สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject มอญ,การอพยพ,การตั้งถิ่นฐาน,ลพบุรี
Author ภูธร ภูมะธน
Title มอญบ้านบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มอญ รมัน รามัญ, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 27 Year 2536
Source "กลุ่มชาติพันธุ์วิทยาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการเนื่องในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูเทพสตรี (หน้า 8-35)
Abstract

มอญบ้านบางขันหมาก จังหวัดลพบุรีมีมอญอาศัยอยู่ประมาณ 5,600 คน ปัจจุบันยังมีประเพณีและวัฒนธรรมบางประการที่ต่างจากชุมชนคนไทย โดยเฉพาะภาษาพูด ความเชื่อในเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษและประเพณีเกี่ยวกับการทำมาหากิน ในส่วนของการแต่งกาย ที่อยู่อาศัย ปัจจุบันมีลักษณะไม่ต่างจากคนไทยในชนบท การเข้ามาอาศัยที่บ้านบางขันหมากของมอญ เข้าใจว่าอพยพมาจากชุมชนมอญอื่นในภาคกลางโดยมีแม่น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งหมู่บ้าน

Focus

ศึกษาการอพยพและการตั้งถิ่นฐานของมอญบ้านบางขันหมาก จังหวัดลพบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

มอญ

Language and Linguistic Affiliations

โดยมากมอญบ้านบางขันหมากเขียนและอ่านภาษามอญไม่ได้ คนมอญรุ่นเก่าพูดภาษาไทยไม่ชัด คนที่พูดภาษาไทยชัดมักจะเน้นเสียง "ร" ชัดมากเป็นพิเศษ (หน้า 16-17)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ชุมชนมอญบ้านบางขันหมากอพยพจากดินแดนมอญเข้าสู่ประเทศไทยเพราะหนีภัยสงครามกับพม่าหรือทนความทารุณโหดร้ายของพม่าไม่ได้ โดยมากอพยพมาจากจังหวัดใกล้เคียงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ อาจอพยพมาจากทางใต้คือ บ้านบางระกำและบ้านโพธิ์ข้าวผอก (หน้า 9)

Settlement Pattern

มอญนิยมตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำ เลือกทำเลใกล้เมือง (หน้า 14)

Demography

ชุมชนมอญบ้านบางขันหมาก มีมอญทั้งสิ้น 5,565 คน 984 ครัวเรือน (หน้า 13)

Economy

บ้านบางขันหมากเป็นการผลิตเพื่อขายหรือแลกเปลี่ยน ผลิตข้าวเพื่อกิน ส่วนที่เหลือเก็บไว้ขายและแลกเปลี่ยน มีการนำข้าวเปลือกแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ต้องการซึ่งโดยมากเป็นผลผลิตที่หาได้ยากในชุมชน ในเรื่องของการค้าขายภายในหมู่บ้านจะไม่มีระบบการค้าใดถาวร แต่มอญที่ปทุมธานีไม่ชอบทำนา ชอบค้าขายและรับจ้างขนสินค้าลงเรือ เป็นต้น (หน้า 16-17) นอกจากทำเกษตรแล้วยังมีการเลี้ยงสัตว์ ทำงานจักสาน งานไม้ ทำอิฐ ปั้นหม้อ และทอผ้า เป็นต้น

Social Organization

สถานภาพระหว่างเพศหญิงและชายไม่มีความต่างไปจากสังคมไทย ผู้ชายเป็นผู้นำของครอบครัว ทำงานในส่วนที่หนักของ ครอบครัวและตัดสินใจในเรื่องอนาคตของลูกๆ เฉพาะผู้หญิงสูงอายุที่มีคุณธรรมเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับจากสังคมมอญมากเป็นพิเศษ (หน้า 15)

Political Organization

ตำบลบางขันหมากมีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน ซึ่งโดยมากเป็นมอญ มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นมอญด้วยกัน (หน้า 12,15)

Belief System

ในอดดีต - การทำอิฐมอญผู้ทำจะต้องทำการบอกเล่าเรียกว่า "การไหว้แม่ย่านางอิฐ" เพราะเมื่อนำดินและแกลบที่มีข้าวติดมาเผาต้องขออภัยพระแม่ธรณีและพระแม่โพสพ ด้วยวิธีไหว้เซ่นสังเวย (หน้า 19) - เมื่อข้าวตั้งท้องจะต้องนำขนมไปที่นาเพื่อบวงสรวงเทวดา เมื่อข้าวออกรวงจะต้องนำแป้งและกระจกปักชะลอมไว้กลางนาสำหรับพระแม่โพสพ โดยให้ชาวนาผู้หญิงเป็นผู้ถวาย เมื่อเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้วจะรับขวัญแม่โพสพโดยการนำรวงข้าวจัดเป็นรูปคล้ายโคมห้อยแล้วปักไว้บนกองข้าวในยุ้งฉาง (หน้า 21) - ธงที่ติดกับเสาหงส์ ปลายธงอาจเห็นเส้นผมผู้หญิงผูกติดอยู่โดยมุ่งหวังให้กวาดพื้นจักรวาล (หน้า 25) เหตุที่ต้องหันเรือนทางทิศเหนือเพราะถือว่าหากผู้ใดตายในบ้านจะต้องนำศพลงบ้านทางทิศนั้น (แต่เมื่อเวลานอน มอญจะหันศีรษะไปทางทิศใต้และทิศตะวันออก) คนมอญบ้านบางขันหมากนับถือพุทธศาสนาควบคู่กับความเชื่อเรื่องผี ไม่มีผู้ใดนับถือศาสนาอื่นผีที่สำคัญได้แก่ ผีประจำตระกูลหรือผีโรงและผีเรือน อยู่ที่เสาเอก (หน้า 25-26) พิธีสังเวยด้วยอาหารและการรำ สำหรับผีโรง มอญจะนัดเลี้ยงกันในหมู่สมาชิกของตระกูลทุกเดือน 6 ของปี แต่อาจนัดในโอกาสอื่นได้อีกหากรู้สึกว่ามีความเดือดร้อนเจ็บไข้ในตระกูล เมื่อมีศพมอญตายต้องหันศีรษะของศพไปทางทิศเหนือหรือทิศตะวันตก คนตายจะต้องใส่เสื้อต่างกับคนเป็นโดยกลับกระดุมเสื้อไว้ด้านหลัง และจะวางศพขวางตะวันเวลาเผาและเมรุเผาศพจะต้องวางทางทิศดังกล่าวเช่นกัน (หน้า 26-27)

Education and Socialization

เดิมมีการสอนให้อ่าน เขียนภาษามอญที่วัดโพธิ์ระหัตและวัดอัมพวันมีพระเป็นผู้สอน สังคมมอญเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ได้รับการสนับสนุนให้อ่านเขียนภาษามอญ (หน้า18)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกาย ในอดีตผู้หญิงมอญนุ่งโจงกระเบนแต่คนมอญนุ่งผ้าถุง สีเขียว สีแดงและสีเขียวเป็นสีที่ใช้มากที่สุดโดยมีผ้าสีแดงติดเป็นขอบด้านบน ใส่เสื้อคอป่านคอกลม กระดุมผ่าหน้า แขนสามส่วนและพาดผ้าสไบ แต่ไม่พบข้อมูลว่าผู้ชายมอญแต่งกายแตกต่างจากผู้ชายไทยกล่าวคือ จะนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อผ่าอกหรือใส่กางเกงขาก๊วยหรือใส่เสื้อผ้าป่านคอกลม มอญโดยมากนิยมประดับตกแต่งร่างกายด้วยโลหะทองคำและเงิน (หน้า 28) เครื่องจักสานของมอญบ้านบางขันหมากต่างกับของคนไทย ตรงที่เครื่องจักสานของมอญจะแข็งแรงและมีความละเอียดสวยงามกว่า (หน้า 18) โรงเตาที่ใช้เผาอิฐนิยมมุงหลังคาด้วยแฝก จาก หรือ หญ้าคา ไม่นิยมมุงสังกะสีเพราะควันไฟทำให้ผุเร็วเป็นการเปลืองค่าใช้จ่าย (หน้า 20) วิธีทำปูนโบราณคือเอาปูนขาวแช่น้ำรวมกับเปลือกต้นประดู่และหนังวัว จะได้ปูนประสานและปูนฉาบที่เหนียว เจดีย์ทรงมอญ พม่า รูปทรงคล้ายลอมฟาง (หน้า 24) เรือนของมอญบ้านบางขันหมากมีลักษณะเช่นเดียวกับบ้านคนไทย แต่เดิมทุกเรือนจะหันหน้าไปทางทิศเหนือ หลังคามุงด้วยจาก แฝก สังกะสี ไม่มีมอญบ้านใดสร้างบ้านด้วยอิฐก่อปูน (หน้า 25)

Folklore

เครื่องดนตรีมอญเหมือนของไทย มีระนาด ซออู้ ซออี้ บางครั้งก็มีตะเข้ แต่ไม่มีเพลงเรือ เพลงฉ่อยและลิเกเหมือนของไทยแต่มีการฟ้อนรำทะเยมอญ รำผี ส่วนการละเล่นในชุมชนได้แก่ การเล่นลูกช่วง การเล่นสะบ้า (หน้า 28-29)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ในอดีตมอญบ้านบางขันหมากมีเรื่องกระทบกระทั่งกับคนไทย โดยเฉพาะการล้อเรียนจากคนไทยว่า "มอญขวาง" โดยคนไทยเรียกโดยให้มีความหมายว่า ขวางโลก เกะกะซึ่งคนมอญไม่ชอบ (หน้า 30)

Social Cultural and Identity Change

สมัยก่อนชาวนาไม่เคยซื้อข้าวกิน แต่สมัยนี้ชาวนาผลิตข้าวเปลือก เมื่อได้เงินจึงนำไปซื้อข้าวสาร (หน้า 16) การกลืนวัฒนธรรมมอญเป็นผลกระทบจากนโยบายหลายประการของประเทศ (หน้า 30)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 16 มี.ค 2548
TAG มอญ, การอพยพ, การตั้งถิ่นฐาน, ลพบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง