สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,ภูมิปัญญาท้องถิ่น,เครื่องปั้นดินเผา,นนทบุรี
Author อภิชาต งามนิยม
Title การสำรวจเรื่องการได้มา การบันทึก และการถ่ายทอดความรู้เรื่องเครื่องปั้นดินเผาหม้อน้ำสลักลายวิจิตรมอญเกาะเกร็ดของช่างปั้นชาวมอญเกาะเกร็ด
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 97 Year 2544
Source หลักสูตรปริญมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Abstract

ผลการวิจัยพบว่า แหล่งความรู้เรื่องเครื่องปั้นดินเผาหม้อน้ำสลักลายวิจิตรมอญเกาะเกร็ด ของช่างปั้นมอญเกาะเกร็ดมาจากบรรพบุรุษ อาจารย์ในโรงปั้น อาจารย์ในโรงเรียนสอนปั้น และช่างปั้นด้วยกัน ส่วนด้านการบันทึกความรู้ ช่างปั้นมอญใช้วิธีการ จดจำเป็นส่วนใหญ่ และบางคนมีการจดบันทึกเป็นเอกสาร ส่วนการถ่ายทอดความรู้ของช่างปั้นใช้วิธีบอกให้ปฏิบัติตาม สาธิต และประเมินผลชิ้นงาน (หน้า ก)

Focus

ศึกษาการได้มาของความรู้หรือแหล่งความรู้ การบันทึกความรู้และการถ่ายทอดความรู้ เรื่องการปั้นเครื่องปั้นดินเผาหม้อน้ำสลักลายวิจิตรของช่างปั้นมอญเกาะเกร็ด (หน้า 3)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ช่างปั้นมอญซึ่งอพยพมาจากพม่า ปัจจุบันอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ 1 6 และ7 ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (หน้า 4)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระหว่างเดือนมีนาคม 2543 ถึงเดือนมีนาคม 2544

History of the Group and Community

เกาะเกร็ดเป็นเกาะที่เกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อย่นระยะทาง ต่อมาน้ำกัดเซาะจนกลายสภาพเป็นเกาะในปัจจุบัน ชุมชนมอญเกาะเกร็ดอพยพหนีภัยสงครามจากพม่ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับมอญไว้ตามที่ต่างๆ ได้แก่ สามโคก สมุทรปราการ ปทุมธานี และเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จึงมีมอญอาศัยอยู่ที่เกาะเกร็ดในหมู่บ้านที่ 1 6 และ 7 และมีชื่อเสียงในการประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งติดตัวมาจากเมืองมอญ (หน้า 8-9)

Settlement Pattern

ชาวรามัญรุ่นแรกที่อพยพมาอยู่อาศัยบนเกาะเกร็ดได้ปลูกบ้านเรือนเรียงรายกันไปตามแนวแหล่งน้ำ (หน้า 10)

Demography

มีการนำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยช่างปั้นจำนวน 17 คน ผู้รู้จำนวน 3 คน อาศัยอยู่ที่หมูบ้านที่ 1 6 และ 7 ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เช่น ช่างปั้นคนที่ 2 เพศชาย อายุ 19 ปี การศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาหม้อน้ำสลักลายวิจิตร เคยได้รับรางวัลประกวดเครื่องปั้นดินเผาระดับชาติจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีการศึกษา 2543 (หน้า 43) และผู้รู้คนที่ 1 เพศชาย อายุ 54 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาชีพรับราชการ เป็นผู้สนใจและค้นคว้าเกี่ยวกับศิลปะมอญมากว่า 30 ปี (หน้า 44 ) เป็นต้น

Economy

เมื่อบรรพบุรุษไทยรามัญอพยพหลบภัยสงครามมาอยู่ในประเทศไทยได้ยึดการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพ โดยเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดมี 2 ประเภท ประเภทแรก ได้แก่ เครื่องใช้ เช่น โอ่ง อ่าง ครก กระปุก ประเภทที่สอง ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามที่เรียกว่าลายวิจิตร ซึ่งเป็นทรงโอ่งและหม้อน้ำ เน้นความงามของรูปทรง และการสลักลวดลายเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามหรือโอ่งลายวิจิตรนี้ ส่วนใหญ่ช่างจะไม่ทำเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ แต่ทำเพื่อ "ฝากฝีมือ" ไว้นำไปถวายวัด เป็นของกำนัล ของฝาก หรือมอบไว้ให้แก่ลูกหลาน แต่เมื่อพลาสติกและอุตสาหกรรมอื่นๆ เข้ามามีบทบาท ทำให้เครื่องปั้นดินเผาหลายชนิดได้เลิกผลิตไป ด้วยไม่อาจทนสู้กับสินค้าอุตสาหกรรมได้ ปัจจุบันความต้องการสินค้าของตลาดเปลี่ยนไปการผลิตเครื่องปั้นดินเผาจึงเน้นงานประเภทของที่ระลึก และของตกแต่งบ้านเป็นส่วนใหญ่ เพราะเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว (หน้า 10-11)

Social Organization

ไม่มี

Political Organization

ปัจจุบันเกาะเกร็ดมีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 12 ตำบลของอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน (หน้า 6) อย่างไรก็ดีก่อนที่ทางราชการจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นตำบลและหมู่บ้านนั้น ชาวรามัญรุ่นแรกซึ่งอพยพมาอยู่อาศัยบนเกาะเกร็ดได้แบ่งหมู่บ้านของตนออกเป็น 5 หมู่บ้าน คือ กวานฮาโม (บ้านล่าง) จากวัดฉิมพลีถึงท่าเรือกลางเกร็ด (โป๊ะนายตรวจชื่น) และกวานฮาตาว (บ้านบน) จากท่าเรือกลางเกร็ดถึงวัดปรมัยยิกาวาส ปัจจุบันอยู่ในหมู่ 1 กวานอาม่านจากวัดปรมัยยิกาวาสถึงวัดไผ่ล้อม และกวานโต้ จากวัดไผ่ล้อมถึงวัดเสาธงทอง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่หมู่ 6 และกวานอะล้าด จากวัดเสาธงทองถึงวัดมะขามทอง ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่หมู่ 5 (หน้า 10)

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

กล่าวถึงการถ่ายทอดความรู้ของช่างปั้นมอญเกาะเกร็ด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนรู้การปั้นจากบรรพบุรุษหรือเครือญาติใกล้ชิด (หน้า 50-51) หรือจากการที่อาจารย์สอนปั้นแนะนำให้ฝึกปั้นที่โรงปั้น โดยมีการสาธิตให้ดูแล้วให้ทำตาม ดังที่ช่างปั้นคนที่ 2 ให้สัมภาษณ์ว่า "...ต้องมาดูแล้วจำ แล้วฝึกด้วยตนเอง ต้องปฏิบัติ..." (หน้า 58) และการฝึกปั้นด้วยตัวเองแบบครูพักลักจำ ดัง ที่ ช่างปั้นคนที่ 8 กล่าวว่า "...อาจารย์เขาไม่ค่อยได้สอน เวลาว่างเราไปดูเขา เวลาเขาหยุด เวลาเขาพักเราไปทำ เสร็จแล้วพอ เราทำ พอเกือบทำได้เป็นรูปร่าง เขาจะมาสอน..." (หน้า 47,51-52) นอกจากการสอนปั้นในโรงปั้นแล้วยังได้มีการสอนปั้นที่โรงเรียน วัดปรมัยยิกาวาส ในหลักสูตรการงานพื้นฐานอาชีพของนักเรียนระดับประถมศึกษา ดังที่ผู้รู้คนที่ 1 เล่าให้ฟังว่า "...มี การสอนที่โรงเรียนวัดปรมัยฯนี่ สอนเด็ก สอนปั้นโอ่งใบเล็กๆ แล้วก็แกะได้เล็กๆ น้อยๆ แต่ว่าจะทำใบใหญ่นี่ไม่มี ไม่ได้ เพราะ ว่าครูสอนปั้นไม่ได้ ใบใหญ่อย่างนี้ต้องไปเรียนตามโรงปั้น..." (หน้า 62) ส่วนสถาบันการศึกษาที่โรงเรียนวัดปรมัยยิกาวาส เปิดสอนวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ เพื่อถ่ายทอดความรู้ของช่างปั้นมอญเกาะเกร็ด (หน้า 64) และกล่าวถึงสถาบันครอบครัวที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้เช่นกัน ดังที่ช่างปั้นคนที่ 11 ให้สัมภาษณ์ว่า "...คุณพ่อเขาสอนนะฮะ เคยสอน..." และช่างปั้นคนที่ 15 กล่าวว่า "...เรียนรู้จากย่า เราไปใกล้ชิดกับเขา มันซึมเข้ามาเอง..." (หน้า 48 )

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

กล่าวถึงกระบวนการได้มา การบันทึก และการถ่ายทอดความรู้หัตถกรรมพื้นบ้านเรื่องการปั้นเครื่องปั้นดินเผาหม้อน้ำสลักลายวิจิตรของช่างปั้นมอญเกาะเกร็ด และยังกล่าวถึงประเภทความรู้เรื่องการปั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทความรู้แบบโบราณ ใช้การขดดินขึ้นรูป ส่วนมากเป็นการปั้นภาชนะขนาดใหญ่ เช่น โอ่ง อ่าง กระถาง เป็นต้น ซึ่งจะมีรูปทรงสวยงามกว่า การปั้นด้วยวิธีขึ้นรูปที่ใช้ความรู้แบบสมัยใหม่ที่แพร่หลายมาจากการทำกระถางต้นไม้ของจีน (หน้า 52-53)

Folklore

ปรากฏในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสืบทอดด้วยการบอกกล่าว และใช้การจดจำมากกว่าจดเป็นลายลักษณ์อักษร โดยได้รับความรู้มาจากบรรพบุรุษ เครือญาติ อาจารย์สอนปั้น และจากการปั้นด้วยกัน ด้วยการสอน แนะนำ ดังที่ผู้รู้คนที่ 2 ให้สัมภาษณ์ว่า "...จากพ่อแม่ปู่ย่าตายาย จากคนที่เวลาไปช่วยเขา ไปอยู่กับเขา การแกะสลักลวดลายทำอย่างไรไม่มีตำรา ค้นคว้า ใช้ถาม ถ้าอยากรู้เขาก็ตอบ..." (หน้า 49)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

มอญเป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งยังคงหลงเหลืออยู่ตามที่ต่างๆ ของประเทศไทย เช่น สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี เป็นต้น โดยอพยพหนีภัยสงครามจากพม่าเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และในสมัยรัชกาลที่ 2 อย่างไรก็ดี มอญเป็นพุทธศาสนิกชนซึ่งมีการดำเนินชีวิตคล้ายคนไทย ทั้งประเพณี การทำบุญ การละเล่น และคติความเชื่อแบบโบราณ เช่น งานสงกรานต์ ประเพณีต่างๆ ทั้งการเกิด การแต่งงาน การบวช และการทำศพ จะแตกต่างกันบ้างก็ในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น (หน้า 8)

Social Cultural and Identity Change

ในอดีตช่างปั้นมักทำหม้อน้ำสลักลายวิจิตรในเวลาว่างจากงานประจำและเกิดอารมณ์สุนทรีย์ เป็นการฝากฝีมือของช่างแต่ละคน แต่ในสภาพสังคมปัจจุบันงานช่างปั้นหม้อสลักลายวิจิตรได้ถูกประดิษฐ์เป็นเชิงพาณิชย์ มีการซื้อขายเหมือนสินค้าทั่วไป ช่างปั้นทำเพื่อเป็นการเลี้ยงชีพ ใช้วิธีปั้นเป็นแบบสมัยใหม่ ออกแบบกันตามความคิดและตามที่ลูกค้าสั่งและอาจขาดหลักวิชาช่างโบราณไป เนื่องจากขาดข้อมูล ขาดคนสานต่อ ขาดผู้อนุรักษ์ อันเป็นผลมาจากอิทธิพลทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้เด็กรุ่นใหม่ต้องการการศึกษาในระดับสูง และไม่มีเวลาที่จะมาสนใจความรู้เรื่องนี้อีก (หน้า 67-68)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การวางแนวทางอนุรักษ์เรื่องการสอนปั้นเครื่องปั้นดินเผาหม้อน้ำสลักลายวิจิตร ของช่างปั้นมอญเกาะเกร็ด รวมถึงแนวทางการอนุรักษ์ศิลปะการปั้นและลายแบบมอญดั้งเดิม (หน้า 4,73) เพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมอญเกาะเกร็ดยังคงอยู่สืบไป นอกจากนี้ชุมชนควรสนับสนุนให้วัดปรมัยยิกาวาสเป็นแหล่งศึกษาข้อมูลเรื่องเครื่องปั้นดินเผา ส่งเสริมให้กวานอาม่าน (ศูนย์วัฒนธรรมมอญ) มีการจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญโบราณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อหาแนวทางการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์หม้อ น้ำสลักลายวิจิตรมอญต่อไป (หน้า 74)

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้ใช้แผนที่ ตาราง ภาพลายเส้น และภาพประกอบ เพื่ออธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพให้เห็นภาพที่ชัดเจน เช่น แผนที่เกาะเกร็ด ตารางแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของช่างปั้นและผู้รู้ ภาพลายเส้นตราประจำจังหวัดนนทบุรี ภาพการขึ้นรูปการปั้นแบบขดดิน การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน

Text Analyst ดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย Date of Report 18 พ.ค. 2559
TAG มอญ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เครื่องปั้นดินเผา, นนทบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง