สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เย้า,องค์กรการเมือง,นโยบายรัฐ,ลำปาง
Author Jaafar, Syed Jamal
Title The Election of a Yao Headman
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 3 Year 2518
Source Farmer in the Hills : Upland Peoples of North Thailand, Anthony R. Walker (Editor),p.37-39. จัดพิมพ์โดย The School of Comparative Social Sciences พิมพ์ที่ Universiti Sains Malaysia Press}หน้า 37-39
Abstract

บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้ององค์กรการเมืองในหมู่บ้านเย้าบ้าน Khun Haeng อำเภองาว จังหวัดลำปางโดยเน้นกระบวนการเลือกตั้งผู้นำหรือหัวหน้าหมู่บ้านตามวิธีการที่เป็นทางการซึ่งจัดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากการสังเกตการณ์การเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านเย้าบ้าน Khun Haeng ผู้เขียนพบว่า สิ่งสำคัญของการเลือกผู้ใหญ่บ้านนี้ คือการปะทะกันระหว่างแนวคิดตามจารีตเกี่ยวกับการสืบทายาทผู้นำ และความต้องการของกฎหมายไทยซึ่งเป็นโลกสมัยใหม่ เย้ายังคงต้องการการสืบทอดตำแหน่งผู้นำผ่านทายาทต่อไป ผู้เขียนมองว่าอาจเกิดการปะทะกันระหว่างสองฝ่ายในอนาคตที่บ้าน Khun Haeng

Focus

เสนอภาพองค์กรการเมือง ของชาวเย้าบ้าน Khun Haeng อำเภองาว จังหวัดลำปาง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เย้า

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

4 เมษายน ค.ศ.1973

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

การปกครองส่วนภูมิภาคของไทยแบ่งเป็นจังหวัด อำเภอ ตำนล หมู่บ้าน และบ้าน (sub - villages) รูปแบบการปกครองนี้ใช้ทั้งกับหมู่บ้านไทยซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่และหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่คนไทยที่อยู่ในราชอาณาจักร บ้าน Khun Haeng เป็นหนึ่งในหมู่บ้านย่อย หรือบ้าน (sub - villages) รัฐบาลไทยครอบทับการปกครองของไทยเข้าไปบนสถาบันทางการเมืองดั้งเดิม ไม่มีแนวโน้มที่จะแทรกแซง แต่ทำให้แข็งแรงขึ้นด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ใหญ่บ้านอย่างเป็นทางการโดยรัฐ อย่างไรก็ตาม โดยกฎหมายไทยผู้ใหญ่บ้านจะต้องเกษียณเมื่ออายุ 60 ปีและรัฐบาลบังคับใช้กฏหมายนี้ ทำให้หัวหน้าหมู่บ้านเดิมต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุ 60 ปีด้วย ในสังคมเย้าปกติลูกชายของหัวหน้าหมู่บ้านจะสืบทอดตำแหน่งหัวหน้าหมู่บ้านต่อจากหัวหน้าคนเดิมที่ตายไป ทำให้สถานการณ์ในหมู่บ้านเย้าต้องเปลี่ยนไป ลูกชายอาจต้องรับตำแหน่งก่อนพ่อตาย และอาจทำให้เกิดปัญหาอีกอย่างคือ ความจงรักภักดีของลูกบ้านยังคงมีต่อพ่อซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเดิม (หน้า 37) การเลือกตั้ง ผู้วิจัยได้อยู่ในเหตุการณ์วันเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน Khun Haeng ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 4 เมษายน ค.ศ.1973 ที่อาคารของโรงเรียน จัดการโดยกำนันของตำบล Pong Tao ที่บ้าน Khun Haeng สังกัดอยู่ เวลา 12.10 น. - กำนันรอชาวบ้านอยู่ที่โต๊ะ เวลา 12.15 น. - กำนันกล่าวกับชาวบ้านสรุปความว่าชาวบ้านได้อาศัยอยู่มาเกินสามปีแล้ว จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหมือนคนไทย ทุกครอบครัวต้องร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ของหมู่บ้าน และต้องช่วยเหลือประเทศชาติ อย่าคิดว่าเจ้าหน้าที่ไทยไม่ได้ทำอะไรให้ การร่วมกิจกรรมนี้เป็นผลประโยชน์ของชาวบ้าน Khun Haeng เอง เวลา 1.00 น. - มีชาวเย้ามาเลือกตั้งนับได้ 41 คน เวลา 1.05 น. - เริ่มการเลือกตั้ง มีผู้ได้รับการเสนอชื่อสามคนคือ 1. Lao Tsu ลูกชายของหัวหน้าคนเก่า 2. Wuen Fuey หมอผี (spirit doctor) 3. Chan Hin ชายวัยกลางคนบุคลิกไม่ค่อยดึงดูดความสนใจ ระบบการลงคะแนนคือแต่ละคนเดินไปที่กระดานดำที่มีชื่อของผู้รับเลือกตั้ง แล้วทำเครื่องหมายที่ชื่อที่ตนเลือก - เวลา 1.10 น. ผลการเลือกตั้งคือ Lao Tsu ลูกชายหัวหน้าหมู่บ้านคนเก่าได้ 27 เสียง Wuen Fuey หมอผีได้ 14 เสียง และ Chan Hin ได้ 0 (คนที่เสนอชื่อเขาก็ไม่ได้ลงคะแนนให้เขา) หลังจากลงคะแนนแล้วกำนันได้ประกาศว่า Lao Tsu จะเป็นหัวหน้าหมู่บ้านคนใหม่ - เวลา 1.15 น. Lao Tsu ลุกขึ้นยืนประกาศว่าเขาไม่ต้องการรับตำแหน่งหัวหน้า เพราะตระหนักว่าการที่ชาวบ้านเลือกเขาเป็นเพราะเขาเป็นลูกชายของหัวหน้าคนเก่าทุกคนแสดงความเคารพต่อพ่อของเขา เขาบอกว่าเขายังอายุน้อยยังไม่มีครอบครัวและมักต้องออกจากหมู่บ้านเพื่อไปทำธุรกิจ - เวลา 1.20 น. กำนันให้ความเห็นว่าการตัดสินใจขึ้นกับชาวบ้าน แต่ไม่มีประโยชน์ที่จะบีบบังคับให้คนที่ไม่สมัครใจต้องรับตำแหน่ง เสียงส่วนใหญ่ยกมือเห็นด้วยที่จะเลือกคนอื่น - เวลา 1.25 น. การเลือกตั้งครั้งใหม่ใช้ยกมือลงคะแนนเสียง ผลคือ Wuen Fuey หมอผีได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าคนใหม่ ผู้วิจัยพบว่า 1. มีผู้ไปลงคะแนนเสียงค่อนข้างน้อย มีเพียง 41 ใน 62 หัวหน้าครอบครัวที่เข้าร่วม เพราะคนส่วนใหญ่ยังถือว่าหัวหน้าคนเก่าเป็นหัวหน้าของเขา ฉะนั้นจึงไม่สนใจว่าใครจะได้รับเลือก อีกเหตุผลหนึ่งคือส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในไร่และไร่ก็อยู่ไกลต้องเดินถึง 4 ชั่วโมง 2. เย้าเหล่านี้ยังคงต้องการการสืบทอดตำแหน่งผู้นำผ่านทายาท แต่ชาวบ้านไม่สามารถเลือกผู้นำผู้สูงอายุเดิมได้ จึงเลือกลูกชายของผู้นำเดิม แต่ลูกชายปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง เนื่องจากพื้นฐานความคิดที่ว่า เย้าที่ลงคะแนนเลือกเขาเปรียบเสมือนไม่เคารพต่อพ่อของเขา อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเลือกใหม่ ชาวบ้านที่เลือกเขาเปลี่ยนไปเลือกคนใหม่เพียง 8 คนเท่านั้น ที่เหลือก็ยังคงเลือกลูกชายหัวหน้าคนเก่าไม่สนใจการถอนตัวของเขา 3. บทบาทของกำนันเป็นตัวแทนของรัฐบาลไทยในการเลือกตั้งท้องถิ่น แสดงออกถึงผลประโยชน์ของรัฐอย่างแจ่มชัดในกิจการของหมู่บ้าน การแสดงออกของกำนันทำให้เย้ามีความรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทย สุดท้าย สิ่งสำคัญของการเลือกผู้ใหญ่บ้านนี้ คือการปะทะกันระหว่างแนวคิดตามจารีตเกี่ยวกับการสืบทายาทผู้นำ และความต้องการของกฎหมายไทยซึ่งเป็นโลกสมัยใหม่ เย้ายังคงต้องการการสืบทอดตำแหน่งผู้นำผ่านทายาทต่อไป เมื่อมีการลงคะแนนครั้งที่สองเพื่อเลือกคนอื่น เย้าส่วนใหญ่ที่สนับสนุนลูกชายผู้นำปฏิเสธที่จะเปลี่ยนการลงคะแนน แต่ที่สุดก็ได้ผู้ชนะที่อยู่อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีคะแนนเสียงชนะเพียงสามคะแนน ผู้วิจัยมองว่าอาจเกิดการปะทะกันระหว่างสองฝ่ายในอนาคตที่บ้าน Khun Haeng (หน้า 38-39)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst บุญสม ชีรวณิชย์กุล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG เย้า, องค์กรการเมือง, นโยบายรัฐ, ลำปาง, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง