สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เวียต,ญวน,เวียดนาม,ความเชื่อ,สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม,การบริโภค,นครพนม
Author นุชนงค์ อุเทศพรรัตนกุล
Title วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองนครพนม
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity เวียด เหวียตเกี่ยว ไทยใหม่, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 129 Year 2544
Source สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (กลุ่มมนุษยศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

งานวิจัยนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนญวนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ซึ่งการบริโภคอาหารของคนญวนส่วนหนึ่งได้รับเอาวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยในท้องถิ่นมาผสมผสานกับการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันของคนญวนเอง เป็นการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของคนในสังคม แต่อย่างไรก็ดี การบริโภคอาหารของคนญวนในเทศบาลเมืองนครพนม ส่วนใหญ่ก็ยังคงรักษารูปแบบลักษณะการบริโภคอาหารตามประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ของชนชาติไว้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตตามคติความเชื่อที่มีอยู่เดิม ทำให้การบริโภคอาหารของคนญวนยังคงมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าต้องมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ก็ตาม

Focus

ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภคอาหารคนญวนในเขตเทศบาลเมือง นครพนม โดยครอบคลุมประเภทอาหาร รูปแบบการประกอบอาหารเวียดนาม การบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรม คติความเชื่อในการบริโภคอาหาร ตลอดจนสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหาร (หน้า 4,6) ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือ ผู้ประกอบการร้านอาหารเวียดนาม และผู้รู้ที่มีความรู้เรื่องอาหารของชาวเวียดนาม หรือผู้สูงอายุชาวเวียดนามที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม (หน้า 6)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนได้ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า "ญวน" ในจังหวัดนครพนมโดยจำแนกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ "ญวนเก่า" และ "ญวนอพยพ" ญวนเก่า คือ คนญวนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนานกว่า 100 ปีมาแล้ว ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีบางส่วนที่นับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 22) ส่วนญวนอพยพ คือ คนญวนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองเวียดนามและลาวได้สำเร็จ คนญวนกลุ่มนี้ทนถูกกดขี่ข่มเหงไม่ไหว จึงได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมายังจังหวัดนครพนม (หน้า 23)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้ศึกษาไม่ได้ระบุชัดเจนกล่าวเพียงแต่ว่ามีการพูดภาษาญวนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญวน (หน้า 4)

Study Period (Data Collection)

ผู้ศึกษาระบุว่าได้ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป โดยผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและศึกษาข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของคนญวณในเขตเทศบาลเมืองนครพนม (หน้า 7)

History of the Group and Community

คนเวียดนามหรือคนญวนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมี 2 พวก คือ พวกที่อพยพเข้ามาแต่เดิมโดยอพยพเข้ามาในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เข้าสู่ประเทศไทย เนื่องจากได้รับการกดขี่ข่มเหงจากผู้ปกครองประเทศ และพวกที่อพยพลี้ภัยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพวกที่อพยพเข้ามาใหม่ภายหลังจากประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม และในปี พ.ศ. 2489 ประเทศฝรั่งเศสได้บุกเข้ายึดครองประเทศเวียดนามและประเทศลาว (หน้า 1) คนญวนบางส่วนในขณะนั้นจึงได้อพยพมาจากประเทศเวียดนามและประเทศลาวข้ามน้ำโขงมายังฝั่งไทยและอยู่อาศัยกระจายอยู่หลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย อุดรธานี มุกดาหาร อุบลราชธานี สกลนครและนครพนม สำหรับญวนอพยพที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนมมีอยู่ทั่ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มญวนเก่าและที่อพยพเข้ามาใหม่โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตบ้านนาจอก บ้านดอนโมง และบ้านโพนบก (หน้า 2)

Settlement Pattern

ผู้เขียนไม่ได้ระบุข้อมูลลักษณะการตั้งบ้านเรือนไว้อย่างชัดเจน กล่าวไว้เพียงว่า การสร้างชุมชนจะสร้างบ้านเรือนอยู่ติดกันเป็นแนว โดยคนญวนอพยพได้ตั้งถิ่นฐานกระจุกตัวกันใน 4 ชุมชน คือ ชุมชนหอนาฬิกา ชุมชนตลาด ชุมชนวัดศรีเทพ และชุมชนหนองแสง ซึ่งทั้งหมดอยู่ในเขตเทศบาลเมือง (หน้า 27) และการสร้างชุมชนจะสร้างบ้านเรือนอยู่ติดกันเป็นแนว (หน้า 24)

Demography

คนญวนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านโพนบก มีอยู่ประมาณ 100 หลังคาเรือน (หน้า 24) และคนญวนที่อาศัยอยู่ในชุมชนหอนาฬิกา โดยแยกเป็นคุ้ม คือ คุ้มไร่ยาสูบมีคนญวนอาศัยอยู่ประมาณ 50 หลังคาเรือน คุ้มหอนาฬิกามีคนญวณอาศัยอยู่ประมาณ 100 หลังคาเรือน และคุ้มซอยโรงแรมวินเซอร์มีคนญวนอาศัยอยู่ประมาณ 30 หลังคาเรือน (หน้า 27)

Economy

ลักษณะการประกอบอาชีพของคนญวนในจังหวัดนครพนม แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ อาชีพรับราชการและไม่ได้รับราชการ ในส่วนที่รับราชการส่วนใหญ่เป็นครู อาจารย์ แพทย์ พยาบาล เป็นต้น (หน้า 31) ในส่วนที่ไม่ได้รับราชการจะประกอบอาชีพทางการเกษตร ค้าขาย งานช่างต่างๆ เช่น ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างยนต์ ช่างกลึง ช่างไดนาโม ช่างนาฬิกา ช่างไฟฟ้า ช่างซ่อม ช่างเย็บผ้า เป็นต้น (หน้า 32) การที่คนญวนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ค้าขาย และงานช่างประเภทต่างๆ เพราะเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศของไทย ซึ่งมีมรสุมคล้ายคลึงกับเวียดนาม และคนญวนมีความสามารถดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ถือได้ว่าการเลือกประกอบอาชีพของคนญวนเป็นไปตามความชำนาญเฉพาะของคนญวนเอง (หน้า 33) เช่น การทำและจำหน่ายอาหารเวียดนาม เป็นการนำเอาวัฒนธรรมการบริโภคของชนชาติตัวเองที่ติดตัวมาพัฒนาให้เป็นอาชีพในที่สุด (หน้า 32) และด้วยความที่คนญวนมีลักษณะเด่น คือ มีความขยันขันแข็ง มานะอดทน มีความฉลาดในเชิงค้าขาย ตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ประกอบกับรัฐบาลไทยให้สิทธิทำมาหากินโดยเสรี ไม่มีการกีดกันหวงห้ามแต่ประการใด เป็นผลให้คนญวนสามารถสร้างฐานะความเป็นอยู่ของตนให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงเรื่อย ๆ และสามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้เหนือกว่าคนไทยในชุมชนที่เข้าไปตั้งหลักแหล่ง (หน้า 31)

Social Organization

คนญวนในจังหวัดนครพนมอาศัยรวมกันอยู่เป็นชุมชน แต่ออกมาอาศัยทำมาหากินร่วมกับคนไทย (หน้า 33) คนญวนมี สัมพันธภาพที่เหนียวแน่น คบค้าสมาคมกันเฉพาะในหมู่คนญวนด้วยกัน และในสมัยก่อนคนญวนนิยมให้ลูกหลานแต่งงานกับคนญวนด้วยกันเท่านั้น ห้ามแต่งงานกับคนชาติอื่นเด็ดขาด ทั้งนี้เกรงว่าจะถูกชาวบ้านนินทาว่าร้าย และเกรงว่าลูกจะลำบาก แต่ในปัจจุบันทัศนคติดังกล่าวเริ่มเสื่อมคลายลง เนื่องจากลูกหลานคนญวนรุ่นใหม่มีการศึกษา และมีการพบปะกับคนนอกสังคมของตนเองทำให้มีทัศนคติที่แตกต่างออกไปจากคนรุ่นเก่า แต่อย่างไรก็ดี ยังมีบางครอบครัวที่ยังมีทัศนคติเช่นเดิม คือ ห้ามไปแต่งงานกับคนไทยเด็ดขาด จะแต่งงานได้เฉพาะกับคนญวนด้วยกันเท่านั้น (หน้า 34)

Political Organization

ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงระบบการปกครองของคนญวนไว้อย่างชัดเจน กล่าวเพียงว่า คนญวนได้อพยพมาจากประเทศเวียดนามและประเทศลาวข้ามลำน้ำโขงมายังฝั่งไทยและได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยด้วยดี

Belief System

ด้านศาสนา คนญวนในจังหวัดนครพนมส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งจะมีพิธีกรรมต่างๆ ตามศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนคนญวนที่นับถือศาสนาพุทธก็มีความเชื่อแบบคนไทยทั่วไป แต่คละกันไปกับความเชื่อ และพิธีกรรมของพุทธมหายาน เพราะคนเวียดนามได้รับการถ่ายทอดความเชื่อในลัทธิใหญ่ๆ จากจีน 3 ลัทธิ คือ ขงจื้อ พุทธมหายาน และเต๋า เมื่ออพยพมาอาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม จึงนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีและชีวิตประจำวันตามความเชื่อในแบบจีนเข้ามาด้วย ดังนั้น ศาสนาพุทธมหายานที่คนญวนในจังหวัดนครพนมปฏิบัตินั้น จึงปะปนความเชื่อเรื่องความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา และบูชาบรรพบุรุษซึ่งมีรากฐานจากลัทธิขงจื้อด้วย (หน้า 35) ประเพณีพิธีกรรม คนญวนจะมีความเชื่อเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันเทศกาลและประเพณีต่าง ๆ ดังนี้ - เทศกาลวันตรุษญวน จะมีการไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งจะทำพิธีไหว้ 2 วัน คือ วันแรกและวันที่สอง ส่วนวันที่สามเป็นวันเที่ยวจะมีการเฉลิมฉลองอย่างครึกครื้นโดยไม่มีการทำงานและเปิดร้านขายของแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีการไหว้คนตายในสุสานด้วยเพื่อไหว้คนตายที่ไม่มีญาติ - ประเพณีวันสารทจีน จะมีการไหว้บรรพบุรุษเพื่อขอพรให้ช่วยปกปักรักษาลูกหลาน ให้ร่มเย็น ทำมาค้าขายร่ำรวย - เทศกาลไหว้พระจันทร์ คือการไหว้คนตายที่ไม่มีญาติ เพื่อให้ไปเกิด มีการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ของใช้ไปให้ - พิธีแต่งงาน มีความเชื่อว่าห้ามบริโภคเนื้อสุนัขและเนื้อแมวเพราะจะนำโชคร้ายมาให้ - พิธีศพ คนญวนจะเก็บศพไว้ที่บ้าน 7 วัน ลูกหลานจะต้องกินข้าวกับเกลือจนกว่าศพจะออกจากบ้าน ภายหลังจึงบริโภคอาหารแห้งและห้ามบริโภคอาหารที่เป็นเส้น เช่น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น รวมถึงผักที่เป็นเยื่อเถา ประเภทบวบ ฟัก เป็นต้น และหากมีผู้บริโภคอาหารดังกล่าวจะทำให้เสียชีวิตตามไปด้วย นอกจากนี้เวลาหามศพ พ่อ แม่ ต้องให้ลูกสาว ลูกชาย นอนต่อกันเป็นทางยาวจนถึงหน้าประตูบ้านแล้วหามศพข้ามลูกไปจนถึงหน้าบ้าน ถือว่าเป็นการส่งบิดามารดาครั้งสุดท้าย พิธีกงเต็ก จะจำลองสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยกระดาษเช่น บ้านเรือน รถยนต์ เสื้อผ้า คนรับใช้ เป็นต้น เผาไปพร้อมกับกระดาษเงินกระดาษทองเพราะเชื่อว่าผู้ตายจะได้นำไปใช้ในภพหน้า (หน้า 37) นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้กล่าวถึงความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกสิ่งของ อาหาร ที่นำมาใช้ในพิธีกรรม ดังนี้ - ความเชื่อเกี่ยวกับข้าว คนญวนจะใช้ข้าวเหนียวในการไหว้ผีบรรพบุรุษเท่านั้น (หน้า 82) - ความเชื่อเกี่ยวกับเนื้อ คนญวนไม่นิยมนำเนื้อวัว ควายมาเซ่นไหว้เพราะเป็นสัตว์ใหญ่ใช้แรงงาน มีบุญคุณต่อมนุษย์ดังนั้นหากนำมาไหว้จะเกิดเหตุร้ายต่อคนในครอบครัว - การไหว้แต่ละครั้งนิยมนำเครื่องในหมูเซ่นไหว้ เพราะเชื่อว่าถ้าไม่มีเครื่องในหมูเซ่นไหว้เป็นการบกพร่องต่อหน้าที่การเป็นลูกหลาน และการนำไก่มาเซ่นไหว้จะต้องเป็นไก่ตัวผู้เท่านั้น โดยเฉพาะถ้าหากขาไก่มีสีเหลือง และตัวอ้วนจะหมายถึงความเป็นสิริมงคล ค้าขายร่ำรวย มีเงินทองมาก แต่ไม่เซ่นด้วยไก่ตัวเมีย เพราะไก่ตัวเมียเปรียบเสมือนผู้หญิงเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคร้าย - ความเชื่อเกี่ยวกับสุรา มีความเชื่อว่าสุรากลั่น 40 ดีกรี เหล้าขาว หรือเบียร์ มีความบริสุทธิ์เหนือน้ำอื่นใด เพราะผ่านกระบวนการกลั่นกรอง จึงนิยมนำมาเซ่นไหว้น อกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าเมื่อไหว้บรรพบุรุษจะขาดหมากพลูไม่ได้ และกับข้าวที่นำมาเซ่นไหว้นิยมใช้ แกงจืดวุ้นเส้น ผัดผักหมูยอ แหนม หรือกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบรับประทานครั้งยังมีชีวิตอยู่ เชื่อว่าเมื่อนำมาเซ่นไหว้ จะอยู่เย็นเป็นสุข ค้าขายร่ำรวย (หน้า 83-84) นอกจากนี้ชาวญวนในจังหวัดนครพนมยังมีคติความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามสำหรับการรับประทาน ดังนี้ - ข้อห้ามสำหรับเด็ก เช่น ห้ามเด็กรับประทานไข่ร้างรัง เพราะจะทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่เก่ง ห้ามเด็กรับประทานตีนไก่ เพราะจะทำให้ลายมือไม่สวยเหมือนไก่เขี่ย เป็นต้น - ข้อห้ามสำหรับผู้ป่วย เช่น ห้ามรับประทานผักชะอมและผักกระเฉด เพราะจะทำให้ปวดเมื่อยทางร่างกาย เป็นต้น - ข้อห้ามสำหรับหญิงมีครรภ์ เช่น ห้ามดื่มกาแฟเพราะจะทำให้ลูกผิวไม่สวย ห้ามรับประทานข้าวก้นหม้อเพราะจะทำให้คลอดลูกยาก เป็นต้น

Education and Socialization

กลุ่มคนญวนเก่าเป็นกลุ่มที่ประกอบอาชีพรับราชการมากที่สุด เพราะถือว่าเป็นคนไทยย่อมได้รับสิทธิเท่าเทียมคนไทยทุกประการ และความรู้สึกของคนเหล่านี้ไม่แตกต่างไปจากคนไทย ดังนั้น จึงนิยมส่งบุตรหลานให้ร่ำเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือปริญญาโท หรือสูงกว่านั้น แต่ตามกฎหมายคนญวนอพยพเรียนจบสูงสุดได้เพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทำให้ญวนอพยพที่มองการณ์ไกลถึงอนาคตของบุตรหลาน ยกบุตรของตนให้เป็นบุตรของคนไทย หรือให้เป็นบุตรบุญธรรม เพื่อให้ได้สิทธิเท่าเทียมคนไทย ปัจจุบันบุคคลเหล่านี้รับราชการในสังกัดกระทรวงต่าง ๆ ปกครองพลเมืองไทยอยู่เป็นจำนวนมาก (หน้า 34)

Health and Medicine

ผู้เขียนไม่ได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลมีเพียงคติข้อห้ามในการบริโภคอาหารที่ได้กล่าวไปแล้วเท่านั้น

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

คนญวนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม เป็นคนญวนที่อพยพมาเพื่อลี้ภัยทางการเมืองเพื่อเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากคนไทยในท้องถิ่นเป็นอย่างดี แต่บางอย่างอาจไม่เท่าเทียมคนไทยนัก เช่น เรื่องการศึกษา หรือการประกอบอาชีพบางอย่าง ทำให้คนญวนบางส่วนจ้างคนไทยมาเป็นเจ้าของกิจการ หรือให้รับบุตรคนญวนเป็นบุตรบุญธรรม (หน้า 34) เพื่อจะได้มีสิทธิเท่าเทียมกับคนไทย นอกจากนี้ คนญวนยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับคนจีน เพราะคนญวนมีการนับถือศาสนาและลัทธิต่างๆ เหมือนคนจีน (หน้า 35) และมีพิธีกรรมต่างๆ คล้ายคลึงกันอีกด้วย เช่น เทศกาลวันตรุษญวน จะตรงกับเทศกาลวันตรุษจีนของทุกปี เทศกาลวันสารทจีน คนญวนก็จะมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษเช่นกัน (หน้า 36)

Social Cultural and Identity Change

คนญวนในปัจจุบันอาจไม่ยึดมั่นในประเพณีดังเดิมเท่าใด ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะคนญวนบางกลุ่มที่ได้เรียนหนังสือ และได้ทำงานในหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน จะคบค้าสมาคมกับกลุ่มอื่นบ้างที่นอกเหนือจากกลุ่มคนญวนด้วยกัน เช่น เพื่อนฝูงที่เรียนหนังสือด้วยกัน หรือทำงานด้วยกัน กล่าวคือ การได้รับวัฒนธรรมใหม่เข้ามามีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมของคนญวนเป็นอย่างมาก เช่น การรับเอาวัฒนธรรมของชาวไทยหรือชาติตะวันตกเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ทัศนคติของคนญวนเริ่มรับรู้ข่าวสารภายนอกมากและที่เห็นได้ชัด คือ การที่ไม่ห้ามลูกสาวหรือลูกชายแต่งงาน กับคนไทย หรือชาติอื่น (หน้า 33-34)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

งานชิ้นนี้เน้นศึกษาวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนญวนในเขตเทศบาลนครพนม พบว่า แหล่งที่มาของอาหาร มีทั้งอาหารที่ผลิตขึ้นเอง ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อ และประเภทผัก การที่คนญวนผลิตอาหารขึ้นเองก็เนื่องมาจากการที่นิสัยอดทน ขยัน และรู้จักพึ่งตนเอง นอกนั้นจะเป็นอาหารที่หาซื้อได้จากท้องตลาด ลักษณะของอาหาร คนญวนนิยมทำอาหารแบบการต้ม และการตุ๋น คล้ายคนจีน บริโภคเนื้อหมูและเนื้อไก่ ข้าวจ้าว และนิยมบริโภคผักชนิดต่างๆ เครื่องดื่มจะดื่มชาตามวัฒนธรรมแบบเวียดนาม ส่วนขนมจะมีขนมขาวยัดไส้ (Banh Dom) ข้าวต้มญวน (Banh Chung) วิธีการประกอบอาหาร การประกอบอาหารของคนญวนจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร เช่น อาหารประเภทข้าว ประเภทแกง ประเภทต้ม ประเภทยำ ประเภทอบหรือตุ๋น ประเภทคั่ว ประเภทผัด ประเภทปิ้งย่าง ประเภททอด เป็นต้น วิธีการจะมีความแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนญวน ถึงแม้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกลุ่ม มีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่เมื่อเข้ามาอยู่อาศัยในท้องถิ่นที่แตกต่างจึงพบว่ามีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานในหลายด้านไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการบริโภคอาหาร

Map/Illustration

แผนผัง 1. แผนผังเขตอาศัยของชาวเวียดนามชุมชนหนองแสง 2 (หน้า 25) 2. แผนที่ชุมชนชาวเวียดนามบ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ (หน้า 26) 3. แผนผังเขตอาศัยของชาวเวียดนามชุมชนวัดศรีเทพ (หน้า 28) 4. แผนผังเขตอาศัยของชาวเวียดนามในชุมชนหอนาฬิกาและชุมชนตลาด (หน้า 29) 5. แผนผังเขตอาศัยของชาวเวียดนามในเขตเทศบาลเมืองนครพนม (หน้า 30)

Text Analyst จตุพร ดอนโสม Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG เวียต, ญวน, เวียดนาม, ความเชื่อ, สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม, การบริโภค, นครพนม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง