส่างลอง (หน้า 4,6-7) ศิลปะการต้องลวดลายกระดาษมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประเพณีของไทใหญ่ในกรณีศึกษา เช่น ประเพณีการตาย จะมีการลากปราสาทล้อหรือปราสาทเหลิม ต้องลายด้วยกระดาษสีต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพบูชาแก่ศพ (หน้า 11) ปอยจองพารา คืองานสร้างปราสาทจำลองด้วยไม้ไผ่และการต้องลวดลายกระดาษเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา โดยเชื่อว่าจะทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข (หน้า 6, 11) งานปอยเขาวงกต ดัดแปลงจากปราสาทจองพารา 5 หลังหรือปราสาท 8 หลังโดยจะจัดในช่วงเดือน 12 เป็นต้น (หน้า 13-14)

Education and Socialization

จากการสัมภาษณ์ช่างฝีมือที่สร้างสรรค์ลวดลายงานต้องกระดาษพบว่า กระบวนการเรียนรู้เกิดจากความคิดและจินตนาการของตัวช่างเอง หรือเป็นการดัดแปลงมาจากลายประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมภายในวัด บ้างก็เรียนรู้จากตำราของอาจารย์ และจากการศึกษาเมื่อครั้งบวชเรียน เช่น ตำราของครูจิเวอ่วน บ้านแม่ลาน้อย และแบบฝึกหัดเขียนลวดลายต้องกระดาษ ซึ่งลวดลายที่ช่างส่วนใหญ่ทำเป็นตำราไว้จะประกอบด้วยลวดลายแบบสลับซับซ้อนและลายธรรมดา โดยจะใช้ลายธรรมดาสำหรับการเริ่มเรียนในตอนแรก ๆ หรือเวลาลูกหลานมาช่วยเขียนลายก็จะให้เริ่มเขียนลายง่ายๆ ก่อน (หน้า 41, 44, 52)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การต้องลาย หมายถึง การฉลุลายโดยใช้วัสดุปลายแหลม เช่น ลิ่มหรือสิ่ว ลวดลายการต้องกระดาษในกรณีศึกษาจึงหมายถึงลวดลายที่เกิดจากการฉลุลายโดยใช้สิ่วตอกลงบนกระดาษ ที่มาของลวดลายดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพุทธศาสนา ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องราวของระบบจักรวาล ความอุดมสมบูรณ์ และการดำรงชีวิต ซึ่งปรากฏเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ดอกบัว ส่วนลวดลายสำคัญที่ช่างนำมาผูกลาย เช่น ลายพรรณพฤกษา ลายกนก ลายเครือเถา และลายเครือแบบยุโรป ในกระบวนการต้องลายช่างจะร่างภาพลงบนกระดาษให้มีขนาดเท่าของจริง แล้วนำไปร่างลงบนกะดาษที่จะทำการต้องลายโดยใช้ลิ่มหรือสิ่วและอาจใช้ตะปูในการเสริมลวดลายให้เด่นชัดมากขึ้น หรืออาจสร้างแม่แบบกระดาษแข็งและแม่แบบโลหะเพื่อความสะดวกในการต้องลายบนกระดาษ (หน้า 16-18) ลวดลายต้องกระดาษที่ใช้ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมจำลอง อาทิ เขาวงกต ปราสาทศพ จองพารา ศาสนสถาน และวัตถุไทยทาน ได้แก่ ลายกะหรุ่งตอง ใช้ประดับที่มุมทั้งสี่ด้านของยอดจองหรือส่วนฐานของจองพารา ส่วนใหญ่จะเป็นลายพรรณพฤกษา และลวดลายแปดแล่งในกรอบของกะหรุ่งตอง ลายดอกสะเจ๊ะ การใช้งานขึ้นอยู่กับลายกะหรุ่งตอง ลายพอง ลักษณะเป็นแถวกระดาน ส่วนใหญ่จะเป็นลายดอกไม้ ลายก้านขดในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลายหม่านกาง ใช้ประดับส่วนยอดของจองพารา ส่วนมากจะเป็นลายรูปสัตว์หิมพานต์ ลายจิ่งพู มีลักษณะคล้ายดอกบัวหรือเพชร ใช้ประดับส่วนยอดสุดของจองพารา ลายจ่ากะหราด (จักกะหราด) ลักษณะคล้ายดอกสะเจ๊ะและกะหรุ่งตอง แต่จะเป็นลายก้านขดอย่างเดียว รวมถึงลายมุขหน้า ลายหมอกโกง ลายมุขอ่า ลายดอกประดับมุข ลายดอกประดับเสามุม และลายปานซอย (หน้า 125-126)

Folklore

ความเป็นมาของประเพณีปอยเหลิมกล่าวว่าในสมัยพุทธกาลพระภิกษุอเสนนาระกะเป็นผู้ที่สร้างสมบุญบารมีมากและมีความตั้งใจที่จะเข้าสู่นิพพานจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงชี้แนะให้พระอเสนนาระกะปฏิบัติธรรม ครั้นเวลาผ่านไป 7 เดือนก็บรรลุเป็นพระอรหันต์และเข้าสู่นิพพาน เทวดาฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าควรจะตั้งศพไว้เช่นเดิมเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะเผาศพแล้วเก็บอัฐิไว้สักการบูชา เทวดาทั้งสองฝ่ายจึงแย่งกันชักลากล้อปราสาท พระพุทธเจ้าจึงตรัสสั่งให้พระสาวกเข้าป่าไปจัดพิธีศพและเผาร่างพระอเสนนาระกะ จากนั้นจึงเก็บอัฐิมาก่อเป็นสถูปไว้สักการบูชา (หน้า 9-10) ย้อนหลังไปในสมัยพุทธกาลตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อพระองค์เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ชาวเมืองสังฆัสสะต่างแสดงความยินดีด้วยการประดับตกแต่งปราสาทจำลองไว้หน้าบ้านเพื่อเป็นการต้อนรับ จึงเป็นที่มาของประเพณีจองพารา (หน้า 11) ความเป็นมาของประเพณีปอยเขาวงกตเกี่ยวข้องกับมหาเวสสันดรชาดกตอนที่พระองค์ถูกเนรเทศออกจากเมือง และเดินทางไปบำเพ็ญบารมีที่เขาวงกตซึ่งมีหนองดอกบัวอยู่ทั้ง 4 ด้าน ด้วยเหตุนี้งานประเพณีปอยเขาวงกตจึงมีการสร้างปราสาท 5 หลัง โดยสมมติให้ปราสาทยอดกลางเป็นอาศรมของพระเวสสันดร ส่วนปราสาทอีก 4 หลังแทนหนองดอกบัว (หน้า 13) ตำนานของจองพารา 8 หลัง กล่าวว่ามีมหาเศรษฐี 8 ท่านในสมัยพุทธกาลได้สร้างปราสาทถวายแด่พระพุทธเจ้า 8 หลัง ได้แก่ เชตุวันวิหาร บุพผารามมหาวิหาร เวฬุวันมหาวิหาร มหาวรรณมหาวิหาร เมกกะทายะวรรณมหาวิหาร กัณฑารมมหาวิหาร กุสินารามหาวิหาร และนิโครธารามมหาวิหาร จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีการสร้างปราสาทถวายเป็นพุทธบูชาของกลุ่มไทใหญ่ โดยจะจัดขึ้นในวัน 13-15 ค่ำ เดือน 12 (หน้า 14)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทใหญ่อพยพมาจากรัฐฉาน เป็นกลุ่มไตเช่นเดียวกับไทลื้อ ไทเขิน ไทเหนือ มีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับคนไทย นิยมเรียกตนเองว่าไตหรือกนไตหรือไตหลง หมายถึง ไตหลวง พม่าเรียกชานหรือฉานแปลว่าสยาม ชาวล้านนาเรียกเงี้ยว มีนัยในเชิงดูหมิ่นดูแคลน (หน้า 5) ไทใหญ่และพม่าจึงมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการนับถือพุทธศาสนา จะต่างกันบ้างก็ในเรื่องของภาษาและความหมายของภาษา ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา เช่น การประดิษฐ์ลวดลายฉลุโลหะหรือปานซอย การต้องกระดาษประดับสถาปัตยกรรมและวัตถุที่มีความวิจิตรบรรจง (หน้า 39)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้ใช้รูปภาพและภาพลายเส้นประกอบการนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา เช่น ลวดลายการต้องกระดาษจากเอกสารตำราของนายป๊ะ ยอดเมืองงาย (หน้า 46) ลวดลายแม่แบบของลายต้องกระดาษที่เป็นลวดลายก้านขด (หน้า 48) งานการต้องลายกระดาษตกแต่งพระวิหารวัดเมืองปอน (หน้า 52) ลายใบสัปปะรด (หน้า 66) ลวดลายมุขหน้า (หน้า 67) ลวดลายดอกสะเจ๊ะ (หน้า 70, 106) ลายจ่ากะหราด (หน้า 76) ลายปานซอย (หน้า 77, 114) ลายหม่านกาง (หน้า 78) ลายมุขอ่า (หน้า 80, 96) และลายดอกรังผึ้ง (หน้า 85, 97)

Text Analyst ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย Date of Report 06 ธ.ค. 2548
TAG ไทใหญ่, หัตถกรรม, ลวดลายการต้องกระดาษ, แม่ฮ่องสอน, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง