สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลเวือะ,ปกาเกอะญอ,การปรับตัว,การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ,สังคม,วัฒนธรรม,ภาคเหนือ,ประเทศไทย
Author Kunstadter, John S.
Title Socio-Cultural Change Among Upland Peoples of Thailand Lua and Karen-Two Modes of Adaptation
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, ปกาเกอะญอ, ลัวะ (ละเวือะ) ลเวือะ อเวือะ เลอเวือะ ลวะ ละว้า, ละว้า ลัวะ ว้า, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 10 Year 2511
Source บทความเสนอในที่ประชุมสัมมนา
Abstract

ลัวะและกะเหรี่ยงมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม ในประเทศไทยในแนวทางที่แตกต่างกัน สำหรับลัวะพบว่าการปรับตัวกลายเป็นไทยเป็นเรื่องง่ายกว่ากะเหรี่ยง และเมื่อระบบเศรษฐกิจของลัวะตกต่ำมีลัวะจำนวนมากอพยพเข้าสู่พื้นที่ราบเพื่อกลายเป็นแรงงานและกลายเป็นไทย กะเหรี่ยงประสบความสำเร็จในการปรับตัวทางเศรษฐกิจมากกว่าลัวะ โครงสร้างทางสังคมกะเหรี่ยงและสถานที่ตั้งทำให้เกิดการดำรงอัตลักษณ์เฉพาะของกะเหรี่ยงให้คงอยู่ แต่ในขณะเดียวก็เป็นโครงสร้างที่ยอมให้กะเหรี่ยงประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดของประเทศไทย (หน้า 10)

Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะและกะเหรี่ยง อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย กระบวนการปรับเปลี่ยนการตั้งถิ่นฐานทั้งในพื้นที่สูงและพื้นที่ราบ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์เข้าสู่สังคมไทย (หน้า 1)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลัวะและกะเหรี่ยง ในภาคเหนือของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

ลัวะส่วนใหญ่พูดได้หลายภาษาหรืออย่างน้อยจะรู้มากกว่า 1 สำเนียง ทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่สามารถพูดกะเหรี่ยงได้ และผู้ชายลัวะหลายคนรู้ภาษาไทยภาคเหนือ ภาษาไทย และพม่าบ้างพอสมควร ลัวะที่อพยพเข้ามาอาศัยในพื้นที่หุบเขาเริ่มใช้ภาษาไทยภาคเหนือเป็นเสมือนภาษาประจำบ้าน เด็กๆ บางคนไม่สามารถพูดภาษาลัวะได้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ลัวะมักจะใช้ภาษาไทยภาคเหนือในการเล่าเรื่องตลกหรือจีบกัน กะเหรี่ยง มักจะตอบว่าตนเองไม่สามารถพูดภาษากะเหรี่ยงได้ดีมากนัก และพูดภาษาอื่นๆ ได้น้อยกว่าลัวะ ผู้ชายกะเหรี่ยงเข้าใจภาษาไทยภาคเหนือบ้างเล็กน้อยแต่ยังพูดด้วยสำเนียงกะเหรี่ยงอยู่ และกะเหรี่ยงด้วยกันจะไม่พูดภาษาไทยกันเหมือนกับลัวะ (หน้า 4-5)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

เมื่อประมาณ 700-900 ปีมาแล้ว พื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทยปกครองโดยกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูล มอญ-เขมร ลัวะเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ปกครองดินแดนในแถบนี้ มีตำนานเรื่องเล่าถึงลัวะเคยมีอาณาจักรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิง ต่อมาพื้นที่บริเวณนี้ถูกครอบครองโดยกลุ่มชาติพันธุ์ไท ผลักดันให้ลัวะต้องอาศัยบนพื้นที่สูง (หน้า 2) เมื่อ 150 ปี มาแล้วลัวะอาศัยบนพื้นที่สูงเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กกว่าปัจจุบัน พื้นที่ไร่ของลัวะ มักจะไม่ห่างจากหมู่บ้านเกิน 2 ชั่วโมงในการเดินทาง ทำให้มีที่ดินส่วนอื่นที่ว่างและกระเหรี่ยงเข้ามาอยู่ได้ (หน้า 6-7) กะเหรี่ยงเข้ามาอยู่ในพื้นที่ อำเภอแม่สะเรียง ประมาณ 100-120 ปี แต่สำหรับการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณขุนยวม ลุ่มแม่น้ำปิงเป็นกะเหรี่ยงที่เข้ามาก่อนหน้านี้ จากบันทึกประวัติศาสตร์ไทย กะเหรี่ยงอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อนานมาแล้ว แต่อาจอพยพไปมาระหว่างพื้นที่ประเทศไทยและพม่า เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมในการทำไร่ (หน้า 3) หมู่บ้านกะเหรี่ยงขนาดเล็กพบ 120 ปีมาแล้ว โดยจ่ายภาษีหรือเช่าที่ดินจากลัวะบ้างแต่งงานกับลัวะ ตั้งถิ่นฐานในชุมชนลัวะ ซึ่งจะเป็นกะเหรี่ยง 1-2 ชั่วรุ่นก่อนจะกลายเป็นลัวะ (หน้า 7) ราวร้อยปีกว่าที่ผ่านมาทางเหนือของไทยมีการปกครองค่อนข้างซับซ้อนและมีพรมแดนไม่แน่ชัด มีรายงานการบันทึกจากเจ้าฟ้าครองนครเชียงใหม่ว่าลัวะเป็นกลุ่มชนที่ทำไร่หมุนเวียน จ่ายภาษีให้กับเชียงใหม่และเมื่อกะเหรี่ยงเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนลัวะ เจ้าครองนครเชียงใหม่อนุญาตให้ลัวะเก็บภาษีจากกะเหรี่ยงได้ หรือเก็บค่าเช่า 10 เปอร์เซ็นต์จากผลผลิตที่อยู่ในพื้นที่ และกะเหรี่ยงต้องจ่ายภาษีให้กับเจ้าฟ้าผู้ปกครองเชียงใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน (หน้า 7) เมื่อรัฐบาลไทยเข้ามาปกครองทางเหนือ ในช่วง 70 ปี ที่ผ่านมาได้ลดทอนอำนาจของเจ้าฟ้าผู้ปกครองนครเชียงใหม่ รวมถึงยกเลิกการจัดเก็บภาษี รวมถึงรัฐไม่เห็นชอบกับการทำไร่หมุนเวียน และไม่อนุญาตให้ลัวะจัดเก็บภาษีกะเหรี่ยงแต่กะเหรี่ยงยังคงจ่ายภาษีให้กับลัวะอีก 2-3 ปี และมองว่าเงินสำหรับซื้อที่ดิน และเมื่อประชากรกะเหรี่ยงเพิ่มมากขึ้นสร้างแรงกดดันการใช้ที่ดินให้กับลัวะเพิ่มมากขึ้น และในที่สุดให้กะเหรี่ยงมีที่ดินในการทำไร่หมุนเวียนมากกว่าลัวะซึ่งเคยอยู่มาแต่ก่อน (หน้า 7)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ลัวะมักจะทำไร่ใกล้กับหมู่บ้านและไม่สนใจที่จะทำงานในพื้นที่ไร่โดดๆ ซึ่งไม่มีเพื่อนบ้านลัวะอยู่ใกล้ๆ ลัวะจะยอมทิ้งไร่หรือให้กะเหรี่ยงเช่าที่ดินเหล่านี้ได้ กะเหรี่ยงไม่มีความรู้สึกเป็นกลุ่มมากเหมือนลัวะ กะเหรี่ยงสามารถทำไร่ในพื้นที่ที่ไม่มีเพื่อนบ้านกะเหรี่ยงอยู่ใกล้ ๆ ได้ ปัจจุบันกะเหรี่ยงขยายพื้นที่การทำไร่ออกไปแพร่กระจายมากกว่า และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจเป็นการทำนา ทำไร่ขั้นบันได ในช่วงประมาณ 45 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้กระเหรี่ยงมีพื้นที่ในการทำไร่มากกว่าลัวะ (หน้า 8-9) ผู้ชายลัวะและกะเหรี่ยงส่วนใหญ่ทำงานงานรับจ้างแรงงานในหมู่บ้านอื่นๆ ลัวะมักจะทำงานให้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลัวะ ในขณะที่กะเหรี่ยงมักจะทำงานกับกะเหรี่ยงด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ (หน้า 6) ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ลัวะหลายคนต้องออกจากธุรกิจชักลากไม้ กะเหรี่ยงซึ่งใช้เงินในการดำรงชีพและ สร้างบ้านน้อยกว่าลัวะ จึงทำให้กะเหรี่ยงมีเงินเก็บมากกว่าและสามารถนำเงินไปซื้อช้างสำหรับขนข้าวออกไปขายในพื้นที่ราบมีกำไรในการขายข้าวและสินค้าอื่น ๆ มากกว่าลัวะ (หน้า 9-10) ปัจจัยที่สำคัญอีกประการที่ทำให้เศรษฐกิจของลัวะตกต่ำลงคือ การเสียค่าใช้จ่ายสูงในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ในอดีตมีลัวะบางคนกลายเป็นกระเหรี่ยงเพื่อหลบหนีการเสียค่าใช้จ่ายในการทำพิธีกรรม ในปัจจุบันลัวะบางคนเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์เนื่องมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำส่งผลให้ลัวะบางส่วนอพยพไปยังพื้นที่ราบเป็นแรงงาน และหาโอกาสที่ดีกว่า และผสมผสานกลายเป็นไทยในที่สุด (หน้า 10)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมลัวะ ปรับตัวได้ดีในการเป็นหมู่บ้านถาวรและทำไร่หมุนเวียน โดยไม่เกิดความขัดแย้ง และการแตกแยก คนที่มีบทบาทสำคัญคือผู้นำทางศาสนา และลัวะมีความเชื่อเกี่ยวกับที่ดินของบรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครองและช่วยให้ผลผลิตที่เพาะปลูกได้ผลดีอุดมสมบูรณ์ ทำให้ลัวะยึดติดในพื้นที่ไม่มีการอพยพเคลื่อนย้ายมากนัก (หน้า 9) โครงสร้างทางสังคมหมู่บ้านกะเหรี่ยงจะแยกออกและขยายออกไปยังพื้นที่อื่นๆ มีการอพยพโยกย้าย และกลับมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เดิมเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน การสืบทอดมรดกของกระเหรี่ยงค่อนข้างสับสนและมีความขัดแย้ง ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนว่าใครเป็นผู้รับมรดกแน่นอน ความขัดแย้งในโครงสร้างทางสังคมที่สำคัญอีกประการของกะเหรี่ยงคือ การนับถือผู้อาวุโส ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ตามการเกิด แต่รวมถึงในการแต่งงาน ทำให้ผู้ชายที่แต่งงานกับพี่สาวของหัวหน้าหมู่บ้านมักจะไม่ยอมรับอำนาจของหัวหน้าหมู่บ้าน (หน้า 8-9)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ลัวะดั้งเดิมนับถือผีและอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆ รวมถึงให้ความสำคัญกับผีบรรพบุรุษ และมีความเชื่อเกี่ยวกับที่ดินของบรรพบุรุษจะช่วยคุ้มครองและส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรได้ผลดี ทำให้ยึดติดและอยู่ในพื้นที่เหล่านั้นไม่มีการอพยพเคลื่อนย้ายมากนัก (หน้า 9) ผู้นำทางศาสนา (Samang) สืบทอดตำแหน่งทางฝ่ายบิดา ซึ่งมักจะอ้างถึงการมาจากสายตระกูลผู้ปกครอง ถ้าสายขาด ชาวบ้านจะเรียกร้องสมาชิกมี่มีความสัมพันธ์กับสายตระกูลจากหมู่บ้านอื่นๆ มาเป็นผู้นำทางศาสนาแทน (หน้า 7-8) การเปลี่ยนแปลงศาสนา กะเหรี่ยงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เคยเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นอย่างน้อยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่นเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยในพื้นที่ราบนิมนต์พระสงฆ์ประกอบพิธีสำคัญในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ลัวะที่อาศัยในหมู่บ้านบนพื้นที่สูงผู้นำทางศาสนามีอำนาจในการปกครองหมู่บ้านประกอบพิธีกรรมต่างๆ ในการเซ่นไหว้ผี เทพเจ้าเพื่อปกป้องหมู่บ้าน รวมถึงทำพิธีกรรมเพื่อการทำไร่ การเปลี่ยนแปลงศาสนาของลัวะมีนัยมากกว่ากะเหรี่ยง ลัวะเปลี่ยนศาสนาเนื่องจากเหตุผลของการเจ็บป่วยและไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาตามวิถีการแบบดั้งเดิมซึ่งมักจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง เมื่อสัดส่วนของครัวเรือนที่นับถือศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้นในหมู่บ้านลัวะ จะต้องมีการพูดจาตกลงระหว่างกลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์และกลุ่มที่นับถือผี เทพเจ้าแบบดั้งเดิม กลุ่มที่นับถือศาสนาคริสต์มักจะตกลงที่จะช่วยเหลือค่าใช้จ่าย แรงงาน สิ่งของในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ แม้ว่าจะไม่ได้เข้าร่วมในพิธีกรรม เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของหมู่บ้าน สำหรับในกลุ่มกะเหรี่ยงไม่มีการทำข้อตกลงในลักษณะเช่นนี้เนื่องจากผู้นำทางศาสนาของกะเหรี่ยงไม่มีบทบาทสำคัญต่อหมู่บ้าน และการใช้ที่ดินเหมือนกับหมู่บ้านลัวะ (หน้า 5)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ลัวะ จำนวนมากผสมผสานและกลายเป็นไทย มีหลายคนพูดว่า "ปู่ย่าตายายของพวกเราเป็นลัวะแต่เราเป็นไทย" อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของลัวะยังคงได้รับการรักษาไว้ในกลุ่มลัวะที่อาศัยบนพื้นที่สูง ภูเขา สำหรับลัวะที่อาศัยในพื้นที่หุบเขารับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม และการกลายเป็นไทย พวกเขารู้สึกว่า ศาสนาลัวะนับถือเทพเจ้า ผี ป่า ภูเขา แต่ศาสนาพุทธเป็นวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่อาศัยในพื้นที่ราบหุบเขาและพวกเขามีความเห็นว่าเมื่อพวกเขาเลิกนับถือผี และความเชื่อดั้งเดิมเมื่อใดพวกเขาก็จะกลายเป็นไทย (หน้า 3) กะเหรี่ยงแตกต่างไปจากลัวะ พวกเขาแบ่งแยกว่าใครเป็นกะเหรี่ยงและเป็นกลุ่มคนอื่นๆ แนวคิดนี้อาจจะมาจากเมื่อกะเหรี่ยงอาศัยในพม่าและมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ กะเหรี่ยงมักจะพูดกับเด็ก ๆ ของพวกเขาให้ประพฤติตัวดีถ้าทำไม่ดีพม่าจะมาเอาตัวไป และในประเทศไทยก็ยังคำพูดในลักษณะนี้เช่นกัน กะเหรี่ยงยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณีของตนไว้แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่สูง ภูเขา หุบเขา หรือในเมือง พวกเขามีความคิดว่าวัฒนธรรมของกะเหรี่ยงต้องรักษาและสืบทอดต่อไป (หน้า 3)

Social Cultural and Identity Change

กลุ่มชาติพันธุ์ลัวะและกะเหรี่ยงซึ่งอาศัยอยู่บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้รับผลของการพัฒนาจากภายนอกส่งผลกระทบให้เกิดการปรับเปลี่ยนการตั้งถิ่นฐานและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์เข้าสู่สังคมไทย ลัวะประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนและเข้าสู่สังคมไทยได้อย่างกลมกลืนมากกว่ากะเหรี่ยง จากคำกล่าวของลัวะจำนวนมากว่า "ปู่ย่าตายายของพวกเราเป็นลัวะแต่พวกเราเป็นไทย" อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของลัวะยังคงได้รับการรักษาไว้บนพื้นที่สูง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงมานับถือศาสนาพุทธของลัวะแสดงนัยของการกลายเป็นไทยดังที่พวกเขามีความเห็นว่า "เมื่อลัวะเลิกนับถือผีและความเชื่อดั้งเดิมเมื่อใดพวกเขาก็จะกลายเป็นไทย" (หน้า 3) กะเหรี่ยงประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในสังคมไทยได้มากกว่าลัวะ แต่โครงสร้างทางสังคมกะเหรี่ยงและพื้นที่ตั้งทำให้การดำรงอัตลักษณ์ของการเป็นกะเหรี่ยงยังคงอยู่ (หน้า 10)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลเวือะ, ปกาเกอะญอ, การปรับตัว, การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม, ภาคเหนือ, ประเทศไทย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง