สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,สังคมเศรษฐกิจ,ผู้หญิง,ภาคเหนือ
Author ไม่ระบุ
Title Socio-Economic Roles of The Akha Women
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 83 Year 2513
Source Department of Public Welfare
Abstract

ผู้หญิงอาข่ามีหลายสถานะทางสังคม ตั้งแต่สถานะของเด็กหญิง ซึ่งเป็นลูกสาว เป็นแรงงานคนหนึ่งของครอบครัว สถานะของผู้หญิง ซึ่งเป็นภรรยา เป็นลูกสะใภ้ เป็นแม่ หญิงอาข่ามีหน้าที่สั่งสอนลูกหลาน ค้าขาย ดูแลบ้าน และเป็นแรงงานสำคัญของ ครอบครัว หญิงที่เป็นภรรยาของหัวหน้าครอบครัวมีหน้าที่ต้องดูแลครัวเรือนทั้งหมด มีหน้าที่เก็บเงินและใช้จ่ายเพื่อทั้งครอบครัว ส่วนใหญ่ฝ่ายชายจะเป็นผู้ทำหน้าที่ทางพิธีกรรมต่างๆ เช่นเซ่นผีบรรพบุรุษ และออกความคิดเห็นในการประชุมประจำหมู่บ้าน แต่หญิงบางคนได้รับสถานะพิเศษที่ได้รับการยกย่องเทียบเท่าผู้ชายเรียกว่า "ya yeh ma"

Focus

บทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของผู้หญิงอาข่า

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่าทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่าอาข่า แต่คนไทยเรียกว่า "อีก้อ" ลาวเรียกว่า "ข่าก้อ" คนจีนเรียกว่า "อานิ" หรือ "วอนิ"

Language and Linguistic Affiliations

ภาษา Tibeto-Burman ในกลุ่มภาษาสาขา Lolo

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

อาข่าเป็นชนชาติหนึ่งแยกจากชนชาว Lolo ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนเมื่อ 4,000 ปีที่แล้ว อาข่ามีอาณาจักรของตนเองไม่ขึ้นอยู่กับใครตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ Tai-Hua-Sui ในธิเบต และถูกชนชาติอื่นไล่ต้อนลงมาอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยเฉพาะในยูนนาน สิบสองปันนา และ Kwaichao หลังจากนั้นพวกเขาอพยพ ลงใต้และปัจจุบันอาศัยอยู่ในรัฐ Kentung ทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า และใน Huakhong และ Pongsalee ทางตะวันตก และทางเหนือของลาว อาข่าบางกลุ่มข้ามพรมแดนมาสู่ประเทศไทยที่แม่สาย เชียงราย เมื่อ 60 ปีที่แล้ว และตั้งรกรากในแม่อาย เชียงใหม่ ลำปาง และแพร่ อาข่ามี 7-9 กลุ่มย่อยซึ่งเรียกตัวเองตามภาษาอาข่าดังนี้ Pulee, Yuecher, Nakee, Mawei, Tula, Akher และ Yaeyer (หน้า 1)

Settlement Pattern

อาข่าอยู่กันเป็นหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยครัวเรือนต่างๆ ส่วนใหญ่ตั้งหมู่บ้านอยู่บนเนินเขาสูงราว 3,000-4,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล และไม่นิยมตั้งหมู่บ้านใกล้เส้นทางคมนาคม หมู่บ้านอาข่าจะมีประตูหมู่บ้านหรือประตูผี เป็นเส้นแบ่งระหว่างมนุษย์และวิญญาณ มีไว้ปกป้องหมู่บ้านโดยการทำให้สิ่งไม่ดีหนีไป ประตูหมู่บ้านจะถูกสร้างในปีที่สร้างหมู่บ้าน ประตูหนึ่งอยู่ทางด้านบนอีกประตูอยู่ด้านล่าง ตัวประตูต้องสร้างใหม่ทุกปีในการตั้งหมู่บ้าน บ้านหลังแรกที่จะสร้างคือบ้านของนักบวชประจำหมู่บ้าน ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในส่วนกลางของหมู่บ้านบ้านอื่นๆ สร้างรอบๆ บ้านนี้ ไม่มีแบบแผนข้อบังคับทางสังคมอื่นๆ อีกนอกจากเรื่องบ้านของนักบวชประจำหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านอาข่าจะปล่อยให้มีถนนใหญ่ผ่านกลางหมู่บ้าน อาข่าชอบตั้งบ้านในบริเวณรอบๆ ภูเขาและพยายามให้มีพื้นที่ราบเพียงพอที่จะใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ และเป็นลานเด็กเล่น พวกเขามักตั้งหมู่บ้านไม่ไกลจากศูนย์กลางเศรษฐกิจและแหล่งน้ำ (หน้า 2-3)

Demography

จำนวนประชากรอาข่าในประเทศต่างๆ รวมกันมีประมาณ 500,000 คน ในประเทศไทยปัจจุบันมีหมู่บ้านอาข่า 136 หมู่บ้าน (3,064 ครัวเรือน และประชากรจำนวน 18,863 คน) ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงราย 131 หมู่บ้าน (2,667 ครัวเรือน และ 19,251 คน) ในเชียงใหม่มี 2 หมู่บ้าน (52 ครัวเรือน และ 315 คน) ในลำปางมี 2 หมู่บ้าน (27 ครัวเรือน 160 คน) และในแพร่มี 1 หมู่บ้าน (27 ครัวเรือน และ 137 คน) (หน้า 2)

Economy

อาชีพหลักของอาข่าคือการเพาะปลูก โดยมีพืชเศรษฐกิจคือ ข้าว ข้าวโพด ฝิ่น งา พริกไท ผัก (หน้า 8-9) สัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญรองลงมาจากการเพาะปลูก อาข่าเลี้ยงหมู ไก่ หมา วัว ควาย ม้า แพะและแกะ เพื่อประโยชน์ต่างๆ กัน นอกจากนี้อาข่ายังเป็นนายพรานที่เก่ง พวกเขามักล่ากวาง หมูป่า นก และตกปลา โดยใช้อาวุธต่างๆ เช่น ปืน กับดัก หน้าไม้ อาหารส่วนใหญ่ได้จากป่า อย่างเช่น หน่อไม้ ดักแด้ ผลไม้ เห็ด และแมลงที่กินได้ ของเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้บริโภคในบ้านตัวเองและถ้าเหลือก็ขายหรือแลกเปลี่ยนกับของจำเป็นต่างๆ (หน้า 10-11) อาข่าไม่ค่อยได้ทำการค้าขายเมื่อเทียบกับชาวเขาเผ่าอื่น แต่ก็ยังมีการค้าขายบ้างโดยเฉพาะในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้กับตัวเมืองหรืออยู่ติดกับหมู่บ้านของคนไทย เย้า หรือลีซู ผลิตภัณฑ์ของอาข่าที่ขายส่วนใหญ่คือ พริกไท แตงกวา ถั่ว ฟักทอง ของจากป่า สมุนไพร และของใช้ในครัวเรือน โดยมีอาข่าบางคนเป็นพ่อค้าคนกลาง อาข่าบางคนขายฝิ่นโดยซื้อฝิ่นจากเย้าหรือคนจีน บางคนขายเนื้อหมา (หน้า 11) อาชีพที่เป็นรายได้ของอาข่า ได้แก่ งานรับจ้างถอนวัชพืช เกี่ยวข้าว และเก็บใบชา พวกเขาสามารถหางานเหล่านี้ได้จากหมู่บ้านข้างเคียงหรือจากสำนักงานของรัฐบาล แต่ค่าจ้างที่ได้รับอัตราต่ำมาก (หน้า11-12)

Social Organization

หมู่บ้านถือเป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมซึ่งมีอำนาจในการปกครองตนเอง โดยจะมีผู้อาวุโส 3 คนในแต่ละหมู่บ้าน ผู้ชายที่แก่ที่สุดในแต่ละครอบครัวเป็นหัวหน้าครอบครัวผู้ซึ่งจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมอย่างเช่นการบูชาทั่วไปต่อผีบรรพบุรุษ หมู่บ้านเป็นที่แรกที่เป็นหน่วยทางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการค้าประจำวัน และศูนย์กลางศาสนา อาข่ามีอิสระที่จะใช้ชีวิตตามใจชอบตราบใดที่ไม่กระทำการขัดต่อขนบประเพณีของชนเผ่า ขนบประเพณีของชนเผ่ามีความเข้มงวดมาก เป็นเหมือนกับกฎหมายที่บังคับใช้กับทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น มันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีอิทธิพลในการรวมกันของสังคมอาข่า อาข่าสืบทอดตระกูลทางสายพ่อ ผู้ชายทุกคนต้องรู้ภูมิหลังประวัติของตระกูลของตนและของตระกูลของภรรยาของเขา ลูกชายที่โตที่สุดจะต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ของครอบครัวและรับผิดชอบต่อการบอกเล่าเรื่องราวของครอบครัวต่อไปยังน้องๆ สายตระกูลของอาข่ามีความสำคัญคือ เป็นกฏเกณฑ์ของการแต่งงาน เพราะห้ามการแต่งงานในบุคคลที่อยู่ในสายตระกูลเดียวกัน (หน้า5-6) ในครัวเรือนหนึ่งของอาข่า ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน ลูกชาย ลูกสะใภ้ หลานชายหลานสาวซึ่งเป็นลูกของลูกชายที่แต่งงานแล้วซึ่งยังคงอาศัยอยู่กับพ่อแม่ จึงมักจะมีหลายครอบครัวในครัวเรือนเดียว ผู้ชายที่อายุมากที่สุดเป็นพ่อของบ้าน ซึ่งมักจะเป็นปู่หรือพ่อหากปู่เสียชีวิตไป ผู้หญิงที่อายุมากที่สุดในบ้านเป็นแม่ของบ้านซึ่งก็คือย่าหรือแม่ถ้าย่าเสียชีวิตไป (หน้า 6) ผู้หญิงอาข่าจะเป็นผู้ใหญ่สมบูรณ์ต่อเมื่อแต่งงานและมีบุตร และมีสถานภาพที่แตกต่างกัน 2 สถานะคือ เป็นลูกสะใภ้ หรือเป็นภริยาของหัวหน้าครัวเรือน และมีบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ลูกสะใภ้ต้องเป็นสมาชิกของครอบครัวสามี หากเป็นลูกสะใภ้ใหม่จะถูกเรียกว่า "mi shui" แต่ลูกสะใภ้คนก่อนๆ จะเรียกว่า "mi chu" ลูกสะใภ้มีหน้าที่เหมือน "ลูกสาวของพ่อแม่สามี" คือทำความสะอาดบ้าน ตำข้าวเปลือก ตักน้ำ เลี้ยงอาหารสัตว์ และงานไร่ (หน้า 52-55) ส่วนผู้หญิงที่เป็นภริยาหัวหน้าครัวเรือนจะมีหน้าที่ดูแลการเงินของครัวเรือน สั่งสอนสมาชิกในครัวเรือน ดูแลรับผิดชอบครัวเรือน และจัดการการเพาะปลูก (หน้า 72-76) นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงที่เรียกว่า "ya yeh ma" ซึ่งมีสถานภาพสูงในสังคมและสามารถประกอบพิธีกรรมต่างๆ ได้ และมีส่วนร่วมในการเมือง การจะเป็น "ya yeh ma" ได้ ก็ต้องผ่านพิธีกรรมโดยการได้รับการยินยอมจากสามีและลูกชายคนโต และเมื่อเป็นหม้ายจะมีสถานะเป็นสมาชิกของตระกูลสามีไม่อาจแต่งงานใหม่ได้ (หน้า 76-77)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อเรื่องการเกิด อาข่าเชื่อว่ามี "วิญญาณที่ทำหน้าที่สร้างเด็ก" วิญญาณชนิดนี้ช่วยให้ผู้หญิงตั้งท้องโดยการปล่อยน้ำออกจาก "ทะเลสาปแห่งเด็กๆ" ถ้าเด็กตายภายใน 3 วันหลังจากเกิดอาข่าเชื่อว่าวิญญาณนี้เรียกเด็กกลับไป การคลอดเด็กจะทำในบ้านเล็กใกล้กับบ้านหลัก ผู้ทำคลอดคือผู้หญิงอาวุโสโดยหญิงที่อายุมากที่สุดมีอำนาจในการตัดสินใจ เมื่อเด็กคลอดออกมาจะตกลง สู่บนเสื่อหรือสิ่งรองรับใต้ตัวแม่ ไม่มีใครแตะต้องเด็กจนกว่าเด็กจะร้อง 3 ครั้ง การร้อง 3 ครั้งถือว่าร้องขอ 3 สิ่งจากพระเจ้า 1. พร 2. วิญญาณ 3. อายุ อาข่าไม่นับเด็กว่ามีชีวิตจนกว่าเด็กจะร้อง 3 ครั้ง ถ้าเด็กไม่หายใจและไม่ร้อง พวกเขาจะเรียกพ่อมาพัดเด็กด้วยกางเกง เชื่อว่าจะทำให้เด็กเริ่มหายใจ และพ่อแม่จะสวดอ้วนวอนต่อผีบรรพบุรุษและวิญญาณที่ทำหน้าที่สร้างเด็กเพื่อไม่ให้ทำอัตรายเด็ก รกเด็กจะถูกตัดด้วยมีดไม้ไผ่ ใส่ในกระบอกไม้ไผ่แล้วฝังลึก 50 เซนติเมตรใกล้กับเสาหลักของบ้าน โดยกลบด้วยขี้เถ้ากับพริกป่น แล้วราดด้วยน้ำร้อน เพื่อป้องกันผีและสัตว์มารบกวน เด็กจะถูกห่อด้วยผ้าผืนยาวๆ นำไปที่บ้านหลัก เมื่อต้มไข่หนึ่งฟองให้แม่และเด็กแล้วพวกเขาจะอาบน้ำเด็กแล้วแม่ก็จะให้นมครั้งแรก ถ้าเด็กกินนมก็จะฆ่าไก่ตัวผู้หนึ่งตัว หญิงอาวุโสจะตั้งชื่อเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้ผีมาตั้งชื่อเด็กแล้วอ้างว่าเด็กเป็นของตน อีกเหตุผลคือถ้าในหมู่บ้านเดียวกันมีเด็กเกิดอีกคนหลังจากที่เด็กคนแรกเกิด แล้วเด็กคนแรกตาย พวกเขาจะได้บอกวิญญาณที่ทำหน้าที่สร้างเด็กให้ปกป้องเด็ก เช้าวันต่อมาพวกเขาจะฆ่าไก่ตัวเมียหนึ่งตัวแล้วนำมาทำอาหารให้แม่ หลังจากนั้นจะนำถ่าน 3 ก้อน มีด 1 เล่ม น้ำหนึ่งเหยือก และไข่ต้มหนึ่งใบใส่ตะกร้าแล้วให้เด็กๆ นำไปแขวนไว้ที่เสาของประตูบ้าน แม่จะอุ้มเด็กไปที่ตะกร้า ตอกไข่แล้วล้างเท้าของตัวเองและของลูกด้วยน้ำพร้อมกับบอกเทพแห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์ว่าลูกของเธอเกิดแล้ว หลังจากนั้นจะนำเด็กกลับมาโดยนำถ่าน 3 ชิ้นไปใส่เตาไฟด้วย เมื่อเด็กแข็งแรงขึ้นตามปรกติประมาณ 12 วันแม่จะพาลูกไปยังบ้านของพ่อแม่ของตัวเอง ซึ่งต้องฆ่าไก่ตัวใหญ่ 1 ตัว เขาจะนำน้ำศักดิ์สิทธิ์มารดบนขา ปีก และหัวไก่เพื่อทำให้บริสุทธิ์ก่อนฆ่า แล้วนำไก่มาทำอาหารสำหรับทั้งครอบครัว แม่ของเด็กจะได้รับขาไก่ 1 ข้างกับตับไก่ 1 ชิ้น เหล้า ชา และข้าวหนึ่งถ้วยเล็ก อาหารมื้อนี้เป็นมื้อศักดิ์สิทธิ์เพื่อทำให้แม่มีความบริสุทธิ์ หลังจากนั้นพ่อและแม่ของเด็กจะผูกด้ายรอบข้อมือเด็ก หมายถึงการเรียกวิญญาณของเด็กมาอยู่กับตัว พ่อแม่ของแม่เด็กจะนำเสื้อผ้าของแม่เด็กมาให้เด็กดูเพื่อที่เด็กจะได้เติบโตเหมือนแม่ของเด็ก จากนั้นจะนำข้าวผสมเกลือมาป้อนเด็กโดยแตะที่ปากแล้วให้ไข่ต้มและเงินกับเด็ก จึงเสร็จพิธีแม่ของเด็กก็จะนำลูกกลับบ้าน เช้าวันรุ่งขึ้นแม่จะพาเด็กออกไปนอกประตูหมู่บ้าน ถ้าเป็นเด็กผู้ชายแม่จะหยิบกิ่งไม้เล็กๆ 3 กิ่งจากต้นไม้ แต่ถ้าเป็นเด็กผู้หญิงแม่จะหยิบใบไม้ 3 ใบแล้วกลับบ้าน นำใบไม้ใส่ลงในน้ำต้มเพื่อจะอาบน้ำให้เด็ก เชื่อว่าเป็นการป้องกันเด็กไม่ให้เป็นโรคผิวหนัง ถ้าผู้เป็นพ่อไม่ได้อยู่ตอนเด็กเกิด เขาจะต้องรีบกลับบ้านทันทีที่รู้ข่าว เมื่อมาถึงประตูหมู่บ้านญาติคนหนึ่งจะรออยู่เพื่อบอกว่าเด็กเป็นชายหรือหญิง ถ้าเป็นชายพ่อจะทำธนูเล็กๆให้เป็นของขวัญวันเกิด ถ้าเป็นหญิงพ่อจะทำที่ปั่นฝ้ายเล็กๆ ให้ เพื่อเป็นการแสดงความเสียใจที่ไม่อยู่ในตอนลูกเกิด ในการตั้งชื่อเด็ก อาข่าไม่นิยมตั้งชื่อเด็กด้วยชื่อสัตว์ ส่วนใหญ่พยางค์แรกของชื่อเด็กจะมาจากพยางค์ท้ายของชื่อพ่อ เด็กผู้ชายมักมีชื่อขึ้นต้นด้วย "อา" เด็กผู้หญิงมักขึ้นด้วย "มิ" แต่ถ้ามีลูกแฝดลูกคนต่อๆ มาจะถูกตั้งชื่อด้วยชื่อสัตว์ เมื่อตั้งชื่อแล้วหญิงอาวุโสจะแจ้งชื่อเด็กต่อวิญญาณที่ทำหน้าที่สร้างเด็ก ถ้าวิญญาณไม่ถูกใจจะมีสัญญาณบอกให้รู้ พ่อและแม่เด็กจะเปลี่ยนชื่อเด็ก เมื่อเด็กโตขึ้น หากว่าหญิงอาวุโสที่ทำคลอดเด็กไม่สบายหรือตาย เด็กนั้นมีหน้าที่ที่จะต้องนำ ไข่ ไก่ หรือหมูไปแสดงความเคารพ (หน้า 14-18) พิธี Ya u phi จัดขึ้นช่วงปลายเดือนเมษายนของทุกปีเพื่อให้วิญาณผู้ยิ่งใหญ่ (a phoe a phi) พึงพอใจ พิธีกรรมกินเวลา 3 วัน ตลอดพิธีทุกคนในหมู่บ้านหยุดทำนาและไม่เดินทางออกไปนอกหมู่บ้าน ทุกครอบครัวจะต้มไข่หนึ่งฟองเพื่อมอบให้วิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ หลังจากนั้นเป็นพิธีทุบไข่คือนำไข่ต้มไปทุบไข่อีกใบให้วิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ดู แล้ววิญญาณผู้ยิ่งใหญ่จะคุ้มครองหมู่บ้าน ไข่ในพิธีนี้จะให้เด็กๆ กิน (หน้า 21-22) พิธี Kha yeh yeh หรือพิธีส่งวิญญาณ เมื่อถึงช่วงสิ้นสุดฤดูฝนประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี อาข่าจะจัดพิธีส่งวิญญาณ อาข่าเชื่อว่าถึงแม้ว่าจะมีประตูหมู่บ้านที่ปกป้องไม่ให้วิญญาณเข้ามาในหมู่บ้าน แต่วิญญาณบางตนอาจเข้ามาได้พร้อมกับฝน เมื่อฤดูฝนหมดลงยังมีวิญญาณหลงเหลืออยู่ในหมู่บ้านจึงต้องทำพิธีส่งออกไปพิธีนี้กินเวลา 2 วัน วันแรกเด็กๆ จะช่วยกันรวบรวมแตงกวาจากทุกบ้านไปไว้ที่บ้านของนักบวชประจำหมู่บ้าน ตอนกลางวันนักบวชประจำหมู่บ้านกับหมอผีจะให้ชาวบ้านทุบบ้านทุกหลังและสถานที่ต่างๆ ด้วยไม้ให้เกิดเสียงดังๆ บ้างยิงปืน ร้องดังๆ เพื่อไล่ให้วิญญาณกลัวแล้วหนีไป หลังจากนั้นจะนำอาหารไปวางตามทางนอกหมู่บ้านให้วิญญาณใช้ ระหว่างพิธีกรรมชาวบ้านต้องหยุดงานในไร่ ห้ามค้างคืนนอกหมู่บ้าน ห้ามไปล่าสัตว์ คนนอกห้ามเข้าไปในหมู่บ้าน ถ้ามีแขกเข้าไปในหมู่บ้านต้องอยู่ในหมู่บ้านจนพิธีจบ(หน้า 22-23) ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องเพศ อาข่าเชื่อว่า Su mi o เป็นผู้มอบเรื่องเพศสัมพันธ์และความอุดมสมบูรณ์แก่มนุษย์ จะมีสัญลักษณ์นี้อยู่ที่ทางเข้าของถนนที่มุ่งสู่แต่ละหมู่บ้านโดยเป็นไม้ไผ่สานและรูปปั้นคนกำลังร่วมประเวณีกัน รูปปั้นนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่ทุกๆ ปีในวันครบรอบการสร้างประตูหมู่บ้าน (หน้า 24) อาข่ามีอิสระมากเรื่องเพศ พวกเขาสามารถมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานได้ พวกเขาเชื่อว่าเมื่อถึงอายุที่พอควร(11-12 ปี) เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงต้องมีการจับคู่หลับนอนกันเพื่อที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กชายและหญิงที่ประสบความสำเร็จในการหลับนอนกับเพศตรงข้ามจะถูกเรียกว่า yo le the sm หมายถึงพวกเขาเป็นผู้ใหญ่เรื่องเพศแล้ว ในอาข่ามีพิธี "เปิดบริสุทธิ์" หญิงหม้ายหรือหญิงวัยกลางคนเรียกว่า Kha ji mi da จะสอนเด็กผู้ชายร่วมประเวณี ส่วน Kha ji a da หรือ bu ji ชายหม้ายจะเป็นผู้เปิดบริสุทธิ์เด็กหญิง พวกเขาจะต้องร่วมประเวณีกับเด็กแต่ละคนครั้งเดียว ถ้ามากกว่านั้นเขาต้องแต่งงานกับเด็กคนนั้นแล้วก็จะไม่สามารถเป็น "ครู" ได้อีกต่อไป(หน้า 24-25) สถานที่นัดพบและจับคู่ของอาข่าคือลานเต้นรำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าอาข่าที่ไม่พบในเผ่าอื่น ไม่เพียงเป็นที่ซึ่งชายหญิงจะมาจับคู่กันเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะไม่ให้ผีบรรพบุรุษโกรธในการแสดงความรักกัน แม้คู่ที่แต่งงานแล้วก็ต้องไปที่ลานเต้นรำอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อรักษาประเพณีและเพื่อทำให้ผีบรรพบุรุษพอใจ ลานเต้นรำจะตั้งอยู่ตรงกลางหรืออยู่ริมหมู่บ้าน พวกเขาจะจุดกองไฟเวลากลางคืน เด็กๆ วัยรุ่น และพวกที่เป็นหม้ายจะมากัน มีการเล่าเรื่องตลก เด็กผู้ชายเล่นดนตรี และเต้นไปรอบๆ เด็กผู้หญิงจะนั่งดู ตบมือ ร้องเพลง กระโดด และเต้นรำ เมื่อได้หลับนอนกันหลายๆ ครั้ง พวกเขาจะเริ่มพูดถึงการแต่งงาน ถ้ายังไม่ตกลงแต่งงานกันเด็กผู้หญิงจะต้องกลับบ้านก่อนพระอาทิตย์ขึ้น แต่ถ้าตกลงว่าจะแต่งงานกันเด็กผู้หญิงจะอยู่กับเด็กผู้ชายคนนั้นทั้งคืนแล้วกลับบ้านตอนเช้า ตอนเช้าเมื่อตื่นนอนด้วยกันถ้ามีลางไม่ดีพวกเขาก็จะไม่แต่งานกัน ระหว่างที่จับคู่กับเด็กชายคนใดคนหนึ่ง เพื่อประกันว่าเธอจะได้แต่งงานหากเธอท้อง เด็กหญิงจะต้องได้(หรือขโมย)เครื่องประดับจากเด็กชาย เพราะเมื่อเธอท้องเธอจะต้องแต่งงานกับเด็กชายที่เป็นเจ้าของเครื่องประดับที่เธอมีอยู่ (หน้า 26-27) อาข่ามีเรื่องเกี่ยวกับการทำเสน่ห์ เมื่อผู้ชายหลงรักผู้หญิงแต่หญิงนั้นไม่รักตอบเขาจะทำเสน่ห์ด้วยตัวเองหรือให้คนอื่นทำให้ เสน่ห์นั้นมักจะเป็นขี้ผึ้งที่ลงเวทย์มนต์ และยังมีดินเหนียวลงเวทย์มนต์ ที่กินแล้วจะหลงไหล ผู้เฒ่าบางคนสามารถแก้มนต์และช่วยเด็กหญิงที่ถูกทำเสน่ห์ได้(หน้า 27-28) อาข่าเชื่อกันว่าการแสดงความรักและการร่วมเพศต้องไม่ทำอย่างเปิดเผยเพราะเป็นเรื่องน่าอาย คู่แต่งงานต้องระวังไม่ให้คนอื่นเห็นเวลาร่วมเพศเพราะผู้ที่พบเห็นจะโชคร้าย ถ้าใครเห็นการร่วมเพศเขาจะต้องหยุดงานทั้งหมดที่กำลังทำในวันนั้นถ้ากำลังจะไปไหนก็ต้องกลับบ้านทันที การร่วมเพศในบ้านก็จะทำให้ผีบรรพบุรุษโกรธ มีข้อห้ามในการหลับนอนกับคนที่ตนไม่อาจแต่งงานด้วยได้เช่นคนในตระกูลเดียวกัน ห้ามการร่วมรักกับเพศเดียวกัน ห้ามแต่งงานก่อนการปลูกข้าวครั้งแรก ไม่เช่นนั้นเจ้าที่ในนาจะโกรธและลงโทษ ห้ามหลับนอนกันในกระท่อมในนา ถ้าจะไปหลับนอนกันในนาจะต้องให้ไก่หนึ่งตัวต่อเจ้าที่ ห้ามหลับนอนกันคืนก่อนวันที่จะมีพิธีกรรมของหมู่บ้าน เพราะเชื่อว่าการร่วมหลับนอนกันเป็นเรื่องสกปรก ห้ามสามีภรรยาหลับนอนกันคืนก่อนที่สามีจะไปล่าสัตว์ และถ้าล่าหมูป่าได้จะต้องงดหลับนอนกัน 12 วัน อาข่าเชื่อว่าวิญญาณสัตว์ป่าจะตามนายพรานกลับมาแล้วเข้าสู่ร่างผู้หญิงผ่านการร่วมหลับนอนกัน (หน้า 29-30) คู่ที่แต่งงานกันแล้วจะไม่นอนด้วยกันตลอดคืน มีตำนานของอาข่าเล่าว่า ในสมัยก่อนมีชายอาข่าที่ต้องอยู่บ้านและทำงานคนเดียว วันหนึ่งชายคนนี้ไปหาหมอผีเพื่อขอภรรยา หมอผีบอกว่าถ้าเขาเข้าไปในป่าแล้วร้องเพลงจะมีผู้หญิงมาหาเขา เขาจะต้องกอดหญิงคนนั้นแล้วพากลับบ้านและร่วมหลับนอนกับเธอ จากนั้นเธอจะกลับไปยังป่า หลายปีต่อมา หลังจากที่ชายคนนั้นได้ภรรยาและภรรยาของเขาก็จะต้องกลับเข้าไปในป่าทุกคืน นี่เป็นเหตุที่คู่สามีภรรยาอาข่าต้องแยกห้องนอนกัน โดยฝ่ายหญิงจะเป็นผู้มาหลับนอนกับฝ่ายชาย ชายจะไม่ไปหาหญิงที่ห้องเพราะเชื่อว่าหญิงมาจากป่าและอาจจะทำร้ายหรือฆ่าเขาได้(หน้า 31)

Education and Socialization

แม่จะเป็นผู้สอนเด็กๆ ทั้งลูกสาวที่โตแล้ว ลูกสะใภ้ หลานชายและหลานสาว การสอนส่วนมากเป็นในรูปของเพลงกล่อมเด็กและเพลงต่างๆ โดยจะสอนเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูก นอกจากแม่แล้วปู่ย่าก็ช่วยสอนหลานๆ โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่ไปทำงาน (หน้า 19, หน้า 73) รัฐบาลไทยจัดตั้งโรงเรียนในหมู่บ้านอาข่าหลายหมู่บ้านโดยให้ตำรวจตระเวณชายแดนเป็นครูผู้สอน (หน้า 21)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst นันทวัน หาญสมบูรณ์ Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG อาข่า, สังคมเศรษฐกิจ, ผู้หญิง, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง