สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อีก้อ,โรคเอดส์,การแพร่ระบาด,การแก้ไขปัญหา,เชียงราย
Author ศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ
Title สถานการณ์โรคเอดส์และชุมชนบนพื้นที่สูง : ชาวเขาเผ่าอีก้อ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 26 Year 2535
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

เนื้อหาสาระเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์และชุมชนบนพื้นที่สูง ชาวเขาเผ่าอีก้อ ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยผลการวิจัยพบว่าในหมู่บ้านที่ห่างจากเขตเมืองยังคงมีลักษณะทางวัฒนธรรมในกรอบของพฤติกรรมและความสัมพันธ์ทางเพศคงเดิม เช่น ทดสอบการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน นิยมการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การมีภรรยาหลายคน ต่างก็เอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ในขณะที่หมู่บ้านที่ตั้งใกล้เขตเมือง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ชาวบ้านได้รับการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการคบเพศตรงข้ามมากขึ้น รวมทั้งได้รับข่าวสารและรู้จักวิธีป้องกันตนจากโรคมากขึ้นด้วย นอกจากที่ตั้งหมู่บ้านและวัฒนธรรมแล้ว ความสำนึกร่วมของชุมชนและขบวนการผิดกฎหมาย (ยาเสพติด, ขอทาน, จัดหาหญิงบริการ) มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โรคเอดส์ รูปแบบที่สำคัญของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ คือ การใช้หน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ทำหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ผ่านสื่อต่างๆ โดยเน้นด้านการป้องกัน และการให้ความช่วยเหลือในรูปผู้ให้คำปรึกษาภายในชุมชน

Focus

ศึกษาปัญหาการแพร่ระบาด การป้องกัน และการเผชิญกับปัญหาของผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์ในมิติทางสังคมศาสตร์

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อีก้อ ที่อาศัยอยู่ใน 12 หมู่บ้าน ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

เมษายน - กันยายน พ.ศ. 2535

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 700-800 เมตร เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง เช่น ฝิ่นที่ต้องปลูกในพื้นที่อุณหภูมิต่ำ (หน้า13) ในปัจจุบันหากเป็นชาวบ้านที่มีฐานะดีจะปลูกสร้างบ้านเรือนที่มีรูปทรงสมัยใหม่และถาวรมากขึ้น (หน้า 18)

Demography

ผู้วิจัยกล่าวถึงจำนวนครอบครัวในแต่ละหมู่บ้าน ดังนี้ บ้านอาโยะใหม่ มี 46 ครอบครัว, บ้านอนามัยจำนวน 37 ครอบครัว, บ้านแสนใจเก่า 14 ครอบครัว, บ้านแสนใจใหม่ 55 ครอบครัว, บ้านแสนใจพัฒนา 78 ครอบครัว, บ้านห้วยโยเก่า 25 ครอบครัว, บ้านห้วยโยใหม่ 35 ครอบครัว, บ้านโป่งช้าง 70 ครอบครัว, บ้านสามัคคีใหม่ 65 คอบครัว, บ้านแสนสุข 80 ครอบครัว ส่วนบ้านห้วยส้านเก่า ห้วยส้านกลาง และห้วยส้านใหม่ จำนวนครัวเรือนหมู่บ้านละ 30-50 ครัวเรือน (หน้า 19)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

การดำเนินชีวิตของอีก้อนั้นยึดถือเอาแบบแผนที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ตามกฎเกณฑ์ของบรรพบุรุษตามภาษาอีก้อเรียก ว่า "อาข่าย๊อง" คล้ายกับคำว่า จารีต นั่นเอง โดยทุกคนต่างยอมรับและปฏิบัติตามเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ หากผู้ใดละเลยหรือไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องย่อมถูกลงโทษ จะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับความสำคัญของการประพฤติปฏิบัตินั้น แต่แบบแผนดังกล่าวในพื้นที่ อ.แม่จัน ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก คนรุ่นใหม่เลือกปฏิบัติอาข่าย๊องเฉพาะในสิ่งที่เห็นว่าเหมาะสม การแต่งงาน ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมในอดีตที่เกี่ยวกับบรรทัดฐานความสัมพันธ์ทางเพศ โดยฝ่ายชายมักเป็นฝ่ายเลือกฝ่ายหญิง โดยผ่านการทดสอบความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน รวมทั้งความบริสุทธิ์ของสายตระกูลถือเป็นความสำคัญ อันเกี่ยวกับชื่อเสียง ลักษณะผิดปกติทางกายและจิต หรือเรื่องที่ถือเป็นอัปมงคลทั้งหลาย หากเมื่อหญิงได้แต่งงานแล้วจะต้องหันมาถือผีบรรพบุรุษฝ่ายชาย รวมทั้งบุตรด้วย สำหรับอายุที่เหมาะสมสำหรับแต่งงานของหญิงอยู่ที่ 17 ปี ถ้าหากอายุไม่ถึง 17 ปี แต่เกิน 13 ปี พ่อแม่ไม่สามารถห้ามให้แต่งงานได้ ส่วนผู้ชายมักนิยมแต่งงานเมื่อ19 ปี ในการแต่งงานกับเครือญาติสายขวางและขนานมักไม่นิยม เนื่องจากหากหย่ากันถือว่าเป็นการตัดความสัมพันธ์กับพี่น้องฝ่ายมารดาด้วย โดยชายมักนิยมแต่งกับหญิงอีก้อด้วยกัน ต่างกับหญิงอีก้อที่แต่งกับชายต่างเผ่า เช่น มูเซอ จีน ละว้า ไทยใหญ่ เป็นต้น (หน้า 14-16) การอบรมเลี้ยงดู สำหรับอีก้อให้ความอิสระมากกว่าคนไทย ให้อำนาจในการตัดสินใจแก่เด็กในบางเรื่อง เด็กและคนชรา หรือคนหนุ่มสาวจะมาพักผ่อน พูดคุยบริเวณลานประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้พ่อและพี่ชายยังสอนเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์แก่เด็กชายเมื่ออายุ 9-10 ปี เพื่อแสดงถึงความเติบโตของสถานภาพเป็นผู้ใหญ่ ในขณะที่เด็กหญิงถูกสอนไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเชื่อว่าจะทำให้ร่างกายไม่เติบโต (หน้า 17-18)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

อีก้อมีความเชื่อเกี่ยวกับคู่แต่งงานว่า ห้ามสืบตระกูลฝ่ายชายเดียวกัน 7 ชั่วอายุคน ถ้าหากละเมิดจะทำให้อายุสั้นลง ซึ่งในปัจจุบันจะนับเพียง 3 ชั่วอายุคน หรือถ้าหากจะมีการแต่งงานที่เกินกำหนดต้องผ่านพิธีตัดสายสกุล (ผ่าก่อเอ๊อ) คือ การขอแยกตัวออกจากการนับถือผีบรรพบุรุษบ้านบิดา แล้วสร้างหิ้งบูชาใหม่ (หน้า 16)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงของชุมชนนั้นมาจากการพัฒนาและบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา สาธารณสุข และการติดต่อกับสังคมภายนอก ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อเจ็บป่วยจะไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย รวมทั้งมีการฝากครรภ์ ชาวบ้านยังได้รับการศึกษามากขึ้น หลังจากจบบางคนก็เข้าไปทำงานในตัวเมือง หรือบ้างก็ทำงานในหมู่บ้าน ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพศตรงข้ามไม่ได้ใช้ลานสาวกอดเหมือนในอดีต แต่คบหากันด้วยวิธีที่เลียนแบบจากทางทีวี (หน้า 18)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

สถานการณ์โรคเอดส์ในพื้นที่ คนพื้นที่สูง คือผู้ที่ได้รับผลจากปัญหาโรคเอดส์หลังสุดแต่หนักที่สุด คือ การกระจายตัวของเชื้อจากชุมชนเมืองในแนวระนาบสู่ชุมชนชนบทที่สูงที่อยู่ห่างไกล หนักที่สุดคือ ความไม่รู้ ไม่ป้องกัน วัฒนธรรมเพศชุมชน ทำให้เชื้อ HIV ระบาดได้อย่างรวดเร็ว กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงบริการ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ชาย - หญิงวัยแรงงาน ระดับการศึกษาต่ำ โอกาสได้รับข่าวสารน้อย (หน้า 12) ใน พ.ศ. 2534 มีกรณีผู้ป่วยด้วยโรคเอดส์เข้ามาอาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านและเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านสามารถรับรู้อาการของโรคที่แสดงออกอย่างเด่นชัดได้ ส่งผลให้ชาวบ้านในบริเวณนี้ตระหนักถึงการมีอยู่และความอันตรายของโรค ดังนั้นถ้าหากมีใครที่ติดโรค คนๆ นั้นจะต้องออกไปอยู่ที่อื่น (หน้า19-20) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแร่ระบาด ได้แก่ - ที่ตั้ง เป็นหมู่บ้านที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนเมืองได้ง่าย มีความสัมพันธ์ทางโครงสร้างกับสังคมภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความเชื่อและวิถีชีวิต ได้รับการพัฒนาและบริการของรัฐทางด้านต่างๆ มีคนออกไปประกอบอาชีพภายนอกชุมชนเป็นจำนวนมาก - ขบวนการที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ ขบวนการค้ายาเสพติด ขบวนการขอทานและขบวนการจัดหาผู้หญิงเพื่อเป็นหญิงบริการทางเพศ แม้ว่ารัฐบาลพยายามที่จะแก้ไขทั้ง 3 ปัญหานี้ แต่ก็ยังส่งผลไปถึงอัตราการระบาดของโรคในพื้นที่ และในทางกลับกันอัตราการป่วยและตายด้วยโรคเอดส์ทำให้ชาวบ้านตระหนักและเข้าใจปัญหามากขึ้น - ความสำนึกร่วม ในบางหมู่บ้านชาวบ้านรู้สึกต่ออาชีพหญิงบริการและขอทานไปในทางลบ เป็นเรื่องน่าอาย ความสำนึกในการประกอบอาชีพทั้ง 2 ไม่ได้เป็นข้อห้ามตามกฎเกณฑ์ทางสังคม (อาข่าย๊อง) ดังจะเห็นได้จากบางหมู่บ้านประกอบอาชีพเหล่านี้อย่างเปิดเผย ปัญหาเรื่องโรคเอดส์ ประเด็นทางเพศถูกนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงการท่องเที่ยว ในรูปแบบของวัฒนธรรมเพศชุมชน คือ มีการจัดฉากนำเที่ยวชุมชนให้ดูวิถีชีวิต เช่น สาวชาวเขาอาบน้ำในลำธาร จึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ (หน้า13-14)

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตนรักษ์ Date of Report 03 ก.พ. 2549
TAG อีก้อ, โรคเอดส์, การแพร่ระบาด, การแก้ไขปัญหา, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง