สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),ม้ง,ยวน,การตั้งถิ่นฐาน,การใช้ที่ดิน,ป่าอนุรักษ์,เชียงใหม่
Author นงลักษณ์ ดิษฐวงษ์
Title แนวการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบนพื้นที่สูงในบริบทของการจัดการเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, ม้ง, ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 144 Year 2542
Source หลักสูตรปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนภาค ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ผลการศึกษาพบว่าระหว่างปี พ.ศ.2527-2536 มีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ป่า แสดงให้เห็นว่าชุมชนยังสามารถอยู่ร่วมกับป่า ได้ถ้ามีความเหมาะสมสอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (หน้า ง) เนื่องจากการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ศึกษานั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ สภาพอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและแหล่งน้ำเป็นสำคัญ และจากการศึกษาพบว่ามีจำนวนประชากรต่อพื้นที่มากกว่าที่ควรจะเป็นตามหลักของเกษตรพอเพียง ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการนำทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการชุมชน เช่น การควบคุมจำนวนประชากร ควบคุมการใช้ประโยชน์จากที่ดินในกิจกรรมต่างๆ ทั้งเพื่อการเกษตร การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และการท่องเที่ยวให้มีความสอดคล้องกับสภาพทางธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมให้ประชากรมีความรู้เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพอื่นๆ นอกภาคการเกษตร และป้องกันเฝ้าระวังการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้อย่างยั่งยืน (หน้า 107-108)

Focus

ศึกษาการตั้งถิ่นฐานและการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนม้งและกะเหรี่ยงในพื้นที่อนุรักษ์ของเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาม้งที่หมู่บ้านขุนกลางและกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านผาหมอน เพื่อหาแนวทางจัดการให้ชุมชนสามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ได้อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ และเป็นกำลังสำคัญในการคุ้มครองดูแลป่าไม้ตามนโยบายของรัฐ (หน้า 3)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ม้งหมู่บ้านขุนกลาง กะเหรี่ยงหมู่บ้านผาหมอน และคนไทยพื้นราบในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาของม้งจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ธิเบต กลุ่มย่อยธิเบต-พม่า ม้งอพยพเข้าสู่ประเทศไทยราวศตวรรษที่แล้ว ส่วนกะเหรี่ยงจัดอยู่ในตระกูลภาษาเอเชียตะวันออก มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในประเทศไทย (หน้า 53, 63)

Study Period (Data Collection)

สำรวจข้อมูลภาคสนามระหว่างปี พ.ศ.2541-2542 (หน้า 59)

History of the Group and Community

บ้านขุนกลางเกิดจากการอพยพของชุมชนม้ง ภายใต้การนำของนายจื้อซะ แซ่ยะ และกลุ่มของนายเจี้ยเปา แซ่วะ จากบ้านแม่ลา อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน มาร่วมกันตั้งถิ่นฐานบริเวณใต้น้ำตกสองพี่น้องหรือน้ำตกเล่าลื้อราวเกือบร้อยปีมาแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 จึงได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านและเกิดการเปลี่ยนแปลงการบริหารส่วนท้องถิ่น จนกระทั่งตั้งอยู่ในเขตการปกครองหมู่ 7 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ (หน้า 54) บ้านผาหมอนเกิดจากการอพยพของครอบครัวกะเหรี่ยง ภายใต้การนำของตาโล และนายขาว จากบ้านแม่ลาหลวง จ.แม่ฮ่องสอน ไปยังบ้านขุนแตะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ก่อนจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านผาหมอน ปัจจุบันได้ขยายชุมชน ออกไปเป็น 2 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านผาหมอนและหมู่บ้านผาหมอนใหม่ (หน้า 63)

Settlement Pattern

ชุมชนในพื้นที่ศึกษามีทั้งหมด 30 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานในระดับความสูง 700-1,000 เมตร จากน้ำทะเลปานกลาง และชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 2 ในเขตวัตถุประสงค์พิเศษ รองลงมาคือที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตร และในชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 3 บริเวณป่าใช้สอย ส่วนระดับความสูง 300-500 เมตร และ 500-700 เมตร มีการกระจายตัวของประชากรค่อนข้างเบาบาง นอกจากนี้ยังพบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบริเวณชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 1A และ 2B บริเวณป่าต้นน้ำ ซึ่งบริเวณนี้ไม่ควรมีการตั้งถิ่นฐานอยู่เลย ขณะเดียวกันกลับพบชุมชนบริเวณชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ 4 และ 5 ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมเพียงหมู่บ้านเดียว (หน้า 48, 101) การเลือกพื้นที่เพื่อทำการเกษตรต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ระยะทางระหว่างพื้นที่การเกษตรกับหมู่บ้าน การรับแสงแดดของพื้นที่ ความลาดชันของพื้นที่ ความชุ่มชื้นของดิน ระดับความสูงของพื้นที่ และเป็นพื้นที่ที่มีลมโกรกอ่อนๆ ส่วนการจับจองพื้นที่การเกษตรต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชน และสามารถโอนถ่ายสิทธิการถือครองที่ดินได้เมื่อเจ้าของที่ดินเดิมได้ย้ายไปอยู่ชุมชนอื่นอย่างน้อย 3 ปี (หน้า 56-57)

Demography

ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีประชากร 4,954 คน 862 ครัวเรือน เป็นชาย 2,555 คน หญิง 2,399 คน แบ่งเป็นกะเหรี่ยงร้อยละ 71 ม้งร้อยละ 26 และคนไทยพื้นราบ ร้อยละ 3 โดยประชากรของหมู่บ้านขุนกลางในปี พ.ศ.2540 มีจำนวน 165 ครัวเรือน หรือ 1,120 คน และในปี พ.ศ. 2541 มีจำนวน 200 ครัวเรือน 224 ครอบครัว หรือ 1,144 คน ส่วนประชากรของหมู่บ้านผาหมอนในปี พ.ศ.2541 มีจำนวน 90 หลังคาเรือน หรือ 486 คน (หน้า 55, 64) หมู่บ้านที่มีประชากรน้อยที่สุด คือหมู่บ้านห้วยวอก และหมู่บ้านที่มีการขยายตัวของประชากรมากที่สุด คือ หมู่บ้านป่าบงเปียงในเขต อ.แม่แจ่ม (หน้า 50-51)

Economy

ก่อน พ.ศ.2519 ม้งที่หมู่บ้านขุนกลางทำการเกษตรแบบกึ่งยังชีพ ด้วยการทำไร่เลื่อนลอยและปลูกฝิ่น ต่อมาเมื่อรัฐบาลประกาศเขตอุทยานแห่งชาติจึงมีนโยบายส่งเสริมให้รู้รักษ์แผ่นดินและร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ม้งจึงหันมาทำการเกษตรตามโครงการหลวง โดยมีรายได้เฉลี่ย 43,000 บาท/ครัวเรือน/ปี (หน้า 54-55) ส่วนกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านผาหมอนทำการเกษตรแบบยังชีพด้วยการปลูกข้าว พืชหมุนเวียน และเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้างและหาของป่า ต่อมาได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงให้ปลูกพืชเมืองหนาวเป็นอาชีพเสริม มีการทอผ้าและทำเครื่องจักรสานไว้ใช้ในครัวเรือน รายได้เฉลี่ย 14,000 บาท/ครัวเรือน/ปี (หน้า 63, 65, 87)

Social Organization

ลักษณะครอบครัวของม้งในพื้นที่ศึกษาเป็นครอบครัวขยาย สามีเป็นใหญ่ในครัวเรือนและสามารถมีภรรยาได้หลายคน มีการแบ่งสายวงศ์ตระกูล และมีธรรมเนียมการบูชาบรรพบุรุษ (หน้า 51, 55) โดยในช่วง พ.ศ.2522 แต่ละครัวเรือนจะมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยความเห็นชอบจากชุมชนเป็นระบบกงสี สามารถใช้เป็นหลักค้ำประกัน ซื้อ ขาย เปลี่ยน โอนได้ และหลัง พ.ศ.2522 เป็นต้นมา แต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 6.7 ไร่/ครัวเรือน (หน้า 56, 59, 94) และมีการรวมกลุ่มเป็นคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อรวบรวมข้อมูลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (หน้า 115) ครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว มีการสืบทอดเชื้อสายทางฝ่ายหญิงเป็นหลัก และยึดถือเรื่องผัวเดียวเมียเดียว มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน 2 ลักษณะคือ ในส่วนของพื้นที่นาขั้นบันได กรรมสิทธิ์ในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนจะเป็นของครัวเรือนที่เป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนพื้นที่ไร่หมุนเวียนจะเป็นกรรมสิทธิ์ของชุมชน ไม่สามารถซื่อขายได้ (หน้า 64-66, 96) หลัง พ.ศ. 2522 แต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 7 ไร่/ครัวเรือน (หน้า 69) และมีการรวมตัวกับหมู่บ้านอื่น เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กลาง เพื่อดำเนินกิจกรรมทำแนวป้องกันไฟป่า ทำลายไร่ฝิ่น และดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่ป่า (หน้า 71)

Political Organization

บทบาทของรัฐด้านการพัฒนาอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ปรากฏเป็นนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ โดยส่งเสริมให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดิน แหล่งน้ำ และป่าไม้ให้มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ด้วยการกำหนดแนวทางการใช้ที่ดินและจัดสรรทรัพยากรในแต่ละลุ่มน้ำ ขณะเดียวกันก็มุ่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปด้วย (หน้า 76-78) ในช่วงก่อน พ.ศ.2510 รัฐได้ดำเนินนโยบายหลักในการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาด้วยการสำรวจข้อมูลประชากร ลักษณะทางสังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงจัดตั้งหน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาในหมู่บ้าน ระหว่าง พ.ศ.2510-2522 ได้ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ทดแทนการปลูกฝิ่น และหลัง พ.ศ.2522 ได้จัดตั้งโครงการหลวงอินทนนท์เพื่อวิจัยและส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาว ดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม (หน้า 75) ขณะที่ชุมชนในพื้นที่ศึกษามีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายกับชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อต่อรองทางการเมืองในปัญหาความขัดแย้งเรื่องการจัดสรรทรัพยากรทั้งระหว่างภาครัฐกับเอกชนและระหว่างเอกชนด้วยกันเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อคงสิทธิในการใช้และการจัดการทรัพยากรของชุมชน (หน้า 115)

Belief System

ชุมชนในพื้นที่ศึกษานับถือศาสนาพุทธร้อยละ 80 และนับถือศาสนาคริสต์ร้อยละ 20 หมู่บ้านที่มีโบสถ์ในศาสนาคริสต์ วัดและสำนักสงฆ์ ได้แก่ หมู่บ้านห้วยปูลิง หมู่บ้านขุนกลาง หมู่บ้านแม่ปอน หมู่บ้านแม่ละลอ หมู่บ้านสามสบ และหมู่บ้านผาหมอน (หน้า 46) โดยม้งที่นับถือศาสนาคริสต์จะไม่นับถือผีในบางกรณีที่ขัดต่อหลักศาสนา ส่วนกะเหรี่ยงยังคงนับถือผีควบคู่กับการนับถือศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงหลักความเชื่อบางอย่างเพื่อไม่ให้ขัดกับหลักศาสนา (หน้า 53, 64)

Education and Socialization

ชุมชนในพื้นที่ศึกษาได้รับการศึกษาภาคบังคับตามระบบการศึกษาที่ภาครัฐจัดให้ โดยมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 18 แห่ง (หน้า 46)

Health and Medicine

พื้นที่ศึกษามีสถานบริการสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ที่หมู่บ้านขุนกลาง หมู่บ้านผาหมอน และหมู่บ้านแม่หอยใน (หน้า 46)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ตามปกติแล้วคนหนุ่มสาวในชุมชนกรณีศึกษาจะแต่งกายแบบคนเมือง และจะแต่งกายประจำเผ่าในพิธีกรรมหรือในกลุ่มคนเฒ่าคนแก่ (หน้า 53)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ม้งอยู่ในกลุ่มชาวไทยภูเขาตระกูลภาษาจีน-ธิเบต เช่นเดียวกับมูเซอ ลีซอ อาข่า (อีก้อ) และเมี่ยน (เย้า) (หน้า 51) ส่วนกะเหรี่ยงจัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาเอเชียตะวันออก กลุ่มเดียวกับลัวะหรือละว้า ขมุ ถิ่น และชนเผ่ามลาบรี (ผีตองเหลือง) นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยงโปว์ กะเหรี่ยงบเว และกะเหรี่ยงตองสู โดยในพื้นที่ศึกษาเป็นกะเหรี่ยงสะกอที่เรียกตัวเองว่าปกากะญอ (หน้า 53,63) ในพื้นที่ศึกษาพบปัญหาความข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ โดยมีสาเหตุมาจากการกันพื้นที่ของชุมชนออกจากพื้นที่อุทยานฯ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนในพื้นที่กับชุมชนรอบเขตอุทยานฯ อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน รวมถึงปัญหาการแย่งทรัพยากรน้ำระหว่างชุมชนที่อาศัยอยู่ต้นน้ำกับชุมชนปลายน้ำในลุ่มน้ำแม่กลาง (หน้า 90)

Social Cultural and Identity Change

ในอดีตการเลือกที่ตั้งหมู่บ้านจะพิจารณาตามจารีตของแต่ละเผ่า ซึ่งตามปกติแล้วจะเลือกที่ตั้งใกล้แหล่งน้ำ และเป็นพื้นที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ปัจจุบันความเชื่อตามจารีตดังกล่าวลดลง เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น เรื่องของจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร (หน้า 50) เทคโนโลยีการสื่อสาร การคมนาคมที่สะดวกขึ้น รวมถึงกระแสวัฒนธรรมต่างถิ่นและความทันสมัยจากความเป็นเมืองได้ทำให้การตั้งถิ่นฐานของชุมชนม้งบ้านขุนกลางเปลี่ยนไปสู่ความทันสมัย (หน้า 95) ขณะที่กะเหรี่ยงบ้านผาหมอนบางส่วนต้องพึ่งพาตลาด (หน้า 97) วิถีชีวิตของชุมชนมีแนวโน้มเป็นแบบบริโภคนิยมมากขึ้น ทำให้ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของชนเผ่าแต่ละกลุ่มลดลง ระบบการศึกษาในวัฒนธรรมดั้งเดิมของหมู่บ้านถูกแทนที่ด้วยระบบการศึกษาตามหลักสูตรภาคบังคับ ซึ่งอาจมีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และการพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชน (หน้า 85-86) ขณะเดียวกันการตั้งถิ่นฐานของชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ก็ได้ก่อให้เกิดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายประการ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง เกิดสารปนเปื้อนในน้ำ เกิดปัญหาการรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เกิดความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ เกิดปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า (หน้า 86-92)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

นโยบายและโครงการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษา จำแนกออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ช่วงก่อน พ.ศ. 2510 โดยดำเนินนโยบายพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาด้วยการสำรวจข้อมูลประชากร ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังก่อสร้างเส้นทางคมนาคมสายต่างๆ วางระบบประปาภูเขา จัดตั้งสถานีอนามัย ระบบโทรศัพท์ รวมถึงหน่วยงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาในหมู่บ้าน 2) ช่วง พ.ศ.2510-2522 โดยดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความมั่นคงของชาติจากภัยคอมมิวนิสต์และการควบคุมพื้นที่เสพติดบนพื้นที่สูงด้วยการประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เพิ่มเติมในปี พ.ศ.2521 และส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนการปลูกฝิ่น 3) ช่วงหลัง พ.ศ.2522-2542 โดยดำเนินนโยบายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยการอนุรักษ์ดิน น้ำ และการปลูกป่าทดแทน นอกจากนี้ยังจัดตั้งโครงการหลวงดอยอินทนนท์เพื่อวิจัยและส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาว จัดตั้งโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม รวมถึงโครงการพัฒนาที่สูงไทย-นอร์เวย์ เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารและปรับปรุงผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น (หน้า 73-84)

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้ใช้ตาราง แผนที่ ภาพ และแผนภาพประกอบรายงานการวิจัย เช่น ตารางจำแนกพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ตามชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ (หน้า 29) ตารางเปรียบเทียบลักษณะของชุมชนตัวอย่างในการศึกษา (หน้า 98) ตารางแสดงลักษณะการใช้ประโยชน์พื้นที่ระดับต่างๆ ตามมาตรการและข้อกำหนดในปัจจุบัน (หน้า 101) แผนที่ตั้งและการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนหมู่บ้านขุนกลาง (พ.ศ.2542) (หน้า 60) แผนที่ตั้งและการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนหมู่บ้านผาหมอน (พ.ศ.2542) (หน้า 70)ภาพความสัมพันธ์ของลักษณะพื้นที่และระบบการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกับการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย (หน้า 20) ภาพลักษณะของบ้านชาวม้งในแบบดั้งเดิม หมู่บ้านขุนกลาง (หน้า 56) ภาพลักษณะของบ้านชาวกะเหรี่ยงหมู่บ้านผาหมอน (หน้า 65) และแผนภาพขั้นตอนและกรอบในการศึกษา (หน้า 10)

Text Analyst ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย Date of Report 05 ก.ย. 2555
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ม้ง, ยวน, การตั้งถิ่นฐาน, การใช้ที่ดิน, ป่าอนุรักษ์, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง