สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เย้า,เครื่องเงิน,เครื่องประดับ,เชียงใหม่,ภาคเหนือ
Author สุปราณี เปียวิเศษ
Title เครื่องเงินเย้าหมู่บ้านปางควาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 88 Year 2540
Source หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศิลปะไทย) ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

เครื่องเงินเย้าสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชนเผ่าเย้า แต่ละประเภทออกแบบให้มีความเหมาะสมกับการสวมใส่ในโอกาสต่างๆ อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อ และข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ลวดลายดังกล่าวล้วนได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติรอบๆ ตัว ทั้งนี้ในการออกแบบลวดลายยังขึ้นอยู่กับรูปแบบและรูปทรงของเครื่องเงินแต่ละประเภท รวมถึงค่านิยมและความเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ลวดลายของผู้ผลิต จนกระทั่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยในการประดิษฐ์ลวดลายช่างจะใช้เทคนิคการตอกลวดลายเป็นหลัก และจะใช้เทคนิคการดุนเพื่อสร้างลวดลายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังพบการใช้เทคนิคจากเครื่องมือสร้างลวดลายเลขาคณิตเป็นตัวเชื่อมลายอื่นๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งลักษณะเช่นนี้ยังคล้ายคลึงกับลวดลายที่พบบนผ้าปักเย้าอีกด้วย (หน้า 75-85)

Focus

ศึกษาประวัติความเป็นมา กระบวนการผลิต พัฒนาการด้านรูปแบบและลวดลาย ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหัตถกรรมเครื่องเงินเย้ากับพิธีกรรมและวัฒนธรรม ที่หมู่บ้านปางควาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 2)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เย้าหมู่บ้านปางควาย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาเย้าใช้ตัวหนังสือจีนเป็นภาษาเขียน และอ่านเป็นภาษาเย้า มีวรรณยุกต์เสียงสูงเสียงต่ำ บางคำคล้ายภาษาแม้ว ยกตัวอย่างคำศัพท์ เช่น บุ๊ง-กระดูก, คัมปุ้ย-แก้ม, ซุจ๋าว-ขา เท้า, มุ่งม่าย-คิ้ว, มุจิ้ง บีเอ-ขนตา อย่างไรก็ดีพบว่าเย้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยบางส่วนสามารถอ่าน เขียนภาษาจีนกลางได้เป็นอย่างดี (หน้า 13-14)

Study Period (Data Collection)

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2539 ถึงเดือนตุลาคม 2540 โดยเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2540

History of the Group and Community

สันนิษฐานว่าบรรพชนของเย้ามีถิ่นฐานอยู่ที่มณฑลฮูหนาน เกี่ยวข้องกับชาวฉางซาหมานและอูหลิงหมาน หนังสือเหลียงซูในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ได้บันทึกถึงชาวป่าม่อเย้า หรือคนที่บังคับไม่ได้ ส่วนคำว่าเย้าไม่เคยปรากฏในเอกสารจีนมาก่อนสมัยราชวงศ์ถัง อย่างไรก็ดีชนเผ่าเย้าในประเทศไทยนั้นอพยพลงมาทางใต้เข้าสู่ตอนเหนือของเวียดนาม ลาว และทางตะวันออกของพม่าบริเวณรัฐเชียงตุง จากนั้นจึงเข้าสู่ประเทศไทยและตั้งถิ่นฐานอยู่บนดอยหลวง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และเมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงมีการอพยพไปตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน และลำปาง (หน้า 11-12) ส่วนเย้ากลุ่มแรกที่หมู่บ้านปางควายอพยพมาจากลาว โดยมีนายโอ่งหว่าง แซ่ฟ่านเป็นผู้นำกลุ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณดอยอ่างขาง และต่อมานายเย่าเฟย แซ่เติ๋นได้นำเย้าอีกกลุ่มหนึ่งจากพม่าเข้ามาสมทบ (หน้า 20)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

หมู่บ้านปางควาย มีนายแดนชัย ปัญญา เป็นผู้ใหญ่บ้าน (พ.ศ.2540) หมู่บ้านนี้เกิดจากการรวม 2 หมู่บ้านเข้าด้วยกัน คือ หมู่บ้านปางควาย มีประชากรชาย 618 คน หญิง 603 คน และหมู่บ้านห้วยขาน มีประชากรชาย 73 คน หญิง 67 คน (หน้า 20)

Economy

อาชีพหลักของครอบครัวเย้าคือ เกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านการทำเครื่องเงินและเย็บปักถักร้อยเสื่อผ้า เพื่อนำไปขายทั้งภายในและภายนอกหมู่บ้าน (หน้า 19-20)

Social Organization

สังคมของเย้าเป็นสังคมแบบดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่จะแต่งงานกันในหมู่เครือญาติ การควบคุมทางสังคมเป็นแบบพ่อกับลูก โดยผู้ชายมีอำนาจควบคุมลูกเมียของตน (หน้า 19)

Political Organization

สังคมของเย้าอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านและมีผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ดูแลปกครอง

Belief System

ชนเผ่าเย้ามีความเชื่อว่าโลกมนุษย์อยู่ภายใต้การปกครองของโลกเทวดา และวิญญาณสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีวิญญาณของผีบรรพบุรุษทำหน้าที่คุ้มครองลูกหลาน ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีพิธีกรรมเชื่อมความสัมพันธ์กับผีเทวดา ผีบรรพบุรุษ และผีทั่วไป เพื่อให้ผีเหล่านั้นปกป้องคุ้มครองและบันดาลให้เกิดแต่งสิ่งดี ๆ (หน้า 18) นอกจากนี้ความเชื่อของชนเผ่าเย้ายังสะท้อนออกมาให้เห็นในงานหัตถกรรมเครื่องเงินดังลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายน้ำเต้า ลายต้นมะพร้าว ลายปลา เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ลายพญานาค เป็นลายดั้งเดิมที่อาจสืบเนื่องมาจากลวดลายมังกร ลายกระดิ่ง เกี่ยวข้องกับเครื่องรางของเย้า โดยจะติดกระดิ่งไว้ที่หมวดของเด็กเพื่อป้องกันผี เป็นต้น (หน้า 82-83)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

หัตถกรรมเครื่องเงินเย้าสามารถจำแนกรูปแบบและเทคนิคการผลิตที่สอดคล้องกับหน้าที่การใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ สร้อยข้อมือ แหวน ต่างหู กำไร และเครื่องเงินที่ใช้ในพิธีกรรม ได้แก่ สร้อยประดับศีรษะ สร้อยประดับด้านหน้า สร้อยประดับด้านหลัง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กระดุม กำไร ต่างหู แหวน และพู่ไหมสีแดง เอกลักษณ์ของเครื่องเงินเย้า คือ การใช้เทคนิคการตอกลายกับเครื่องเงินทุกประเภท เนื่องจากเป็นเทคนิคที่ไม่ทำให้เกิดความรำคาญแก่ผู้สวมใส่ และใช้เทคนิคการดุนเพื่อเสริมลวดลาย ลวดลายที่นิยมมีทั้งที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ และสิ่งที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ลายแมงมุมหรือจิงโจ้น้ำ นก ผีเสื้อ พญานาค ปลา ลายน้ำเต้า ต้นมะพร้าว ดอกทานตะวัน เกสรดอกไม้ ลายกระบอก ไม้แคะหู ไม้จิ้มฟัน มีด ดาบ และลายกระดิ่ง เป็นต้น โดยลายกระดิ่งนั้นถือเป็นลายสำคัญของเทคนิคการดุน เนื่องจากใช้เชื่อมติดกับเครื่องเงินประเภทต่างๆ ที่มีกระดิ่งเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ยังพบเทคนิคการใช้เครื่องมือสร้างลวดลายเลขาคณิตเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมลายอื่น ๆ เข้าด้วยกัน (หน้า 32-40, 61-73)

Folklore

มีตำนานเกี่ยวกับกำเนิดชนเผ่าเย้าสองเรื่อง เรื่องแรกกล่าวถึงกำเนิดเของเย้าจากเมล็ดฟักทอง กล่าวว่านานมาแล้วมีเทวดาเปี้ยนโกฮูงเป็นผู้สร้างโลก สวรรค์ และมนุษย์ชายหญิง อยู่มาวันหนึ่งได้เกิดน้ำท่วมโลก ทำให้ผู้คนล้มตาย เหลือเพียงหญิงชายคู่หนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เมื่อโลกกลับเข้าสู่สภาวะปกติทั้งสองจึงได้เสาะแสวงหาเพื่อนมนุษย์ จนมาพบกับเทวดาที่แปลงกายเป็นชายชราและบอกให้พี่น้องคู่นี้แต่งงานกันเพื่อสร้างมนุษย์ต่อไป เมื่อทั้งสองร่วมเป็นสามีภรรยากันแล้ว น้องสาวผู้เป็นภรรยาได้ตั้งครรภ์ให้กำเนิดลูกฟักและมีเทพธิดาองค์หนึ่งเสด็จลงมาผ่าลูกฟัก จากนั้นได้สั่งให้พี่ชายผู้เป็นสามีโยนเมล็ดฟักลงบนที่ราบและโยนเนื้อฟักขึ้นไปบนดอย แต่ได้เกิดอุบัติเหตุทำให้พี่ชายเกิดความสับสนจึงโยนเนื้อฟักลงบนที่ราบ กลายเป็นคนพื้นราบ และโยนเมล็ดฟักขึ้นไปบนดอย กลายเป็นคนเย้าและชาวเขาเผ่าต่างๆ 6 คู่ ซึ่งต่อมาได้เป็นบรรพบุรุษของชาวดอย จนกระทั่งวันหนึ่งเกิดฝนแล้ง ผู้คนทยอยล้มตาย เย้ากลุ่มหนึ่งจึงได้แล่นเรือข้ามทะเล หมายจะไปหาแผ่นดินใหม่ ในจำนวนนั้นมีเรือลำหนึ่งลอยขึ้นไปอยู่บนสวรรค์และมีชีวิตอมตะ ส่วนลำเรือได้ถูกกระแสน้ำพัดตกลงสู่สะดือทะเล ทำให้พวกเย้าที่ออกเดินทางมาด้วยกันและเห็นเหตุการณ์ตกใจกลัว จึงบนบาลให้ผีสาวดาวช่วยจนกระทั่งมาถึงฝั่งที่อำเภอเลาะเชียง จังหวัดเล่าเจี้ยว มณฑลกวางตุ้ง จึงแยกย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามดอยต่างๆ และเป็นบรรพบุรุษของเย้า 12 ตระกูล ได้แก่ ตระกูลแซ่เติน แซ่ฟ่าน แซ่จ๋าว แซ่ฟ่ง แซ่ลี้ แซ่หยั้ง แซ่เจียว แซ่จั้น แซ่ว่าง แซ่ลิ่ว แซ่ฉิ้น และแซ่ต้อง (หน้า 14-16) อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่ามีสามีภรรยาเผ่าเย้าคู่หนึ่งอยู่ด้วยกันมานานแล้วแต่ยังไม่มีบุตรสืบสกุล สามีจึงโทษภรรยา เธอเสียใจอย่างมากจึงเดินออกจากบ้านจนได้มาพบกับชายชราและเล่าความทุกข์ให้ชายผู้นั้นฟัง ชายชราได้ให้ผลไม้ 12 กลีบเพื่อให้หญิงผู้นั้นนำไปให้สามีรับประทาน ในที่สุดภรรยาก็ตั้งครรภ์และคลอดบุตรออกมา 12 คน ซึ่งเป็นผู้มีพละกำลังและอยู่ยงคงกะพัน ทำให้กษัตริย์จีนเกิดความเกรงกลัวถึงกับยอมยกลูกสาวและบ้านเมืองให้ปกครอง นอกจากนี้ หัวเมืองต่างๆ ยังพากันนอบน้อม จนกระทั่งพี่น้อง 12 คน เกิดทะนงในอำนาจของตนและขึ้นไปสู้รบกับเทวดาบนสวรรค์ แต่พ่ายแพ้จนต้องตาย แม้แต่วิญญาณก็ยังไม่มีที่จุติ เทวดาเกิดความสงสารจึงอบรมสั่งสอนและให้ทำหน้าที่เป็นผู้คอยบันทึกตรวจสอบความประพฤติของมนุษย์ที่ตายไปแล้ว เพื่อส่งไปรับผลบุญและกรรมที่กระทำไว้ (หน้า 16-18)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชนเผ่าเย้าเรียกตนเองว่าเมี่ยนหรืออิวเมี่ยน อยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนาน ฮุนหนำ และกวางลีในประเทศจีน ในจดหมายเหตุจีนโบราณสันนิษฐานว่า เย้าอาจเป็นกลุ่มเดียวกับเย้า-เร็น (Yao-Ren) ในลุ่มน้ำจีนตอนใต้ และได้รับการขนานนามต่าง ๆ เช่น สมัยราชวงศ์ชู เรียก เชียงแมน สมัยราชวงศ์ถังและซุง เรียก ตุงแมน ธีแมน และแมน สมัยราชวงศ์หยวน เรียก แม้วมน บ้างก็เรียก Man หรือ Nan Man หมายถึงคนป่าเถื่อนทางใต้ ซันจือ หมายถึงบุตรของภูเขา และพ่าน หู ซุง หมายถึงเชื้อสายของพ่านหู สามารถจำแนกตามความแตกต่างทางวัฒนธรรมเย้าเป็นกลุ่มย่อย ๆ เช่น แพนเย้า (Pan Yao) คือกลุ่มที่มีอาชีพแกะสลักไม้ ฮุงเย้า (Hung Yao) คือกลุ่มที่พันศีรษะด้วยผ้าแดง นานเติงเย้า (Nan Ting Yao) คือกลุ่มที่สวมเสื้อสีน้ำเงินล้วน เป็นต้น ในประเทศไทยพบฮุงเย้าเพียงกลุ่มเดียว ชนเผ่าเย้ามีความเชื่อบางอย่างที่เป็น Totem ร่วมกัน คือ เชื่อว่าพวกตนสืบบรรพบุรุษมาจากพันฮู และไม่ยอมกินเนื้อสุนัขหรือเนื้อบางชนิด (หน้า 11-13, 19)

Social Cultural and Identity Change

ในอดีตกระบวนการผลิตเครื่องเงินเย้าจะมีการประดับตกแต่งลวดลายและรูปทรงตามความเหมาะสมและประโยชน์ใช้สอยในแต่ละโอกาส แต่ปัจจุบันเครื่องเงินเย้าเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวและนักสะสมโดยทั่วไป กระบวนการผลิตจึงเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนดังกล่าว และจากการติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้าและรับวัฒนธรรมจากภายนอกทำให้เครื่องเงินมีการพัฒนารูปแบบจากเดิม โดยจะพบลายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อน้อยลง รวมถึงมีการนำลายกระดิ่งมาพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับเครื่องเงินแต่ละประเภท รูปแบบของกำไรถูกพัฒนาให้มีตุ้งติ้งประดับ ห่วงคอจากเดิมที่เป็นชั้นเดียวก็พัฒนาให้เป็นห้าชั้น ส่วนเครื่องเงินที่มีอายุเก่าแก่นั้นค่อนข้างจะหาได้ยาก เนื่องจากถูกรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์และตามร้านค้าโบราณวัตถุ (หน้า 82-84)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้ใช้แผนผัง ตาราง และภาพลายเส้นประกอบการวิเคราะห์เชิงปริมาณและคุณภาพในรายงานการวิจัย ได้แก่ แผนผังการสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ของชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย (หน้า 27) ตารางแสดงอายุ ประเภท และจำนวนเครื่องเงิน (หน้า 42-46) ตารางแสดงจำนวนลวดลายของเครื่องประดับแต่ละประเภท (หน้า 48-55, 57, 59-60) ภาพลายเส้นของเครื่องประดับ (หน้า 61-71) ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคลวดลายกับประเภทของเครื่องเงิน (หน้า 77) ตารางแสดงจำนวนเครื่องเงินแต่ละประเภทที่ใช้เทคนิคการตอกและเทคนิคการดุน (หน้า 78) ตารางข้อมูลเชิงปริมาณในการจำแนกลวดลายเครื่องประดับแต่ละประเภท (หน้า 80) ตารางแสดงจำนวนลวดลายที่พบมากที่สุดและน้อยที่สุดของเทคนิคการตอกและการดุนบนเครื่องเงินประเภทต่าง ๆ (หน้า 81-82)

Text Analyst ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG เย้า, เครื่องเงิน, เครื่องประดับ, เชียงใหม่, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง