สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทพวน ไทยพวน,ประวัติความเป็นมา,ประเทศไทย,ประเทศลาว
Author วิเชียร วงศ์วิเศษ
Title ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาวไทยพวน
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 11 Year 2536
Source “Ethnology in the Reign of King Narai the Great” Documentary Supplement for Academic Conference in “The Reign of King Narai The Great”, Faculty of Humanities and Social Sciences, Thepsatree Teacher College. (p. 61-71)
Abstract

"พวน" เป็นชื่อเรียกของคนไทยสาขาหนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ในประเทศลาว เหตุที่เรียกเมืองพวน มีข้อสันนิษฐานว่าตั้งอยู่ใกล้ภูเขาที่ชื่อว่า ภูพวน จึงเรียกคนที่ตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้ว่า "พวน" นับถือพุทธศาสนา ภาษาของไทยพวน ใช้ภาษาไทยแท้ เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่าเสียงของชาวภาคอีสาน สมัยกรุงธนบุรีเมื่อประเทศลาวรวมอาณาจักรกับประเทศไทยจนถึงรัชกาลที่ 3 พลเมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งไทยพวน ได้ถูกกวาดต้อนมาทาง ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงและได้กระจัดกระจายไปทั้งภาคอีสานและภาคกลางของประเทศ

Focus

การนำเสนอข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไทยพวนรวมทั้งเหตุผลที่เรียกชื่อ "พวน" และภาษาของไทยพวน

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยพวน

Language and Linguistic Affiliations

ผู้ไทย พวนและโซ่งเป็นคนไทยสาขาหนึ่งที่มีลักษณะทางภาษาใกล้เคียงกันแทบจะกล่าวได้ว่าเป็นภาษาไทยสาขาเดียวกัน (หน้า 61) ภาษาของไทยพวนใช้ภาษาไทยแท้ เสียงวรรณยุกต์ใกล้เคียงกับภาษาภาคกลางมากกว่าเสียงของคนภาคอีสาน(หน้า 70)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

เดิมผู้ไทย พวนและโซ่งมีถิ่นฐานอยู่ทางฝั่งแม่น้ำโขง ทางแขวงซำเหนือและแขวงเชียงขวางในประเทศลาว ในประเทศไทย พวกผู้ไทยมีอยู่ทางภาคอีสาน พวกพวนและโซ่งอยู่กระจัดกระจายเป็นแห่งๆ เช่น จังหวัดสุโขทัย ลพบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดสระบุรี ในประวัติศาสตร์มิได้มีการแยกชื่อคนไทยสาขาต่างๆ เช่น ปัจจุบัน จึงเป็นการยากที่จะสันนิษฐานว่า ชนชาติไทยจำพวกไหนเป็นไทยพวน ดูเหมือนจะปรากฏขึ้นเมื่อคนไทยจำพวกหนึ่งอพยพมาตั้งที่เมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ตามที่พงศาวดาร ตำนานและหนังสือต่าง ๆ เช่น ประชุมพงศาวดารภาค 11 พงศาวดารล้านช้าง ตำนานเมืองสวรรคโลกของพระมุนินทรานุวัตต์ ได้กล่าวถึงเมืองพวนว่า พระโอรสองค์ที่ 7 ของขุนบรม (บูลม) ผู้ครองเมืองหนองแสพระนามว่า ขุนเจ็ดเจือง เป็นผู้สร้างเมืองพวน (เมืองเชียงขวาง) สมัยกรุงธนบุรีเมื่อประเทศลาวรวมอาณาจักรกับประเทศไทยจนถึงรัชกาลที่ 3 พลเมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งไทยพวน ได้ถูกกวาดต้อนมาทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงและได้กระจัดกระจายไปทั้งภาคอีสานและภาคกลางของประเทศ (หน้า 61-62, 69)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ไม่มีข้อมูล

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ไทยพวนนับถือพุทธศาสนา (หน้า 70)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไทยดำ ไทยโซ่ง หรือลาวโซ่ง เสื้อและกางเกงที่สวมใส่เป็นสีดำ นุ่งกางเกงผิดจากไทยสาขาอื่นที่นิยมนุ่งผ้าตามแบบอินเดียและเขมร (หน้า 68)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไทยพวนมีขนบธรรมเนียม ประเพณีคล้ายคลึงกับผู้ไทยหรือไทยภู ซึ่งนับถือพุทธศาสนาเช่นกัน (หน้า 70)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 17 ม.ค. 2556
TAG พวน ไทพวน ไทยพวน, ประวัติความเป็นมา, ประเทศไทย, ประเทศลาว, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง