สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ยอง,วัฒนธรรม,ดนตรี,การละเล่น,ล้านนา
Author รณชิต แม้นมาลัย
Title กลองหลวงล้านนา : ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและชาติพันธุ์
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ยอง คนยอง ชาวยอง ไทยอง ขงเมืองยอง จาวยอง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 211 Year 2536
Source หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

บทบาทของกลองหลวงในปัจจุบันมีทั้งบทบาทในการบรรเลงและประสมวง บทบาทในการบูชาและการสื่อสาร บทบาทในการแข่งขัน รวมทั้งบทบาทในการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในปัจจุบัน กลองหลวงได้กลายเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวล้านนาเชื้อสายยองบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ ผู้ศึกษายังกล่าวถึงสถานภาพของกลองหลวง ว่าเป็นทั้งเครื่องดนตรีและเครื่องมือในการแข่งขัน

Focus

ศึกษาถึงพัฒนาการของกลองหลวงในด้านโครงสร้าง วิธีการสร้างและระบบเสียง รวมทั้งบทบาทของกลองหลวงต่อวัฒนธรรมล้านนา

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเน้นศึกษาชาวล้านนาเชื้อสายยอง ซึ่งเป็นคนไทที่อพยพมาจากเมืองยอง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงตุง รัฐฉานประเทศพม่า (หน้า 40) ยองเป็นกลุ่มที่ประดิษฐ์กลองหลวงขึ้น (หน้า 3, 84) และเป็นกลุ่มที่มีบทบาทในการพัฒนากลองหลวงจนถึงสมัยปัจจุบัน (หน้า 87)

Language and Linguistic Affiliations

ล้านนามีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ภาษาพูดของล้านนามีลักษณะคล้ายภาษาไทยทางภาคกลาง แต่แตกต่างกันในด้านสำเนียงพูดและการใช้คำบางคำ (หน้า 20) ส่วนภาษายองอยู่ในกลุ่มเดียวกับภาษาลื้อ มีความแตกต่างจากภาษาล้านนาบ้างเล็กน้อย ภาษายองเป็นภาษาคำโดด เสียงพูดโดยทั่วไปจะขึ้นจมูกกว่าภาษาล้านนา (หน้า 41)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ผู้เขียนกล่าวถึงการก่อตั้งของอาณาจักรล้านนาโดยพญามังราย จนถึงยุคสมัยที่ล้านนาอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงแต่งตั้งให้พระยากาวิละ เจ้าเมืองลำปางขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการครองเมืองเชียงใหม่ ซึ่งพระยากาวิละเมื่อได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ก็ได้พยายามฟื้นฟูล้านนาขึ้นอีกครั้ง โดยการรวบรวมผู้คนจากที่ต่างๆ มาเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและขับไล่อิทธิพลของพม่าในขณะนั้น กลุ่มคนที่พระองค์ได้ทรงรวบรวมมา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มาจากเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน ได้แก่ ลื้อ เขิน และยอง (หน้า 9-13) เมื่ออิทธิพลของพม่าสิ้นสุดลง พระองค์โปรดให้กลุ่มคนที่มาช่วยฟื้นฟูล้านนาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ต่างๆ ได้ตามความพอใจ ซึ่งกลุ่มยองจะตั้งบ้านเรือนทั่วไปในจังหวัดลำพูน (หน้า 14)

Settlement Pattern

ชาวล้านนาเชื้อสายยองตั้งบ้านเรือนอยู่ในจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบริเวณเขตแดนที่ติดต่อกันของสองจังหวัดเป็นพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำปิง เป็นบริเวณที่มีกลองหลวงรวมทั้งกิจกรรมการแข่งขันกลองหลวงอย่างหนาแน่นและเป็นจุดสำคัญของการศึกษาวิจัย (หน้า 18)

Demography

ชาวล้านนาเชื้อสายยองอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน โดยเฉพาะจังหวัดลำพูน ซึ่งมีประชากรเชื้อสายยองอยู่ 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด (หน้า 40) ส่วนจังหวัดเชียงใหม่มีประชากรเชื้อสายยองอยู่บ้าง แต่ไม่หนาแน่นเท่าจังหวัดลำพูน (หน้า 19)

Economy

ในอดีต เชียงใหม่และลำพูนมีระบบการค้าทางไกลโดยการนำสินค้าทางด้านเกษตรและหัตถกรรมจากลำพูนไปขายที่เชียงใหม่ทางขบวนวัวต่าง ม้าต่าง ลาต่าง และนำสินค้าจากเชียงใหม่ เป็นน้ำมันก๊าด อาหารแห้ง และหัตถกรรมจากประเทศพม่ากลับมาขายที่ลำพูน (หน้า 19) ผู้เขียนยังแสดงให้เห็นว่า ชาวล้านนามีอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากผู้เขียนได้กล่าวถึงประเพณีล้านนาในเดือนเก้าเหนือ ซึ่งเป็นเดือนเข้าสู่ฤดูกาลเกษตร (หน้า 21) รวมทั้งประเพณีแฮกนาเพื่อบูชาแม่โพสพ (หน้า 21) และประเพณีฮ้องขวัญข้าว ซึ่งเป็นประเพณีการทำสังเวยแม่โพสพ (หน้า 22)

Social Organization

ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางสังคมล้านนาที่ชาวบ้านกับวัดมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด โดยกล่าวถึงการสร้างกลองหลวงในสมัยก่อน ต้องอาศัยแรงงานชาวบ้านซึ่งมีความศรัทธาในพุทธศาสนา (หน้า 3) พระสงฆ์ยังถือเป็นผู้มีบทบาทในขั้นตอนของการตัดไม้เพื่อนำมาสร้างกลองหลวง โดยมีการนิมนต์พระสงฆ์เป็นผู้นำคณะตัดไม้เดินทางไปตัดต้นไม้ในป่าซึ่งเต็มไปด้วยอันตราย เป็นการทำให้เกิดความอบอุ่นทางจิตใจแก่คณะตัดไม้ และเพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมดูแลป่าไม้เกิดความเกรงใจ ช่วยให้การตัดไม้สะดวกขึ้น (หน้า93) ผู้เขียนยังกล่าวถึงการแข่งขันกลองหลวง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างวัด พระสงฆ์และชาวบ้าน (หน้า 192) ซึ่งผู้เขียนพบว่าการแข่งขันกลองหลวงส่วนใหญ่จะมีพระสงฆ์เป็นผู้นำสนับสนุน และส่งเสริมในการแข่งขันกลองหลวง ซึ่งเจ้าอาวาสวัดในเขตชุมชนยอง ในจังหวัดลำพูนและจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทในการสนับสนุนการแข่งขันกลองหลวงเป็นอย่างมาก (หน้า 193)

Political Organization

ผู้ปกครองบ้านเมืองในอดีตของลำพูนและเชียงใหม่ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายเดียวกันโดยเฉพาะในสมัยที่ล้านนาเป็นประเทศราชของสยาม ผู้ครองเมืองลำพูนมีฐานะเป็นอุปราชซึ่งจะต้องสืบเชื้อสายจากผู้ครองเมืองเชียงใหม่ (หน้า 19)

Belief System

พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้เข้ามาสู่เชียงใหม่และลำพูนตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย และได้สถาปนาอย่างมั่นคงจนเกิดปูชนียวัตถุและปูชนียสถาน (หน้า 19) ในส่วนของพิธีกรรมในการตัดไม้เพื่อนำมาทำกลองนั้น ต้องทำพิธีบูชานางไม้หรือเทพารักษ์ก่อน โดยการจัดเตรียมเครื่องสังเวยแล้วนำเอาไปวางไว้บริเวณโคนต้นไม้ที่จะตัด จากนั้นจึงมีการสวดมนต์บทชุมนุมเทวดา หรือบอกกล่าวด้วยคำพูดขอขมานางไม้และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่รักษาต้นไม้ ขออนุญาตตัดไม้เพื่อนำไปสร้างกลองหลวงถวายวัดเป็นพุทธบูชา จากนั้นกล่าวขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยให้การตัดต้นไม้และการสร้างกลองประสบความสำเร็จ ขอให้กลองมีเสียงดังสามารถข่มเสียงกลองใบอื่น โดยพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตัดไม้นี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องที่ โดยเฉพาะในเรื่องเครื่องสังเวยและเครื่องบูชา (หน้า 94) ยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำหนังหน้ากลอง ซึ่งนิยมเขียนคาถาด้วยอักขระล้านนาหรือขอมลงบนด้านในของหนังหน้ากลอง โดยช่างทำกลองจะเขียนเอง บางครั้งจะนำไปให้พระสงฆ์ที่นับถือเขียนให้ (หน้า 94-95) นอกจากนี้มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตีกลองหลวง โดยก่อนที่จะนำกลองออกแสดงหรือแข่งขันนั้นจะมีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษากลอง โดยการนำเครื่องสังเวยและกล่าวคาถา ขออนุญาตนำกลองไปใช้ในการแสดงและขอพรให้เกิดศิริมงคลแก่ผู้แสดง หากนำกลองไปแข่งขัน ก็จะขอพรให้แข่งขันชนะ ยังมีการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในบริเวณวัดหรือการเสกเป่าคาถาอาคมก่อนการแข่งขันด้วย (หน้า 95-97) หากเมื่อวัดใดวัดหนึ่งมีงานสำคัญหรืองานบุญขึ้น ทางวัดจะตีกลองหลวงเพื่อให้เทวดาได้ยินเป็นการบอกกล่าวเทวดาและขอพรให้เทวดาช่วยให้งานบุญนั้นสัมฤทธิ์ผล ไม่มีอุปสรรค (หน้า 156)

Education and Socialization

ผู้เขียนกล่าวถึงการสร้างกลองหลวงว่าต้องใช้ช่างผู้ชำนาญที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากวัด ช่างทำกลองส่วนใหญ่ในอดีตเคยอาศัยอยู่กับวัดหรือเป็นเด็กวัดมาก่อน บางท่านเคยบวชเรียนเป็นเณรหรือพระ โดยในขั้นแรกต้องเป็นผู้ช่วยของช่างทำกลองก่อน จากนั้นจึงสังเกตวิธีการทำและฝึกหัดจากช่างผู้นั้น จนสามารถทำเองได้ (หน้า 126) ผู้เขียนได้กล่าวถึงการตีกลองว่าผู้ตีกลองจะต้องฝึกซ้อมตีกลองมานานพอสมควร ซึ่งผู้ตีกลองส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับวัด ได้เห็นแบบอย่างและวิธีการตีกลองจากผู้ชำนาญ ซึ่งจะต้องฝึกฝนโดยการตีทุกวันเป็นเวลา 1-2 ปีจึงจะสามารถตีกลองได้ดี (หน้า 151)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้เขียนได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของมนุษย์กับกลอง (หน้า 43-54) กลองที่สำคัญในล้านนา (หน้า 54-66) พัฒนาการรวมทั้งรูปแบบและโครงสร้างของกลองหลวง ผู้เขียนกล่าวว่า กลองหลวงน่าจะเป็นกลองที่พัฒนามาจากกลองแอว เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายคลึงกับกลองแอวมาก จะต่างกันที่กลองหลวงมีขนาดใหญ่กว่า และมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่ากลองแอว ประวัติความเป็นมาของกลองหลวงซึ่งได้รับการบอกเล่าสืบต่อมาพบว่า ผู้ประดิษฐ์กลองหลวงขึ้นเป็นคนแรกเมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว คือ หนานหลวง ซึ่งเป็นชาวล้านนาเชื้อสายยอง กลองหลวงรุ่นแรกที่พัฒนามาจากกลองแอวนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกว่า "กลองแอวหลวง" ภายหลังจึงเรียกเป็น "กลองหลวง" อย่างไรก็ตาม ก่อนที่กลองแอวจะได้รับการพัฒนาเป็นกลองหลวงนั้นได้รับการเรียกขานหลายชื่อ แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ เรียกตามเสียงกลองที่ได้ยิน หรือเรียกตามลักษณะรูปร่างของกลอง แต่ท้ายที่สุด ผู้เขียนสรุปว่า ชื่อของกลองหลวงอาจจะมาจาก 2 กรณี คือ 1.เมื่อหนานหลวงสร้างกลองที่มีขนาดใหญ่กว่ากลองแอว จึงเรียกกันว่า "กลองแอวหลวง" เนื่องจากคำว่า "หลวง" หมายถึง "ใหญ่" ต่อมาจึงเรียกเพียง "กลองหลวง" 2.เมื่อหนานหลวงสร้างกลองที่มีขนาดใหญ่กว่ากลองแอว และได้รับการยกย่องว่าเป็นกลองที่ดี ชาวบ้านจึงเรียกเป็น "กลองหนานหลวง" ต่อมาจึงเรียกเพียง "กลองหลวง" (หน้า 66-70) ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงรูปแบบและโครงสร้างของกลองต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อกลองหลวง โครงสร้างกลองหลวงทั้งโครงสร้างภายนอกและโครงสร้างภายใน (หน้า 70-84) การสร้างกลองหลวง ตั้งแต่เรื่องราวของวัสดุสำหรับการสร้างกลองหลวง อุปกรณ์สำหรับการสร้างกลองหลวง วิธีการสร้างกลองหลวง การทำความสะอาดกลองหลวง แหล่งผลิตกลองหลวงและช่างทำกลองหลวง(หน้า 97-126) ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับกลองล้านนา โดยเฉพาะกลองหลวง เป็นสิ่งที่ผู้เขียนให้ความสำคัญที่สุดในการศึกษาครั้งนี้

Folklore

ผู้เขียนกล่าวถึงตำนานของชื่อกลอง โดยเขตล้านนามีตำนานที่เกี่ยวกับพระอุปคุต ซึ่งอาศัยอยู่ที่วัดมหาสมุทร พระอุปคุตเป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก สามารถขับไล่และกำจัดมารต่างๆ ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่าในขณะที่จัดงานบุญ เหล่ามารมักจะมาขัดขวางทำให้เกิดอุปสรรคแก่งานนั้น จึงเกิดประเพณีการแห่พระอุปคุตขึ้น ในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมแห่พระอุปคุตในงานปอย โดยการนำก้อนหินจากแม่น้ำนำมาใส่ขันหรือพาน แล้วแห่จากแม่น้ำมาตั้งไว้ที่ศาลาหน้าวัด ซึ่งต้องใช้กลองแอวตีนำขบวนแห่และตีขับไล่เหล่ามาร จึงมีการเรียกชื่อกลองชนิดนี้ว่า "กลองพญามาร" หรือ "กลองห้ามมาร" (หน้า 69)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความผูกพันต่อสถาบันทางศาสนา เป็นผลให้กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกลองหลวงดำเนินไป จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนยองในจังหวัดลำพูน (หน้า 194) กลองหลวงแพร่กระจายจากจังหวัดลำพูนไปยังจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายโดยกลุ่มยองนำไปเผยแพร่ จากนั้นความนิยมในการเล่นกลองหลวงจึงแพร่กระจายไปสู่ชาวล้านนาโดยทั่วไป (หน้า 205) ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงลักษณะเสียงของกลองหลวงที่ใช้ในการแข่งขัน ว่ามีทั้งลักษณะเสียงแบบเชียงใหม่และลักษณะเสียงแบบลำพูน ซึ่งมีความแตกต่างกัน (หน้า 143)

Social Cultural and Identity Change

การแข่งขันกลองหลวงซึ่งแต่เดิมมีขึ้นเพื่อความสนุกสนาน ผูกสัมพันธ์ระหว่างคณะศรัทธาของวัดต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่มีรางวัลให้แก่ผู้ชนะและนิยมแข่งขันกันในเวลากลางคืน (หน้า 174,177) แต่ปัจจุบันการแข่งขันกลองหลวงมีระเบียบกฎเกณฑ์และมีรางวัล นิยมแข่งขันกันในเวลากลางวัน (หน้า 175,177) ความคิดของชาวล้านนาที่มีต่อเสียงกลองหลวงในอุดมคติ จะแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้กลองหลวง ตั้งแต่สมัยดั้งเดิม สมัยหนานหลวงและสมัยปัจจุบัน ซึ่งการแข่งขันกลองเป็นที่แพร่หลาย จึงต้องการให้กลองมีความเข้มของเสียงมากที่สุด และกลองหลวงของเชียงใหม่ก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาระบบเสียงให้เป็นแบบเดียวกับลำพูน (หน้า 209-210) ผู้เขียนกล่าวถึงแนวโน้มในอนาคตของกลองหลวง ว่าจะมีผู้สร้างกลองหลวงน้อยลง เนื่องจากต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่ใช้สร้างกลองหลวงมีอยู่น้อยและเป็นไม้หวงห้าม (หน้า 210)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้เขียนใช้แผนที่ แผนภูมิ ตารางและรูปภาพในการอธิบายข้อมูลเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น อาทิ แผนที่ของจังหวัดลำพูนซึ่งแสดงที่ตั้งของอำเภอต่างๆ และแหล่งกลองหลวง (หน้า 16) ตารางที่ 1 แสดงระดับความเข้มของเสียงกลองบริเวณหน้ากลอง (หน้า 131) แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบระยะเวลาการเกิดเสียงกลองหลวงในสมัยดั้งเดิม สมัยหนานหลวงและสมัยปัจจุบัน (หน้า 142)

Text Analyst พรรณปพร ภิรมย์วงษ์ Date of Report 29 มิ.ย 2560
TAG ยอง, วัฒนธรรม, ดนตรี, การละเล่น, ล้านนา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง