สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,สังคม,เศรษฐกิจ,เชียงใหม่
Author จิระ ปรังเขียว
Title รายงานผลการสำรวจสภาพทางสังคม-เศรษฐกิจหมู่บ้านป่ากล้วย ตำบลแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 52 Year 2527
Source ศูนย์วิจัยชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย.
Abstract

บรรยายถึงสภาพทางสังคม-เศรษฐกิจ ของม้งในหมู่บ้านป่ากล้วย ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยพบว่า หมู่บ้านแห่งนี้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งสภาพชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ รายได้ และการศึกษาที่พัฒนาขึ้นจากแต่ก่อน ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อมกับการผสมผสานทางเชื้อชาติระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ เช่น ไทย จีน ลีซอ เป็นต้น ในขณะที่ชุมชนกำลังมีการพัมนาแต่ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัมนธรรมไปตามยุคสมัย กล่าวคือ มีการรับเอาวัฒนธรรมจากคนไทยพื้นราบมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ภาวะการปลูกและการเสพฝิ่นของคนในชุมชนนี้ ก็มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเช่นกัน (จากปี 2523 -2527) โดยพบว่า ระหว่างปี 2526-2527 มีถึง 64 ครัวเรือนที่เพาะปลูกฝิ่น ซึ่งนับได้ว่า ม้งแต่ละครัวเรือนแห่งนี้มีรายได้จากการปลูกฝิ่นมากกว่าการเพาะปลูกพืชชนิดอื่นและอาชีพอื่น ๆ รวมกัน ทำให้ม้งบ้านป่ากล้วยมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการเพิ่มผลผลิตของฝิ่น ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช

Focus

เป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา ที่เป็นข้อมูลทางประชากรทั่วไป ทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนม้ง

Theoretical Issues

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงแนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา กล่าวแต่เพียงการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ตามหัวข้อในแบบสอบถาม

Ethnic Group in the Focus

ทำการเก็บข้อมูลจากม้ง (ตามภาษาของผู้เขียน) หมู่บ้านป่ากล้วย ต.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

กล่าวถึงแต่เพียงการใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดีทั้งผู้หญิงและผู้ชายเนื่องจากการติดต่อค้าขายกับคนไทยพื้นราบมาเป็นเวลานาน (หน้า 19)

Study Period (Data Collection)

ผู้เขียนเริ่มทำการเก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 2526 ถึง 5 ธ.ค. 2526 (หน้า คำนำ)

History of the Group and Community

เริ่มมีการอพยพเข้ามาตั้งแต่ปี 2518 ตั้งชื่อว่าป่ากล้วย หรือ หางเจ๊อ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าในหมู่บ้าน กลุ่มของเลาพะอพยพเข้ามาประเทศไทย มีประมาณ 100 กว่าหลังคาเรือน มีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่บ่อยครั้งภายในจังหวัดเชียงใหม่ หรือเชียงราย เช่น ที่อ.เชียงดาว, อ.สะเมิง, อ.เวียงป่าเป้า (จ.เชียงราย) อ.แม่แตง อ.สันป่าตอง อ.บ้านหลวง, อ.จอมทอง จนประมาณ พ.ศ. 2482 แซ่ตระกูล 3 แซ่ คือ แซ่วะ แซ่ยะ และแซ่ลี ตั้งหมู่บ้านที่ขุนกลาง ได้ 30 กว่าปีได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านที่บ้านห้วยมะนาวเหนือ ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง จนประทั่งปี พ.ศ. 2503 มีการชักชวนม้งทั่วประเทศให้รวมตัวเพื่อตั้งประเทศโดยมีกษัตริย์ม้งอยู่ที่ประเทศลาว กลุ่มม้งจากห้วยมะนาวก็เชื่อตามคำชักชวน จึงพากันอพยพไปตั้งหมู่บ้านใหม่ที่บ้านผักผาย อ.เทิง จ.เชียงราย ได้ประมาณ 9 เดือน ก็หมดความเชื่อถือจึงกลับไปตั้งบ้านเรือนใหม่ที่บ้านห้วยมะนาวใต้ บางครอบครัวอพยพมาสู่บ้านป่ากล้วยในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2518 ต่อมากลุ่มที่บ้านแม่โก๋นก็กลับมาสมทบอีก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับพวกมูเซอ ในปี พ.ศ. 2524 มีการย้ายกลับไปที่บ้านป่ากล้วยอีกครั้ง (หน้า 11-12, ดังแผนที่เส้นทางการอพยพ หน้า 13)

Settlement Pattern

มีการสร้างบ้านทั้งในลักษณะดั้งเดิมประจำเผ่าและแบบสมัยใหม่แบบคนไทยทั่วไป ลักษณะต่าง ๆ ของแบบบ้านเป็นลักษณะเด่น ดังนี้ (หน้า 9-10) - พื้นเรือน ได้แก่ เป็นดิน ลาดด้วยซีเมนต์ หรือยกพื้นสูง - ฝาบ้าน สร้างด้วยวัสดุที่หาได้ใกล้เคียงหมู่บ้าน ซึ่งอาจทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ, ไม้ถากแบบเก่าของม้ง, ไม้เลื่อย, แบบผสมไม้ถากและไม้เลื่อย - หลังคา อาจทำขึ้นด้วยวัสดุประจำถิ่นหรือซื้อจากตลาด ได้แก่ หญ้าคา, แผ่นไม้เกล็ด, สังกะสี, กระเบื้องลอน - หน้าต่าง โดยทั่วไปบ้านที่สร้างแบบประจำเผ่าจะไม่มีหน้าต่าง แต่ที่นี่มีการสร้างหน้าต่างหลายครัวเรือน

Demography

ในปี พ.ศ. 2526 ประกอบด้วย 64 ครัวเรือน 91 ครอบครัว มีจำนวนประชากร 450 คน โดยแยกเป็นเพศชาย 241 คน เพศหญิง 209 คน ซึ่งมีประชากรในกลุ่มอายุน้อยอยู่เป็นจำนวนมากกว่าประชากรวัยแรงงานและวัยชรา (หน้า 18,20) การย้ายถิ่น - มีการย้ายออกมากกว่าการย้ายเข้า เนื่องกจากการแต่งงานกับคนต่างหมู่บ้านโดยฝ่ายหญิงบ้านป่ากล้วยแต่งงานกีบผู้ชายหมู่บ้านอื่นก็จะอพยพตามสามีไป อัตราการเกิด - คิดเป็นร้อยละ 3.77 ในปี 2526 ซึ่งเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง อัตราการตาย - คิดเป็นร้อยละ 0.22 ในปี 2526 ซึ่งนับว่าต่ำมาก ดังนั้นการเพิ่มจำนวนประชากรตามธรรมชาติของบ้านป่ากล้วยจึงมาจากจำนวนคนเกิดมากกว่าจำนวนคนตาย (หน้า 23-24)

Economy

อาชีพเกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านป่ากล้วย โดยพืชที่เพาะปลูก ได้แก่ การทำนาดำ, ไร่ข้าว, ฝิ่น, ข้าวโพด, ถั่วแดง, กาแฟ, ท้อ, มันฝรั่ง, ผักชี เป็นต้น ผู้วิจัยพบว่าปริมาณการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นเรื่อย (ตั้งแต่ปี 2525-2527) จนสูงถึง 95.3 ของครัวเรือนรวม หรือมีพื้นที่ในการปลูก ราว ๆ 584.375 ไร่ จากการสำรวจภาคสนามและภาพถ่ายทางอากาศ โดยมีรายได้จากการขายฝิ่นถือเป็นจำนวนเงินที่มากกว่าการขายพืชที่ปลูกชนิดอื่น ๆ เช่น ท้อ มันฝรั่ง หอมแดง เป็นต้น ส่วนข้าวหรือพืชบางชนิดมีไว้บริโภคในครัวเรือนและใช้ในการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ อาชีพรองที่ชาวบ้านป่ากล้วยทำกัน ได้แก่ รับจ้าง, ค้าขาย, ขนส่ง อุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งเป็นงานตีเหล็ก และการเก็บของป่าขาย จากการสัมภาษณ์ของผู้วิจัยกับผู้นำหมู่บ้านคนหนึ่ง ทำให้ทราบว่า มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชและปุ๋ยอย่างมากกับการปลูกฝิ่น เพื่อให้ได้ให้ได้ผลผลิตดี โดยอัตราการใช้ปุ๋ย 1 กระสอบ (50 ก.ก.) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ (หน้า 24-38)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

หัวหน้าหมู่บ้านคนปัจจุบัน (ปี 2526) ชาวบ้านเลือกขึ้นเอง ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการแต่ก็ยอมรับในการติดต่อกับทางราชการ การติดต่อกับหน่วยงานราชการ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินโครงการปลูกพืชทดแทนและการตลาดพื้นที่สูง ไทย - สหประชาชาติ (HAMP) โดยส่งเสริมให้ปลูก กาแฟ ถั่วแดง กระทียม หอมแดง ผักและผลไม้ (หน้า 8-9)

Belief System

ชาวบ้านส่วนใหญ่ซึ่งเป็นม้งยังยึดมั่นในความเชื่อแบบดั้งเดิม คือ นับถือผี ส่วนศาสนาพุทธ นั้นได้แก่คนไทยและจีนฮ่อที่อาศัยอยู่ ยังมีบางส่วนที่นับถือคริสตศาสนาซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพไปยังที่อื่น (หน้า 18)

Education and Socialization

กรมประชาสงเคราะห์เข้ามาจัดตั้งโรงเรียนชั่วคราวในปี 2524 โดยมีครูประจำ 1 คน เจ้าหน้าที่อนามัยปฏิบัติงานประจำอยู่อีก 1 คน เมื่อปี 2525 ทางการประถมศึกษาได้ส่งครูมาช่วยสอนระดับประถมศึกษาและเปิดทำการอย่างเป็นทางการ และในปี 2526 กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้จัดสอนการศึกษาผู้ใหญ่อีกด้วย (หน้า 5)

Health and Medicine

ผู้วิจัยกล่าวถึงภาวะการเสพฝิ่นติด อันมีสาเหตุจากการเจ็บป่วยและอยากลองหรือตามเพื่อน โดยมีจำนวนผู้เสพย์ติด 19 รายในจำนวนทั้งหมดนี้มีผู้เคนเข้ารับการบำบัดรักษาจากโรงพยาบาลต่าง ๆ มาแล้ว บางรายยังมีความประสงค์จะเข้ารับการบำบัดรักษาอีกด้วย (หน้า 48, 51)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

บ้านป่ากล้วยมีหมู่บ้านใกล้เคียงสามารถติดต่อกันได้โดยทางรถยนต์ คือ บ้านหนองอาบช้าง, บ้านห้วยขนุน 2, บ้านห้วยขนุน1, บ้านส้มป่อย ส่วนการติดต่อซื้อขายสินค้านั้น บ้านป่ากล้วยจะติดต่อโดยตรงกับตลาดอำเภอจอมทอง และตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่ (หน้า 8) จากการตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันของเชื้อชาติต่างๆ คือ ม้ง ไทย กะเหรี่ยง ลีซอ จีนฮ่อ และอีก้อ ทำให้มีการแต่งงานผสมผสานกันไป โดยเผ่าม้งเป็นเชื้อชาติหลัก ได้แต่งงานกับคนไทยทั้งชายและหญิง กะเหรี่ยงอาศัยอยู่ในชุมชนเนื่องจากเข้ามาทำงานแล้วแต่งงานกับคนไทย ลีซอแต่งงานกับจีนฮ่อที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้ ส่วนอีก้อนั้นได้เข้าร่วมกับชุมชนม้งขณะที่ตั้งถิ่นฐานที่อำเภอพร้าวก่อนแยกตัวอพยพไปยังบ้านป่ากล้วยเพื่อตั้งครอบครัวอยู่รวมด้วยกัน (หน้า 18)

Social Cultural and Identity Change

การเปลี่ยนแปลงลักษณะที่อยู่อาศัยของชุมชนม้งจากลักษณะดั้งเดิมที่ใช้วัสดุในพื้นที่เป็นหลักมาเป็นแบบสมัยใหม่ตามแบบคนพื้นราบและใช้วัสดุสมัยใหม่จากตลาดมากขึ้น (หน้า 10)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่เส้นทางเข้าสู่หมู่บ้านป่ากล้วย (หน้า 6) แผนที่เส้นทางการอพยพของบ้านป่ากล้วย (หน้า 13) แผนผังบ้านป่ากล้วย (หน้า17) ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากร (หน้า 21) ตารางที่ 2 พื้นที่การเกษตรและผลผลิตปี 2525-2526 ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบภาวะการผลิตฝิ่นของหมู่บ้านม้ง 3 หมู่บ้าน (หน้า 28) ตารางที่ 13 การเสพฝิ่นติด (หน้า 49)

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตนรักษ์ Date of Report 13 ก.พ. 2548
TAG ม้ง, สังคม, เศรษฐกิจ, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง