สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,โครงสร้าง,สังคม,ภาคเหนือ
Author Kickert, Robert W.
Title Akha Village Structure.
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 6 Year 2510
Source Proceeding of the first symposium of the Tribal Research Centre, Chiang Mai, Thailand. p.35-40.
Abstract

หมู่บ้านอาข่าในประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมไร่หมุนเวียนและเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ หัวหน้าครอบครัวเป็นชายและนับญาติฝ่ายบิดา เมื่อแต่งงานบุตรชายจะสร้างบ้านในบริเวณใกล้เคียงกับบ้านของบิดา คนกลางอาจจะแยกออกไป การเป็นสมาชิกในครอบครัวคือการร่วมกันในการทำพิธีกรรมร่วมกัน เมื่อแต่งงานผู้ชายสามารถมีภรรยาได้มากกว่า 1 คนแต่ต้องได้รับการยินยอมจากภรรยา การหย่าร้างเป็นไปได้ง่ายภายหลังการหย่าร้างจะนิยมแต่งงานใหม่ ในหมู่บ้านจะมีหัวหน้าหมู่บ้าน ผู้นำทางศาสนาและผู้อาวุโสสำหรับดูแลหมู่บ้านให้สงบเรียบร้อย

Focus

ศึกษาโครงสร้างทางสังคมอาข่า

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่าทางภาคเหนือของประเทศไทย

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ค.ศ. 1967

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

การสร้างบ้านจะสร้างไปตามสันเขา หมู่บ้านอาจจะมีบ้านเป็น 2 แถว หรือถ้าเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่อาจจะมี 4-5 แถว การเลือกที่ตั้งของบ้านจะเป็นไปตามความต้องการของแต่ละครัวเรือน ทุกหมู่บ้านจะมีบ้านใหญ่ (Nyum Ma) และบ้านเล็ก (Nyum Ya) บ้านสร้างด้วยไม้ เสาทำจากไม่ไผ่ พื้นปูไม้ฝาก หลังคามุงหญ้า บ้านจะทำรั้วกั้นภายในพื้นที่จะมียุ้งฉางสำหรับเก็บผลผลิตจากไร่และมีศาลเจ้า (spirit house) บ้านเล็กจะมี 3 แบบ คือ 1. ตั้งอยู่ใกล้บ้านใหญ่ เป็นบ้านของบุตรชายที่แต่งงานแล้วของหัวหน้าครอบครัวและยังไม่มีฐานะดีพอ ที่จะแยกออกจากบ้านใหญ่ 2. บ้านเล็กอยู่ออกจากบ้านใหญ่ของพ่อ เป็นของบุตรชายที่ฐานะทางเศรษฐกิจดีแต่ยังมีการทำพิธีกรรมร่วมกับครอบครัวใหญ่ 3. บ้านเล็กที่อยู่โดดเดี่ยวเป็นของผู้มีครอบครัวและทำพิธีกรรมด้วยตนเองแต่ยังไม่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีพอที่จะสร้างบ้านใหญ่ได้ (หน้า 35)

Demography

ขนาดของหมู่บ้านประกอบด้วย 5-48 ครัวเรือน อัตราเฉลี่ยประมาณ 18 ครัวเรือ จำนวน 19-317 คน อัตราเฉลี่ยประมาณ 115 คน/หมู่บ้าน (หน้า 35)

Economy

พื้นที่นอกหมู่บ้านส่วนใหญ่จะเป็นที่ลาดชันจะถูกเตรียมสำหรับการทำเกษตรกรรม โดยเผาเพื่อเตรียมการเพาะปลูก และสร้างกระท่อมเล็ก ๆ และสร้างยุ้งฉางสำหรับเก็บผลผลิต โดยเฉพาะข้าวก่อนจะขนย้ายเข้ายุ้งฉางภายในบ้าน อาข่า ไม่มีระบบการเป็นเจ้าของที่ดิน แต่เป็นการใช้ที่ดินในการเพาะปลูก หัวหน้าครอบครัวจะเป็นคนดูแลและสืบทอดให้กับลูกชาย เครื่องมือเครื่องใช้จะใช้ร่วมกันภายในครอบครัว อาวุธและเสื้อผ้าจะถือเป็นของส่วนบุคคล (หน้า 37)

Social Organization

อาข่าจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่สามารถแยกเป็นอิสระนับถือผู้อาวุโสกว่า ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย จำนวนสมาชิกในครอบครัวประมาณ 7 คน หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ชาย สมาชิกในครอบครัวจะช่วยกันทำงานนไร่และทำพิธีกรรมร่วมกัน การนับญาติจะนับทางฝ่ายบิดา และมีการตั้งชื่อลูกชายให้คล้องกับชื่อของพ่อแม่ หากไม่ได้เป็นอาข่าโดยกำเนิดจะเป็นอาข่าได้เมื่อถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมเท่านั้นส่วนใหญ่อาข่าจะไม่ค่อยรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม แต่จะขายลูกให้กับกลุ่มอื่นๆ เช่น จีนฮ่อ เย้า และลีซู และสำหรับผู้หญิงอาข่าเมื่อแต่งงานกับคนนอกกลุ่มและยังคงอยู่ในหมู่บ้านอาข่าแต่จะไม่ถูกนับว่าเป็นอาข่า หมู่บ้านสามารถขับไล่คนให้ออกจากหมู่บ้านได้ถ้าหากคนนั้นกระทำความผิด และถ้าคนใดไม่ต้องการเป็นอาข่าจะต้องละทิ้งประเพณี พิธีกรรม และสิ่งของที่ใช้ในพิธีเหล่านั้นไป การเลี้ยงดูบุตร เมื่อเด็กอายุได้ 5 ปีจะต้องเริ่มช่วยงานภายในบ้านและงานในไร่ เด็กผู้หญิงจะเป็นผู้ใหญ่เมื่ออายุ 13 ปี เด็กผู้ชายจะเป็นผู้ใหญ่เมื่ออายุ 15 ปี การแต่งงานจะเกิดขึ้นเมื่อชายอายุประมาณ 15-19 ปี หญิงอายุ 13-18 ปี แต่ถ้าครอบครัวฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีการแต่งงานอาจจะช้าไปอีก อาข่าสามารถมีภรรยาได้ถึง 3 คน แต่ไม่พบมากนัก อาจจะมีภรรยา 2 คนและการมีภรรยาคนที่ 2 และ 3 จะต้องได้รับการยอมรับจากภรรยาคนแรกและทุกคนจะอยู่รวมในครัวเรือนเดียวกัน อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่มักจะมีภรรยาเพียงคนเดียว การหาภรรยาใหม่อาจจะเกิดจากไม่มีบุตรหรือเบื่อภรรยาเก่า การแต่งงานในเครือญาติไม่พบเห็นมากนัก การหย่าร้างเกิดขึ้นได้ง่ายและภายหลังการหย่าร้างจะนิยมแต่งงานใหม่ (หน้า 37-38)

Political Organization

ทุกหมู่บ้านจะมีผู้นำอย่างน้อย 1 คน การสืบทอดตำแหน่งจะให้กับลูกชาย และถ้าหากชายใดไม่เคยเป็นหัวหน้าและต้องการเป็นจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคนในหมู่บ้าน หน้าที่ของหัวหน้าคือดูแลความเรียบร้อยและประกอบพิธีกรรมร่วมกับผู้อาวุโสในหมู่บ้าน (หน้า 38-39)

Belief System

หมู่บ้านจะมีผู้นำทางศาสนา จิตวิญญาณ 2 ตำแหน่ง คือ Pima และ Pi Ya Pi Ma เป็นผู้เชี่ยวชาญมากกว่าและทำพิธีกรรมโดยการฆ่าสัตว์ เช่น ไก่ หมู แพะ เป็ด ควาย เป็นต้น สำหหรับ Pi Ya ยังไม่สามารถทำพิธีกรรมในการเซ่นไหว้โดยใช้ควายได้ (หน้า 39) บริเวณประตูทางทิศเหนือในป่าจะมี ศาล สำหรับบูชาเทพเจ้าแห่งพื้นดิน นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำหรับการเซ่นไหว้เทพเจ้าผู้ดูแลแหล่งน้ำ สถานที่ฝังศพจะอยู่ภายนอกหมู่บ้านในป่าจะไม่ให้คนเข้าไปยังสถานที่เหล่านั้น (หน้า 36)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst ชัชฎาวรรณ แก้วทะพยา Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG อาข่า, โครงสร้าง, สังคม, ภาคเหนือ, Translator Chalermchai Chaichompoo
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง