สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ม้ง,ม้งอพยพ,การกลับถิ่นฐานเดิม,เลย
Author พอล ราเบ้ (Paul Rabe') อังคณา กมลเพชร ผู้แปล
Title การกลับถิ่นฐานเดิมโดยสมัครใจของชาวม้ง ศึกษากรณีบ้านวินัย Voluntary Repatriation : The Case of Hmong in Ban Vinai
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ม้ง, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ศูนย์ข้อมูลอินโดจีน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Total Pages 43 Year 2533
Source จัดพิมพ์โดย : ศูนย์ข้อมูลผู้ลี้ภัยอินโดจีน สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ที่ : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด, กรุงเทพมหานคร
Abstract

มีเนื้อหาครอบคลุมถึงความรู้สึกของม้ง ที่มีต่อการดำเนินชีวิตในศูนย์ผู้อพยพบ้านวินัย จังหวัดเลย ภูมิหลังเมื่ออยู่ในประเทศลาว ความรู้สึกต่อประเทศลาวบ้านเกิด ความเห็นเกี่ยวกับภูมิลำเนาที่ต้องการไปตั้งหลักแหล่งใหม่ และที่สำคัญที่สุดคือ ทัศนคติ (reaction) ของม้งอพยพบ้านวินัยที่มีต่อโครงการส่งผู้อพยพกลับถิ่นฐานเดิมด้วยความสมัครใจของ UNHCR และผลการวิจัยม้งในศูนย์อพยพบ้านวินัยส่วนใหญ่แสดงเจตจำนงที่ไม่ต้องการจะเดินทางกลับไปยังมาตุภูมิเดิมของตนจนกว่าประเทศลาวจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ (พ.ศ.2533) เสียก่อน คือการที่จะกลับถิ่นฐานเดิมโดยสมัครใจของม้งอพยพ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่จะต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะให้การรับรองเรื่องความปลอดภัยของม้งที่อพยพกลับ ตลอดจนสนับสนุนเสรีภาพและส่งเสริมการจัดการทางเศรษฐกิจที่ดีในประเทศเสียก่อน (หน้า 1, 12)

Focus

ปฏิกิริยา (reaction) ของม้งอพยพบ้านวินัย จังหวัดเลย ต่อโครงการส่งผู้อพยพกลับถิ่นฐานเดิมด้วยความสมัครใจ ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)

Theoretical Issues

ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้กรอบทฤษฎีอะไรในการวิจัย ผู้เขียนระบุว่างานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลมาจากการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ลี้ภัยม้งทั้งชายและหญิงทุกระดับอายุ จำนวน 47 คน ที่ศูนย์อพยพบ้านวินัย จังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบถึงสาเหตุของปัญหาที่ผู้ลี้ภัยม้งไม่ค่อยชื่นชมโครงการส่งผู้อพยพกลับถิ่นฐานเดิมด้วยความสมัครใจของ UNHCR และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเดินทางกลับไปยังมาตุภูมิของตน และเหตุที่เลือกศูนย์ผู้อพยพบ้านวินัย เนื่องจาก ศูนย์นี้มีจำนวนผู้ลี้ภัยม้งมากที่สุดในประเทศไทย (หน้า 1, 3-4)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเรียกว่า "ม้ง" (ในงานชิ้นนี้มีกล่าวถึงผู้ลี้ภัยชาวลาวพื้นราบและชาวลาวภูเขา แต่เน้นกรณีศึกษาเฉพาะม้ง ซึ่งในการจัดประเภทของลาว เป็นลาวภูเขากลุ่มหนึ่ง - Text Analyst)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ระหว่างวันที่ 12 - 16 มีนาคม 2533

History of the Group and Community

ในกลางศตวรรษที่ 19 ม้งทางตอนใต้ของประเทศจีน ถูกจีนรุกราน จึงอพยพไปอยู่ตามเทือกเขาทางตอนใต้ของประเทศจีน และประเทศในแถบอินโดจีน ปัจจุบัน ม้งอยู่กระจัดกระจายในบริเวณตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ประเทศไทย และประเทศลาว แต่ยังมีม้งบางพวกยังอาศัยอยู่ในจีน ในระหว่างสงครามเวียดนาม ม้งจำนวนมากในลาวเข้าร่วมกับกองทัพของสหรัฐอเมริกาสู้รบต่อต้านเวียดนามเหนือและคอมมิวนิสต์ในลาว ในปี พ.ศ. 2518 เมื่อรัฐบาลคอมมิวนิสต์แห่งประเทศลาวยึดอำนาจได้ ม้งต้องหลบหนีภัยจากการแก้แค้นของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2523 มีม้งประมาณ 100,000 คนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 350,000 คนถึง 400,000 คนเสียชีวิต และอีกจำนวน 100,000 คนเดินทางข้ามแม่น้ำโขงหนีเข้ามาในเขตประเทศไทย หลังจากนั้น ชาวลาวพื้นราบอีกจำนวนมากเริ่มทยอยหนีตามเข้ามา เนื่องจากหวาดกลัวรัฐบาลสังคมนิยมอย่างมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ม้งและชาวลาวพื้นราบหลบหนีออกจากประเทศลาวเป็นจำนวนถึง 350,000 คน จำนวนผู้ลี้ภัยชาวลาวอพยพหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากขึ้นทุกที รัฐบาลไทยจึงจัดตั้งศูนย์อพยพขึ้น โดยแบ่งแยกค่ายอพยพสำหรับผู้อพยพชาวเขาและชาวลาวพื้นราบออกจากกัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก UNHCR จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2519 มีศูนย์ผู้อพยพชาวลาวภูเขาที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ 5 แห่ง แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ 3 แห่งเท่านั้น และศูนย์ผู้อพยพบ้านวินัย จังหวัดเลย ก็เป็นศูนย์หนึ่งในจำนวนนั้น ศูนย์ผู้อพยพบ้านวินัยเป็นศูนย์อพยพม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นศูนย์ลี้ภัยชาวลาวซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์การสหประชาชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และอาจจะใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย (หน้า 5-7)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าประชากรบ้านวินัยมีกี่คน จากตารางที่ 3 มีตัวเลขประชากรผู้อพยพลี้ภัยชาวลาวภูเขา (Hill tribe) อยู่ในศูนย์อพยพสิ้นสุดเดือนเมษายน พ.ศ. 2533 มีจำนวน 53,244 คน และจากตารางที่ 4 ระหว่างปี พ.ศ. 2523-2532 (ค.ศ.1980-1989) มีผู้อพยพลี้ภัยชาวลาวภูเขากลับถิ่นฐานเดิมโดยสมัครใจจำนวน 1,272 คน (ตาราง 3 หน้า 38, ตารางที่ 4 หน้า 39, 42) และมีผู้ลี้ภัยจำนวนมากกว่า 104,000 คน (หน้า 3-4) เดินทางไปตั้งหลักแหล่งในประเทศที่ 3 ผู้วิจัยระบุว่า ศูนย์อพยพบ้านวินัยมีม้งอาศัยอยู่จำนวนร้อยละ 96 ของประชากรทั้งหมด ชาวขะถิ่นจำนวนร้อยละ 2 และชาวเย้าจำนวนร้อยละ 1 (หน้า 7)

Economy

ประกอบการกสิกรรมเป็นอาชีพหลัก โดยอพยพเร่ร่อนข้ามภูเขาลูกแล้วลูกเล่า เพื่อหาพื้นที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ภายหลังจากที่ได้สร้างหมู่บ้านเป็นหลักแหล่งแน่นอนแล้ว ม้งมีแนวโน้มที่จะตัดต้นไม้และเผาป่าบนภูเขาอย่างมาก การทำการกสิกรรมด้วยวิธีเผาทำลายป่านี้ จะทำให้สามารถเพาะปลูกได้เพียง 2-3 ครั้งก่อนที่ฝนในช่วงฤดูมรสุมจะชะล้างแร่ธาตุจากหน้าดินไป และหลังจากนั้น ม้งอพยพจะแสวงหาพื้นที่ทำกินผืนใหม่เพื่อเผาทำการเพาะปลูกต่อไป แม้จะเป็นการทำลายป่าและทำให้พื้นดินเสื่อมสภาพก็ตาม แต่ม้งก็ยังยึดมั่นที่จะทำการเพาะปลูกด้วยวิธีนี้ต่อไป ด้วยความเชื่อซึ่งฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมที่ว่า ถ้าปราศจากการเผาด้วยไฟ ก็จะไม่มีความเจริญงอกงามใด ๆ ทั้งสิ้น (หน้า 6) สาเหตุหนึ่งของการไม่ต้องการอพยพกลับสู่ถิ่นฐานเดิมในประเทศลาวของม้ง คือ ความเกรงกลัวต่อการใช้นโยบายสังคมนิยมของรัฐบาลลาว ว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของพวกเขา เช่น ไม่สามารถทำการเกษตรได้ในที่ที่ตนต้องการ ไม่สามารถเป็นเจ้าของผลผลิตของตนได้ทั้งหมด หรืออาจต้องถูกเก็บภาษีจากทรัพย์สินที่ครอบครอง เป็นต้น (หน้า 11-12) ส่วนที่ศูนย์อพยพบ้านวินัย ไม่มีข้อมูลชัดเจนด้านเศรษฐกิจ กล่าวไว้เพียงว่า ผู้อพยพจะได้รับแจกอาหาร มีบ้านให้อยู่ แต่ไม่มีที่ดินทำกิน และไม่สามารถไปไหนมาไหนได้ตามความพอใจ (หน้า 13)

Social Organization

ไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่ผู้วิจัยได้พรรณนาสรุปวิถีชีวิตทางสังคมของม้งจากปรากฏการณ์ที่พบในขณะสัมภาษณ์ม้งว่า วิถีชีวิตทางสังคมของม้ง ผู้น้อยมักยอมรับเชื่อฟังความคิดเห็นของผู้อาวุโสกว่า ความคิดของหัวหน้าครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อสมาชิกในครอบครัว และความคิดของเพื่อนบ้านก็มีอิทธิพลต่อคนอื่นๆ ในละแวกบ้านด้วย (หน้า 4-5)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไม่มีข้อมูล

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การอยู่ในศูนย์ผู้อพยพ (บ้านวินัย) วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ต้องอยู่ในที่ที่จำกัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ตามความพอใจ และไม่มีที่ดินสำหรับทำการเกษตรตามวิถีชีวิตปกติ

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

Table 1 Numbers of Hilltribe refugees who decided to (page 37) Table 2 Number of Hilltribe and Lowland Laotians in camps in April 1990 (page 37) Table 3 hilltribe Populations in U.N. Camps 1975 - Present (page 38) Table 4 Hilltribe and Lowland Lao Repatriation to Laos 1980 - March 1990 (pages 41 & 40) Table 5 Hilltribe and Lowland Lao Repatriation to Laos in 1989 (pages 39 & 42) แผนที่ศูนย์ควบคุมผู้อพยพและหลบหนีเข้าเมือง อ. ปากชม (หน้า 43)

Text Analyst บุญสม ชีรวณิชย์กุล Date of Report 03 ม.ค. 2548
TAG ม้ง, ม้งอพยพ, การกลับถิ่นฐานเดิม, เลย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง