สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลื้อ,หัตถกรรม,ผ้าทอ,พะเยา
Author จารุวรรณ วนาลัยเจริญจิต
Title แบบแผนการผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ กรณีศึกษาอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
Document Type อื่นๆ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทลื้อ ลื้อ ไตลื้อ, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 68 Year 2543
Source รายงานประกอบวิชา 751409 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ปัจจัยที่ส่งผลให้การรวมกลุ่มทอผ้าไทลื้อประสบความสำเร็จ และเกิดความเป็นชุมชนได้คือ ลักษณะการเอื้ออาทรต่อกันในสังคมชนบท ความผูกพันเป็นพลังทางสังคม รวมทั้งเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ในการจัดการ การบริหาร เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน งานทอผ้าไทลื้อ ซึ่งมีลักษณะความชำนาญและวัฒนธรรมท้องถิ่นสามารถเป็นอาชีพทางเลือกทางหนึ่งที่เหมาะสม และสอดคล้องกับชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมทักษะความชำนาญดั้งเดิมของชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตมีส่วนร่วมในการผลิต มีอำนาจต่อรองมากขึ้น สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ถาวรในอนาคตต่อไป

Focus

ศึกษาแบบแผนการผลิตและความสัมพันธ์ระหว่างการผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ ตลอดจนการบริหาร การจัดการด้านการผลิต การขายและการจัดการภายในกลุ่มของสตรีที่ทอผ้าไทลื้อ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทลื้อ

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2543

History of the Group and Community

หมู่บ้านทุ่งมอก เป็นหมู่บ้านเล็กของไทลื้อที่อพยพมาจากสิบสองปันนา มาอยู่ที่อำเภอเชียงม่วน จากนั้นจึงอพยพมาอยู่ที่ ต.หย่วน อ.เชียงคำ จ.เชียงราย ปัจจุบันเป็นบ้านทุ่งมอก หมู่ที่ 2 อ.เชียงคำ จ.พะเยา แม่บ้านชาวทุ่งมอกนิยมทอผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า "ผ้าทอไทลื้อ" เพื่อใช้ในครัวเรือน และด้วยลักษณะนิสัยของชาวบ้านที่มีความสามัคคี มีความพร้อมและกระตือรือร้นในการหารายได้เสริมในการทอผ้าจึงได้จัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มทอผ้าบ้านธาตุ เริ่มมีโครงการที่จะจัดตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2536 โดยการแนะนำและสนับสนุนโดย คุณลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ ส.ส. จังหวัดพะเยา (หน้า 23-24)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ เป็นกลุ่มสตรีที่ทอผ้าไทลื้อ จำนวน 55 คนจาก 3 กลุ่มคือ หมู่ที่ 1 บ้านธาตุ หมู่ 7 บ้านแดนเมือง ตำบลหย่วน และหมู่ที่ 2 บ้านทุ่งหมอก ตำบลเชียงบาน (หน้า 3) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 35-50 ปี ร้อยละ 60 รองลงมาอยู่ในช่วงอายุมากกว่า 50 ปี ร้อยละ 23.6 และกลุ่มอายุ 20-30 ปี ร้อยละ 16.4 สมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อ ส่วนใหญ่สมรสแล้ว ร้อยละ 63.6 เป็นหม้าย ร้อยละ 20 โสด ร้อยละ 12.7และหย่าร้าง ร้อยละ 3.6 ตามลำดับ (หน้า 26)

Economy

บ้านทุ่งมอก มีอาชีพหลักคือ การทำนา ทำไร่ เมื่อหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็จะทอผ้าพื้นเมือง ต่อมาจึงเกิดการรวมกลุ่มทอผ้าบ้านทุ่งมอกขึ้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก ประมาณ 880 บาท/เดือน จากการช่วยเหลือจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำให้ชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,500-1,600 บาท/เดือน(หน้า 23) สมาชิกส่วนใหญ่จำหน่ายผ้าด้วยตนเอง ร้อยละ 63.7 กลุ่มเป็นผู้หาตัวแทนจำหน่าย ร้อยละ 24.7 และพ่อค้าคนกลางมารับ ร้อยละ 11.6 รายได้ต่อครัวเรือนมีรายได้น้อยกว่า 3,000 บาท ร้อยละ 58.2 รองลงมาคือมีรายได้ 3,000-6,000 บาท ร้อยละ 32.7 รายได้ 6,000-9,000 บาทร้อยละ 5.5 และรายได้มากกว่า 9,000 บาทมีร้อยละ 3.6 สมาชิกตอบว่ารายได้ส่วนใหญ่มาจากการทอผ้า ร้อยละ 35.6 ซึ่งมีรายได้จากการทอผ้าไทลื้อเฉลี่ย 10,001-20,000 บาท/ปี รองลงมาคือ จากการเกษตรกรรม ร้อยละ 27.4 รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 23.3 รายได้จากการค้าขายร้อยละ 12.3 รายได้จากการประกอบอาชีพข้าราชการ ร้อยละ 1.4 ตามลำดับ (หน้า 33-35) ฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อส่วนใหญ่ยังไม่ดี มีภาระหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 81.8 และที่ไม่มีภาระหนี้สินมีเพียงร้อยละ 18.2 การกู้ยืมในระบบส่วนใหญ่กู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คิดเป็นร้อยละ 82.4 ส่วนการกู้ยืมนอกระบบพบว่า ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์ในการเป็นสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อ โดยทำการกู้ยืมเงินของกลุ่ม (หน้า 39-42)

Social Organization

สมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อ ส่วนใหญ่มีสมาชิก 3-4 คนต่อครัวเรือน ร้อยละ 45.5 รองลงมาคือ 5-6 คน ร้อยละ 30.9 สมาชิก 1-2 คน ร้อยละ 20 และสมาชิกมากกว่า 6 คน ร้อยละ 3.6 (หน้า 26)

Political Organization

อำเภอเชียงคำ แบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล 152 หมู่บ้าน (หน้า 21)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

สมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อ ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 81.1 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษาและไม่ได้ศึกษา ร้อยละ 5.5 ส่วนที่เหลือคือศึกษาผู้ใหญ่ อนุปริญญาและปริญญาตรี ร้อยละ 3.6 เหตุที่มีการศึกษาค่อนข้างต่ำอาจเป็นเพราะในอดีตผู้หญิงไทลื้อไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาเท่าที่ควร แต่ได้รับการอบรมให้เป็นแม่ศรีเรือนและสอนในเรื่องงานฝีมือเป็นหลัก (หน้า 26-27) แม่มีบทบาทสำคัญสูงสุดในการสืบทอดการทอผ้าไทลื้อของสมาชิกในอำเภอเชียงคำ(หน้า 32)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

สมาชิกส่วนใหญ่จะผลิตผ้าซิ่นเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.3 ไทลื้อในเขตอำเภอเชียงคำ นอกจากมีผ้าซิ่นตามแบบมาตรฐานแล้ว ยังมีผ้าซิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นคือ ซิ่นที่มีลายเกาะ 1 แถวตรงกลางตัวซิ่น ลักษณะลายน้ำ เรียกว่า "ลายผักแว่น" แต่เดิมเป็นเส้นพุ่งทอสลับสีสีที่นิยมใช้คือวีเขียวและสีชมพูสด ปัจจุบันใช้ใยสังเคราะห์สีสดทอแทน ลำดับรองลงมาที่สมาชิกนิยมทอคือ ตุง ผ้าเช็ด ผ้าสไบ ผ้าเช็ดน้อย/ผ้าเช็ดหลวง ผ้าหลบ/ผ้าแหลบ ถุงย่าม ผ้าขาวม้า ผ้าห่ม ผ้าฮำ ลายหน้าหมอนสำหรับทำสะลี ลายหน้าหมอนสำหรับทำหมอน ผ้าพันคอและอื่นๆ ตามลำดับ (หน้า 33)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

หมู่บ้านไทลื้อในอำเภอเชียงคำได้ขยายออกไปเรื่อยๆ จนบางส่วนถูกอิทธิพลของสังคมภายนอกผสมกลมกลืนจนแยกไม่ออกว่าเป็นหมู่บ้านไทลื้อ (หน้า 21) ปัจจุบันมีการแข่งขันสูงและอยู่ในสภาวะเร่งรีบ อีกทั้งวัตถุดิบมีจำหน่ายทั่วไป ทำให้ไม่มีใครปลูกฝ้าย แต่จะหาซื้อตามตลาดและร้านค้ามากกว่า (หน้า 29) ปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลกระทบต่อการทอผ้าของไทลื้อ เช่น ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การแพร่กระจายค่านิยมใหม่ๆ จากสังคมเมืองเข้าสู่ชุมชนไทลื้อ ทำให้คนรุ่นใหม่ละเลยวัฒนธรรมการแต่งกายประจำเผ่าของตน ยังผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์การทอผ้าของไทลื้อลดความสำคัญลง การส่งเสริมสนับสนุนวิชาชีพให้แก่ชาวบ้าน ด้วยการสร้างสรรค์ลวดลายตามความต้องการและความนิยมของตลาด ทำให้รูปลักษณ์ศิลปะสิ่งทอของไทลื้อเปลี่ยนไป (หน้า 49)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตาราง - ลักษณะของกลุ่มตัวอย่างผู้ทอผ้าไทลื้อ ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา (หน้า27) - วัตถุประสงค์ในการทอผ้าไทลื้อ(หน้า28) - หน่วยงานที่สนับสนุนในการทอผ้าไทลื้อ(หน้า29) - เวลาที่ใช้ในการทอผ้าไทลื้อใน 1 วัน(หน้า30) - ลวดลายผ้าทอไทลื้อที่ชาวบ้านสามารถทอได้(หน้า31) - ลักษณะการสืบทอด(หน้า31) - ประเภทของผ้าที่สมาชิกทอ(หน้า32) - ช่องทางการจัดจำหน่ายผ้าทอไทลื้อ(หน้า33) - รายได้ของครอบครัว(หน้า34) - ที่มาของรายได้(หน้า35) - รายได้ของสมาชิก(หน้า35) - ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้จากการทอผ้าไทลื้อของสมาชิกกับอายุสมาชิก(หน้า36) - ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของครัวเรือนกับอายุสมาชิก(หน้า37) - ที่มาของเงินทุนที่ใช้ในการทอผ้าไทลื้อ(หน้า38) - เงินลงทุนในการทอผ้าไทลื้อในระยะ 1 ปี(หน้า38) - ลักษณะการทอผ้าไทลื้อ(หน้า39) - การมีภาระหนี้สิน(หน้า39) - แหล่งกู้ยืมเงิน(หน้า41) - ปัญหาของสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อ(หน้า42) - ความสามารถในการแก้ปัญหาของสมาชิก(หน้า43) - ความคิดเห็นต่อการประกอบอาชีพการทอผ้าไทลื้อ(หน้า44) ภาพ - กระบวนการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมผ่านการดำเนินธุรกิจชุมชน(หน้า8) - แสดงหมู่บ้านไทลื้อในเขต อ.เชียงคำ จ.พะเยา(หน้า22)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 31 ต.ค. 2555
TAG ลื้อ, หัตถกรรม, ผ้าทอ, พะเยา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง