สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลัวะ, พิธีกรรม, ความเชื่อ, เกษตรกรรม, ดอยภูคา, น่าน
Author ทวี ประทีปแสง
Title พิธีกรรมและความเชื่อในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของชาวลัวะ บ้านเต๋ยกลาง ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 82 Year 2542
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ลัวะเชื่อว่าเจ้าหลวงภูคาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครองและทำการเกษตรให้ได้ผลดีมีพิธีบวงสรวงเล็กจะจัดทุก 3 ปี ใช้หมูในการเซ่นไหว้ พิธีใหญ่จัดทุก 7 ปีใช้ควาย ในการเซ่นไหว้ ซึ่งคนทั้งหมู่บ้านจะร่วมมือร่วมใจกัน นอกจากนี้ ยังมีการนับถือผี อื่นๆ อีก เช่น ผีป่า ผีไร่ ผีนางไม้ ผีเรือน ผีบรรพบุรุษ ผีเจ้าที่ ฯ ซึ่งผีเหล่านี้จะคอยให้ทั้งคุณและโทษแก่ลัวะ หมอผีจะเป็นคนบอกว่าจะใช้อะไรในการเซ่นไหว้ ในรอบปีจะมีการเลี้ยงผีตามพิธีกรรม 9 ครั้ง ได้แก่ พิธีโสลด พิธีเขี่ยเหล้า ลัวะจะทำไร่แบบหมุนเวียน ในรอบปีการผลิตเกือบทุกขั้นตอนล้วนมีความเชื่อในรูปแบบของศาสนาแฝงอยู่ (หน้า 77)

Focus

เน้นศึกษาถึงประเพณี ความเชื่อ รูปแบบและขั้นตอนของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพการเกษตรของลัวะ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลัวะเป็นชนเผ่าโบราณ กลุ่มภาษาออสโตเอเชียติค ได้รับอิทธิพลกลุ่มภาษามอญ-เขมร คนไทยในจังหวัดน่านและภาครัฐจะเรียกว่า " ถิ่น หรือ คนไปร๊ " หมายถึง คนที่อาศัยในป่าเขา ชาวลาวส่วนมากจะเรียกว่า "ไพ หรือ ข่าไพ" (หน้า 36)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ผู้วิจัยใช้เวลาในการศึกษาวิจัย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2541- เดือนกุมภาพันธ์ 2542 โดยออกภาคสนามเก็บข้อมูลเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2-3 วัน ใช้แบบสอบถามปลายเปิด การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การจดบันทึก การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มใช้ล่ามในการถามตอบ โดยใช้กล้องถ่ายรูป เทปอัดเสียงและกล้องวีดีโอ ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากสถาบันวิจัยชาวเขา จ.เชียงใหม่ จากผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ครูใหญ่ และจากเกษตรกรลัวะ (หน้า 25-26, 77)

History of the Group and Community

ข้อมูลทางราชการบางแห่งถือว่าลัวะเป็นชาวเขา บางแห่งกลับไม่ใช่ คำที่ใช้เรียกลัวะก็ไม่เหมือนกัน วงการประวัติศาสตร์เข้าใจว่า ลัวะ คือ ละว้า อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ความเข้าใจเกี่ยวกับลัวะ ยังคงไม่กระจ่าง นักวิชาการต่างประเทศ เข้าใจว่าชาวเขา "ถิ่น" เป็นคนละพวกกับ "ละว้า" ส่วนวิลเลียม วาย. เดสแซงท์ ระบุว่า เป็นพวก "มาล" ในไทยและลาวอพยพเข้ามาในจังหวัดน่านประมาณ พ.ศ. 2419 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์วิจัยชาวเขา ระบุว่า ชาวเขาเผ่าถิ่น อพยพเข้ามาในไทยยังไม่ถึงร้อยปี โดยอาศัยอยู่ตามต้นน้ำของสาขาแม่น้ำน่าน "ถิ่น" ในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ถิ่นไพร ถิ่นมาดล์และถิ่นอะจูล อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจูน ไม่มีประเพณีประจำเผ่าเหมือน 2 พวกแรก เลิกนับถือผี หันมานับถือศาสนาพุทธ บางหมู่บ้านเรียกตัวเองว่า "ลัวะ" บ้านที่อยู่ห่างไกลเรียกตัวเองว่า "ชาวดอย" แต่ในส่วนกองทัพภาคที่ 3 ที่ควบคุมพื้นที่ ที่พวกถิ่นอาศัยอยู่ จะเรียก "ขมุ" ว่า "ถิ่น" และเรียก "ถิ่น" ว่า "ลัวะ" แต่จากข้อมูลภาคสนามปี 2530 ได้ข้อสรุปว่า "ลัวะ" เป็นชื่อเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ที่เรียกกันมานานแล้ว แต่ชาวพื้นราบเรียกพวกเขาว่า "ถิ่น" ซึ่งมีนัยคล้ายดูถูก พวกเขาถือว่าตัวเองพูดภาษา "ลัวะ" ทางราชการเรียกว่าภาษา "ถิ่น" และจากการสัมภาษณ์ลัวะ ได้ข้อสรุปว่า พวกเขาไม่ได้โยกย้ายมาจากประเทศอื่น อยู่เมืองไทยมาตั้งแต่ดั้งเดิมแล้ว ถ้ามีการย้ายก็ไม่เคยลงจากเทือกเขาหลวงพระบางเลย และยืนยันว่าบรรพบุรุษ 3-4 ชั่วอายุได้เกิดบนภูนี้ ประมาณไม่ต่ำกว่า 200 ปี ความเชื่อที่ว่า "ลัวะเป็นพี่ ยวนเป็นน้อง" และ "ลัวะเป็นใหญ่ ยวนเป็นควน" สอดคล้องกับตำนานของล้านนาหลายฉบับว่า ลัวะเคยอยู่ในดินแดนล้านนามาก่อน และชาวเขาที่เรียกตัวเองว่า "ผู้ยวน" มีความเชื่อว่าถ้าลัวะเซ่นไหว้ผีป่าผีไร่แล้ว ยวนก็ไม่ต้องไหว้ เพราะถือว่าเจ้าถิ่นเดิมไหว้ไปแล้ว ตามประวัติศาสตร์ล้านนาเกือบทุกฉบับระบุว่าหัวหน้าชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิม ชื่อ "ลว" ตั้งถิ่นฐานที่ ลว้านัทธี ก่อนที่จะสร้าง "โยนกนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร" แสดงว่าแถบนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของพวกลัวะหรือละว้ามาก่อน (หน้า 5 - 9,36)

Settlement Pattern

ส่วนมากนิยมปลูกบ้านแบบถาวร ด้วยอิฐ ปูนซีเมนต์ ไม้กระดานและมุงหลังคาด้วยกระเบื้อง ในบ้านมีเตาไฟ ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง มีหิ้งวางของเครื่องใช้ เครื่องครัว และอาหาร มีห้องรับรองแขก ห้องนอนลูกที่ยังโสด แต่งงานแล้ว และเจ้าของบ้าน ชานบ้านจะต่ำกว่าตัวบ้าน เอาไว้วางน้ำเต้าหรือภาชนะบรรจุน้ำ มีบันไดขึ้นบ้าน มีครกกระเดื่องอยู่ใต้ชายคาบ้าน บ้านสมัยใหม่จะแยกไปตั้งใกล้ตัวบ้าน ใต้ถุนบ้านทั้งสองแบบใช้เป็นที่เก็บฟืน เครื่องมือการเกษตร เครื่องใช้ต่างๆ แขวนเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว และใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ที่นั่งเล่นพักผ่อน ฉีกและตากเปลือกปอสา มียุ้งข้าวใกล้บ้าน ทุกบ้านจะมีสวนครัว ปลูกพืชผัก พืชสมุนไพร ไม้ผล หลายครอบครัวใช้ตาข่ายคลุมสวนครัวกันไม่ให้ไกเข้าไปคุ้ยเขี่ย เนื่องจากกรงเลี้ยงสัตว์ใกล้กับบริเวณสวน (หน้า 43-44)

Demography

ลัวะอาศัยอย่างหนาแน่นใน 3 อำเภอ คือ ทุ่งช้าง เชียงกลาง และปัว เฉพาะในอำเภอปัวมีลัวะและถิ่นมากถึง 15,784 คน คิดเป็นร้อยละ 65.02 จากการสำรวจของสถาบันวิจัยชาวเขาปี 2527 มีประชากรลัวะและถิ่นรวมทั้งหมด 24,276 คน ใน 63 หมู่บ้าน 3,923 หลังคาเรือน (หน้า 10) ชุมชนลัวะที่ผู้วิจัยได้ศึกษานั้น คือ บ้านเต๋ยกลาง หมู่ที่ 6 ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีจำนวน 90 ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 453 คน ชาย 216 คน ผู้หญิง 237 คน (หน้า 37, ดูรูปหน้า 46)

Economy

อาชีพหลักของลัวะ คือ การเกษตรกรรม ลัวะจะใช้แรงงานทั้งหมดกับการทำไร่เพราะกลัวว่าจะไม่มีข้าวบริโภคตลอดปี การโยกย้ายหนีคอมมิวนิสต์เมื่อปี 2512-2513 ทำให้ลัวะหลายหมู่บ้านลงมาอยู่ที่พื้นราบ และพื้นที่ในการทำไร่มีจำกัด ตามปกติจะพักดินไว้ 10 ปี จึงกลับมาใช้ใหม่ ปัจจุบันทิ้งไว้แค่ 3-5 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำจึงต้องเพิ่มพื้นที่ในการทำเกษตร คนลัวะต้องขยันเพิ่มขึ้นและใช้วิธีลงแขกกันในกลุ่มญาติพี่น้อง จะทำกัน 4 ครั้ง คือ ระยะถางไร่ ระยะเพาะปลูก ระยะเก็บเกี่ยวและระยะขนข้าวกลับมาหมู่บ้านให้ทันพิธีดอกแดง มีการทำเหมืองฝายเพื่อทดแทนน้ำเข้าสู่ที่นา พืชไร่ที่นิยมปลูก คือ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง บางหมู่บ้านมีการปลูกฝิ่น พืชผักสวนครัว ลัวะชำนาญในการทำเมี่ยงมาก (ชาป่า) รายได้อีกส่วนหนึ่งได้จากการเก็บของป่า เช่น ต้นก๋ง(ดอกหญ้า) หัวข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้ ลูกชิด (มะต๋าว) และมีการล่าสัตว์เพื่อบริโภค นำเขาและหนังไปขาย บางหมู่บ้านมีอาชีพทำบ่อเกลือ (หน้า 11-17) ส่วนชุมชนลัวะ บ้านเต๋ยกลางที่ผู้วิจัยได้ศึกษานั้น มีผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ มะแขว่น พริกแห้ง ข้าวเปลือก เก็บของป่า เช่น หญ้าก๋ง และปอสา นอกจากนี้ยังมีการรับจ้างนอกถิ่น (หน้า 45) มีการทำไร่แบบหมุนเวียนซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญต่อการดำรงชีพ มีเวลาพักดิน 3 ปี พืชหลักที่ปลูกคือ ข้าวไร่ พืชรอง ได้แก่ ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง ฟักเขียว น้ำเต้า แตงกวา บวบ และผักต่างๆ แซมในไร่พันธุ์ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเหนียวร้อยละ 60-70 ที่เหลือเป็นข้าวเจ้า มีทั้งหมด 10 สายพันธุ์ แบ่งเป็น 3 ช่วงอายุการเก็บเกี่ยว ได้แก่ ข้าวดอ หรือ ข้าวพันธุ์เบา ข้าวกลาง และข้าวปีหรือข้าวพันธุ์หนัก ซึ่งทุกพันธุ์จะปลูกพร้อมกัน เดือนสิงหาคมจะเริ่มเก็บเกี่ยวพืชผสมก่อน เดือนพฤศจิกายนจะเก็บเกี่ยวพืชไร่ โดยใช้การลงแขก การนวดจะใช้เท้าพ่อบ้าน จากนั้นจะนำไปยังโรงสีซึ่งมี 2 โรง บางครัวเรือนโดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุจะใช้ครกกระเดื่อง (หน้า 60-70, หน้า 77-81)

Social Organization

ครอบครัวขนาดเล็กและเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกเฉลี่ยแต่ละหลังคาเรือนประมาณ 6 คน ประกอบด้วยสามี ภรรยาและลูก นิยมมีผัวเดียวเมียเดียว บางหมู่บ้านถ้าหากบิดามารดาของฝ่ายหญิงมีอายุมาก และไม่สามารถทำมาหากินได้ อาจจะมาอยู่ร่วมด้วย (หน้า 11)

Political Organization

แบ่งการปกครองออกเป็น ตำบล 12 แห่ง, หมู่บ้าน 98 แห่งและสภาตำบล 1 แห่ง มีกำนัน 12 คน, สารวัตรกำนัน 12 คน, แพทย์ประจำตำบล 12 คน, ผู้ใหญ่บ้าน 86 คนและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง 196 คน (หน้า 30)

Belief System

ลัวะบ้านเต๋ยกลาง นับถือผี ซึ่งเชื่อว่าสามารถให้คุณและโทษได้ ได้แก่ ผีฟ้า ผีป่า ผีไร่ เทพารักษ์ นางไม้ ผีตาแฮก ผีเรือน ผีนางด้ง ผีกระสือ ฯลฯ ลัวะเชื่อในผี 2 ประเภท คือ ผีที่มีอำนาจลึกลับ เรียกว่า "ปย๊อบ" มี 4 แก่นตา (นัยน์ตา) เช่น พวกผีป่า ผีไร่ ผีน้ำ เวลาที่เซ่นไหว้จะสัมพันธ์กับฤดูกาลในการทำไร่ และผีบรรพบุรุษหรือผีประจำตระกูล มีวิธีเรียก 2 แบบ คือใช้คำว่า "อาว" แปลว่า พ่อ นำหน้า เช่น อาวคัด และใช้คำว่า บ้าน นำหน้า เช่น ผีบ้านเบาะ เป็นผีประจำหมู่บ้าน อายุน้อยกว่า ปย๊อบ แต่มากกว่า อาว ทั้งผีบ้านและผีอาวจะมี พิธีมอบไหเหล้าประจำตระกูลให้ทายาทรับช่วง โดยทายาทฝ่ายหญิงคนโตจะได้รับสิทธิ์ก่อน พิธีไหว้ใช้ได้ทั้งหมูและไก่ นิยมเซ่นด้วยตับหมูและตับไก่ ส่วนมากจะใช้ไก่ เอาน้ำร้อนลวก ถอนขน ตัดคอ ผ่าอก ตัดขา ตัดเล็บ ผู้ทำต้องเป็นผู้หญิง เอาไปไหว้รวมกับเหล้า ดอกไม้และเทียน (หน้า 40-41) มี "พิธีการเซ่นสรวงเจ้าหลวงภูคา" ทุกปี โดยใช้หมูเป็นเครื่องเซ่นและทุก ๆ 7 ปี จะมีพิธีใหญ่หนึ่งครั้งโดยจะใช้ควายเป็นเครื่องเซ่น ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยคณะผู้นำหมู่บ้านจะประชุมกันเพื่อกำหนดวัน แบ่งกันเตรียมงาน ก่อนออกเดินทางจะมีควาย 1 ตัวและผู้ประกอบพิธีกรรม 4 คน ทำพิธีเชิญเจ้าหลวงให้รับรู้ถึงการประกอบพิธีกรรมและไม่ให้สัตว์ร้ายมารบกวนในการเดินทาง ทุกคนจะต้องเตรียมข้าวสาร ข้าวห่อ พืชผัก อาหารต่าง ๆ และเหล้าอุ เพื่อใช้กินเลี้ยงในพิธี วันงานทุกครอบครัวจะออกเดินทางแต่เช้ามืดไป ยังหมู่บ้านกิ๋วเห็นเพื่อทำพิธีและเดินทางต่อไปยังลานประกอบพิธีกรรม และเดินตามลำธารขึ้นไปถึงต้นน้ำ จะมีการหยุดพักเป็นระยะ จุดแรกพักพอหายเหนื่อย จุดที่สองประมาณเที่ยงวัน จะทานเอาอาหารที่เตรียมมาทานร่วมกัน มีการละเล่น ร้องรำทำเพลงประมาณ 1 ชั่วโมง ไปจนถึงจุดสุดท้ายที่ทางผู้นำเตรียมไว้ จากนั้นจะมีพิธีขอชีวิตควาย ผู้ทำพิธีจะผูกควายไว้กับเสาหลัก ลัวะจะนั่งอยู่รอบๆ ผู้ทำพิธีจะขอพรจากเจ้าหลวงภูคาพร้อมกับมีการเล่นรำทำเพลง รอบ ๆ ตัวควาย จากนั้นก็ฆ่าควาย เนื้อควายใช้เป็นอาหารกินเลี้ยงในตอนเย็น ดื่มเหล้าอุที่เตรียมมา ตอนเช้าก็ทำการขอพรจากเจ้าหลวงแล้วเดินทางกลับบ้าน (หน้า 48-49) ในช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปีจะมี "พิธีโสลด" จะทำในช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง ใช้เวลา 2 วัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของหมู่บ้านโดยเก็บเงินครัวเรือนละ 15 บาท การทำพิธีรวมจะต้องทราบว่าผีอยู่เรือนใด ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน พิธีจะเริ่มประมาณเจ็ดโมงเช้า หมอผีจะเป็นผู้นำพิธี เจ้าของบ้านที่ผีอาสัยอยู่จะต้องเตรียมพันธุ์พืชจากไร่ของตัวเอง เช่น ต้นข้าว ข้าวโพด เผือก เมี่ยง ใส่รวมกันในกระจาด ทุกคนจะมารวมกันที่ศาลาผีของหมู่บ้าน ห่างจากตัวเรือนที่ผีอาศัยอยู่ 100 เมตร มีขนาดกว้างยาว 4*4 เมตร ซึ่งใช้ประกอบพิธีทุกปี บริเวณศาลาจะมีการเล่น "พิ" เรียงลำดับเพลงที่ใช้เล่น คือ ก่อมตุ๋น, ตอหย่า, แพะ,ชัวะ,กัวอื่อ และ เมื่อขบวนแห่ถึงเรือนเก๊าจะหยุดตั้งขบวน และเล่นเพลงสุดท้ายชื่อว่า จะหลัน โดยมีหมอผีนำขบวนตามด้วยเจ้าของเรือน ขบวนพิขนาดใหญ่ 3 อันซึ่งจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนเพลงและจังหวะ ต่อด้วยขบวนผู้หญิงมีทั้งวัยรุ่นและวัยกลางคน ฟ้อนเล็บและเต้นตามจังหวะเพลงประมาณ 15 คน ตามด้วยผู้ร่วมขบวนทุกคนถือพิตีตามจังหวะ เมื่อขบวนถึงเรือนหรือหัวบันไดบ้านที่ผีอาศัยอยู่ หมอผีจะว่าคาถา แล้วเจ้าของบ้านก็นำกระจาดใส่พันธุ์พืชไปไว้ให้องนอน ผู้เล่นทุกคนจะเข้าไปในบ้านนี้ ประตูทางเข้าจะจุดเทียน มีข้าวเปลือก ไม้ดอกและพืชมงคลหลายชนิด วางข้างประตู มีเหล้าอุ 1 ไหไว้ต้อนรับ จากนั้นเจ้าของบ้านต้มน้ำ แล้วนำไก่ดำที่เตรียมไว้มาเชือด แล้วนำเลือดไก่ไปทาพืชพันธุ์ต่างๆ ในกระจาด ทาบริเวณหัวบันได และ พิขนาดใหญ่ แล้วเชือดไก่ปรุงอาหารเลี้ยงกัน หลังจากเสร็จพิธีกรรมของหมู่บ้านแล้ว ทุกๆ บ้านจะมีพิธีกรรมเหมือนกับพิธีของหมู่บ้าน แต่จะทำในช่วงบ่ายและเย็นของวันเดียวกัน ซึ่งจะมีอีกพิธีหนึ่งที่อยู่ในขั้นตอนของพิธี โสลด คือ พิธีเขี่ยเหล้า พิธีเขี่ยเหล้า เป็นพิธีกรรมที่บอกผีบ้านผีเรือนดลบันดาลให้ได้ข้าวมาก พืชในไร่อุดมสมบูรณ์ ไม่เจ็บไม่ป่วย แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่างๆ วิธีการคือ ผู้ชายจะรวมกลุ่มกันประมาณ 4-5 คน แล้วเดินไปจนครบทุกบ้าน เมื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งขึ้นบ้านมา เจ้าของบ้านต้องเตรียมสำรับอาหารใส่กระจาด ในกระจาดมีอาหาร มีเหล้าอุวางกลางกระจาด ซึ่งบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ด้านบนมีแกลบโรยปิดไว้ ลอดทำจากไม้ไผ่ขนาดเท่านิ้วก้อยยาวประมาณ 1-1 เมตรครึ่ง ใช้ลวดเล็กปลายแหลมแทงรอยกั้นระหว่างข้อปล้องของหลอดทำให้ดูดน้ำได้ 2 หลอด แหย่ลงไปในกระบอกเหล้า แล้วก็ลงมือเขี่ยเหล้า โดยใช้ไม้ไผ่เหลาคล้ายตอกขนาดเท่าๆ ก้านไม้ขีดยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร พันปลายเป็นตะขอ ทุกคนเอามือจับไม้เขี่ยพร้อม ๆ กัน อธิษฐานบอกผีบ้านผีเรือนประมาณ 1 นาที แล้ววางไม้เขี่ยรวมกันในกระจาด จากนั้นจะมีการกินอุ จะดูดวนกันเป็นวง จะต้องยืนขึ้นหรือนั่งยองๆ เท่านั้น หากเหล้าหมดก็เติมได้อีก ส่วนอาหารจะทานหรือไม่ก็ได้ จากนั้นก็ขึ้นบ้านอื่นอีก ตั้งแต่กลางวันถึงกลางคืนจนครบทุกบ้าน (หน้า 54-58, ดูรูปหน้า 59) พิธีกรรมและความเชื่อในการทำการเกษตรในรอบปี มีขั้นตอนดังนี้ - การเลือกที่ทำไร่ พิธีกรรมได้ยกเลิกไปแล้ว - การถางไร่ เริ่มเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนถางจะต้องทำพิธีบอกผีป่าผีไร่ (ผีเจ้าที่) มีชื่อว่า "ผีปั๊ค ผีแคว๋น" โดยต้องให้บ้านที่ผีอยู่ หรือเรียกว่า "จำผี" ทำพิธีก่อน หมอผีจะต้องทำพิธีร่วมกับเจ้าบ้าน 2 คน ในตอนเช้ามืดประมาณ 7 โมง เครื่องเซ่น ได้แก่ ปูเหลย ว่านหักขิน ว่านควานดำ ขมิ้นดำ ดอกกะหลัวและขิง ทำพิธี บริเวณต้นไม้ใหญ่ริมไร่ เริ่มพิธีโดยท่องคาถาภาษาลัวะและอธิษฐานว่าสามารถทำไร่ตรงนี้ได้ไหม และเอาของเซ่นฝังไว้ใต้ต้นไม้ใหญ่ แล้วเดินไปดูบริเวณที่จะถางไร่ แล้วกลับมาดู หากเครื่องเซ่นไม่สมบูรณ์ก็หาที่อื่น หากสมบูรณ์ก็ถางได้ ก่อนถางต้องบอกผีเจ้าที่ก่อน จากนั้นทุกคนในหมู่บ้านจะไปลงแขกถางไร่ (เอามื้อ) ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการถางและเผาเตรียมพื้นที่ - การปลูกพืชพันธ์ ไม่มีพิธีกรรมอะไร - การดูแลรักษาไร่ มีการสร้างศาลผีไร่ ด้วยไม้ไผ่ ไหว้และบนบานผีไร่ทุกปีเพื่อไม่ให้ศัตรูมารบกวนพืชไร่ โดยจะมีหมาก พลูและสัตว์ต่างๆ เช่น หมู หมา ไก่ ไว้แก้บน แล้วแต่ผีจะชอบ - การเก็บเกี่ยว หมอผีและจำผีต้องไปทำพิธีที่ไร่ก่อนการเก็บเกี่ยวเป็นคนแรกอีก เพื่อเป็นการขอบคุณผี โดยเกี่ยวข้าวและผลผลิตใส่ภาชนะ ใช้ไก่ 1 ตัวเซ่น เชือดแล้วเอาเลือดทาผลผลิต วางเอาไว้แล้วเดินไปทั่วบริเวณไร่ กลับมาอีกครั้ง ฆ่าไก่ปรุงเป็นอาหารเลี้ยงผีโดยเฉพาะเครื่องใน จากนั้นมีการลงแขกกันอีกรอบ การเก็บรักษาผลผลิต ไม่มีพิธีกรรมอะไร (หน้า 60-65) - ดอกไม้ 5 ชนิดที่ลัวะนิยมปลูกในไร่ถือเป็น ดอกไม้มงคลและใช้ในการประกอบพิธีต่าง คือ ดอกคำปู้จู้ ผักกมก๊อ ผักชะอ้อน ดอกหงอนไก่และดอกล้อกอง (หน้า 67)

Education and Socialization

ปัจจุบันในหมู่บ้านมีโรงเรียนของสำนักงานประถมศึกษา จำนวน 1 โรง (หน้า2) ครอบครัวที่มีลูกอยู่ในวัยเรียนภาคบังคับจะส่งลูกเข้าเรียนหนังสือ (หน้า11)

Health and Medicine

กระทรวงสาธารณสุขจัดให้มีสถานีอนามัยตั้งอยู่ในหมู่บ้าน (หน้า 2)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

มีเครื่องดนตรีชนิดเดียวที่เรียกว่า "พิ" เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ตัดให้ด้านหนึ่งติดข้อปล้อง คล้ายกระบอกข้าวหลาม เหลาให้ลดหลั่นกัน สามารถกำหนดเสียงจากความอ่อนแก่ ขนาดความหนา ยาวและบางของไม้ไผ่ แล้วใช้ไม้ไผ่เหลาขนาดเท่านิ้วมือ เล็กบ้างใหญ่บ้าง ยาวประมาณ 30 ซม. เสียบบริเวณข้อปล้องเป็นมุมฉาก การตีจะใช้ไม้ 3 อันถือในมือด้านใดด้านหนึ่ง แล้วใช้ไม้ไผ่เหลายาวประมาณ 1 ฟุต "พิ" แต่ละอันเสียงจะต่างกัน "พิ" อันใหญ่ จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนเพลงและจังหวะเพลง ลูกคู่ข้างหลังจะรับตามจังหวะของเพลง การเล่นพิจะเล่นเพลงต่างๆ สลับกันไป ดังนี้ เพลงแรกชื่อว่า "ก่อมตุ๋น" เป็นเพลงแรกที่เล่นเมื่อทำเครื่องดนตรีเสร็จแล้ว เพลงที่สอง ชื่อเพลง "ตอหย่า" เพลงที่สามชื่อ "แพะ" เป็นการเล่นดนตรีและเดินแห่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อ ส่งห่า ส่งเคราะห์ ให้ออกจากหมู่บ้าน เพลงที่สี่ชื่อ "ชัวะ" เพลงที่ห้าชื่อ "กัวอื่อ" หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ เพลงสุดท้ายชื่อ "จะหลัน" หมายถึง การบายสีสู่ขวัญ (หน้า 55 - 57)

Folklore

มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพิธีโสลดเพื่อเป็นการทำขวัญข้าวว่า เมื่อก่อนลัวะยังไม่รู้จักต้นข้าว มีนกเขาคู่หนึ่งบินเข้ามาในหมู่บ้านแล้วถ่ายมูลออกมามีเมล็ดข้าวติดอยู่ 3 เมล็ด ต่อมาเมล็ดข้าวก็งอกออกมาเป็น 3 ต้น หรือ 10 กอ จนต้นข้าวโตและล้มตาย พอฝนตกเมล็ดก็งอกงามเป็นต้นกล้าและออกรวง ชาวบ้านจึงเอามาต้มใส่เกลือทาน พบว่ารสชาติอร่อยดี จึงมีการเก็บเมล็ดเอาไว้ เมื่อถึงต้นฤดูฝนก็นำไปหยอดหลุมให้ มันงอก ตั้งแต่นั้นมาลัวะก็มีการปลูกข้าวเพื่อเป็นอาหาร (หน้า 54)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ระยะเวลาในการทำพิธีโสลดสั้นลง จากเมื่อก่อนใช้เวลา 7 วัน ปัจจุบันเหลือเพียง 2 วันเท่านั้น (หน้า 54) ข้อห้ามของพิธีโสลดมีน้อยลง จากเดิมคือ ห้ามคนนอกเข้าร่วมพิธี ห้ามพูดคำเมืองต้องพูดภาษาลัวะเท่านั้น ปัจจุบันข้อห้ามเหลือเพียงแค่ห้ามส่งเสียงดังในขณะทำพิธี (หน้า 57)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ตารางแสดงปริมาณน้ำฝนของจังหวัดน่าน ปี 2535-2541 (หน้า 28) ตารางข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สิน รายได้จากผลิตผลทางการเกษตรและของป่า ตารางรายจ่ายที่สำคัญและหนี้สิน (หน้า 44-45) ตารางปฏิทินการปลูกพืชและปฏิทินสังคมของลัวะ (หน้า 73) ตารางปฏิทินการเกษตรและพิธีกรรมเนื่องด้วยการผลิตของลัวะ บ้านเต๋ยกลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน (หน้า 75) ตารางปฏิทินวันหยุดตามประเพณีของลัวะ (หน้า 76) แผนที่อำเภอปัว (หน้า 32) แผนที่สังเขปตำบลภูคา (หน้า 35) แผนที่สังเขปหมู่บ้านเต๋ยกลาง (หน้า 39) รูปภาพโครงสร้างประชากรลัวะ บ้านเต๋ยกลาง ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน (หน้า 46) รูปภาพการแต่งกายของประชากรลัวะ (หน้า 47) รูปภาพการเขี่ยเหล้าและการเล่นพิในพิธีโสลด (หน้า 59) รูปภาพลักษณะการใช้พื้นที่ในการทำไร่หมุนเวียน (หน้า 61) รูปภาพสภาพหมู่บ้านของลัวะและสภาพการทำไร่หมุนเวียนของลัวะ (หน้า71) รูปภาพศาลผีประจำหมู่บ้าน (หน้า 72)

Text Analyst ปัญญ์ชลี ผกามาศ Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ลัวะ, พิธีกรรม, ความเชื่อ, เกษตรกรรม, ดอยภูคา, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง