สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง),คะยาห์ กะเรนนี บเว(กะเหรี่ยง), ขบวนการ,องค์กรทางการเมือง,การต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเอง,ประเทศพม่า
Author Kazuto, Ikeda
Title The Karen Nationalist Movement in the Independence Period of Burma: The Politics of “a Separate State”
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาญี่ปุ่น
Ethnic Identity โพล่ง โผล่ง โผล่ว ซู กะเหรี่ยง, ปกาเกอะญอ, กะแย กะยา บเว, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดสยามสมาคม Total Pages 60 Year 2543
Source สถาบันวิจัยวัฒนธรรมเอเชียอาฟริกา เล่มที่ 60 ปี 2000
Abstract

ภายใต้การปกครองของอังกฤษซึ่งให้สิทธิพิเศษแก่ชนชาติกะเหรี่ยงอย่างมากมาย รวมถึงการรับประกันสิทธิของกะเหรี่ยงใน การปกครองตนเองภายหลังการให้เอกราช แต่เมื่อได้รับเอกราชพม่านำโดย AFPFL ซึ่งประสบปัญหาความแตกแยกภายใน ก็ ไม่ได้ให้เอกราชกับกะเหรี่ยงตามแนวคิดเรื่องรัฐแบ่งแยก ทำให้กะเหรี่ยงไม่พอใจและลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิของตน อย่างไรก็ ตามกะเหรี่ยงเป็นเชื้อชาติขนาดใหญ่มีแหล่งที่อยู่และสายพันธุ์มากมาย อีกทั้งผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายก็แตกต่างกัน กะเหรี่ยงเองจึงมีการแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะ KNU และ KYO ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีจุดหมายและวิธีการต่อสู้ที่แตกต่างกันไป

Focus

การต่อสู้ขององค์กรทางการเมืองต่างๆ ของกะเหรี่ยงเพื่อสิทธิในการปกครองและดินแดน อาศัยของตนเองในเขตสหภาพพม่า ในช่วงต่ออาณานิคมและการได้รับเอกราช

Theoretical Issues

ไม่มีข้อมูล

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

Language and Linguistic Affiliations

การแบ่งกลุ่มของกะเหรี่ยงในปัจจุบันเป็นการแบ่งตามภาษา โดยกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ กะเหรี่ยงสะกอและโปว์ ประมาณร้อยละ 70 ของจำนวนกะเหรี่ยงทั้งหมด ถิ่นอาศัยอยู่บนเขาสูงบริเวณทิศตะวันตกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีและทิศตะวันออกของชายแดนพม่าไทย กะเหรี่ยงส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา รองลงมาคือคริสต์ศาสนาซึ่งมีจำนวนประมาณร้อยละ 10-20 ที่เหลือเป็นกะเหรี่ยงที่นับถือผีสาง (หน้า 42)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

มีเอกสารทางการหลายฉบับในช่วงที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษที่ระบุไว้ว่า ถิ่นที่อยู่ของชาวกะเหรี่ยงเป็น "รัฐแบ่งแยก (a separate state)" ซึ่งมีการตีความแตกต่างกันไป อังกฤษและพม่าตีความในฐานะที่รัฐกะเหรี่ยงเป็นหน่วยการปกครองหน่วยหนึ่งว่า เป็นรัฐที่มอบให้กะเหรี่ยงปกครองตนเอง ขณะเดียวกันกะเหรี่ยงกลับตีความว่า "รัฐแบ่งแยก" คือรัฐอิสระหรือมีฐานะเป็นประเทศหนึ่ง และความหมายนี้เองที่กลายเป็นเป้าหมายของการต่อสู้ของกะเหรี่ยงในเวลาต่อมา (หน้า 38-41) จุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์พม่าและกะเหรี่ยงคือ เมื่อมีการทำข้อตกลงระหว่างอองซานกับอัทลี (Atlee) และการกำหนดรัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคม ปี 1947 โดย AFPFL เท่ากับว่าอังกฤษยอมรับเอกราชของพม่า และอังกฤษจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับปัญหากะเหรี่ยงในพม่าอีก ทาง AFPFL จะเป็นผู้จัดการปัญหานี้เอง (หน้า 51-54) ในปี 1947 AFPFL ต้องเผชิญกับปัญหาการรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น รวมไปถึงดินแดนของกะเหรี่ยงด้วย รัฐบาลพม่าแสดงท่าทีเกี่ยวกับการรวมประเทศครั้งแรกในการประชุมเตรียมร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 20-23 พฤษภาคม แนวคิดการรวมเป็นหนึ่งทางการเมืองของอองซานมีพื้นฐานมาจากแนวคิดของเลนินและสตาลิน โดยอองซานเสนอว่าพม่าประกอบไปด้วย ชุมชนแห่งชาติ (National Community) ซึ่งหมายถึงเชื้อชาติพม่าเท่านั้น ในที่นี้อาจตีความรวมถึงฉานได้ด้วย อีกส่วนหนึ่งคือ เชื้อชาติชนกลุ่มน้อย (National minority) หมายถึง จิ่งโป คะฉิ่นและกะเหรี่ยง เนื่องจากชนชาติเหล่านี้ไม่มีภาษาสากลและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่เข้มแข็ง ทั้งนี้แนวคิดการแบ่งแยกเชื้อชาติประชากรของพม่าออกเป็นสองกลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ AFPFL ได้เป็นอย่างดี (หน้า 68-70) ด้านการปกครอง AFPFL ตัดสินใจที่จะรวมอำนาจการปกครองและเขตแดนทั้งหมด รวมถึงพื้นที่ห่างไกลของกะเหรี่ยง โดยไม่ได้คำนึงถึงแนวคิดเรื่อง "รัฐแบ่งแยก" ทั้งนี้ เนื่องจากทาง AFPFL เกรงว่าหากปล่อยให้ดินแดนเหล่านี้มีอิสระมากเกินควรอาจส่งผลให้พลังการต่อสู้ของกะเหรี่ยงเพิ่มมากขึ้น (หน้า 73) แต่รัฐธรรมนูญนี้สร้างความไม่พอใจต่อฝ่ายกะเหรี่ยงมาก เดือนมิถุนายนฝ่ายBKNA, KYO ยกเว้น KNU, San Po Thin,และ Bakhaing กะเหรี่ยงในพื้นที่ห่างไกลได้จัดตั้ง "รัฐแบ่งแยก" ขึ้นโดยได้รับความยอมรับจากอังกฤษ แต่สร้างความกังวลใจให้กับฝ่ายพม่าเป็นอย่างมาก (หน้า 74-75) แต่ข้อตกลงของกะเหรี่ยงดังกล่าวต้องสะดุดลงเมื่อเกิดเหตุการณ์การสังหารผู้นำคนสำคัญของ AFPFL รวมถึงอองซานในวันที่ 19 กรกฏาคม (หน้า 79-80) กลุ่มกะเหรี่ยงจึงได้สลายตัวกันไป (หน้า 81,94) พลังการต่อสู้ของกะเหรี่ยงแตกแยกกันอีกครั้งก่อนการประชุมครั้งที่สองเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาเชื้อชาติกะเหรี่ยงแตกออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่าย KYO ที่ต้องการตั้ง KAC คณะกรรมการหารือด้านการปกครอง ซึ่งเป็นการประกันสิทธิในด้านการปกครองตนเองเท่านั้น ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นฝ่ายกะเหรี่ยงที่มีพื้นที่ห่างไกลยังคงยืนยันเรื่อง รัฐแบ่งแยกซึ่งครอบคลุมถึงเขตแดนและอำนาจในการปกครองตนเอง (หน้า 81-83,94-95) ความแตกแยกทวีความรุนแรงมากขึ้นไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม KNU และ กลุ่ม KYO เท่านั้น ยังปรากฏความแตกแยกระหว่าง KNU กับกะเหรี่ยงในเขตห่างไกลและความแตกแยกกันเองภายในระหว่างกลุ่มกะเหรี่ยงพื้นที่ห่างไกล (หน้า 83-84) เป้าหมายของแต่ละกลุ่มต่างกันไปดังนี้ 1. KNU ต้องการตั้งรัฐเอกราชของกะเหรี่ยง 2. KYO ไปกล่าวที่เขตตะนาวศรี (tenaserim) ของกะเหรี่ยงเพื่ออธิบายเงื่อนไขที่ทางกะเหรี่ยงได้ตกลงไว้แล้ว 3. กะเหรี่ยงพื้นที่ห่างไกลยังต้องการให้ตั้งรัฐแบ่งแยกเขตสาละวินได้แบ่งแยกออกจากกลุ่มกะเหรี่ยงพื้นที่ห่างไกล 4. คาเรนนีเปลี่ยนท่าทีก่อนการประชุมโดยหันไปเข้ากับฝ่ายสหภาพพม่า ทำให้สุดท้ายฝ่ายคาเรนนีได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐธรรมนูญที่แตกต่างจากกะเหรี่ยงอื่นๆ (หน้า 83-86) ผลคือ รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้สิทธิเรื่องรัฐกะเหรี่ยงหรือแม้แต่เขตพิเศษกะเหรี่ยงเลย สิ่งที่รัฐธรรมนูญให้ความสนใจคือการตั้ง KAC เท่านั้น (หน้า 88-89) หลักการของรัฐธรรมนูญทำให้ KNU ยิ่งแข็งกร้าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้นรัฐบาลกลางพม่ากำลังประสบปัญหาเรื่องพรรคคอมมิวนิสต์ หรือ PVO (People's Volunteer Organisation) ทำให้ปัญหาเรื่องกะเหรี่ยงไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร (หน้า 90-91) อย่างไรก็ตาม ท่าทีของกะเหรี่ยงกลับเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ทหารกะเหรี่ยงกว่า 4 แสนคนได้เข้ายึดเมืองใหญ่กว่า 10 เมืองในเวลาเดียวกัน ในเดือนกันยายนหน่วย KNDO (Karen National Defense Organisation) ซึ่งเป็นกองกำลังป้องกันของ KNU ได้เข้ายึดเมืองท่าตอนและเมาะละแหม่ง (หน้า 91-92) ตามด้วยการรบครั้งใหญ่ในเมืองอินเสนในวันที่ 31 มกราคม 1949

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

องค์กรการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกะเหรี่ยง ได้แก่ KNU (Karen National Union) แกนหลักคือกะเหรี่ยงสะกอและโปว์ KNPP (Karenni National Pregressive Party) ของกะเหรี่ยงคาเรนนี PNO (Pao National Organisation) และ SSNLO (Shan State Nationalities Liberation Organisation) (หน้า 42-43) องค์กร KCO หรือ Karen Central Organisation และ KYO (Karen Youth Organisation) ซึ่งเป็นองค์กรยุวชนกะเหรี่ยงที่เกิดขึ้นในปี 1945 และเติบโตอย่างรวดเร็ว (หน้า 50) ปี 1881 เป็นปีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเริ่มมีการเคลื่อนไหวและก่อตั้ง Karen National Association หรือ KNA ส่วนพม่ามีการก่อตั้งองค์กรครั้งแรกในปี 1906 ชื่อองค์กร Young Men's Burmese Association (YMBA) ความแตกต่างระหว่างองค์กรของกะเหรี่ยงกับพม่าคือ องค์กรของพม่าก่อตั้งขึ้นมาเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย ส่วนองค์กร KNA ของกะเหรี่ยงเป็นเพียงองค์กรทางศาสนาและวัฒนธรรม เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองในภายหลัง ฝ่ายพม่าในระยะนั้นต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ขณะที่ฝ่ายกะเหรี่ยงเป็นมิตรที่ดีกับอังกฤษ แนวทางทางการเมืองของกะเหรี่ยงกับพม่าจึงขัดแย้งกัน ขณะนั้น Dr.San Crombie Po ได้จัดตั้ง "รัฐแบ่งแยก" ซึ่งมีการระบุอย่างชัดเจนในครั้งแรกว่า " รัฐกะเหรี่ยงพร้อมกับท่าเรือทางทะเลในสหภาพพม่า (A Karen State, with seaboard, in the United Burma)" (หน้า 57) โดยกำหนดลักษณะพิเศษเกี่ยวกับกะเหรี่ยงไว้ว่า ต้องเป็นกะเหรี่ยงตามการกำหนดโดยอังกฤษ ต้องเป็นกะเหรี่ยงที่นับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น และต้องเป็นกะเหรี่ยงที่นับถืออังกฤษ และในทางตรงกันข้าม ต้องไม่ไว้วางใจพม่าด้วยเช่นกัน ต่อมา Dr.San C. Po ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งกะเหรี่ยงในต้นทศวรรษ 1920 นอกจากนี้ Dr.San C. Po ยังได้ก่อตั้ง "a Karen country" โดยมีหลักการจากความไม่พอใจต่อความไม่ยุติธรรมที่ชนชาติกะเหรี่ยงไม่มีสิทธิ์บนถิ่นอาศัยของตน (หน้า 44-45) ซึ่งกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือ กลุ่มกะเหรี่ยงสะกอที่นับถือคริสต์เป็นหลัก (หน้า 52) ช่วงตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 7 กุมภาพันธ์ ทาง KCO ได้จัดการประชุมหารือกันในหมู่กะเหรี่ยงทั้งหมด (All Karen Congress) เนื่องจากความกังวลต่อผลของข้อตกลงระหว่างอองซานกับอัทลี ผลของการประชุมกะเหรี่ยง คือ หนึ่ง การก่อตั้งสหพันธ์กะเหรี่ยงร่วม (KNU) โดยผู้นำขององค์กรนี้เป็นกลุ่ม KCO และ KYO สมาชิกหลักเป็นกะเหรี่ยงสะกอและโปว์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ ข้อตกลงที่สอง คือ การยอมรับข้อตกลงระหว่างอองซานกับอัทลี (หน้า 54-56) ต่อมากลุ่ม KNU ได้แตกออกเนื่องจากความคิดเห็นต่อผู้นำพม่าแตกต่างกัน กลุ่ม KYO เริ่มมีความสนิทสนมและสนับสนุนอองซาน แสดงบทบาทเป็นเสมือนผู้ประสานงานระหว่าง KNU กับ AFPFL (หน้า 59) ความแตกแยกนี้ ไม่ได้เกิดจากความแตกต่างทางอุดมการณ์ แต่เกิดจากทัศนคติต่อชาติพันธุ์พม่าที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการต่อรองกับ AFPFL และความต่างเรื่องวิธีการปกป้องสิทธิของกะเหรี่ยง (หน้า 60-61)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

1. แผนที่รัฐแนวร่วมเอกภาพกะเหรี่ยง (United Frontier Karen State) ปี 1945-6 (หน้า 49) 2. แผนที่รัฐปกครองตนเองกะเหรี่ยง (a Karen Autonomous State) (หน้า 78) 3. แผนที่พื้นที่ศูนย์กลางของคอทูเล ภายหลังการตั้งรัฐธรรมนูญ (หน้า 90) ตารางที่ 1 โครงสร้างผู้นำของ KNU ปี 1947 (หน้า 55) ตารางที่ 2 ผู้เข้าร่วมประชุมเชื้อชาติกะเหรี่ยงทั้งหมด ปี 1947 (หน้า 56) ตารางที่ 3 โครงสร้างผู้นำใหม่ของ KNU ปี 1947 (หน้า 59) ตารางที่ 4 สมาชิกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชนชาติกะเหรี่ยง (หน้า 66) ตารางที่ 5 ตารางการกำหนดสถานะของชาติพันธุ์ต่างๆ ในรัฐธรรมนูญโดย AFPFL (หน้า 72)

Text Analyst Tatsuo Iida, Sivarin Lertpusit Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), โพล่ง โผล่ง โพล่ว ซู (กะเหรี่ยง), คะยาห์ กะเรนนี บเว(กะเหรี่ยง), ขบวนการ, องค์กรทางการเมือง, การต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเอง, ประเทศพม่า, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง