สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject จีนมุสลิม จีนยูนนาน(จีนฮ่อ),การใช้ทรัพยากร,การพัฒนา,ที่ดิน,ดอยตุง,เชียงราย
Author สมพร ภูรีศรีศักดิ์
Title ผลกระทบของโครงการพัฒนาดอยตุงต่อสภาพทางเศรษฐกิจสังคมและรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินของจีนฮ่อ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity จีนยูนนาน จีนฮ่อ มุสลิมยูนนาน, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 79 Year 2534
Source หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วนศาสตร์) สาขาวิชาการจัดการป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

จากผลการวิจัยสรุปได้ในหลายประเด็น ได้แก่ ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน ขนาดของครอบครัวจีนฮ่อมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 7.28 คนต่อครอบครัว ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 14-54 ปี เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนจำนวนแรงงานในครัวเรือนมีประมาณ 5.7 คนต่อครอบครัว สำหรับการตั้งถิ่นฐาน โดยมากอพยพมาจากมณฑลยูนนานของจีนก่อนปี พ.ศ.2510 นอกจากนั้น จีนฮ่อส่วนมากไม่มีการศึกษา ส่วนผู้ที่มีการศึกษามักอยู่ในระดับประถมศึกษา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เกษตรกรรมเป็นอาชีพที่จีนฮ่อนิยมทำกัน รองลงมา คือ รับจ้าง ส่วนอาชีพเสริม จีนฮ่อประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด เกษตรกรรมเป็นอันดับรองลงมา สำหรับรายได้ทั้งในและนอกการเกษตรของครอบครัวในแต่ละปีประมาณ 35,022.77 บาทต่อครอบครัว ส่วนรายจ่ายโดยเฉลี่ย 30,513.32 บาทต่อครอบครัว แบ่งเป็นด้านการเกษตร บริโภคในครัวเรือน และด้านประเพณีวัฒนธรรม ทางด้านสุขภาพอนามัยพบว่าจีนฮ่อมีสุขภาพที่ดีเป็นส่วนมาก อีกทั้งในหลายครอบครัวยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอีกด้วย รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่วนใหญ่จีนฮ่อใช้ที่ดินในการปลูกพืชไร่มากกว่าไม้ผล โดยพื้นที่ทำกินเฉลี่ยต่อครอบครัวประมาณ 3.82 ไร่ ด้านการใช้เทคโนโลยีการเกษตรยังไม่ปรากฏมากนัก ในส่วนของการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่ามีการนำไม้มาทำฟืนหุงต้มและทำรั้วกันมาก ผลกระทบจากโครงการพัฒนาดอยตุง มีผลต่อจีนฮ่อในหลาย ๆ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านทรัพยากรดิน น้ำ และป่าไม้ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผลจากการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว และในด้านวัฒนธรรม ในส่วนของรายได้ในครัวเรือนพบว่าพื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงานในครัวเรือน กิจกรรมกลุ่ม อาชีพรอง และชนิดพืชที่ปลูก มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ในครัวเรือน และความเปลี่ยนแปลงของรายได้ในครัวเรือนขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ประโยชน์ในที่ดินของจีนฮ่อ (หน้า 71-73)

Focus

เป็นการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนรูปแบบในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีผลต่อระดับรายได้ของประชากร และกำหนดแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสม เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของชุมชนนี้ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

พื้นที่ในการศึกษาคือ บ้านห้วยไร่ ซึ่งเป็นชุมชนของจีนฮ่อ ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาดอยตุง อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในโครงการพัฒนาดอยตุงอีกด้วย (หน้า 3)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ประชากรส่วนใหญ่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านห้วยไร่ก่อนปี พ.ศ. 2510 โดยอพยพมาจากประเทศจีนบริเวณมณฑลยูนนาน เป็นหลัก บางส่วนอพยพมาจากรัฐฉานของพม่า และตำบลอื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย แต่โดยรวมมีจุดเริ่มต้นของการอพยพจากมณฑลยูนนานแทบทั้งสิ้น เป็นในลักษณะของการอพยพเป็นทอด ๆ จากประเทศจีนมายังพม่า เพื่อตั้งถิ่นฐานทำกินและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไทยในที่สุด (หน้า 26) รูปแบบการตั้งถิ่นฐานเป็นแบบกระจายตามสองข้างถนนในหมู่บ้าน นิยมตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มๆ และค่อยๆ ขยายตัวขึ้นไปตั้งแต่เชิงเขาจนถึงยอดเขา ซึ่งเป็นการตั้งถิ่นฐานที่ไม่มีการวางแผนและรูปแบบแน่นอน แต่เป็นการปรับตัวตามข้อจำกัดทางสภาพภูมิประเทศที่เป็นอยู่ (หน้า 24)

Demography

จำนวนครอบครัวของจีนฮ่อบ้านห้วยไร่มีทั้งหมด 166 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,209 คน ประกอบด้วยเพศชาย 622 คน และเพศหญิง 587 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานมากที่สุด รองลงมาคือ วัยเด็ก และน้อยที่สุดคือ ผู้สูงอายุ (หน้า 26) ลักษณะของครอบครัวส่วนใหญ่เป็นแบบครอบครัวขยายคือ เป็นระบบเครือญาติ และมีสมาชิกในครัวเรือนมาก จึงเป็นครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ จำนวนสมาชิกในครอบครัวโดยเฉลี่ย 7.28 คน โดยส่วนมากอยู่ระหว่าง 6-8 คนต่อ 1 ครัวเรือน ครอบครัวที่มีสมาชิกมากที่สุดเท่ากับ 22 คน และน้อยที่สุดจำนวน 1 คน (หน้า 24)

Economy

อาชีพหลักของประชากรจีนฮ่อที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปคือ อาชีพเกษตรกรรม (47.8%) รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง และค้าขาย ในส่วนของอาชีพรองหรืออาชีพเสริมพบว่า คนในหมู่บ้านนิยมประกอบอาชีพรับจ้างเป็นจำนวนมาก (77.7%) (หน้า 31)

Social Organization

ในหมู่บ้านห้วยไร่มีการจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในหมู่บ้าน อีกทั้งทำหน้าที่ช่วยเหลือกรรมการหมู่บ้านประกอบกิจกรรมเพื่อพัฒนาด้านต่าง ๆ ในสังคมของหมู่บ้านให้ดำเนินไปด้วยดี โดยมีการจัดตั้งกลุ่มหนุ่มสาว กลุ่มเยาวชน และกลุ่มแม่บ้าน เป็นต้น (หน้า 35)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ในอดีต จีนฮ่อบ้านห้วยไร่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ มีบางครอบครัวที่นับถือผีบรรพบุรุษ เมื่อมีการพัฒนามากขึ้นจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธกันหมด คนจีนฮ่อนั้นเหมือนกับคนจีนในไทยโดยทั่วไปที่นิยมเซ่นไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลต่างๆ เช่น วันตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และวันเช็งเม้ง เป็นต้น ในหมู่บ้านแห่งนี้มีทั้งศาลเจ้าแบบจีนและโบสถ์คริสต์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งจะมีคนในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียงมาประกอบพิธีทางศาสนาอย่างต่อเนื่อง (หน้า 56)

Education and Socialization

ภายในหมู่บ้านมีโรงเรียนที่เปิดสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาคือ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี ประกอบด้วยนักเรียนประมาณ 450 คน อาจารย์ 19 คน และยังมีการศึกษานอกระบบ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ แบบการศึกษานอกโรงเรียน ซึ่งเป็นครูอาสาสมัครสอนโดยใช้หลักสูตรระยะสั้น ๆ กับบุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อความเหมาะสมของท้องถิ่น เป็นการเสริมความรู้ให้แก่ผู้เรียนที่มีความรู้ไม่เพียงพอ จากการศึกษาพบว่าประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านไม่มีการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 54.76 เป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษาร้อยละ 41.60 และมีเพียงร้อยละ 3.64 เป็นผู้ศึกษานอกโรงเรียน (หน้า 30)

Health and Medicine

ประชากรบ้านห้วยไร่ส่วนใหญ่มีสุขภาพและอนามัยที่ดี เนื่องจากมีสถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน และอยู่ใกล้กับตลาดห้วยไคร้ทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างสะดวก หากเจ็บป่วยธรรมดาก็สามารถซื้อยามารับประทานเองได้ โรคที่พบมากของคนในหมู่บ้านคือ ไข้หวัด ปวดหัว ปวดท้อง โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรง ส่วนมากจะไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยห้วยไร่ หรือโรงพยาบาลแม่จัน และโรงพยาบาลจังหวัดเชียงราย (หน้า 36)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การตัดถนนเข้ามาภายในหมู่บ้านเนื่องจากโครงการพัฒนาดอยตุง ส่งผลให้จำนวนจีนฮ่อในหมู่บ้านที่เพิ่มขึ้นไม่มีที่ดินทำกินเพราะที่ดินมีราคาแพงขึ้น บางครอบครัวที่มีที่ดินมาก นิยมขายและอพยพไปอยู่ในตัวเมืองและกรุงเทพมหานคร อีกทั้งนโยบายของโครงการพัฒนาดอยตุงที่ให้ลดการตัดไม้ลง ทำให้ไม่สามารถทำไร่เลื่อนลอยได้ เป็นเหตุให้จำนวนครอบครัวในหมู่บ้านมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การมีถนนช่วยให้การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งเกิดผลดีต่อการนำผลผลิตเข้าไปจำหน่ายในเมืองเพื่อสร้างรายได้มากยิ่งขึ้น (หน้า 51-52) ในด้านวัฒนธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบเพราะความเจริญที่เข้ามาพร้อมกับถนน ทำให้คนในหมู่บ้านรับเอาวัฒนธรรมมาใช้ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และการรับข่าวสารที่เป็นวัฒนธรรมไทยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ลักษณะหลังคาบ้านของจีนฮ่อ ซึ่งจากที่เคยใช้หลังคามุงแฝกหรือหญ้าคา ได้เปลี่ยนเป็นการใช้กระเบื้องหรือสังกะสีเพราะฐานะที่ดีขึ้นตามอย่างคนไทย รวมไปถึงการแต่งกายที่วัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย (หน้า 56)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

จากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาดอยตุง ดังนี้ 1.การเพิ่มผลผลิตเพื่อช่วยให้จีนฮ่อมีรายได้สูงขึ้น ควรใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในส่วนการถือครองที่ดินทำกิน ทางโครงการฯ ควรจัดพื้นที่ให้เหมาะสมโดยเป็นสหกรณ์การเกษตรของหมู่บ้าน และปฏิบัติร่วมกับการพัฒนาการเกษตรป่าไม้และอื่นๆ 2.การกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินควรคำนึงถึงความเหมาะสมของลักษณะพื้นที่ และการกำหนดนโยบายการปลูกป่าควรมองถึงวัตถุประสงค์ของโครงการด้วย ในด้านการพัฒนาป่าไม้ ควรส่งเสริมให้มีการปลูกพรรณไม้ดั้งเดิมและปล่อยให้ฟื้นฟูเองตามธรรมชาติของป่า 3.เนื่องจากจีนฮ่อส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษา จึงควรพัฒนาการศึกษาในหมู่บ้านทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน รวมไปถึงเสริมหลักสูตรทางด้านการเกษตรและการฝีมือ เพื่อพัฒนาแรงงานด้านนี้ เพราะในปัจจุบันมีอัตราการจ้างงานประเภทนี้สูง โดยการจัดงานฝีมือส่งให้ถึงหมู่บ้านและรับไปจำหน่ายเมื่อทำเสร็จ ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ เป็นการสร้างรายได้ในครอบครัว ส่งผลต่อการลดการใช้ที่ดินของจีนฮ่อ และลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าตามมา 4.เนื่องจากการมีกิจกรรมกลุ่มมากทำให้รายได้ของครัวเรือนลดลง ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้จัดกิจกรรมกลุ่มที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับอาชีพเท่านั้น และลดกิจกรรมกลุ่มที่ไม่จำเป็น โดยหันไปส่งเสริมให้ปลูกพืชที่ตลาดต้องการและมีราคาสูง อีกทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดย่อมแบบครบวงจรภายในหมู่บ้าน เพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกร (หน้า 74-76)

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้มีการนำเสนอข้อมูลด้วยการใช้ตาราง และรูปภาพ ซึ่งจะระบุรายละเอียดดังนี้ ตาราง : ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลภูมิอากาศบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พ.ศ.2529-2531) หน้า 22 ตารางที่ 2 แสดงขนาดของครอบครัวจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 26 ตารางที่ 3 แสดงกลุ่มอายุและเพศของประชากรจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 28 ตารางที่ 4 แสดงการตั้งถิ่นฐานของประชากรจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 29 ตารางที่ 5 แสดงภูมิลำเนาเดิมของประชากรจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 29 ตารางที่ 6 แสดงการศึกษาของประชากรจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 30 ตารางที่ 7 แสดงอาชีพหลักและอาชีพรองของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 31 ตารางที่ 8 แสดงรายได้รวมของครอบครัวจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 32 ตารางที่ 9 แสดงรายได้ของครอบครัวจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 33 ตารางที่ 10 แสดงรายจ่ายรวมของครอบครัวจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 34 ตารางที่ 11 แสดงรายจ่ายของครอบครัวแยกตามประเภทของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 35 ตารางที่ 12 แสดงรายจ่ายด้านบริโภคในครัวเรือนแยกตามประเภทของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 36 ตารางที่ 13 แสดงเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 37 ตารางที่ 14 แสดงขนาดของการถือครองที่ดินทำกินของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 38 ตารางที่ 15 แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินของประชากรจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 39 ตารางที่ 16 แสดงการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 41 ตารางที่ 17 แสดงช่วงเวลาทำการเพาะปลูกพืชไร่และพืชผักสวนครัวของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 42 ตารางที่ 18 แสดงไม้ยืนต้นบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 45 ตารางที่ 19 แสดงไม้ผลบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 46 ตารางที่ 20 แสดงพืชผักบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 47 ตารางที่ 21 แสดงผลกระทบจากการสร้างถนนต่อครอบครัวของจีนฮ่อ บ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 51 ตารางที่ 22 แสดงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมและรูปแบบการใช้ที่ดินจากโครงการพัฒนาดอยตุงของจีนฮ่อบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 53 ตารางที่ 23 แสดงค่าสัมประสิทธิ์ ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของสัมประสิทธิ์ t-value และระดับนัยสำคัญของสมการ หน้า 58 ตารางที่ 24 แสดงการคัดเลือกตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจสังคม และการใช้ประโยชน์ที่ดินของจีนฮ่อบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย โดยวิธี stepwise หน้า 59 ตารางที่ 25 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของครัวเรือนกับขนาดพื้นที่ถือครองบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 61 ตารางที่ 26 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับจำนวนแรงงานในครัวเรือนบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 62 ตารางที่ 27 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของครัวเรือนกับกิจกรรมกลุ่มของบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 63 ตารางที่ 28 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของครัวเรือนกับอาชีพรองของบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 64 ตารางที่ 29 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของครัวเรือนกับชนิดพืชที่ปลูกบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 65 ตารางที่ 30 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของครัวเรือนกับการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ. เชียงราย หน้า 66 ตารางที่ 31 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกลุ่มกับการใช้เทคโนโลยีการเกษตรบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 67 ตารางที่ 32 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมกลุ่มกับชนิดพืชที่ปลูกของบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 68 ตารางที่ 33 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ถือครองกับชนิดพืชที่ปลูกของบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 69 รูปภาพ : ภาพที่ 1 ที่ตั้งบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 20 ภาพที่ 2 แผนที่โครงการพัฒนาดอยตุง อ.แม่สาย และ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 22 ภาพที่ 3 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน อุณหภูมิ และจำนวนวันที่ฝนตกบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง จ. เชียงราย (พ.ศ.2529 -2531) หน้า 23 ภาพที่ 4 แผนที่สังเขปบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 25 ภาพที่ 5 แสดงโครงสร้างกลุ่มอายุและเพศของจีนฮ่อบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 27 ภาพที่ 6 ภาพตัดขวางแสดงลักษณะการใช้ประโยชนที่ดินของจีนฮ่อบ้านห้วยไร่ ต.แม่ไร่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย หน้า 40

Text Analyst นฤมล ธรรมานอก Date of Report 22 ก.ย. 2555
TAG จีนมุสลิม จีนยูนนาน(จีนฮ่อ), การใช้ทรัพยากร, การพัฒนา, ที่ดิน, ดอยตุง, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง