สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),ยวน,เกษตรกร,เยาวชน,แม่ฮ่องสอน
Author จำรุณ ระวีคำ
Title การดำเนินงานของกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นราบและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยวน ยวน ยวนสีคิ้ว คนเมือง, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 80 Year 2541
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

สมาชิกยุวเกษตรกรไทยพื้นราบส่วนใหญ่เป็นเพศชายแต่สมาชิกยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยอายุของยุวเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีอายุระหว่าง 12-17 ปี ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 ขณะที่ยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาชั้น ประถม 4-ประถม 6 โดยที่สถานภาพการสมรสของทั้ง 2 กลุ่ม สถานภาพโสดและมีอายุการเป็นสมาชิก 1-4 ปี ผลการวัดความรู้ด้านการเกษตรและความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรชาวไทยพื้นราบมีความรู้ร้อยละ 85.00 ส่วนยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีความรู้เพียงร้อยละ 76.00 ส่วนผลการศึกษาการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานโครงการและงานกิจกรรมกลุ่มของสมาชิก พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีการฝึกปฏิบัติมาก คิดเป็นร้อยละ 77.00 และ 50.00 สำหรับยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นราบและยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตามลำดับ ผลการศึกษาในกลุ่มยุวเกษตรกรพบว่ากลุ่มยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นราบมีอายุการจัดตั้งนานกว่า มีเงินทุนหมุนเวียนและได้รับรางวัลจากการประกวดกลุ่มมากกว่า ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการที่พบคือ การขาดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเคหกิจเกษตรขาดเงินทุนดำเนินการ การดำเนินโครงการไม่ต่อเนื่อง ส่วนผลการศึกษาความต้องการพบว่า ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมประชุมกลุ่มอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งและของงบประมาณสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้การดำเนินการของโครงการต่อเนื่อง

Focus

ศึกษาการดำเนินงานของกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร โดยพิจารณาลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของกลุ่มยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นราบและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง อำเภอปาย ขุนยวม แม่สะเรียง แม่ลาน้อย และสบเมย จังหวัดแม่ห้องสอน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

กะเหรี่ยง

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มี

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2541

History of the Group and Community

กลุ่มยุวชนเกษตรกร ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหลัก เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2495 (หน้า 1)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ปัจจุบัน มีกลุ่มยุวชนเกษตรกรทั่วประเทศจำนวน 6,007 กลุ่ม มีจำนวนสมาชิก 119,258 คน (หน้า 1) ประชากรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีจำนวนทั้งสิ้น 67,967 คน (หน้า 2) กลุ่มยุวเกษตรที่ใช้ศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 30 กลุ่ม จำแนกเป็น สมาชิกยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นที่ราบ 20 กลุ่ม จำนวน 100 คน และกลุ่มยุวเกษตรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง 10 กลุ่ม จำนวนสมาชิก 50 คน (หน้า 3) ยุวเกษตรกรพื้นราบ เพศชายมีมากกว่าเพศหญิง เพศชาย ร้อยละ 57.00 และเพศหญิงร้อยละ 43 ส่วนยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเพศชายมีน้อยกว่าเพศหญิง เพศชายร้อยละ 44.00 เพศหญิงร้อยละ 56.00 ยุวเกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 12-17 ปี ยุวเกษตรกรพื้นราบคิดเป็นร้อยละ 59.00 ส่วนยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงคิดเป็นร้อยละ 56.00รองลงมาคือช่วงอายุ 18-23 ปีและ 24-29 ปีตามลำดับ (หน้า 22)

Economy

กะเหรี่ยง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการทำนาขั้นบันไดและการทำข้าวไร่ มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หมู เพื่อใช้ในพิธีกรรม ส่วนการเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควายและช้างจะเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน (หน้า 1) เงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มยุวเกษตรกรพบว่า กลุ่มยุวเกษตรกรพื้นราบ ส่วนมากเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนหมุนเวียน ร้อยละ 65.00 และไม่มีเงินหมุนเวียน ร้อยละ 35.00 มีเงินทุนหมุนเวียนสูงสุด 22,000 บาท ต่ำสุด 1,050 บาท กลุ่มยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ส่วนมากไม่มีเงินทุนหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 60 และมีเงินทุนหมุนเวียนคิดเป็นร้อยละ 40.00 มีเงินทุนหมุนเวียนสูงสุด 5,620 บาท ต่ำสุด 3,000 บาท (หน้า 39, 52-53)

Social Organization

สังคมของเผ่ากะเหรี่ยงจะนับถือผู้อาวุโส (หน้า 1) ยุวเกษตรกรพื้นราบส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 98.00 สถานภาพสมรส ร้อยละ 2 .00 ส่วนยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 96.00 สถานภาพสมรส ร้อยละ 4.00 (หน้า 24)

Political Organization

ยุวเกษตรกรพื้นราบส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม ร้อยละ 53.00 รองลงมาเป็นคณะกรรมการกลุ่ม ร้อยละ 41.00 ส่วนยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่ม ร้อยละ 62.00 รองลงมาเป็นคณะกรรมการกลุ่ม ร้อยละ 38.00 (หน้า 49)

Belief System

ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ แต่ก็ยังมีการนับถือผี (หน้า 2)

Education and Socialization

ยุวเกษตรกรพื้นราบส่วนใหญ่มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 43.00 รองลงมาคือระดับการศึกษา ป.4-ป.6 ขณะที่ยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาชั้น ประถม 4-ป.6 คิดเป็นร้อยละ 56.00 รองลงมาคือระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 26.00 (หน้า 23)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

อายุการเป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตร ยุวเกษตรพื้นราบ มีอายุการเป็นสมาชิกกลุ่ม ช่วงอายุ 1-4 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.00 รองลงมาช่วงอายุ 5-8 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.00 และต่ำสุดช่วงอายุ 9-12 ปี ร้อยละ 2.00 ส่วนยุวเกษตรกรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีอายุการเป็นสมาชิกกลุ่ม ช่วงอายุ 1-4 ปี คิดเป็นร้อยละ 100.00 (หน้า 49)

Map/Illustration

ตาราง - เพศของยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูล(22) - จำนวนยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามอายุ(23) - จำนวนยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามระดับการศึกษา(24) - จำนวนยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามสถานภาพสมรส(24) - จำนวนยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามอายุการเป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร(25) - จำนวนยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามการวัดความรู้ด้านการเกษตรและความรู้ด้านการดำเนินงาน(26) - จำนวนยุวเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลจำแนกตามการวัดความรู้ด้านการเกษตรและความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานโดยแยกรายละเอียด(27) - จำนวนยุวเกษตรกรที่วัดการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานโครงการและกิจกรรมของกลุ่มฯ(30) - จำนวนยุวเกษตรกรที่วัดการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานโครงการและกิจกรรมของกลุ่มฯ โดยแยกรายละเอียด(31) - สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะของยุวเกษตรกรชาวไทยพื้นราบและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง(35) - อายุการจัดตั้งกลุ่มยุวชนเกษตรกร(37) - จำนวนสมาชิกกลุ่มยุวชนเกษตรกร(38) - แสดงเงินทุนหมุนเวียนกลุ่มยุวชนเกษตรกร(39) - งานโครงการในรอบปีที่ผ่านมา(40) - งานโครงการย่อยของกลุ่มยุวชนเกษตรกร(40) - งานส่วนบุคคลของกลุ่มยุวชนเกษตรกร(41) - การทำกิจกรรมกลุ่มในรอบปีที่ผ่านมา(42) - กลุ่มที่ได้รับรางวัลในการประกวดกลุ่มยุวชนเกษตรกร(43) - สรุปปัญหาและข้อเสนอแนะของกลุ่มยุวชนเกษตรกร(44) แผนภูมิ - จำนวนสมาชิกยุวเกษตรกรชาวพื้นราบและชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่เป็นตัวอย่าง(17)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ยวน, เกษตรกร, เยาวชน, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง