สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อูรักลาโว้ย,ชาวเล,การสื่อสารต่างวัฒนธรรม,ภูเก็ต
Author จิราพร บุตรสันติ์
Title ลักษณะและปัญหาในการสื่อสารต่างวัฒนธรรมระหว่างชาวเลกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน กรณีศึกษาโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลในตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อูรักลาโว้ย อูรักลาโวยจ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 146 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ผลวิจัยพบว่า ชาวเลเปิดรับข่าวสารจากนักพัฒนาชุมชนในลักษณะของการพบปะที่บ้าน การนัดประชุมและการบอกข่าวผ่านผู้นำชุมชน ในทัศนะของชาวเลระบุว่า ไม่มีอุปสรรคในการสื่อสารต่างวัฒนธรรม ชาวเลต้องการให้ทุกคนเห็นว่าพวกเขาเป็นคนภูเก็ตเช่นกัน ภาษามิได้เป็นอุปสรรคในการสื่อสารกับนักพัฒนาชุมชนชาวเลต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับชุมชนที่ตนอาศัยอยู่ แต่ยังมีชาวเลที่รู้สึกว่านักพัฒนาชุมชนเป็นคนละกลุ่มกับพวกเขาและมีความเห็นว่านักพัฒนาชุมชนควรเรียนรู้วัฒนธรรมชาวเลให้มากขึ้น ส่วนอุปสรรคในการสื่อสารในทัศนะของนักพัฒนาชุมชนคือ การขาดความไว้วางใจ ขาดความใกล้ชิด การมีทัศนะที่ไม่ดีต่อเจ้าหน้าที่รัฐและความแตกต่างด้านภาษา ชาวเลมีสถานภาพสมรสและระดับการศึกษาต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลต่างกัน และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ต่างกันมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลต่างกัน ชาวเลเพศต่างกันมีความคาดหวังต่อลักษณะพึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนต่างกันและมีความคาดหวังต่อลักษณะโครงการพัฒนาชุมชนต่างกัน ความรู้ของชาวเลเกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล แต่ทัศนะคติของชาวเลต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล

Focus

ศึกษาลักษณะการเปิดรับข่าวสาร อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างชาวเลกับนักพัฒนาชุมชน ศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างปัจจัยประชากรกับความรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วมของชาวเลต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล ความคาดหวังต่อลักษณะของนักพัฒนาชุมชนและความคาดหวังต่อลักษะของโครงการพัฒนาชุมชนของชาวเล ในตำบล ราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเลหรือชาวน้ำ

Language and Linguistic Affiliations

ชาวเลมีภาษาพูดเป็นของตนเอง แต่ไม่มีภาษาเขียน ภาษาชาวเลจัดอยู่ในตระกูลภาษา Malay - Polynesian (หน้า 2

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชาวเลในจังหวัดภูเก็ตมี 4 กลุ่มได้แก่ - กลุ่มหาดราไวย์ เป็นพวกไทยใหม่ มีความเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนอพยพมาจากหมู่เกาะแถบประเทศมาเลเซีย แล้วแยกย้ายอาศัยตามหมู่เกาะต่างๆ - พวกสิงห์ เชื่อว่าบรรพบุรุษดั้งเดิมอยู่บริเวณหมู่เกาะในประเทศพม่าแล้วอพยพมาอยู่ที่หาดราไวย์ - กลุ่มแหลมหลาและบ้านเหนือ ชาวเลกลุ่มนี้เชื่อว่าบรรพบุรุษฝ่ายพ่อเป็นชาวเลแห่งเกาะลันตา เขตจังหวัดกระบี่ มาตั้งรกรากประมาณ 150 ปีที่แล้ว - กลุ่มเกาะสิเหร่ ชาวเลกลุ่มนี้เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนอพยพมาจากบริเวณหมู่เกาะในประเทศมาเลเซีย กลุ่มที่สะป๋า ชาวเลสะป๋าเป็นกลุ่มที่อพยพมาจากกลุ่มที่เกาะสิเหร่ (หน้า 2)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ชาวเล ในตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 214 ครัวเรือน 965 คน และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจำนวน 10 ราย (หน้า 20) ประชากรกลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชาย 123 คน หญิง 91 คน คิดเป็นร้อยละ 57.5 และ 42.5 ตามลำดับ (หน้า 28) ประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.9 มีอายุระหว่าง 15 -20 ปี ร้อยละ 28.5 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.8 มีอายุ 36-45 ปี (หน้า 33)

Economy

ประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.8 ประกอบอาชีพประมง ร้อยละ 29.4 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 8.4 ประกอบอาชีพค้าขายและร้อยละ 9.3 ประกอบอาชีพอื่นๆ (หน้า 31) ประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.1 มีรายได้ 2,001-3,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 21.0 มีรายได้ 3,001-4,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 18.2 มีรายได้ต่อเดือน 4,000 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.6 มีรายได้ต่อเดือน 1,000-2,000 บาท (หน้า 34)

Social Organization

ลักษณะพื้นฐานการดำรงชีวิตส่วนใหญ่มีการอพยพอยู่เสมอ (หน้า 2) - ประชากรกลุ่มตัวอย่างมีสถานภาพสมรส ร้อยละ 81.8 และสถานภาพโสดร้อยละ 18.2 (หน้า 29) - ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 77.6 อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่เกิด ร้อยละ 8.4 อาศัยในพื้นที่ 20 ปีขึ้นไป (หน้า 32)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ชาวเลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ แต่ยังคงความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเล คือ การนับถือผีชิน มีการสร้างศาลตามความเชื่อและยังมีการนับถือตายายปลวก ซึ่งเป็นการนับถือส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับความสามารถของโต๊ะ (หมอผี) ไสยศาสตร์ คาถาอาคมและเชื่อในเรื่องผี (หน้า 2) ประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.2 นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ 17.8 นับถือศาสนาอิสลามและอื่นๆ (หน้า 29)

Education and Socialization

ประชากรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.9 ไม่ได้เรียนหนังสือ ร้อยละ 29.4 จบการศึกษาระดับการศึกษา ประถมปีที่ 1- 4 (ป1.-ป.4)ร้อยละ 28.5 จบการศึกษาระดับประถมปีที่ 5-7 (ป.5-ป.7) และร้อยละ 12.1 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป(หน้า 30)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การสื่อสารต่างวัฒนธรรม - ความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมหรืออุปนิสัยของชาวเลที่ส่งเสริมประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีน้ำใจ ความขยัน รักพวกพ้องและนับถือผู้อาวุโส ผู้นำท้องถิ่น ตามลำดับ - ความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมหรืออุปนิสัยของชาวเลที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ความเคยชินกับสภาพความเป็นอยู่แบบเดิม การเงียบไม่กล้าแสดงออก การเกี่ยวพันกับอาชีพดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้รวมถึงค่านิยมที่ให้ลูกเลิกเรียนหนังสือเพื่อมาช่วยงาน (หน้า 43 - 44) - ชาวเลร้อยละ 88.8 อยากให้ทุกคนเห็นว่าพวกเขาเป็นคนภูเก็ตเช่นกัน ชาวเลร้อยละ 86.9 เห็นว่า ภาษาไม่เป็นอุปสรรคในการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ร้อยละ 63.1 อยากมีการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เหมือนกับคนภูเก็ตทั่วไปแต่ยังมีชาวเลที่คิดว่าเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นคนละกลุ่มกับตน และร้อยละ 84.1 เห็นว่าเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนควรเรียนรู้วัฒนธรรมชาวเลให้มากขึ้น - กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล ปานกลางและมากที่สุด ร้อยละ 46.7 ชาวเลร้อยละ 78.0 มีทัศนคติในเชิงบวก และ ร้อยละ 22.0 มีทัศนคติเป็นกลางต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล ชาวเลร้อยละ 59.3 เคยมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล - ความคาดหวังของชาวเลต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล พบว่า ชาวเล ร้อยละ 91.1 มีความเป็นห่วงกับปัญหาการทำมาหากินมากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาที่อยู่อาศัย ร้อยละ 86.9 ปัญหาการล่มสลายของวัฒนธรรมร้อยละ 73.8 และน้อยที่สุดคือปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ร้อยละ 67.8 - ความคาดหวังต่อลักษณะพึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชน พบว่า ชาวเลต้องการนักพัฒนาที่มีลักษณะ มาตรงเวลานัดหมายและเข้าใจถึงวัฒนธรรมชาวเล ร้อยละ 85.0 มีส่วนร่วมในงานประเพณีต่างๆ ร้อยละ 77.6 ชาวเลต้องการนักพัฒนาที่เป็นคนในหมู่บ้านมากกว่านักพัฒนาที่เป็นข้าราชการและต้องการนักพัฒนาชุมชนที่พูดภาษาชาวเลได้ มากที่สุด ร้อยละ 55.1 ส่วนลักษณะการแต่งกายของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ชาวเลต้องการให้นักพัฒนาชุมชนแต่งกายแบบชาวบ้านมากกว่าแต่งเครื่องแบบข้าราชการ (หน้า 102-104)

Map/Illustration

ตาราง - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามเพศ(28) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามศาสนา(29) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสถานภาพสมรส(29) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับการศึกษา(30) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอาชีพ(31) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระยะเวลาที่อาศัย(32) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุ(33) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามรายได้ต่อเดือน(34) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการรับรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(35) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสื่อบุคคลที่เป็นแหล่งข่าวโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(36) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามประสบการณ์ในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน(37) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่เคยสื่อสารกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจำแนกตามความถี่ในการสื่อสาร(38) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่เคยสื่อสารกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจำแนกตามลักษณะการสื่อสารเกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(39) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่เคยสื่อสารกับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจำแนกตามภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร(40) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอุปสรรคในการสื่อสาร(41) - แสดงจำนวนของนักพัฒนาชุมชนโดยจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมหรืออุปนิสัยของชาวเลที่ส่งเสริมประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาชุมชน(43) - แสดงจำนวนของนักพัฒนาชุมชนโดยจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่านิยมหรืออุปนิสัยของชาวเลที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพของโครงการพัฒนาชุมชน(44) - แสดงจำนวนของนักพัฒนาชุมชนโดยจำแนกตามรูปแบบการสื่อสารกับชาวเล(45) - แสดงจำนวนของนักพัฒนาชุมชนโดยจำแนกตามปัญหาในการสื่อสารกับชาวเล(46) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(48) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับการมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(53) - แสดงจำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับการเห็นประโยชน์ต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(55) - ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างเพศหญิงและเพศชาย(58) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่างกัน(61) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างกลุ่มที่มีอาชีพต่างกัน(62) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างกลุ่มที่มีระยะเวลาที่อาศัยต่างกัน(62) - ผลความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างเพศหญิงและเพศชาย(66) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน(75) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเลระหว่างกลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่างกัน(77) - ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อลักษณะพึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนระหว่างเพศหญิงและเพศชาย(82) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อลักษณะพึงประสงค์ของนักพัฒนาชุมชนระหว่างกลุ่มที่มีอาชีพต่างกัน(86) - ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อโครงการพัฒนาชุมชนระหว่างกลุ่มที่มีสถานภาพสมรสต่างกัน(92) - ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อโครงการพัฒนาชุมชนระหว่างกลุ่มที่มีรายได้ต่างกัน(97) - แสดงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติต่อโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเล(98) - ฯลฯ

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 18 พ.ค. 2559
TAG อูรักลาโว้ย, ชาวเล, การสื่อสารต่างวัฒนธรรม, ภูเก็ต, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง