สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ผู้ย้อย ย้อย ลาวย้อย ไทยโย้ย โย่ย,วิถีชีวิต,ความเปลี่ยนแปลง,สกลนคร
Author สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และคณะ
Title วิถีครอบครัวและชุมชนชาติพันธุ์ไทยโย้ย บ้านโพนแพง ตำบลหนองสนม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทโย้ย โย่ย โย้ย ไทยโย้ย ไทย้อย ผู้ย้อย ย้อย ลาวย้อย, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 222 Year 2540
Source กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ คณะอนุกรรมการวิจัยวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Abstract

ศึกษาวัฒนธรรมของไทยโย้ย บ้านโพนแพง เน้นที่บทบาทของสถาบันครอบครัวและเครือญาติในการช่วยรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่ม เพราะกลุ่มไทยโย้ย ที่บ้านโพนแพง ก็เหมือนเป็นครอบครัวขยาย ขนาดใหญ่ ที่เกิดจากสายสัมพันธ์ทางการแต่งงานกันภายในชุมชนมาแต่เดิม ทำให้เหมือนเป็นเครือญาติกันทั้งหมู่บ้าน และเพิ่งมาในระยะหลังที่มีการทำงานนอกหมู่บ้านมากขึ้น ทำให้แต่ง่านกับคนนอกมากขึ้น และสมาชิกที่เป็นไทยโย้ยแท้ ๆ เริ่มจะลดน้อยลง ถึงอย่างนั้นภายในชุมชนเองก็ยังพูดคุยกันด้วยภาษาโย้ย ซึ่งอาจเป็นรูปธรรมที่สามารถยืนยันถึงความมีอยู่ของไทยโย้ยไว้ได้

Focus

ศึกษาวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ และการรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองท่ามกลางกระแสของการเปลี่ยนแปลงในระดับสากล โดยพิจารณาจากบทบาทของสถาบันครอบครัวและเครือญาติเป็นหลัก

Theoretical Issues

ไม่มีแนวคิดที่ชัดเจนในการศึกษา เป็นการพรรณนาให้เห็นวัฒนธรรมของไทยโย้ยในมิติต่าง ๆ

Ethnic Group in the Focus

ไทยโย้ย

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาพูด เป็นภาษาไทยโย้ยส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นภาษาตระกูลไท-ไต โดยมีการยกตัวอย่างเปรียบเทียบการออกเสียงระหว่างภาษาโย้ย กับ ญ้อ เล็กน้อย และมีการแปลความหมายตัวอย่างของคำและประโยคในชีวิตประจำวันเป็นภาษากลางด้วย แต่ไม่ได้มีการกล่าวถึงภาษาเขียนไว้ (หน้า 31, 59-62)

Study Period (Data Collection)

สิงหาคม 2539 - ตุลาคม 2540 รวมระยะเวลา 15 เดือน

History of the Group and Community

ไทยโย้ย อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง โดยการกวาดต้อนและเกลี้ยกล่อมในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ โดยย้ายจากเมือง "ฮ่อมท้าว" แขวงจำปาศักดิ์ มาตั้งที่บ้านม่วงริมยาม ซึ่งปัจจุบันคือ อ.อากาศอำนวย ต่อมาย้ายตามพระสุนทรราชวงศา ไปตั้งชุมชนที่เมืองยโสธร ที่บ้าน "กุดลิง" ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด ต่อมาเมื่อมีประชากรมากขึ้น บ้านกุดลิงเริ่มคับแคบ และพระสุนทรราชวงศาถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว โย้ยบางส่วนจึงอพยพกลับมาที่บริเวณเดิม คือ ที่บ้านแร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร อีกครั้ง โดยยังใช้ชื่อบ้านกุดลิงตามเดิม แต่ที่บ้านแร่ การเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล จึงย้ายมาอยู่ที่ "บ้านชุมแสงหัวนา" ต.วานรนิวาส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โย้ยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ขอขึ้นกับเมืองยโสธร กับกลุ่มที่ขอขึ้นกับเมืองสกลนคร รัชกาลที่ 4 จึงทรงตั้งเมืองให้ใหม่ และพระราชทานสาส์นตราตั้งเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "วานรนิวาศ" ใน พ.ศ. 2404 จนถึงปัจจุบัน (หน้า 31-32) ส่วนไทยโย้ย ที่บ้านโพน เดิมอยู่ที่บ้านชาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่แยกออกจากบ้านวานรนิวาศอีก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของบ้านวานรฯ ประมาณ 1 กม. สาเหตุที่ย้ายจากบ้านชาดเพราะเกิดโรคระบาด คือโรคฝีดาษ บางส่วนไปอยู่บ้านวานรฯ บางส่วนมาอยู่ที่บ้านโพนแพง เมื่อปี พ.ศ. 2407 ทำตูบริมน้ำยาม จึงเรียกว่า "บ้านตูบหมู" เพราะหมูป่าชุม ปัจจุบันบ้านชาดกลายเป็นหมู่บ้านร้าง และยังพอมองเห็นได้ไกล ๆ จากบ้านโพนแพง (หน้า 33)

Settlement Pattern

การตั้งบ้านเรือนจะปลูกติดกันเป็นกระจุกในหมู่เครือญาติสกุลเดียวกัน โดยมีรูปแบบบ้านที่สำคัญ 6 แบบ ตามช่วงเวลา คือ 1. บ้านใต้ถุนสูง หลังคามุงหญ้าแฝก ฝาบ้านใช้ใบตองหรือไม้ไผ่ป่าสับเป็นแผ่น ห้องนอน ห้องครัวอยู่บนบ้าน แยกกันคนละมุม เป็นบ้านไม่ถาวร 2-3 ปี ต้องรื้อสร้างใหม่ เป็นลักษณะบ้านในช่วงแรกเริ่มตั้งหมู่บ้าน ปัจจุบันไม่มีบ้านแบบนี้แล้ว 2. เป็นลักษณะบ้านเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา บ้านใต้ถุนสูง ชั้นเดียว ครัวเรือนแยกออกต่างหาก เรียก "เฮือนไฟ" ห้องนอนเรียก "ส้วม" ไม่มีห้องน้ำ ห้องส้วม หลังคามุงด้วยฝาไม้ เป็นไม้เนื้อแข็ง เรียกแป้นไม้ หรือหญ้าคา มีชานบ้าน ส่วนมากสำหรับบ้านใหญ่จะมี 4-5 ห้อง ปัจจุบันไม่มีแล้ว 3. บ้านชั้นเดียวใต้ถุนสูง 1 เมตร สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคามุงสังกะสี มีห้องครัวแยกอยู่ต่างหาก มีห้องน้ำ ไม่มีห้องส้วม ส่วนมากมี 3 ห้อง 4. บ้านไม้ทั้งหลัง 2 ชั้น ยกพื้นสูง 1 เมตร ครัวแยกต่างหาก ส่วนมากมี 3 ห้อง 5. บ้านไม้ถือปูน 2 ชั้น ชั้นบนไม้ ชั้นล่างปูน หลังคาสังกะสีหรือกระเบื้องตามสมัยนิยม ชั้นล่างเป็นห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัว 6. ชั้นเดียวปูนทั้งหลัง เนื่องจากหาไม้สร้างบ้านยาก หลังคาสังกะสีหรือกระเบื้อง ใช้อิฐ บล๊อกทำฝาผนัง (หน้า 154-155) ลักษณะการใช้พื้นที่ เช่น ชานหน้าบ้าน มีโอ่งน้ำดื่มกิน อยู่หน้าเรือนครัว ห้องนอน ลูกชายนอนห้องพระ คือ ห้องว่างที่ยังไม่ได้กั้นห้องหรือหน้าห้องของลูกสาวหรือหน้าห้องพ่อแม่ จะไม่ให้ลูกสาวนอนห้องพระ ห้องครัว แยกออกต่างหากจากชานเล็ก มักมีขนาดเล็กและมีอุปกรณ์ไม่มาก ปัจจุบันเมื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ห้องครัวก็มีขนาดใหญ่ขึ้น และถูกสุขลักษณะมากขึ้นด้วย ส่วนใต้ถุนใช้เลี้ยงสัตว์จำพวก วัว ควาย ความเชื่อเกี่ยวกับบ้าน เช่น บันได ต้องมีจำนวนขั้นเป็นเลขคี่ ห้ามนั่งและเหยียบธรณีบ้าน ไม่นิยมหันหน้าบ้านไปทางตะวันตก ปัจจุบันไม่เคร่งครัดแล้วเนื่องจากพื้นที่กำจัด ไม้ที่ถูกฟ้าผ่าจะไม่เอามาสร้างบ้าน และเวลาจะสร้างบ้านต้องดูฤกษ์ยามก่อน ซึ่งก็ไม่ค่อยถือกันแล้วเช่นกัน (หน้า 159-162)

Demography

243 ครัวเรือน ประชากร 1,259 คน ชาย 616 คน หญิง 643 คน วัยแรงงาน 848 คน เท่ากับ 67.36 % วัยพึ่งพิง 0-14 ปี 296 คน เท่ากับ 23.51 % 60-75 ปีขึ้นไป 115 คน เท่ากับ 9.13 % (หน้า 38)

Economy

ส่วนใหญ่อาชีพหลัก คือ ทำนาและเกษตรกรรมอื่น ๆ ซึ่งเป็นอาชีพสืบทอดมาจากอดีต ปัจจุบันเริ่มมีการเปิดร้านค้าที่ใต้ถุนบ้าน ขายสิ่งของเบ็ดเตล็ดหรืออาหารสดและสำเร็จที่ซื้อมาจากในตัวอำเภออีกทอดหนึ่ง หลังฤดูทำนาก็ทำอาชีพเสริมคือ รับจ้าง ช่วงแรกรับจ้างในหมู่บ้าน ต่อมาประมาณ ปี 2525 เริ่มรับจ้างในกรุงเทพ ปัจจุบันมีคนทำงานรับจ้างในต่างประเทศถึง 70 % ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้แล้วก็รับราชการ (หน้า 63-72)

Social Organization

มีการสืบสกุลทางพ่อ และชายเป็นใหญ่ ลูกชายคนสุดท้องมักจะเป็นคนเลี้ยงดู และรับมรดกบ้านของพ่อ-แม่ด้วย พ่อทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ทำไร่ทำนาเป็นหลัก แม่ทำหน้าที่ในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนลูกหลาน หุงหาอาหาร เมื่อหมดหน้านาก็จะทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม แต่ก่อนอยู่กันเป็นครอบครัวขยาย แม้เมื่อแต่งงานแยกบ้านไปแล้วก็ยังอยู่ในละแวกเดียวกัน แต่ปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ยิ่งเมื่อต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้าน ก็ยิ่งทำให้ห่างเหิน และบทบาทของพ่อแม่ลดลงอย่างมาก (หน้า 42-46) ในการแต่งงาน ต้องสืบลำดับญาติกันก่อน โดยฝ่ายชายต้องมีศักดิ์เป็นพี่ถึงจะแต่งได้ และต้องเป็นคนบ้านโพนแพงด้วย ปัจจุบันไม่ค่อยได้ยึดถือกันแล้ว (หน้า 145)

Political Organization

แรกย้ายมาตั้งบ้านเรือนที่โพนแพงนี้ เมื่อปี 2407 มีผู้ใหญ่บ้านเป็นคนดูแล คนแรกคือ นายไชยราช โพธิ ซึ่งเป็นคนชักชวนชาวบ้านย้ายมาจากบ้านชาด ถึงปัจจุบันมีผู้ใหญ่บ้านรวมแล้ว 10 คน (หน้า 108) แต่ก่อนผู้นำมาจากความเห็นชอบส่วนใหญ่ของชาวบ้าน ซึ่งพิจารณาจากความอาวุโส ความเป็นคนดี มีคุณธรรม และเป็นคนโพนแพง ต่อมาก็เริ่มมีการลงคะแนนเสียงโดยการยกมือนับคะแนน โดยผู้มีสิทธิออกเสียงจะต้องอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี (หน้า 117) ต่อมามีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็น "คุ้ม" ทั้งหมด 10 คุ้ม มีหัวหน้าคุ้มประสานงานระหว่างสมาชิกภายในคุ้มกับคณะกรรมการหมู่บ้านฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายการปกครอง ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ฝ่ายป้องกันและรักษาความสงบ ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายการศึกษาและวัฒนธรรม ฝ่ายกิจการสตรี นอกจากนี้ก็มีการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนาชุมชน เป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มเยาวชน กองทุนอาหารกลางวันเด็ก กลุ่มสตรี เป็นต้น (หน้า 126-127) นอกจากนี้ก็ยังมีผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งก็คือผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำในงานพิธีต่าง ๆ หรือทำหน้าที่รักษาคนป่วยไข้ด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ ถือเป็นผู้นำทางความเชื่อ

Belief System

นับถือพุทธศาสนา พร้อมกับถือผีบรรพบุรุษ เรียก "ผีปู่ตา" ซึ่งเป็นผีของชุมชน หอผีปู่ตาตั้งอยู่ริมน้ำยาม นอกจากนี้ก็มี "ผีเฮือน" ซึ่งก็คือผีบ้านผีเรือน ปกปักรักษาสมาชิกของครอบครัว (หน้า 90-91) มีวัดจอมแจ้ง เป็นสถานที่ในการจัดพิธีทางศาสนาต่าง ๆ ตั้งขึ้นพร้อม ๆ กับการตั้งหมู่บ้าน มีฮีตประเพณีเช่นเดียวกลุ่มไทย-ลาวทั่วไป (หน้า 87) โดยจัดงานบุญต่าง ๆ ได้แก่ บุญมหาชาติหรือบุญพระเวศ บุญห่อข้าวประดับดิน บุญห่อข้าวสาก บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษาหรือบุญลอยเรือไฟ บุญกองข้าวหรือบุญเดือน 3 คือ พิธีสู่ขวัญผู้สูงอายุ สู่ขวัญข้าว และสู่ขวัญควาย เป็นต้น (หน้า 90) นอกจากนี้ก็กล่าวถึงประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เกิด แต่งงาน ตาย การบวชเณร บวชพระ ขึ้นบ้านใหม่ สงกรานต์ สะเดาะเคราะห์ ตีกลองเลง พิธีกรรมตามความเชื่อต่างๆ การเลี้ยงผีปู่ตา มีพิธีเลี้ยง 2 แบบ คือเลี้ยงประจำปีๆ ละ 2 ครั้ง ก่อนลงนาและก่อนเอาข้าวขึ้นฉาง และเลี้ยงเมื่อลูกหลานของหมู่บ้านจะไปทำงานต่างถิ่น ทำพิธีพูดกับผีปู่ตาผ่านจ้ำหรือหมอจ้ำ เรียกว่าการ "บะ" ให้ผีปู่ตาปกปักรักษาให้อยู่รอดปลอดภัย เมื่อกลับมาแล้วก็ต้องเลี้ยงผีปู่ตาอีกรอบ นอกจากนี้แล้วยัง "บะ" เมื่อต้องการไปทำงานหรือสอบด้วย (หน้า 91) ความเชื่อเกี่ยวกับผีน้ำหรือกองกอย มีตัวอย่างเรื่องเล่าที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าผีน้ำมีจริงคือเรื่องของพ่อเฒ่ากก เล่าว่าวันหนึ่งในระหว่างทาง คนตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งเข้ามาเกาะแข้งขา ไล่ก็ไม่ไป ผลักก็ไม่ออก จนเกิดความรำคาญ จึงได้จับคนตัวเล็กนั้นฟาดกับพื้นจนตาย เมื่อกลับมาถึงบ้านได้ไม่นาน ก็ถูกผีเข้าสิง ร้องไห้และพูดบ่นว่า เมื่อญาติสอบถามก็ได้ความว่าผีที่เข้าสิง มาจากน้ำหนองเทาขึ้นมาจากน้ำยาม ตัวเล็ก ๆ ผมแดง เสียใจที่ถูกตีจนตาย จึงตามมาเข้าสิง ญาติพี่น้องจึงได้แต่งขันดอกไม้ไปขอขมา ผีจึงออกจากร่างไป พิธีเสี่ยงค้อง จะทำเมื่อมีของหรือคนหายไป มีคนหมอมอเป็นคนทำพิธี โดยมีอุปกรณ์ คือ ข้องหาปลา 1 อัน หมากน้ำเต้ามัดผ้าแดงใส่ปากข้อง เอาไม้ 2 อันมัดไว้คนละข้าง ให้คนจับคนละฟาก แต่งขันธ์ 5 ดอกไม้ ธูปเทียน เชิญท้าวเซียงลงมาจากสวรรค์ ลงมาฉิงใส่ข้อง แล้วพูดว่า " ไอ้เซียงเอ้ย ไท้หูตากว้างให้พาไปหาของหายแหน่ ถ้าเจ้าเป็นอยู่บ่อนได๋ให้พาไปเอา" ข้องนั้นจะสั่นอย่างแรง สองคนนั้นต้องจับให้อยู่ แล้พาเดินไปหาของที่หายไปนั้น เมื่อพบของที่ต้องการแล้ว ก็เชิญไอ้เซียงออก (หน้า 94-96)

Education and Socialization

ไม่ระบุชัดเจน

Health and Medicine

มีทั้งการรักษาแผนปัจจุบันของสถานีอนามัยที่ตั้งอยู่ใน ต.หนองสนม และมีร้านขายยาแผนปัจจุบัน ซึ่งชาวบ้านเป็นเจ้าของ กับการรักษาแผนโบราณ ใช้สมุนไพร ส่วนใหญ่เป็นรากไม้ ด้วยวิธีต่าง ๆ ตามลักษณะโรค และการรักษาด้วยวิธีทางไสยศาสตร์ เพราะเชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากภูติผีปีศาจ ผีไห้หรือผีไร่ โดยต้องให้หมอเป่า เป็นผู้รักษาให้ ในเรื่องการคลอดบุตร ต้องมีการเตรียมคลอด โดยให้ไปนั่งตรงทางแยก ใส่ผ้าถุง 2 ผืนซ้อนกัน นั่งคุกเข่าเอาหินหรือทรายมาถูท้อง แล้วลุกขึ้นยืน ถอดผ้าถุงผืนหนึ่งออกโยนทิ้งไป จะทำให้คลอดได้ง่ายขึ้น หลังคลอดก็มีขะลำหรือข้อห้าม เช่น การอยู่ไฟ จะต้องกินน้ำร้อนและอาบน้ำร้อนที่ต้มด้วยเปลือกไม้ต่าง ๆ เช่น ไม้จิก ไม้กะเบา อาหารการกินระหว่างอยู่ไฟ ต้องกินข้าวกับเกลือและข่าเผาเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่าถ้ากินของคาว น้ำนมแม่และตัวเด็กจะเหม็นคาวด้วย และทำให้มดลูกเข้าอู่ได้ช้า เป็นต้น ปัจจุบันระบบสาธารณสุขและสาธารณูปโภคแบบใหม่เปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมาก เช่น การสร้างห้องส้วมและห้องครัวรวมทั้งการปรุงอาหารการกินต่างๆ ให้ถูกสุขลักษณะมากขึ้นด้วย (หน้า 97-108)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

งานสถาปัตยกรรม กล่าวถึงลักษณะของบ้านแบบต่าง ๆ ในหัวข้อเรื่องที่อยู่อาศัยแล้ว การแสดง ที่สำคัญคือ กลองเลง เป็นกลองสองหน้า ใช้ตีจังหวะสนุกสนานในงานบุญประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะงานบุญมหาชาติ ซึ่งทุกคุ้มจะมีส่วนร่วมแห่กลองเลงไปจนรอบหมู่บ้าน แต่ละคุ้มรับผิดชอบกลองเลงและขบวนแห่ในส่วนคุ้มตนเอง แล้วส่งต่อเป็นทอด ๆ จนครบ (หน้า 142) งานหัตถกรรม กล่าวถึงการทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน เสื่อ โดยไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเฉพาะ นอกจากในอดีตมีความสัมพันธ์กับการหาคู่ของหนุ่มสาว เรียก "การลงข่วง" หญิงสาวลงข่วงกันเป็นกลุ่มตามใต้ถุนบ้านในตอนค่ำ หนุ่มๆ จะแวะเวียนไปหาตามบ้านของสาวที่ตนหมายปองอยู่ เพื่อพูดคุยทำความรู้จักได้อย่างใกล้ชิด (หน้า 162-163)

Folklore

กล่าวถึงเซี่ยงเมี่ยง, งูเหลือมบ่มีพิษ, ผีกองกอย, ผีน้ำ และผีปู่ตา (หน้า 137)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในงานวิจัยกล่าวเพียงว่า แต่เดิมไทยโย้ยบ้านโพนแพง ไม่อนุญาตให้คนกลุ่มหรือบ้านอื่นมาตั้งถิ่นฐานในบริเวณบ้านโพนแพงนี้ แต่ต่อมาก็ไม่ได้เข้มงวดแล้ว เนื่องจากลูกหลานต้องออกไปทำงานที่อื่น ทำให้ได้แต่งงานกับคนนอกกลุ่มมากขึ้น ทั้งที่เป็นคนไทยต่างถิ่นและชาวต่างประเทศ ส่วนความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นไม่ได้กล่าวถึงมาก นอกจากมีการเปรียบเทียบภาษาพูดกับ "ญ้อ" เท่านั้น

Social Cultural and Identity Change

ประเด็นในการวิจัยเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางสังคมเกือบทุกด้าน ซึ่งโดยมากเป็นปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ที่ทำให้ชาวบ้านต้องออกไปทำงานต่างถิ่นมากขึ้น นอกจากนี้ก็คือการศึกษาที่สูงขึ้น ซึ่งเหล่านี้ทำให้ชุมชนต้องปรับตัวไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่สะท้อนว่าชุมชนยังคงรักษาความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเองได้ที่สำคัญ คือ ภาษา และประเพณีบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัด เช่น พิธีลอยเรือไฟ งานบุญมหาชาติ และพิธีแต่งงาน เป็นต้น

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst อรุษยา ปราบใหญ่ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ผู้ย้อย ย้อย ลาวย้อย ไทยโย้ย โย่ย, วิถีชีวิต, ความเปลี่ยนแปลง, สกลนคร, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง