สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียต,ญวน,สถาปัตยกรรม,สกลนคร
Author สุรัตน์ วรางค์รัตน์
Title เรือนพักอาศัยชาวไทย-เวียดนาม บ้านท่าแร่ สกลนคร
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 107 Year 2542
Source สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสกลนคร
Abstract

บ้านท่าแร่ตั้งชุมชนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2427 โดยกลุ่มแคธอลิคชาวเวียดนาม ในระยะเวลาต่อมามีชาวเวียดนามจากเมืองต่างๆ อพยพเข้ามาอยู่และมีคนพื้นเมืองปะปนอยู่ด้วย ที่อยู่อาศัยในระยะแรกๆ จะเป็นกระท่อม ต่อมาเปลี่ยนเป็นอาคารเรือนไม้ชั้นเดียว เรือนเกย และเรือนร้านค้าสองชั้น กลุ่มพ่อค้าเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มสร้างอาคารอิฐ เนื่องมาจากมีความจำเป็นต้องปลูกอาคารเพื่อวางสินค้าจำหน่าย ความมั่นคงทางฐานะของกลุ่มพ่อค้าเนื่องมาจากการประกอบธุรกิจหลายชนิด เช่น การนำกองฟืนไปรับจ้างขนฟืนที่บ่อตะกั่ว ประเทศลาว การซื้อขายข้าว หนังวัว ปลาร้า อาคารก่ออิฐเป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน นอกจากรูปทรงจะเป็นอาคารแบบฝรั่งเศสแล้ว ยังตกแต่งอาคารด้วยศิลปะเวียดนาม เช่น วงโค้งเหนือกรอบประตูเป็นลายเรียงอิฐลายปูนปั้นประดับประตูเข้าอาคาร ภายในอาคารสร้างแท่นพระเพื่อใช้สวดมนต์หรือทำพิธีกรรมต่างๆ ความศรัทธาในศาสนาทำให้นำปริศนาธรรม และเรื่องราวของนักบุญในศาสนามาประดิษฐ์เป็นภาพประดับตามแท่นบูชา จะเห็นได้ว่ารูปแบบอาคารก่ออิฐได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสโดยผ่านช่างเวียดนามที่ได้รับความรู้จากช่างฝรั่งเศสเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่สอนศาสนาคริสต์เป็นผู้สนับสนุนแนะนำ จึงทำให้อาคารพักอาศัยดังกล่าวกลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านท่าแร่ (หน้า 105-106)

Focus

ศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะลักษณะเรือนของชุมชนท่าแร่ ซึ่งเป็นชุมชนญวน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

คนไทยเชื้อสายเวียดนามที่บ้านท่าแร่ สกลนคร ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่อพยพมาจากเขตเวียดนามตอนกลาง (หน้า 8)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

บ้านท่าแร่ หรือบ้านท่าแฮ่ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานเกือบ 1 ศตวรรษ ความเจริญเติบโตของชุมชนได้เริ่มขึ้นประมาณ พ.ศ. 2427 โดยในยุคแรกเริ่มนี้ มีการตั้งหมู่บ้านโดยชาวคริสตังที่อพยพมาจากเมืองสกลนครและกลุ่มชาวพื้นเมืองที่อพยพเข้ามาอยู่ในบ้านท่าแร่ การตั้งชุมชนนั้นเกิดจากปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจที่ชาวคริสต์ในตัวเมืองสกลนครต้องประสบปัญหาจากการถูกเจ้าหน้าที่รัฐกลั่นแกล้ง อันเนื่องมาจากการนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน เมื่อบาทหลวงเกโกและครูทัน เป็นครูญวนจากกลุ่มคริสตังจังหวัดสกลนครเข้ามาดำเนินการล้างบาปให้กับผู้เข้ารีตในเมืองสกลนครพบว่าชาวคริสตังเหล่านี้ถูกราชการกลั่นแกล้ง จึงวางแผนย้ายสถานที่เผยแพร่ศาสนาไปอยู่แห่งใหม่ กลุ่มชาวคริสต์ทั้งญวนและคนพื้นเมืองย้ายไปอยู่ทางฝั่งเหนือของหนองหารห่างจากตัวเมืองสกลนคร และตั้งรกรากอยู่ที่นั่น ต่อมาเรียกว่า "บ้านท่าแฮ่" หรือบ้านท่าแร่จนทุกวันนี้ คนกลุ่มแรกเริ่มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานนี้มีประมาณ 20 ครอบครัว ภายหลังมีคนอพยพเข้ามาพึ่งบารมีบาทหลวงมากขึ้น รวมทั้งกลุ่มคนที่เป็นข้าทาสเจ้าเมืองสกลนครอพยพครอบครัวเข้ามาอยู่ที่บ้านท่าแร่และสามารถมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ชุมชนท่าแร่ช่วง พ.ศ.2428-หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเวลาของการเคลื่อนย้ายกลุ่มชาวเวียดนามจากเมืองต่างๆ เข้ามาอยู่ในอาณาจักรโดยเฉพาะภาคอีสาน ในสมัยรัชกาลที่ 1 องเชียงสือ พาไพร่พลมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในสมัยรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 5 มีการกวาดต้อนกลุ่มญวนข้ามโขงเข้ามาตั้งบ้านเรือนในเมืองต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ฝรั่งเศสยึดครองเวียดนาม เกิดความยากแค้นอดอยากขึ้นในประเทศ ทำให้ชาวเวียดนามจากเมืองต่างๆ บางส่วนอพยพเข้ามาในพื้นที่ภาคอีสาน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศ ทำให้ชาวเวียดนามที่รักสงบเข้ามาอยู่ที่บ้านท่าแร่เป็นจำนวนไม่น้อย กลุ่มชาวเวียดนามส่วนใหญ่ที่บ้านท่าแร่ สกลนครไม่ใช่ชาวเวียดนามที่มาจากเขตชุมชนในเมืองใหญ่ แต่เป็นชาวนาในเขตเวียดนามตอนกลาง หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีกลุ่มคนญวนกลุ่มใหญ่อพยพเข้ามาในประเทศไทยมาอยู่ในจังหวัดต่าง ๆของภาคอีสาน ซึ่งมีจำนวนหนึ่งที่มีความสามารถในการก่อสร้างบ้านเรือน บ้างเข้ามารับจ้างญวนที่มีฐานะปลูกสร้างบ้านไม้และอาคารก่ออิฐที่บ้านท่าแร่ (หน้า1-11)

Settlement Pattern

ในยุคที่บาทหลวงยอแซฟ กอมมูริเออร์เข้ามารับตำแหน่งเจ้าวัดในปี พ.ศ.2428 พร้อมนำแนวคิดการพัฒนาเมืองตามแบบยุโรปเข้ามาใช้กับชุมชนบ้านท่าแร่ โดยเฉพาะการวางผังเมือง มีการแบ่งพื้นที่เป็นตารางสี่เหลี่ยมตาหมากรุก มีถนนใหญ่และถนนที่เป็นซอยเชื่อมต่อถึงกันโดยตลอด โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ซึ่งเป็นการจัดผังเมืองในรูปแบบของยุโรป (หน้า 21)

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ในอดีต ชาวบ้านท่าแร่เป็นผู้ที่ขยันขันแข็งในการทำงาน อาชีพที่สำคัญของผู้คนสมัยอดีตมีดังนี้ 1. การบรรทุกฟืนบ่อกั่ว ในค.ศ.1931 (พ.ศ.2474) มีบริษัทฝรั่งเศสเข้ามาดำเนินการทำบ่อตะกั่วในลาว บริษัทต้องใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงจำนวนมาก แรงงานขนฟืนจากป่าไปส่งโรงงานจึงเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม โดยในฤดูแล้งชาวบ้านท่าแร่จะข้ามโขงไปทำงานที่บ่อตะกั่ว ฤดูทำนาจึงกลับบ้านท่าแร่ 2. การทำนา นำข้าวที่ได้ไปแลกเปลี่ยนและขายก็เป็นอาชีพหลักของชาวอีสานมาช้านาน โดยเฉพาะบ้านท่าแร่ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ 3. การค้าหนังวัว-ควาย ซึ่งเป็นจุดเด่นของเศรษฐกิจบ้านท่าแร่ มีการฟอกหนังบรรทุกกองเกวียนไปขายถึงโคราชและตามร้านรับซื้อหนังในตัวเมืองสกลนครที่รับซื้อหนังสัตว์ป่า การค้าหนังฟอกหนังเป็นความรู้ที่มีอยู่ในกลุ่มชาวเวียดนาม โดยชาวเวียดนามได้อพยพเข้าสู่บ้านท่าแร่ 4. การค้าปลาร้า ซึ่งเป็นอาหารที่สำคัญต่อชาวอีสาน และบ้านท่าแร่ก็อยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมต่อการทำปลาร้า เนื่องจากอยู่ใกล้หนองหารซึ่งเป็นแหล่งสัตว์น้ำที่สำคัญ (หน้า65-74)

Social Organization

ในอดีต คณะมิชชันนารีในส่วนปกครองมิชชังท่าแร่-หนองแสงมีบทบาทต่อชาวบ้านท่าแร่ การสร้างสัมพันธภาพระหว่างคณะมิชชันนารีกับชาวบ้านมีส่วนสำคัญในการเกื้อหนุนให้ชุมชนเกิดความอบอุ่นใจในการพึ่งพาอาศัยมิชซังในเรื่องของปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม (หน้า 11)

Political Organization

ปัจจุบันบ้านท่าแร่เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลท่าแร่ ซึ่งมี 8 หมู่บ้าน คือ บ้านท่าแร่ บ้านพะโค บ้านท่าแร่เหนือ บ้านหนองบัวทอง บ้านป่าพนาวัลย์ บ้านท่าแร่สามัคคี บ้านท่าแร่พัฒนา บ้านสร้างแก้วสมานมิตร (หน้า 1)

Belief System

ชาวบ้านท่าแร่นับแต่ยุคแรกเริ่มก่อตั้งชุมชนจนถึงยุคปัจจุบันนั้น นับถือศาสนาคริสต์ (แคธอลิค) โดยส่วนใหญ่ ในยุคแรกเริ่มของบ้านท่าแร่นั้น สภาพทางสังคมของผู้นับถือศาสนาคริสต์จะมีการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาที่แตกต่างจากพุทธศาสนิกชน เช่น การรับศีลล้างบาป การทำพิธีมิซซาโดยมีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบพิธี (หน้า 3)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ในยุคแรกเริ่มตั้งชุมชนจนถึงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวบ้านท่าแร่พึ่งพาคณะมิชชันนารีเป็นอย่างมาก รวมทั้งในเรื่องยารักษาโรคด้วย (หน้า 11)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

รูปแบบของอาคารที่อยู่อาศัยของชุมชนบ้านท่าแร่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสเศรษฐกิจและกระแสภายนอก คือ กลุ่มช่างปลูกบ้านที่เดินทางมาจากเวียดนามภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยผู้เขียนแบ่งการศึกษาอาคารบ้านเรือนเป็นสองชนิด คือ 1.อาคารที่ใช้วัสดุประเภทไม้เป็นหลัก ได้แก่ กระท่อม คือเพิงที่มุงด้วยหญ้าแฝก เป็นบ้านยุคแรกของการตั้งชุมชนตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2428 "เรือนเกย" คืออาคารไม้รุ่นแรกๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากรูปแบบของเรือนชนชั้นสูง เรือนร้านค้าชั้นเดียวและเรือนร้านค้าสองชั้น เป็นเรือนไม้ที่ปลูกริมถนนเพื่อใช้ค้าขายและสามารถอยู่อาศัยได้ด้วย (หน้า 19-34) 2.อาคารที่ใช้ก่ออิฐเป็นหลักหรือคฤหาสน์ เป็นอาคารที่มีรูปแบบแปลกตากว่าชุมชนอื่นๆ ในสกลนครที่ไม่พบบ้านเรือนชนิดนี้ มีอายุอยู่ในช่วง 50-60 ปีมาแล้ว การปลูกสร้างอาคารที่เป็นตึกสามารถบอกถึงรสนิยมของเจ้าของเรือนซึ่งต้องการที่พักโอ่โถง สง่างามแตกต่างจากเรือนไม้ทั่วไป และช่างที่ก่อสร้างอาคารอิฐมีความชำนาญพิเศษ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากช่างฝรั่งเศสในช่วงยุคล่าอาณานิคม นอกจากนั้น ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปลูกสร้างอาคารอิฐค่อนข้างมั่นคง เนื่องจากวัสดุและแรงงานในการก่อสร้างต้องนำมาจากต่างประเทศ (หน้า 41) การตกแต่งภายในของคฤหาสน์นั้น ได้รับรูปแบบอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสมาโดยผ่านการเรียนรู้จากช่างญวน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 เป็นเวลาที่ฝรั่งเศสมีอิทธิพลเหนือเวียดนาม ช่างก่อสร้างในเวียดนามซึ่งได้เรียนรู้สถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสได้อพยพเข้าสู่สุวรรณเขต ข้ามแม่น้ำโขง และได้กระจายเข้าสู่ท่าแร่ สกลนคร นอกจากอิทธิพลจากช่างเวียดนามแล้ว คำแนะนำของบาทหลวงสอนศาสนาเองก็มีอิทธิพลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม เนื่องจากชุมชนท่าแร่กำเนิดขึ้นโดยการก่อตั้งของบาทหลวงแคธอลิค ภายใต้การชี้นำของบาทหลวง ทำให้วิถีชีวิตของชาวชุมชนมีแนวทางที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งรูปแบบของสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองด้วย (หน้า 81-82) เนื่องด้วยประชากรของบ้านท่าแร่โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิยายโรมันแคธอลิค โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการประกอบพิธีกรรม ความเชื่อทางศาสนาจึงปรากฏในรูปแบบของงานศิลปกรรม ทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและวิจิตรศิลป์ ในอาคารบ้านเรือนโดยเฉพาะในคฤหาสน์ของผู้มีฐานะ จะปรากฏเป็นลายปูนปั้นหน้าอาคาร และภายในอาคาร เป็นภาพสลักไม้ตามแท่นพระที่สวยงาม (หน้า 86-88)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้เขียนใช้แผนที่ แผนผังโครงสร้าง และรูปภาพ มาแสดงเพื่อบอกเล่าข้อมูลให้ชัดเจนขึ้น เช่น - รูปโบสถ์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เป็นรูปเรือ สัญลักษณ์ของการอพยพออกจากเมืองสกลนคร ในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ.1884 (หน้า 18) - รูปกระท่อม หรือกระต๊อบ ที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้อพยพก่อนปลูกบ้านไม้ถาวร (หน้า 20) - ผังบ้านไม้ชั้น 1 และชั้น 2 ของนายหนูเจียม พงษ์พิศ (หน้า 39-40) - รูปขบวนกองเกวียนบรรทุกสินค้าในภาคอีสาน (หน้า 76) - รูปบัวหัวเสาแบบคอรินเธียน ที่เสาปูนบ้านองเพิง ได้รับอิทธิพลจากศิลปะฝรั่งเศส (หน้า 95) - รูปแท่นพระภายในอาคารชั้นบน ของคฤหาสน์นายคำสิงห์ อุดมเดช (หน้า 102)

Text Analyst พรรณปพร ภิรมย์วงษ์ Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG เวียต, ญวน, สถาปัตยกรรม, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง