สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ชาวเขา,ลัวะ,การอนุรักษ์ป่า,เกษตรกร,น่าน
Author พัชรินทร์ ยาระนะ
Title ทัศนคติของเกษตรกรชาวเขาที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ : กรณีศึกษา ดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลัวะ (มัล ปรัย) ลัวะมัล ไปร ลัวะปรัย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 80 Year 2537
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพรการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ศึกษาทัศนคติของชาวเขาที่มีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ ในพื้นที่ดอยภูคา จังหวัดน่าน โดยการใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าเกษตรชาวเขาที่มีทัศนคติต่ออาชีพเกษตรกรรม และมีความสนใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและงานศึกษาได้เสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมพลังเพื่อการปฏิบัติงานในการพัฒนาส่งเสริม ให้เกษตรกรทำการเกษตรเชิงอนุรักษ์หรือวนเกษตรเพื่อการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยป่าไม้โดยไม่สร้างปัญหาการบุกรุกทำลายป่าสามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและทำให้การอนุรักษ์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Focus

ศึกษาลักษณะพื้นฐานทั่วไปและทัศนคติที่มีต่ออาชีพ เกษตรกรรมและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของเกษตรกรชาวเขาที่ดอยภูคาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อทัศนคติของเกษตรกรชาวเขาในการอนุรักษ์ป่าไม้รวมถึงปัญหาและความต้องการในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ชาวเขาดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในงานศึกษาใช้คำว่า "ชาวเขา" ในพื้นที่ และมีชื่อที่เรียกกันก่อให้เกิดความสับสนอยู่ 3 ชื่อ คือ ถิ่น ลัวะ ขมุ (หน้า 2) รวมถึงการสัมภาษณ์ทัศนะของชาวเขาซึ่งระบุไว้ว่าเป็นชาวเขาเผ่าถิ่น (ลัวะ) (หน้า 71 และ 72)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ได้ระบุไว้อย่างระเอียดแต่ระบุไว้ว่าสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากชาวเขาดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2537

History of the Group and Community

เมืองน่าน อดีตเป็นเมืองที่ปิดล้อมด้วยขุนเขาและป่าทึบได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมป่าไม้ได้ถูกตัดทำลายไปบางส่วนที่เหลือในปัจจุบันเป็นป่าที่ชุมชนได้อนุรักษ์ไว้ ชุมชนได้เริ่มหันมาอนุรักษ์ บ้างประยุกต์พิธีกรรมทางศาสนา เช่น การบวชต้นไม้ การทอดผ้าป่าต้นไม้สู่ชุมชนชาวเขาในจังหวัดน่าน เรียกว่า "ลัวะ" ซึ่งถิ่นที่แท้จริงก็คือ ลัวะเมืองน่าน ชาวเขาส่วนใหญ่กระจาย อยู่ในพื้นที่และล้าหลังก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาความมั่นคงและการปลูกฝิ่น รองลงมา ก็เป็นปัญหาความยากจนการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาเผ่าลัวะ ถูกจัดให้อยู่ในข่ายผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น วิธี "เฮ็ดไฮ่" หรือ "แองแช" (ภาษาลัวะเมืองน่าน) จะทำการหักล้างถางพง ตัดไม้เผาป่าเพื่อปลูกข้าวไร่ใหม่ทุกปี สำหรับความสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาวจังหวัดน่านรู้จักดอยภูคาเป็นอย่างดี และเชื่อมั่นว่าเป็นเมืองเก่าของบรรพบุรุษอยู่ในเขตเทือกเขาดอยภูคา มีเจ้าพ่อหลวงภูคา มีบุตรชาย 2 คน ได้แก่ ขุนนุ่มและขุนฟอง ต่อมาเจ้าหลวงภูคาได้ให้บุตรชายทั้งสองไปสร้างบ้านเมืองของตนเองขุนนุ่มไปสร้างบ้านเมืองอยู่ที่ลาวส่วนขุนฟองสร้างบ้านเมืองอยู่ที่บริเวณพื้นที่ราบชายฝั่งไทยเขตอำเภอปัว จังหวัดน่านในปัจจุบัน ชื่อว่าเมืองวรนครแล้วตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ซึ่งคาดว่าตรงกับรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย ต่อมารัชสมัยพญาการเมืองเป็นผู้ครองนครองค์ที่ห้า ได้ย้ายเมืองใหม่มาอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำน่านแล้วสร้างบ้านเมืองขึ้นบริเวณพระธาตุแช่แห้งเมื่อปี พ.ศ. 1901 ชื่อเวียงภูเพียงแช่แห้ง อีกสิบปีต่อมาในสมัยพระยาผากองผู้ครองนครองค์ที่หก ได้เกิดความแห้งแล้งระบาดไปทั่วจึงอพยพผู้คนข้ามฝั่งแม่น้ำน่านมาทางทิศตะวันตกแล้วสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ชื่อว่าเมืองนันทบุรี นครน่าน จึงได้กลายมาเป็นจังหวัดน่านในปัจจุบัน (หน้า 2,11,17)

Settlement Pattern

ประชากรของหมู่บ้านเป้าหมายทั้ง 21 หมู่บ้าน ได้รับการจัดตั้งหมู่บ้าน ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยและหมู่บ้านปกป้องชายแดนซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของต้นลำน้ำน่านชาวเขาส่วนใหญ่มักจะทำไร่เลื่อนลอย สภาพของชาวบ้านส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (หน้า 15)

Demography

เพศชายร้อยละ 93.8 หญิงร้อยละ 6.2 ระบุไว้ในหน้า 28 ชาวเขาของจังหวัดน่านมีประมาณ 55,187 คน หรือประมาณ 13 % ของประชากรทั้งจังหวัด พื้นที่ดอยภูคามีชาวเขาเผ่าถิ่นอยู่ 25 หมู่บ้านและม้ง 1 หมู่บ้านจำนวนถิ่น 963 ครัวเรือน และเผ่าม้ง 68 ครัวเรือน ประชากรที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยคือเกษตรกรชาวเขาในเขตพื้นที่ดอยภูคา อ. ปัว จ. น่าน ซึ่งมีประชากรอยู่ 26 หมู่บ้านและมี 839 ครัวเรือน (หน้า 2)

Economy

ประชากรส่วนใหญ่มีการผลิตการเกษตรเพื่อยังชีพไปวันๆ หนึ่ง การเพาะปลูกเป็นอาชีพสำคัญ โดยเฉพาะข้าวไร่ รายได้ที่เป็นเงินสดจะได้จากการล่าสัตว์ ขายสัตว์เลี้ยง รับจ้างและหาของป่าไปขายที่ตลาดอำเภอปัว และเกษตรกรมีอาชีพเสริมคือการรับจ้าง ทั่วไปเนื่องจากรายได้ดี รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่เท่าที่สำรวจ มีรายได้น้อยกว่า 1,500 บาท/ปี (หน้า 16, 29)

Social Organization

ไม่มีข้อมูลชัดเจน ระบุไว้เพียงผู้มีบทบาททางสังคมคือ พระอธิการวาทย์

Political Organization

ไม่ได้ระบุไว้ในงานวิจัยมีเพียงการกล่าวถึงพระอธิการวาทย์ผู้นำทางสงฆ์ที่ชาวบ้านศรัทธา ยอมรับนับถือและยังมีหัวหน้าอุทยานต้นน้ำ ผู้นำท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในการชักชวนให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ (หน้า 80)

Belief System

เกษตรกรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและร้อยละ 0.6 นับถือศาสนาคริสต์ (หน้า 29) ในทางพุทธศาสนากล่าวกันว่าพระครูพิทักษ์นันทคุณได้ปลูกจิตสำนึกสิ่งแวดล้อม ป่าภูเขา เช่น ทำพิธีต่อชะตาป่าซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (หน้า 2,6) ในฤดูการผลิตแต่ละปี ลัวะจะประกอบพิธีเซ่นไหว้ผี เช่น ระยะต้นฤดูการผลิต ซึ่งเริ่มประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนเมื่อเลือกที่ทำไร่ได้แน่นอนโดยเชื่อตามการเสี่ยงทายแล้ว จะมีการห่าไก่เซ่นผี เมื่อถึงระยะเวลาเก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม จะมีพิธีทางผีครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังการเก็บเกี่ยวก็จะมีพิธี "ฤกษ์ดอกแดง" และเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่มีการเซ่นไหว้ผีแสดงถึงอำกนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์จิตวิญญาณในธรรมชาติซึ่งสามารถให้คุณให้โทษต่อผลผลิต (หน้า 2)

Education and Socialization

มีระบบการศึกษาการเรียนการสอนถึงระดับชั้นประถม 6 ร้อยละ 75.3 อ่านหนังสือไม่ออก ร้อยละ 24.7 อ่านหนังสือออก (หน้า 29 และ 76) ในตารางที่ 3 ของหน้า 30 แสดงถึงการอ่านหนังสือได้ของเกษตรกรชาวเขา (หน้า 29, 30)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนเพียงแต่บอกว่าเป็นชาวเขาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชายแดน

Social Cultural and Identity Change

ความศรัทธาที่มีในตัวผู้นำ คือ ความเชื่อรวมถึงการยอมรับในพระอธิการวาทย์ในฐานะผู้นำ ซึ่งเข้ามามีส่วนในการทำกิจกรรมต่อชุมชน ในปัจจุบันชาวเขาได้รับข้อมูลข่าวสารได้หลายทางเมื่อความเจริญเข้ามาถึง เช่น โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์ วิทยุส่วนใหญ่แล้วมีทุกครัวเรือน เอกสารต่าง ๆ และการเข้ามาในตัวอำเภอในรอบปี เป็นต้น การทำไร่เลื่อนลอยภายหลังหลายหมู่บ้านก็ได้พบว่า มีการเปลี่ยนไปสู่ระบบการทำนาซึ่งน่าให้ความสนใจ และยกภาพขึ้นมาใหม่ว่า ชาวเขาใช้ที่ดินระบบการอนุรักษ์ และชาวเขามีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด ซึ่งมีเงื่อนไขจากสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายค่อนข้างมากอีกด้วย (หน้า 6)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่ได้ระบุไว้แน่ชัด เพียงแต่เสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคตไว้ว่า หากมีการทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาในเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบวนเกษตรที่เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมแบบเลียนแบบธรรมชาติ และศึกษาในเรื่องของป่าชุมชนรวมไปถึงการเลือกศึกษาพื้นที่ที่กว้างออกไป และเปรียบเทียบ (หน้า 80)

Map/Illustration

แผนที่แนะนำการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติดอยภูคา แผนที่ลักษณะภูมิประเทศดอยภูคา มาตราส่วน 1: 50,000 (หน้า 21)

Text Analyst ณัฎฐ์สุดา แจ้งกูล Date of Report 06 ม.ค. 2566
TAG ชาวเขา, ลัวะ, การอนุรักษ์ป่า, เกษตรกร, น่าน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง