สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลื้อ,ปราสาทผ้าขาว,พะเยา
Author นริศ ศรีสว่าง
Title ปราสาทผ้าขาวไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 192 Year 2542
Source รายงานประกอบวิชา หลักสูตรศิลปบัณฑิต(ศิลปะไทย) ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ในดินแดนล้านนาบริเวณตอนเหนือของประเทศไทยมีกลุ่มชนหลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ร่วมกัน ผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีจนเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น มีทั้งการรับอิทธิพลจากภายนอกและการคลี่คลายที่เกิดจากปัจจัยภายในทำให้เกิดความหลากหลาย ในด้านศิลปวัฒนธรรม งานศิลปกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่ม เกิดจากความเชื่อศรัทธาในสิ่งที่ตนนับถือ โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นผลบุญต่อตนเองในภายภาคหน้าและกุศลต่อผู้ล่วงลับ งานที่เกิดขึ้นด้วยจิตใจ ไม่คิดถึงมูลค่า ให้ความรู้สึกของจิตใจเป็นตัวกำหนด ปราสาทผ้าขาวไทลื้อเป็นหนึ่งในงานศิลปกรรมที่เกิดขึ้นจากความศรัทธาต่อความเชื่อ สร้างขึ้นเพื่อความสมบูรณ์ในภพภูมิโลกหน้า อาจจะเป็นทั้งเครื่องแสดงฐานะหรือเครื่องแสดงการสั่งสมบุญบารมี โดยผ่านทางประเพณีพิธีกรรมในพระพุทธศาสนา รูปแบบของปราสาทผ้าขาวไทลื้อมีความโดดเด่นทางด้านวัสดุ ฝีมือ การประดับตกแต่งซึ่งมีความหลากหลาย ลวดลายบางส่วนเป็นลวดลายดั้งเดิมในท้องถิ่น บางส่วนก็รับอิทธิพลลวดลายศิลปะจากต่างถิ่น ด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ทำให้ปราสาทผ้าขาวหมดหน้าที่ในการรับใช้ความเชื่อในสังคมของไทลื้อไปโดยปริยาย จากการศึกษาปราสาทผ้าขาวไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาแสดงให้เห็นถึงความผูกพัน ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนงานช่างของไทลื้อที่มีต่อปราสาทผ้าขาวด้วยการแสดงออกทางศิลปกรรม เกิดเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นควรค่าแก่การสืบสานและอนุรักษ์

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมาลักษณะแบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของปราสาทผ้าขาวไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ตลอดจนความคิด ความเชื่อ และการใช้สอย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทลื้อ

Language and Linguistic Affiliations

พูดภาษาตระกูลไทลื้อ ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ (หน้า 51)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ.2542

History of the Group and Community

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.ศ.117 ครั้งนั้นอำเภอเชียงคำแขวงน้ำลาว ขึ้นในเขตการปกครองนครน่านโดยมีเจ้าสุริยวงศ์ดำรงตำแหน่งข้าหลวง เมื่อ ร.ศ.121 พวกเงี้ยวก่อจลาจล ทางราชการส่งเจ้าคุณดัสกรมาปราบจนสงบ แล้วย้ายที่ทำการแขวงมาตั้ง ณ บ้านหย่วน ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ ต่อมาทางราชการได้ปรับปรุงและยุบแขวงน้ำลาว โดยจัดเป็นบริเวณน่านเหนือ ร.ศ.128 ทางราชการได้ยุบบริเวณน่านเหนือ แบ่งพื้นที่ออกเป็นอำเภอเชียงคำ อำเภอเทิง อำเภอเชียงของขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเชียงราย เปลี่ยนชื่อมาจากเชียงใหม่เหนือพร้อมกับแต่งตั้งพระยาพิศาลคีรี ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคำคนแรก เมื่อ พ.ศ. 2458 สมัยหลวงฤทธิ์ภิญโญ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคำได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคำ จากฝั่งตะวันออกมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำลาว ต่อมา พ.ศ.2514 พันตรีชอบ มงคลรัตน์ นายอำเภอเชียงคำ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอกลับมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำลาวอีกครั้งหนึ่ง พ.ศ.2520 รัฐบาลคณะปฏิรูปการปกครอง สมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เสนอตราพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงรายจึงได้แต่งตั้งเป็น จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2520 โดยโอนพื้นที่อำเภอเชียงคำ มาขึ้นเขตปกครอง จังหวัดพะเยาจนถึงปัจจุบัน (หน้า 46-47) "ลื้อ" เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนาทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนาประกอบด้วยเมืองต่างๆ รวม 44 เมือง มีเมืองสำคัญ 28 เมือง เช่น เมืองเชียงรุ่ง เจียงฮ่ง เดิมดินแดนสิบสองปันนาจัดการปกครองเป็นระบบปันนา โดยแบ่งหัวเมืองออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อสะดวกในการจัดเก็บส่วยและผลประโยชน์ของรัฐ โดยแบ่งออกเป็น 12 ปันนา โดยมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมุขเรียกว่า เจ้าฟ้าแสนหวี ประทับอยู่ที่เมืองเชียงรุ่งปกครองดินแดนสิบสองปันนาสืบต่อมาตั้งแต่สมัยพระยาเจิง เมื่อ พ.ศ. 1723 รวมทั้งสิ้น 44 พระองค์ นอกจากนี้ ไทลื้อยังอาศัยบริเวณภาคตะวันออกของรัฐฉาน อยู่ในเขตเมืองยอง ของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า บางส่วนอยู่ในแถบตะวันออกของแคว้นพงสาลี ส.ป.ป. ลาว สำหรับประเทศไทยไทลื้อได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานตามหัวเมืองต่างๆ ในภาคเหนือตามนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้อ เก็บข้าใส่เมือง" ของเจ้าผู้ครองนครในอดีต ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีไทลื้อกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือ นอกจากนี้ลื้อบางกลุ่มยังอพยพเข้ามามาเพิ่มเติมเพื่อลี้ภัยทางการเมืองจากจีน ที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบคอมมิวนิสต์และแสวงหาที่ทำกินที่เหมาะสม (หน้า 51-52)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

อำเภอเชียงคำมีพลเมืองทั้งสิ้น 110,267 คน (หน้า 50) ประชากรไทลื้อในเชียงคำ-ภูซาง มีจำนวน 36 หมู่บ้าน โดยคิดเป็นร้อยละ 39 ของประชากรทั้งหมด หมู่บ้านไทลื้อในตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำมีจำนวน 8 หมู่บ้าน ตำบลเชียงบาน จำนวน 7 หมู่บ้าน ตำบลน้ำแวน จำนวน 4 หมู่บ้าน ตำบลฝายกวาง จำนวน 4 หมู่บ้าน ตำบลเวียง จำนวน 2 หมู่บ้าน ตำบลเจดีย์คำ จำนวน 2 หมู่บ้าน ตำบลแม่ลาว 1 หมู่บ้าน ตำบลสบบง กิ่งอำเภอภูซาง 3 หมู่บ้าน ตำบลเชียงแรง กิ่งอำเภอภูซาง 1 หมู่บ้านและตำบลภูซาง กิ่งอำเภอภูซาง 3 หมู่บ้าน (หน้า 59-60)

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอเชียงคำ แบ่งออกเป็น 10 ตำบล 1 กิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอภูซาง มี 5 ตำบล 153 หมู่บ้าน การปกครองท้องถิ่น อำเภอเชียงคำ มีเทศบาลตำบล 3 แห่งคือ เทศบาลตำบลเชียงคำ เทศบาลตำบลสบบงและเทศบาลตำบลบ้านทราย (หน้า 50)

Belief System

ประเพณีการเทศน์มหาชาติในภาคเหนือเรียกตามพื้นเมืองว่า "ตั้งธรรมหลวง" จัดขึ้นในเทศกาลเดือน 12 ของภาคกลางซึ่งตรงกับเดือนยี่ทางภาคเหนือ การตั้งธรรมหลวงมีกำหนดไม่แน่นอน แล้วแต่ความสะดวกของคณะศรัทธา อย่างน้อยจัด 2-3 วันเป็นเกณฑ์ อย่างมากไม่เกิน 7 วัน วันแรกจะเทศน์ธรรมวัตร วันที่สอง เทศน์คาถาพันบาลีเพื่อเป็นการเคารพต่อพระธรรม วันที่สาม เทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ระหว่างที่จบกัณฑ์หนึ่งๆ จะมีการตีกลองบูชาเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "กลองปูจา" หรืออาจจะจุดประทัด ระเบง ฆ้อง กลองและอื่นๆ ประกอบ เมื่อเทศน์จบทั้ง 13 กัณฑ์จะมีการเทศน์ธรรมพุทธาภิเษกปฐมสมโภช สวดมนต์ 7 ตำนานย่อและธัมมจักรกัปวัตนสูตร ต่อจากนั้นก็จะมีการสวดเบิก กำหนดให้จบพอดีกับรุ่งอรุณของวันใหม่ ชาวเหนือมีความเชื่อเช่นเดียวกับภาคกลางว่า ผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ จบในวันเดียวจะได้อานิสงส์แรง (หน้า 34-36) คติความเชื่อที่เกี่ยวพันกับการออกแบบปราสาทผ้าขาวไทลื้อ คติจักรวาล เป็นคติที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดียผ่านเขมร ในไทยคงได้รับแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์จากเขมร สัญลักษณ์ของระบบจักรวาล ประกอบด้วย เขาพระสุเมรุ ทวีป ภูเขาและมหาสมุทร โดยถูกแปรความหมายจากเดิมโดยอิทธิพลพุทธศาสนามาเป็นไตรภูมิพระร่วง เมื่อพระเจ้าแผ่นดินประทับบนพระราชบัลลังก์ พระองค์เปรียบเสมือนพระอินทร์กำลังบังคับให้น้ำไหลลงไปหล่อเลี้ยงไพร่ฟ้าประชาชน หรืออีกนัยหนึ่งคือทรงเป็นเทพเจ้าในระบบจักรวาล คติจักรวาลนอกจากจะสะท้อนผ่านพระราชบัลลังก์แล้ว สถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระมหากษัตริย์ก็ยังคงใช้คติจักรวาลเช่นกัน (หน้า 47-48) ประเพณีการตานธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) ในช่วงประเพณีการตั้งธรรมหลวงในเดือน 4 เหนือหรือประมาณเดือนมีนาคม ในอดีตจะมีการจัดทำปราสาทผ้าขาวเพื่ออุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับในปีที่ผ่านมา หรือจะตานไปไว้ภายภาคหน้าให้กับตนเอง เมื่อประกอบพิธีต่างๆ เสร็จแล้ว จะทำการรื้อปราสาท/มณฑปทุกหลังเพราะมีความเชื่อว่าถ้านำของเก่ามาตานอีกจะทำให้ผู้ล่วงลับไม่ได้ของนั้น การตานโกนเฝ่า (การตานปราสาทก่อนที่จะนำศพไปเผา) เริ่มจากการนำสายสิญจ์มาวนรอบปราสาท โยงเข้าสู่บริเวณพิธีคณะสงฆ์สวดมนต์ จากนั้นจะนิมนต์พระสงฆ์ 1 รูปไปรับเกน (ประเคน) ปราสาท แล้วอนุโมทนาเจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลปราสาท มณฑปให้ผู้ล่วงลับ เป็นอันเสร็จพิธี (หน้า 139-140) การใช้จำนวนตัวเลข 3,5,7 ในการกำหนดส่วนประกอบต่างๆ เช่น จำนวนชั้นของฉัตร เกิดจากการนำคติเกี่ยวกับจักรวาล เขาพระสุเมรุและพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง การใช้ผ้าขาวยังแสดงถึงความสะอาด บริสุทธิ์ปราศจากมลทินหรือกิเลส ผ้าขาวยังเป็นเสมือนเครื่องยศแสดงฐานะแห่งการเป็นเทวดา การประดับปราสาทผ้าขาวด้วยสิ่งของต่างๆ ตามความเชื่อที่ว่าผู้ล่วงลับจะได้ใช้สอยในภพภูมิโลกหน้า (หน้า191-192)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ปราสาทผ้าขาว เป็นงานศิลปกรรมเฉพาะของไทลื้อ ที่เกิดจากความศรัทธาต่อความเชื่อ สร้างขึ้นเพื่อความสุขสมบูรณ์และเป็นผลบุญต่อตนเองในภายภาคหน้าและเพื่ออุทิศต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยผ่านทางประเพณี พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับปราสาทผ้าขาวไทลื้อ เช่น ในอดีตจะมีการจัดทำปราสาทผ้าขาวในช่วงประเพณีการตั้งธรรมหลวงในเดือน 4 เหนือ หรือประมาณเดือนมีนาคมเพื่ออุทิศให้กับญาติที่ล่วงลับในปีที่ผ่านมาหรือจะตานไปไว้ภายภาคหน้าให้กับตนเอง ขั้นตอนในการตานปราสาทหรือมณฑป คือ จะนิมนต์พระสงฆ์มารับประเคนแล้วอนุโมทนาเจ้าภาพกรวดน้ำตานปราสาทและมณฑปเป็นอันเสร็จพิธี ในวันนี้จะมีการเทศพระธรรม วันที่สองจะมีการอ่านธรรม เช่น ธรรมนิพพานสูตร เมื่อเสร็จพิธีกรรมทั้งหมดจึงจะทำการรื้อถอนปราสาทหรือมณฑปทุกหลังเพราะมีความเชื่อว่าถ้านำของเก่ามาตานอีกจะทำให้ผู้ล่วงลับไม่ได้รับของนั้น ลักษณะโดยทั่วไปของปราสาทผ้าขาวคือ เป็นอาคารมีลักษณะเรือนยอดแบบปราสาททรงสูง มีไม้ไผ่มาเป็นวัสดุสำคัญในการทำโครงสร้างมีการนำผ้าขาวหุ้มทุกส่วนของปราสาทและมีการประดับตกแต่งด้วยกระดาษฉลุลวดลาย ภายในปราสาทมีการใส่ของที่จะอุทิศ บ้างก็มีการตกแต่งด้วยผ้าเช็ดโดยรอบปราสาทหรือมีตุงกระดาษรูปร่างคล้ายรูปคนแบบตุง 3 หางประดับ ปัจจุบันไม่มีการทำปราสาทผ้าขาวอีกแล้ว เหตุผลหนึ่งเป็นเพราะช่าง (สล่า) ที่มีความสามารถได้ล่วงลับไปแล้วทำให้ขาดการสืบทอดทางการช่างและไม่มีผู้ใดให้ความสนใจ ทำให้ปัจจุบันเหลือแต่การทำมณฑปผ้าขาวเท่านั้น (หน้า14, 64-141)

Folklore

นิทานเรื่อง "วอกตะไคร่หิน" เป็นนิทานของไทลื้อที่ปรากฏความสำคัญของปราสาท (หน้า 14-15) วรรณคดีทางศาสนาเรื่องเวสสันดร (เวสันตระ) ฉบับของพระยาพื้น เขียนขึ้นระหว่าง พ.ศ. 235...- พ.ศ.2389 กล่าวถึงปราสาทของนางมัทรี ตอนที่พระนางมัทรีกลับมาจากการหาผลไม้มาปฏิบัติพระเวสสันดร แล้วไม่เห็นลูก จนในที่สุดพระนางก็ถึงแก่วิสัญญีภาพ สมเด็จพระเสสันดรทรงตกพระทัยมากถึงกับรำพึงรำพันคุณงามความดีของพระนางมัทรีที่ติดตามมาอยู่ป่า ถ้าหากพระนางไปสิ้นวิสัญญีภาพในพระนครหลวง พระองค์จะทรงให้นายช่างสร้างปราสาทใส่พระศพให้งดงามและเหมาะสม (หน้า 37-38)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การเพิ่มจำนวนของประชากรทำให้มีสถิติการตายเพิ่มสูงกว่าเดิม ทำให้เกิดปัญหาครัวตาน มณฑปและปราสาทล้นวิหาร ประกอบกับการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคทำให้มีสายไฟฟ้าพาดผ่านตามเส้นทางคมนาคม ส่งผลให้ไม่สามารถชักลากปราสาทซึ่งมีความสูงไปยังวัดได้ เนื่องจากกระแสของเทคโนโลยีและค่านิยมสมัยใหม่ ตลอดจนการขาดความเอาใจใส่ในภูมิปัญญาของตนเอง ทำให้ปราสาทผ้าขาวขาดผู้สนใจสืบสานต่อ (หน้า 192)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพ - ปราสาทผ้าขาว พ.ศ. 2510 บ้านสบแวน(หน้า65,66) - ปราสาทผ้าขาว พ.ศ. 2497 บ้านเชียงบาน(หน้า70) - การเตรียมไม้ไผ่ในการทำปราสาท/มณฑกผ้าขาว(หน้า83) - ขั้นตอนการทำขื่อของปราสาท/มณฑกผ้าขาว(หน้า84) - การเหลาปุยหรือป๊อก(หน้า84) - การทำฝาของปราสาท/มณฑกผ้าขาว(หน้า85) - การตั้งโครงสร้างส่วนเสาของปราสาท/มณฑกผ้าขาว(หน้า87) - การปูพื้นฟาก(หน้า88) - ส่วนคอของหลังคาปราสาทผ้าขาว(หน้า91) - แสดงส่วนประกอบที่เรียกว่า "ไป่เอ๋อข่า" (หน้า92) - แสดงส่วนโครงสร้างของหลังคาชั้นที่ 1 (หน้า95) - แสดงส่วนโครงสร้างของหลังคาชั้นแรก (หน้า96) - แสดงส่วนประกอบของขันหงาย(หน้า99,100) - แสดงส่วนประกอบของขันคว่ำชั้นที่ 2 (หน้า101) - แสดงส่วนประกอบชั้นที่ 2 ของหลังคาปราสาทผ้าขาว(หน้า103) - ส่วนสุ่มไก่ ชั้นที่ 3(หน้า105) - แสดงการต่อสุ่มไก่เข้ากับขันหงายชั้นที่ 2(หน้า106) - การสานหมากขะแน้ด(หน้า113,114) - การประดับตกแต่งหลังคาปราสาทผ้าขาวด้วยผ้าเช็ดน้อย(หน้า127) - การทำโครงสร้างหลังคามุข(หน้า128) - โดยรอบที่ตั้งปราสาทเครื่อง(หน้า144) - ปราสาทครัวตาน(หน้า146-147) - การประดับลวดลายกระดาษฉลุบนปราสาทครัวตาน(หน้า148) - การใส่ป้านตีน ป้านเอวประดับโง่วและปุย(หน้า155) - ผ้าที่ใช้หุ้มมณฑกในปัจจุบัน(หน้า156) - ธรรมมาสน์แบบถาวรในพระอุโบสถ วัดแสนเมืองมา(หน้า161) - ช้างจ๊อยม้าจ๊อยหรือช้างร้อยม้าร้อย(หน้า163) - ฆ้องอุย สัญญาณในการเทศน์มหาชาติ(หน้า165) - สระโบกขรณี(หน้า165) - ฝนห่าแก้ว(หน้า165) - ครัวตาน(เครื่องไทยทาน) บูชากัณฑ์เทศน์(หน้า165) - ผะตี้ด สีสาย บูชากัณฑ์เทศน์(หน้า166) - มณฑกผ้าขาวที่ตานในงานศพ(หน้า167-168) - ปราสาทไทลื้อ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย(หน้า172) - ปราสาทไทลื้อในประเทศลาว แขวงอุดมไชย(หน้า163) - ส่วนประกอบปราสาทไทลื้อในประเทศลาว(หน้า174) - การประดับตกแต่งปราสาทไทลื้อในลาว(หน้า176) - การตกแต่งด้วยผ้าเช็ดน้อย ปราสาทไทลื้อในลาว(หน้า177) - รูปสัตว์จำลอง ประกอบปราสาทไทลื้อในลาว(หน้า179) - ผ้าเช็ดน้อยและตุงเครือประกอบปราสาทไทลื้อในลาว(หน้า181) - การตานปราสาทไทลื้อในลาว(หน้า183) - ลวดลายรูปปราสาทบนตุงทอ(หน้า185) - การประดับตุงทอลายปราสาทในอุโบสถวัดแสนเมืองมา(หน้า186) - การประดับตุงทอลายปราสาทในวิหารหลวงวัดท่าฟ้าใต้(หน้า187) - ตุงทอลายปราสาท(หน้า188) - ผ้าจีวรทอลายปราสาท(หน้า189) ลายเส้น - แสดงส่วนประกอบปราสาทผ้าขาวจากภาพที่ 1 (หน้า73) - แสดงส่วนประกอบปราสาทผ้าขาวจากภาพที่ 2 (หน้า74) - แสดงส่วนประกอบปราสาทผ้าขาวจากภาพที่ 3 (หน้า75) - สะแหลกหรือสุ่มมะพร้าว(หน้า77) - ปุย, ป๊อก, ป๊อกย๊อก(หน้า77) - แสดงส่วนประกอบที่เรียกว่า "ฮับจาย"( หน้า89) - โครงสร้างและส่วนประกอบส่วนคอของหลังคาปราสาท(หน้า93) - แสดงส่วนประกอบที่เรียกว่า"คอหิง"( หน้า94) - แสดงส่วนประกอบที่เรียกว่า "หาบห้อ"( หน้า98) - แสดงส่วนประกอบตกแต่งที่เรียกว่า "โง่ว"( หน้า130)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 31 ต.ค. 2555
TAG ลื้อ, ปราสาทผ้าขาว, พะเยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง