สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ชุมชนเมือง,การดูแลสุขภาพ,พิธีกรรม,การปรับตัว,เชียงใหม่
Author ลีศึก ฤทธิ์เนติกุล
Title การปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ในชุมชนเมืองของชาวเขาเผ่าม้ง : กรณีศึกษาเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 62 Year 2540
Source ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดเชียงใหม่, กรมประชาสงเคราะห์ และสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract

พรรณนาเกี่ยวกับวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ มีการใช้วิธีการแบบพื้นบ้านควบคู่กับการใช้วิธีแพทย์สมัยใหม่ วัฒนธรรมการควบคุมทางสังคมที่ใช้ทั้งจารีตประเพณีและการใช้กฎหมายบ้านเมืองนั้น มักมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ในด้านศิลปะและการ แสดงนั้นม้งในชุมชนเมืองเชียงใหม่ยังคงรักษาศิลปะดั้งเดิมไว้ ในขณะที่คนรุ่นใหม่บางส่วนได้ ปรับเปลี่ยนการเต้นรำของยุคสมัยปัจจุบันมาใช้ด้วย ความเชื่อเกี่ยวกับอำนาจเหนือธรรมชาติ วิญญาณต่าง ๆ และยังมี การปฏิบัติการเซ่นไหว้เช่นเดิม โดยที่ม้งถือว่าการลงมาในเมืองเชียงใหม่เป็นการลงมาทำมาหากินเท่านั้น บ้านพิธีกรรมจริง ๆ ก็คือ ชุมชนดั้งเดิม ในด้านเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพมาสู่การประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน และการค้าขายโดยเชื่อมโยงเครือข่ายทางการค้าระหว่างม้งด้วยกันเองกับคนพื้นราบ และคนต่างประเทศ ในปัจจุบันการปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับคนพื้นราบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถอยู่ร่วมกันได้

Focus

ศึกษาการปรับตัวของชาวเขาเผ่าม้งในชุมชนเมือง ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การดูแลสุขภาพ ความสัมพันธ์กับชุมชนเดิมและความมุ่งหวังที่จะทำให้คนรุ่นใหม่อยู่รอดในสังคมและวัฒนธรรมใหม่ (หน้า 2)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องการปรับตัว เพื่ออธิบายตามสมมติฐานที่ว่า ชาวเขาเผ่าม้งในชุมชนเมืองเชียงใหม่ จะต้องมีการปรับตัวในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (หน้า 18-19, 39-40) - ด้านการดูแลสุขภาพ พบว่า ยังคงใช้วิธีการแบบพื้นบ้าน เช่น การเรียกขวัญ การนวด การใช้ยาสมุนไพรร่วมกับการแพทย์สมัยใหม่ - ด้านเนติธรรม พบว่า ถ้าเป็นคดีแพ่งหรือเรื่องเล็กน้อย จะใช้กฏจารีตประเพณี หากเป็นเรื่องใหญ่จะใช้กฏหมาย - ด้านเศรษฐกิจ พบว่า เปลี่ยนจากการทำการเกษตรกรรมเพื่อการยังชีพมากเป็นการทำการค้า เป็นผู้ผลิตพ่อค้าคนกลาง พ่อค้าปลีก โดยมีเครือข่ายทางธุรกิจกับคนม้งด้วยกันเอง คนพื้นราบ และคนต่างชาติ นอกจากนี้บางส่วนยังมาขายแรงงานในปั๊มน้ำมัน และร้านค้าต่าง ๆ - ด้านคติธรรม พบว่า ยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา อำนาจเหนือธรรมชาติ - ด้านศิลปกรรม พบว่า ยังมีการปฏิบัติและเข้าใจด้านศิลปะที่สำคัญ ๆ และเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในชีวิตประจำวัน และสืบทอดปฏิบัติตามกันอยู่ - ด้านวัตถุธรรม พบว่า ม้งรุ่นใหม่ในชุมชนเมืองยังคงให้ความเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุต่าง ๆ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการดำรงชีพในปัจจุบัน - ความสัมพันธ์กับชุมชนดั้งเดิม พบว่า ในตอนแรกถูกมองว่าเป็นคนแปลกแยกในสังคมเมืองและได้รับความกดดันจากสังคมรอบด้าน ด้วยความสัมพันธ์ฉันเพื่อนบ้านอย่างธรรมดาทั่วไป

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขาเผ่าม้ง (ที่อพยพมาอยู่ในชุมชนเมือง อำเภอเมืองเชียงใหม่) (หน้า 16)

Language and Linguistic Affiliations

ผู้วิจัยกล่าวถึงการจำแนกเผ่าพันธุ์ชาวเขา โดยอาศัยหลักการทางภาษา ใน Tribal Research Institute (1995) ว่าเผ่าม้งจัดอยู่ในตระกูล Austro-Thai

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเริ่มทำการศึกษาเมื่อใด และใช้เวลาในนานเท่าไร แต่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ม้งในทุกฤดูกาล (หน้า 16)

History of the Group and Community

ประวัติศาสตร์จีนได้เริ่มต้นบันทึกการอพยพของชนชาติม้งจากที่ราบลุ่ม หยางเจ เมื่อประมาณ 4,675 ปีมาแล้ว ไปยังภูเขาทางทิศตะวันตก และพื้นที่อันขรุขระในมณฑลหูหนาน มณฑลกวางสี และต่อมาปรากฏว่า ม้งได้อพยพต่อไปยังภูเขาสูงในเขตประเทศเวียดนาม ลาว และไทยตามลำดับ ในปี ค.ศ.1975 รัฐบาลลาวพ่ายแพ้ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ม้งในประเทศลาวส่วนหนึ่งได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง (หน้า 5) จากปัญหาต่าง ๆ ของชาวเขา คือ การตัดไม้ทำลายป่า การปลูกฝิ่น ความมั่นคงชายแดน และมาตรฐานการดำรงชีวิต เป็นสาเหตุให้ม้งเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีการอพยพมาอยู่ในเมือง ในลักษณะเช่าบ้าน ซื้อบ้านเอง อาศัยอยู่กับนายจ้าง ประกอบอาชีพรับราชการ ค้าขาย และรับจ้าง การดำรงชีวิตในชุมชนใหม่ที่ล้อมรอบด้วยกลุ่มชนอื่น ๆ ที่มีประเพณีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด (หน้า 2)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ม้งในอดีตทำการเกษตรกรมจารีตประเพณี ที่เรียกว่า การทำการเกษตรแบบย้ายที่ (shifting cultivation) เพื่อการยังชีพ มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หลายชนิดควบคู่กัน มีการแบ่งแรงงานในครัวเรือนอย่างเป็นระบบ สิ่งของจำเป็นที่ต้องพึ่งพาจากสังคมภายนอก คือ เกลือและผ้า นอกจากนี้ถ่านไฟฉาย รองเท้า เข็มขัด ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน แต่ถือว่าฟุ่มเฟือย ส่วนม้งในชุมชนเมืองเชียงใหม่ ได้ผลิตสินค้า เช่น ปลอกหมอน, ผ้าคลุมเตียง, รูปหล่อเรซิ่น บางส่วนจำหน่ายปลีก บางส่วนขายส่งให้กับพ่อค้า คนพื้นราบ และม้งด้วยกันเอง และส่งออกต่างประเทศ และบางรายพ่อค้าคนกลาง รับซื้อวัตถุดิบ เช่น ด้าย ผ้า สินค้าหัตถกรรมและสินค้าการเกษตร เช่น มันฝรั่ง แครรอท มะเขือ ฯลฯ ส่งต่อไปกรุงเทพฯ นอกจากนี้ม้งยังมีพวกที่ทำธุรกิจจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมุ่งเน้นขายให้แก่ลูกค้าที่เป็นม้งหรือชาวเขาด้วยกันเอง หรือบางคนเป็นพ่อค้าปลีก รับสินค้าจากม้งหรือชาวเขาด้วยกัน ชาวพื้นราบ และชาวเขาเผ่าอื่น ๆ บางรายขายของข้างทางเท้า บางคนจำหน่ายที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ส่วนบางรายกลายเป็นแรงงาน เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวที่รับจ้างหล่อเรซิ่น รับจ้างทั่วไป ทำงานปั๊มน้ำมัน เสริฟอาหาร ในปัจจุบันหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำมาหากิน เป็นหน้าที่ของคนหนุ่ม ในการตัดสินใจเรื่องเศรษฐกิจของครอบครัว (หน้า 31-33)

Social Organization

ไม่มีข้อมูลชัดเจน มีแต่การกล่าวถึงการจัดระเบียบสังคมในยุคสังคมหมู่บ้านตอนต้น ที่ม้งแต่ละชุมชนเป็นกลุ่มเครือญาติสายตรงเท่านั้น คือ เป็นกลุ่มแซ่เดียวกันที่สืบเชื้อสายและสามารถนับญาติได้ประมาณ 3-4 ชั่วอายุคน การแต่งงานกันจึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างต่างชุมชนให้เป็นเครือญาติอย่างหลวม ๆ (หน้า 27) ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์กลุ่มม้งตระกูลต่าง ๆ มักมีการแต่งงานระหว่างกัน จึงถือได้ว่าทุกตระกูลเป็นเครือญาติกัน (หน้า 31)

Political Organization

ผู้วิจัยได้แบ่งลำดับขั้นการควบคุมทางสังคมไว้ 4 ขั้น ได้แก่ (หน้า 25-31) - ยุคสังคมบ้านป่า : กฎจารีตประเพณีที่ใช้ควบคุมการกระทำความผิดต่อวัตถุหรือทัรพย์สินทางธรรมชาติที่เป็นส่วนรวม เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาาจเหนือธรรมชาติ (spirit) ส่วนความผิดต่อบุคคลถือเป็นความผิดระหว่างตระกูลหรือกลุ่ม ความผิดฐานลักทรัพย์ การล่วงประเวณีผิดผัวผิดเมีย และการฆาตกรรมถือว่าเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา ต้องได้รับโทษด้วยการทำร้ายร่างกายอย่างทารุณ ตามความรุนแรงของความผิดจนถึงการประหารชีวิต - ยุคสังคมบ้านตอนต้น : ผู้นำชุมชนจะได้รับพระราชทานของ 3 สิ่งจากเจ้าเมือง ซึ่งแสดงถึงสิทธิ์ในการปกครองชุมชน - ยุคสังคมบ้าน : มีการใช้กฎหมายร่วมกับกฎจารีตประเพณี เป็นการควบคุมทางสังคมแต่พยายามรักษาความสัมพันธ์ให้คงเดิม ด้วยการตกลงเจรจาร่วมด้วย - ยุคสังคมเมือง : ใช้กฎหมายมากกว่าการใช้กฎจารีตประเพณี เช่นเดียวกับยุคสังคมบ้าน ซึ่งสามารถยอมความกันได้ แม้ในกรณีความผิดฐานฆาตกรรม (หน้า 25-31)

Belief System

ไม่มีข้อมูลที่บ่งบอกว่าม้งที่อาศัยในอำเภอเมืองเชียงใหม่นับถือศาสนาใด กล่าวแต่เพียงว่าเป็นม้งที่ไม่ใช่คริสเตียน ความเชื่อและพิธีกรรมยังคงอยู่ และในแต่ละปีจะใช้เวลากลับไปรวมกับญาติในชุมชนเดิม - ความเชื่อ : ม้งเชื่อในเรื่องจักรวาล เชื่อในเรื่องของผู้สร้างมนุษย์ซึ่งเป็นองค์เดียวกับพระยะโฮวาในศาสนาคริสต์ และแบ่งเป็นฝ่ายธรรม อธรรม และฝ่ายเป็นกลาง (ได้แก่ เจ้าป่าเจ้าเขา และผีบ้านผีเรือน) นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อในเรื่องวิญญาณ 3 ดวง ที่จะอยู่ในร่างกายของมนุษย์ เมื่อใดที่วิญญาณดวงใดแยกออกไปนาน ๆ จะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย และยังมีความเชื่อในวิญญาณผีบรรพบุรษ ผีป่าดอย (native spirits) วิญญาณชั่วร้าย (evil spirits) และผีบ้าน (house spirits) - พิธีกรรม : พิธีกรรมที่สำคัญ เช่น การ "หลือเต้า" (Lwn Tauj) เป็นพิธีกรรมปัดรังควาญประจำม้งตระกูลหยาง เป็นต้น (หน้า 33)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียด

Health and Medicine

การตั้งถิ่นฐานใหม่ในชุมชนเมืองที่สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากชุมชนเดิมโดยสิ้นเชิง ในตอนแรกการปรับตัวทางด้านร่างกายกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยบ่อย ๆ เช่น เป็นไข้ ท้องเสีย เป็นต้น เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยม้งจะเลือกใช้บริการทางแพทย์เป็นอันดับแรก โดยใช้บริการจากสถานพยาบาลเอกชนมากกว่าสถานพยาบาลของรัฐ แม้ว่าราคาจะแพงกว่าก็ตาม เนื่องจากสถานพยาบาลเอกชนพูดจาสุภาพ ให้บริการที่อบอุ่น ในขณะเดียวกันจะมีการบำบัดรักษาโดยวิธีพื้นบ้านประกอบกัน เริ่มจาก - การวินิจฉัยโรค ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ 1.การทำนาย (Fortuneteller) : เรียนรู้มาจากชาวจีนโบราณโดยวิธีนับสัตว์ประจำวัน หรือทำนายจากแผ่นป้าย หรือวิธีที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ 2.การดูไข่ (Egg Teller or Nchuav qe) : ใช้เพื่อการหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและควรทำการรักษาด้วยวิธีใด 3.การตรวจใบหู (Ear Teller or Saib pob ntseg) : ผู้วินิจฉัยสามารถอ่านสาเหตุการเจ็บป่วยจากสีและเส้นเลือดฝอยบนใบหู 4.การเข้าทรง (ShamanismTeller) : วิธีการนี้ไม่สามารถทำเองได้ในชุมชนเมือง ต้องให้หมอผีทำพิธีดูให้ เพื่อเป็นการวินิจฉัยว่าจะทำการรักษาด้วยวิธีการอย่างไรต่อไป 5.การบน (Fee Yeng) : เป็นการร้องวิญญาณผู้คุ้มครองฟ้าดินมาปกป้องคุ้มครองรักษา โดยสัญญาว่า หากหายป่วยจะทำการเซ่นไหว้ด้วยวัว ควาย หมู เป็ดหรือไก่ พร้อมด้วยเหล้า และเศษกระดาษเงินกระดาษทอง 6.การคลำท้อง (Xuas Plab) : เป็นการวินิจฉัยอาการเกี่ยวกับท้อง เช่น การปวดจุกเสียดท้อง การมีครรภ์ตั้งอยู่ในท่าผิดปกติ - การรักษา (Traditional Healing) ได้แก่ 1.การรักษาด้วยการใช้ยาสมุนไพร (Herbalist) : ม้งในชุมชนเมืองจะปลูกพืชสมุนไพรที่ใช้บ่อย ๆ ไว้บนบ้าน โดยแบ่งยาออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทยาบำรุง ใช้ไก่ตุ๋นบำรุงสุขภาพ ประเภทรักษาอาการทั่วไป เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น และยาประเภทรักษาโรคร้ายแรง ได้แก่ การรักษาโรคเกี่ยวกับอวัยวะภายใน เช่น ตับอักเสบ ยาสมานกระดูก เป็นต้น แต่ยาประเภทนี้มักจะต้องเก็บรวบรวมมาจากป่าเพราะปลูกไม่ค่อยขึ้น 2.การรักษาด้วยการนวด (masseuse) : ใช้กับอาการปวดศรีษะปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง โดยใช้เขาเลียงผาดูดเลือดดำมารวมกันแล้วใช้ของมีคมกรีดให้เลือดดำทะลักออก หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ใช้ไข่ต้มผ่าเอาเหรียญเงินสอดแล้วนวดเบา ๆ ตามส่วนที่ปวด หลังจากนวดจะพบว่าเหรียญมีสีดำ ม้งเชื่อว่าสีดำนั้น คือ พิษ 3.การรักษาด้วยการกีดเลือด (Zaws Tso) : ใช้รักษาอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่เป็นพิษ 4.การรักษาด้วยการเข้าทรงหรืออัวเน้ง (shamanism) : มี 2 ประเภท คือ เน้งมัวเด๊อ (เน้งตาขาว) เป็นศาสตร์ที่เรียนรู้มา ใช้อุปกรณ์ง่าย พิธีกรรมมีเพียงหมอผีกับคนไข้เท่านั้น เป็นการข่มขู่ให้ผีร้ายออกจากร่างผู้ป่วย และเน้งมัวดู๊ (เน้งตาดำ) หมอผีไม่สามารถเรียนรู้เองได้แต่เกิดได้ด้วยวิธีการทางวิญญาณ การรักษาโดยเน้งมัวดู๊ หมายถึง วิญญาณผู้ป่วยได้นำไปยังปรโลก ส่วนการเข้าทรงของหมอผีหมายถึงการขี่ม้าเข้ามาสู่ปรโลกเพื่อไถ่ตัววิญญาณผู้ป่วยกลับมา ซึ่งจะต้องกลับไปทำพิธีกรรมยังบ้านเดิม (หน้า 21-25)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูลบ่งบอกว่าม้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองแต่งตัวอย่างไร มีแต่การแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยอาศัยศิลปะบนเสื้อผ้า คือ กลุ่มม้งขาว กลุ่มม้งเขียว และกลุ่มม้งกัวบ๊า (หน้า 34) ดนตรีของม้งไม่ใช่การแสดงออกของจังหวะ หรือระดับตามตัวโน้ตของดนตรีสากล แต่เสียงดนตรีแต่ละเสียงที่เปล่งออกมานั้นเป็นคำพูดที่คนฟังเข้าใจเหมือนกับฟังจากคำพูด ท่าทางการเต้นต่าง ๆ ก็เป็นการแสดงถึงความละเมียดละไมหรือความเก่งกาจของผู้เต้น (หน้า 33)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูลชัดเจน กล่าวถึง ที่มาของชื่อ "ม้ง" (Momg or Hmong) เป็นภาษาจีน ซึ่งทราบได้จากการสัมภาษณ์ผู้อาวุโสม้งถึงเรื่องความสัมพันธ์กับชาวจีน ยังมีคำเรียกอื่นในเชิงดูหมิ่นอีก เช่น แม้ว (Miao) เหมียวซือ (Miaozu) เป็นต้น (หน้า 3-4) และกล่าวถึงชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชุมชนใหม่ในเมืองและชุมชนเดิมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูลที่กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนแปงทางสังคมและวัฒนธรรมโดยตรง แต่ม้งในชุมชนเมืองมีการปรับตัวชีวิตความเป็นอยู่เกือบทุกด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลสุขภาพ ด้านเนติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านคติธรรม ด้านศิลปกรรม ด้านวัตถุธรรม และการปรับตัวกับเพื่อนบ้านที่เป็นคนพื้นราบ ดังที่ได้กล่าวมาในหัวข้อข้างต้น

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพเกี่ยวกับการปรับตัวทางวัฒนธรรม (หน้า 58-62)

Text Analyst ศรายุทธ โรจน์รัตนรักษ์ Date of Report 20 ม.ค. 2548
TAG ม้ง, ชุมชนเมือง, การดูแลสุขภาพ, พิธีกรรม, การปรับตัว, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง