สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,ภาษา,วัฒนธรรม,สุพรรณบุรี
Author มานิตา เขื่อนขันธ์
Title ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นชาวลาวโซ่ง บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 121 Year 2541
Source สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
Abstract

โซ่งในอำเภออู่ทองมีทั้งสิ้น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านดอน ตำบลดอนมะเกลือ และตำบลสระยายโสม โดยอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ได้อย่างดี แต่มีวัฒนธรรมบางประการที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมใหม่ได้อย่างราบรื่น ลักษณะการแต่งกาย ทรงผม รูปแบบการสร้างเรือนเริ่มสูญหายมาก แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลยคือความเชื่อเรื่องผี การนับถือผีบรรพบุรุษ อันเป็นจุดรวมช่วยควบคุมรักษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมกลุ่มชนของตนให้ปฏิบัติในสิ่งเดียวกัน และก่อให้เกิดความสำนึกร่วมกันเป็นชุมชนเดียวกัน ในอนาคตประเพณีและวัฒนธรรมของโซ่งคงจะคลี่คลายกลายลง และอาจถูกวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลทำให้เปลี่ยนแปลง เพราะหนุ่มสาวโซ่งปัจจุบันได้หันความสนใจเปิดรับวัฒนธรรมของสังคมภายนอกไปปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตบ้างแล้ว

Focus

ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นลาวโซ่ง บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวโซ่ง

Language and Linguistic Affiliations

ลาวโซ่งมีภาษาพูดเป็นของตนเอง สำเนียงจะคล้ายคลึงกับสำเนียงอีสาน มีตัวอักษรเป็นของตนเองรูปอักษรคล้ายอักษรลาว ลักษณะไวยากรณ์แบบเดียวกับภาษาไทย ภาษาของลาวโซ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท สาขาตะวันตกเฉียงใต้(หน้า 49)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2541

History of the Group and Community

"โซ่ง" "ลาวโซ่ง" "ไทยโซ่ง" "ลาวทรงดำ" และ "ผู้ไทยดำ" เป็นชื่อเรียกคนไทยภาคกลางใช้เรียกชาติพันธุ์กลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอพยพจากเขตสิบสองจุไท ในประเทศเวียดนามตอนเหนือ อยู่ติดทางตอนเหนือของประเทศลาวและติดต่อกับชายแดนทาง ใต้ของประเทศจีน ตามพงศาวดารเมืองไล ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 9 กล่าวว่าแต่เดิมนั้นแคว้นสิบสองจุไทได้แบ่งการปกครองเป็น 12 หัวเมืองหลัก ประกอบด้วยหัวเมืองของผู้ไทขาว 4 เมืองและหัวเมืองของผู้ไทดำ 8 เมือง โซ่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้งตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการเข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้นอยู่ในภาวะจำยอมในฐานะเชลยศึก ระยะแรกโดยมากจะถูกส่งให้มารวมกันที่จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้ เพราะจังหวัดเพชรบุรีมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายคลึงกับถิ่นฐานเดิม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองจึงทำให้ลาวโซ่งพ้นฐานะทาสของระบบมูลนาย ลาวโซ่งจึงได้อพยพออกไปยังจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร เป็นต้น บรรพบุรุษของลาวโซ่ง บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีได้อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรีเพื่อหาที่ทำกินใหม่เมื่อราวปี พ.ศ. 2441 (หน้า 15-17)

Settlement Pattern

การตั้งถิ่นฐานจะมีลักษณะการรวมกลุ่ม มักจะสร้างเรือนอยู่เป็นชุมชนแบบญาติพี่น้องประมาณ 10 หลังคาเรือนเป็นต้นไป จะสร้างเรือนแยกต่างหากจากที่นา (หน้า 17) (รายละเอียดเรื่องโครงสร้างบ้านเรือนของลาวโซ่งดูหัวข้อ Art and Crafts)

Demography

ประชากรของจังหวัดสุพรรณบุรีมีจำนวน 858,857 คน จำแนกเป็นชาย 419,359 คน หญิง 439,498 คน ประชากรในอำเภออู่ทองประกอบด้วยเชื้อชาติไทย ญวน จีน ลาวกระจายตามตำบลต่างๆ 122,038 คน เป็นชาย 59,907 คน เป็นหญิง 62,131 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 193 คนต่อตารางกิโลเมตร (พ.ย. 2541) (หน้า 4,9) พ.ศ. 2438 ลาวทรงดำ 700 คน ได้อพยพจากเมืองเพชรบุรีเพื่อไปหาที่ทำกินใหม่ (หน้า 16)

Economy

ในอดีตโซ่งประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่โซ่งรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาสูงไม่นิยมการทำนาเท่าที่ควร โดยมากไปทำงานรับจ้างในเมือง ในโรงงาน ร้านค้า เพราะเป็นอาชีพที่สบายงานเบากว่าการทำนา ถ้ามีเวลาว่างจากการทำนาผู้ชายจะนั่งจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ ส่วนหญิงโซ่งจะทอผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายไว้ใช้ในชีวิตประจำวันในงานพิธีกรรมต่าง ๆ และเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ดีพอสมควร (หน้า 27-28)

Social Organization

การแบ่งชั้นทางสังคม แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้ท้าวหมายถึงบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้านาย กลุ่มผู้น้อย หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มคนที่เกิดในตระกูลสามัญชน (หน้า 60)

Political Organization

จังหวัดสุพรรณบุรีแบ่งการบริหารราชการออกเป็น 2 ส่วนได้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค แบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลจำนวน 21 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 21 แห่ง (หน้า 5-6)

Belief System

ความเชื่อเรื่องผีมีบทบาทอย่างมากในสังคมลาวโซ่ง ผีที่โซ่งให้ความเคารพและนับถือมากที่สุดคือผีบรรพบุรุษที่เรียกกันว่า "ผีเฮือน" หรือ "ผีเรือน" นอกจากนับถือผีบรรพบุรุษแล้วยังมีการนับถือผีต่าง ๆ อีกมากมาย ในทุกพิธีกรรมและประเพณีของโซ่งจะมีความเชื่อในเรื่องผีเข้ามามีบทบาทโดยตรงกับพิธีนั้น ๆ ควบคู่กับเรื่องขวัญ ซึ่งเป็นสิ่งติดตัวมาแต่กำเนิด คนมีดีมีสุขเพราะขวัญเป็นเหตุ ประเพณี ความเชื่อและพิธีกรรมที่ยังคงสืบทอดถึงปัจจุบัน เช่น - ประเพณีไหว้ศาลประจำหมู่บ้าน การไหว้ศาลประจำหมู่บ้านครั้งที่ 1 จะเริ่มในเดือน 6 วันข้างขึ้น จะจัดพิธีในตอนเย็นเท่านั้น มีการจัดเตรียมอาหารเพื่อมาเซ่นไหว้ โดยเฉพาะไก่ต้มที่นำมาเซ่นไหว้ต้องฆ่าด้วยวิธีการทุบหัวเท่านั้น โดยมีหมอผู้ทำพิธีเรียกว่า "เจ้าจ้ำ" ในพิธีจะมีการเชิญเจ้าพ่อเพื่อมารับของเซ่นไหว้ มีการกล่าวอัญเชิญชุมนุมเทวดาโดยมีความเชื่อว่าจะช่วยคุ้มครองหมู่บ้าน ช่วยให้ทำการเกษตรกรรมได้ผลอุดมสมบูรณ์และเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในหมู่บ้าน พิธีครั้งที่ 2 จะเริ่มในเดือน 8 วันข้างขึ้นจัดพิธีทั้งตอนเช้าและตอนเย็น พิธีตอนเช้าเรียกว่า "บุญกลางบ้าน" มีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดให้ศีลให้พร ส่วนพิธีตอนเย็นจะทำเช่นเดียวกับการไหว้ศาลประจำหมู่บ้านครั้งที่ 1 - ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีเสนเรือน คือ พิธีกรรมเซ่นไหว้ผีเรือนของลาวโซ่งเป็นการอัญเชิญวิญญาณบรรพบุรุษให้ขึ้นเรือนและเพื่อบอกกล่าวให้ผีบรรพบุรุษช่วยปกป้องคุ้มครองลูกหลานที่อยู่ในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ประเพณีเสนเรือนผู้น้อย - ประเพณีเสนเรือนผู้ท้าว ประเพณีเสนเรือนตั้งบั้ง หรือเสนกินปางคือพิธีกรรมเซ่นไหว้ผีเรือนของลาวโซ่งที่เป็นบรรพบุรุษที่มีวิชาอาคมในการรักษาโรคภัยหรือแก้ไสยศาสตร์ได้เรียกว่าเป็น "หมอมนต์" มาก่อน - ประเพณีเสนเรียกขวัญ (เสนตัว) เป็นพิธีเรียกขวัญให้ผู้ป่วยหายจากโรคภัย ถ้าขวัญกลับมาไม่ได้ หมายถึงว่าผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตในที่สุด - ประเพณีงานศพ เมื่อเกิดการตายขึ้นในหมู่บ้าน ญาติที่นับถือผีบ้านเดียวกันจะหยุดการทำงานทุกอย่างเป็นการไว้ทุกข์แก่ผู้ตายการวางโลงศพตามขื่อบ้านถ้าเป็นศพผู้ชาย(สามี) ให้วางใต้ถุนบ้านด้านในที่ติดกับห้องกะล้อห่อง ถ้าเป็นหญิง (ภรรยา) ให้วางใต้ขื่อบ้านถัดออกมา - ประเพณีปัดลางควานเป็นพิธีเรียกขวัญคนในบ้านให้กลับมาจากการเสียขวัญเสียใจเศร้าโศกที่บุคคลในครอบครัวได้เสียชีวิต โดยมีแม่เฮือน เรียกว่า "แม่มด" เป็นผู้ประกอบพิธี (หน้า 60-61)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เรือนของลาวโซ่ง การปลูกสร้างบ้านเรือนมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปคล้ายกับเรือนของคนไทยภาคกลางเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมและสภาพทางสังคมภายนอก เห็นได้จาก ส่วนหลังคาที่มีจั่วยอดแหลม มีผนังฝากั้นเรือนแบ่งออกเป็น ห้องครัว ห้องนอน ห้องผีเรือน เป็นต้น เรือนบางแบบมีลักษณะคล้ายกับเรือนดั้งเดิม เพียงแต่เปลี่ยนหลังคาให้เป็นทรงจั่วแบบบ้านชาวนาไทย มีการลากปีกนกออกมายาวเสมอชายคามุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี และฝาบ้านสูงขึ้นกว่าแบบบ้านเดิม มีเรือนครัวและใต้ถุนสูงอย่างบ้านคนไทยภาคกลาง บ้านของโซ่งสมัยใหม่จึงนิยมสร้างบ้านแบบเรือนไทยประยุกต์ก่อด้วยปูนซิเมนต์แทนไม้ มุงกระเบื้องแบบยุโรปหรือเป็นบ้านสไตล์ฝรั่งตามสมัยนิยมหรือตามอย่างแบบบ้านคนไทยภาคกลางทั่วๆ ไป การวางผังเรือนแบบเดิมของโซ่งต่างจากคนไทยทั่วไปอย่างหนึ่งคือ ครัวไฟจะไม่สร้างไว้ที่หัวสกัดของบ้านแต่จะสร้างไว้ที่หัวสกัดนอกชานบ้าน ทั้งนี้เพราะ สกัดของตัวบ้านด้านหนึ่งจะมีห้องทำพิธีเซ่นผีเรือน จึงไม่ตั้งครัวไฟบังห้องนี้เด็ดขาดเพราะถือว่าห้องครัวเป็นสิ่งที่ไม่สะอาด สำหรับบ้านที่นับถือศาสนาคริสต์จะไม่มีห้องผีเรือน เนื่องจากคนที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องเลิกการนับถือผี ... ยุ้งข้าว จะสร้างไม่ไกลจากตัวบ้าน มุงด้วยกระเบื้องมีจั่ว เสาที่ค้ำยุ้งข้าวจะใช้ต้นไม้ที่มีง่ามและวางต้นเสาแทนคาน (หน้า 18) การแต่งกาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันและชุดที่ใช้ในโอกาสสำคัญ - เสื้อของผู้ชายเรียกว่า "เสื้อไท้" หรือ "เสื้อซอน" เป็นเสื้อสีดำติดกระดุมเงินประมาณ 10-15 เม็ด ใช้ใส่ในการเดินทางและทำงานทั่วไปในชีวิตประจำวัน ผู้ชายนิยมสวมเสื้อไท้กับกางเกงขาสั้นสีดำหรือสีครามแก่ ปลายขาแคบเรียวยาวแค่เข่าแบบกางเกงขาก๊วยของจีน เอวกว้าง มีตะเข็บด้านข้าง - "เสื้อฮี " เป็นชุดที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เสื้อฮีของผู้ชาย คล้ายเสื้อคอกลมยาวคลุมตะโพก กุ๊นรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดงแล้วเดินเส้นทับด้วยสีอื่น คอเสื้อด้านข้าง ติดกระดุมไว้คล้อง 1 เม็ด มีกระดุมติดที่หน้าอกหรือเอว แขนเสื้อเป็นแขนกระบอก ชายเสื้อด้านในประดับด้วยไหมและกระจกเป็นลวดลายสีต่าง ๆ ถ้าเป็นงานมงคลจะเอาด้านที่มีลายสวยงามอยู่ด้านใน กระเป๋าคาดเอว ทำด้วยผ้าสีแดงและเหลือง ปลายสายเย็บกลึงให้กลมเรียวเล็ก ตอนปลายมีพู่ทำด้วยไหมสีต่าง ๆ ทั้งสองปลาย ตรงกลางเย็บผ้าติด คล้ายกระเป๋ามีฝา ใช้คาดทับเสื้อนอกตรงเอวสำหรับใส่ข้าวของ - เสื้อของผู้หญิงเรียกว่า "เสื้อก้อม" ชุดธรรมดา จะเป็นชุดรัดรูปพอดีตัว เอวสั้น แขนกระบอก คอตั้งแบบจีน ผ่าหน้าตลอดติดกระดุมเงิน นุ่งซิ่นสีดำหรือสีครามแก่ พื้นมีลายเส้นตรงสีขาวเล็กๆ ทอด้วยด้ายสีดำสลับสีขาวหรือสีฟ้าอ่อน เรียกว่า "ผ้าลายแตงโม" เชิงซิ่นจะติดตีนซิ่นเป็นลวดลายต่างหากกว้างประมาณ 2 นิ้ว สื่อความหมายถึงการเป็นพี่เป็นน้องกันระหว่างคนไทยกับคนลาวโดยใช้ลายใหญ่ 2 เส้นขนานกัน โซ่งจะจับชายซิ่นส่วนบนสองข้างพับเข้าหากันตรงกลางแล้วคาดเข็มขัดรัดไว้ ดึงซิ่นด้านหน้าสูงกว่าด้านหลังเพื่อสะดวกในการก้าวเดินและทำงาน - เสื้อฮีของผู้หญิง เป็นเสื้อคลุม ยาวถึงเข่าทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ คอตั้ง ด้านหน้า เป็นคอแหลมตัววี ใช้สวมหัว ไม่มีกระดุม แขนสามส่วนแบบแขนในตัวไม่ผ่าไหล่ใส่ได้ทั้ง 2 ด้าน บริเวณสาบหน้า ตะเข็บ ปลายแขนและชายล่างของเสื้อประดับด้วยผ้าสีต่าง ๆ - การแต่งกายของเด็กเล็กๆ ในอดีตนิยมใช้ผ้าปิดหน้าอกและท้องไปผูกกันไว้ด้านหลัง ผ้าลักษณะนี้เรียกว่า "ตับปิ้ง" มีหมวกสีดำ (มู) คล้ายถุงผ้าปักลวดลายด้วยไหมและผ้าสีต่างๆ มีสายสะพายสีดำพันรอบตัวเด็กและคล้องไหล่แม่เพื่อสะดวกในการอุ้มเรียกว่า "พลา" สายสะพายคล้องไหล่เรียกว่า "หม้นงอ" มีลายพญานาค 5 ตัวห้อยหัวอยู่ใกล้ๆ พญานาคมีกระเป๋าเล็กๆ เย็บติดกับเอว - การไว้ทรงผม ผู้ชายจะตัดผมสั้นทรงดอกกระทุ่มหรือรองทรงสูงตลอดชีวิต ส่วนผู้หญิงจะเปลี่ยนทรงผมไปเรื่อยๆ ตามวัย ตั้งแต่เด็กจนชรา หญิงที่ผมยังไม่ยาวพอที่จะปั้นเกล้าได้ ยังไม่ถึงวัยที่สมควรแต่งงาน ห้ามิให้เกี่ยวข้องหรือติดต่อกับชายหนุ่มในทางชู้สาวเป็นอันขาด ถ้าเกล้าผมได้แล้วผู้ใหญ่จะอนุญาตให้ลงนั่งข่วง (เลือกคู่) ได้อย่างเสรี - การแต่งกายในงานศพ ลูกหลานของผู้ตายต้องใส่เสื้อสีขาวเรียกว่า "เสื้อต๊ก" มีผ้าขาวโพกหัว ส่วนลูกสาวที่แต่งงานออกเรือนแล้วไม่ต้องใส่เสื้อต๊ก ส่วนลูกเขย ลูกสะใภ้ หลานเขย หลานสะใภ้ให้ใส่เสื้อฮีที่กลับด้านในออกข้างนอก (หน้า 36 -38,47,92)

Folklore

การละเล่น : (หน้า 108-111) - การ "เล่นคอน" หรือ "อิ่นก๊อน" เป็นการร้องเพลงร่ายรำเล่นเพลงแคนและเล่นโยนลูกช่วงและต่อกลอนกันจนดึก เปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้อยู่ใกล้ชิดกันและได้เกี้ยวพาราสีทำความคุ้นเคยต่อกัน นิยมเล่นหลังฤดูเก็บเกี่ยว ราวเดือน 4 ถึงเดือน 5 - การลงข่วง คือการที่หญิงสาวจับกลุ่มทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ เช่น เย็บปักถักร้อย ที่บริเวณลานบ้านในตอนหัวค่ำ เปิดโอกาสให้ชายหนุ่มที่มาเที่ยวข่วงได้มีโอกาสเกี้ยวพาราสี หมู่บ้านหนึ่งจะมีอยู่ข่วงกันกี่ข่วงก็ได้ตลอดปีไม่มีฤดูกาล - การเล่นสะบ้า ในภาษาโซ่งคือลูกทรงกลมแบนทำด้วยไม้แผ่นแบน ผู้เล่นจะนั่งคุกเข่าด้วยขาข้างเดียว ห่างจากไม้ที่เป็นเป้าพอสมควร เอาลูกสะบ้าวางไว้ที่หัวเข่าแล้วใช้ไม้ไผ่ดีดหรือตีให้ตรงไปยังเป้าไม้กลมแบนแผ่นเท่าจาน ถ้าใครดีดถูกเป้าก็เป็นผู้ชนะ ส่วนผู้แพ้จะโดนปรับด้วยวิธีการต่างๆ - การเล่นผีมดแดง นิยมเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ใช้กะลามะพร้าวที่เป็นกะลาตัวเมียมีรูเดียวคว่ำลงแล้วให้ผู้สมมุติเป็นผีมดแดงนั่งบนกะลาพร้อมทั้งผูกตา ส่วนผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงและตบมือไปเรื่อย เพลงที่ร้องมีเนื้อร้องว่า "ผีมดแดงเอย ไต่แข้งไต่ขา เชิญผีมดแดงมาลงตะกร้า เจ้าพระยาผีเอย" คนที่เป็นผีมดแดงจะล้มลง แสดงว่าผีมดแดงเข้าแล้วจึงเอาเชือกผูกเอวผีมดแดงและมีคนคอยดึงเชือกโดยผู้ดึงเชือกจะเป็นผู้สั่งการให้ผีมดแดงปฏิบัติ เล่นไปจนกว่าผู้ที่เป็นผีมดแดงล้มลง แสดงว่าผีมดแดงออกจากร่างแล้ว - เพลงกล่อมเด็ก "เออะเออ เออะเออ นอนน้อน ดุหล่านอน เย่อยื่อๆ นอนดับตา อย่าตื่น เอามันอื่น บอเฮม เอมมันไปนาบอเฮเต่าวเอมมันจ้าว เข้าสุขอยู่เฮือนฮอมน้อง เอมมันไปไฮบอมาเอม มันไปนาขำกะส่า ไปส่อนๆ ปาน้อย ปา กลี่ มา ฝ่อ เอมมันไปส่อน ปาหมอ ปาเพียนมาต้มดุหล่า นอนๆ เอเ เอ นอนหลับหูหยา จ้านนอนหลับตาหยาตื่น บอนอนเลย หมาดำหมาลายจี มาขบก้นอ้นน้อยจีมากินฮำ เลยดุหล่านอนน้อนๆ"

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันวัฒธรรมของโซ่งเริ่มกลมกลืนกับวัฒนธรรมสังคมปัจจุบันเป็นอันมาก การแต่งกายด้วยชุดประจำชุมชนลดน้อยลงมาก(หน้า 17) การปลูกสร้างบ้านเรือนมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนไปคล้ายกับเรือนของคนไทยภาคกลาง (หน้า 18) การทำนาในอดีตต้องใช้เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อทุ่นแรง แต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ (หน้า 27) เด็กโซ่งปัจจุบันจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากความจำเป็นด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่มีเวลาตัดเย็บเสื้อ (หน้า 38)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองแถง ประเทศเวียดนาม(11) แผนที่ประเทศไทยแสดงที่ตั้งของจังหวัดสุพรรณบุรี(12) แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี แสดงอาณาเขตอำเภอต่างๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรี(13) แผนที่แสดงที่ตั้งหมู่บ้านดอนมะเกลือ ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี(14) ภาพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงสงขลานครินทร์ทรงเสด็จทัศนศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและทรงเสด็จเยี่ยมชมเครื่องแต่งกายลาวโซ่งบ้านดอนมะเกลือ(19) ภาพเรือนลาวโซ่งแบบดั้งเดิม สร้างด้วยไม้ไผ่และหญ้าแฝก เสาง่ามไม้ ปัจจุบันสร้างจำลองไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี(20) -เรือนลาวโซ่งในปัจจุบันสร้างด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้องหรือสังกะสี เสาใช้ง่ามไม้หรือเสาไม้ธรรมดา(21) -ห้องกะล้อห่อง อยู่มุมในสุดขวามือของบ้านจะแขวน "ไต๋" ไว้ที่ฝาห้อง(22) -ห้องผีผู้ท้าว เป็นห้องต่อออกจากระเบียงบ้าน,เสาง่ามไม้เป็นเอกลักษณ์ของบ้านโซ่ง, หิ้งใต้หลังคา สำรับเก็บขมุกที่ใส่ผ้าไหม -ผ้าทอและของใช้ที่สำคัญใช้แทนตู้เสื้อผ้าข้าว(23) - สภาพบ้านของโซ่งในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงเป็นก่อด้วยซิเมนต์รูปทรงตามวัฒนธรรมตะวันตก,ห้องน้ำห้องส้วมที่แยกออกจากตัวเรือน,ยุ้งข้าวแบบดั้งเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าแฝกหรือหญ้าคา เสาง่ามไม้(24) - ผังแสดงการแบ่งห้องในเรือนลาวโซ่ง,โครงสร้างบ้านลาวโซ่งแบบดั้งเดิมสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้าแฝก,ยุ้งข้าวในสมัยต่อมาหลังคามุงกระเบื้องหรือสังกะสี เสาง่ามไม้(25) - วัดดอนมะเกลือ เป็นวัดประจำหมู่บ้าน(26) - ถนนทางเข้าหมู่บ้านดอนมะเกลือ สองข้างถนนเป็นพื้นที่ทำนาแยกออกจากที่อยู่อาศัย(28) - โซ่งช่วยกันลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวและผัดข้าวเปลือก(29) - โซ่งตกประหลาด้วยคันเบ็ดไม้ไผ่และใช้ลอบดักปลาตามหนองน้ำ,การสานกะเหล็บและทำหมอนและที่นอน(30) - การต้มตัวไหมและสาวไหม(32) - การสาวไหมด้วยกงกว้างให้ไหมเป็นไจๆ(33) - การกรอด้ายเข้าหลอดด้วยจูงเพี่ยนต่อโยงด้ายมาจากกงกว้าง,การทอผ้าลายแตงโมด้วยกี่พุ่ง(34) - การทอผ้าลายแตงโมด้วยกี่พุ่ง,การทอมัดหมี่ด้วยกี่กระตุกแบบใหม่(35) - การแต่งกายของผู้ชายโซ่งเมื่อเดินทางหรือไปงานพิธี,เสื้อก้อมของผู้ชาย(38) - ส้วงก้อมกางเกงของผู้ชาย,กระเป๋าคาดเอวของผู้ชาย,เสื้อฮีของผู้ชายเป็นด้านนอกสำหรับใส่ในงานพิธีต่างๆ(39) - มีดสำหรับเหน็บเอวของผู้ชาย,การแต่งกายของผู้ชายโซ่งเวลาไปช่วยงานศพ,การแต่งกายชุดอยู่บ้านของผู้ชาย(40) - การแต่งกายของผู้หญิงโซ่งเมื่อเดินทางหรือไปงานพิธี,ผ้าเปียวสำหรับห้อยคอหรือพาดบ่า(41) - กระเป๋าสะพายบ่าของผู้หญิง,เสื้อฮีของผู้หญิงเป็นด้านในสำหรับใส่ให้คนตาย,ผ้าคล้องไหล่แม่สำหรับอุ้มลูก(42) - การแต่งกายของผู้หญิงสูงอายุเมื่อเวลาอยู่บ้าน,การแต่งกายของหญิงสูงอายุเมื่อไปงานพิธีต่างๆ(43) - การแต่งกายของผู้ชาย ผู้หญิงเมื่อไปงานพิธี,การแต่งกายของเด็กผู้ชายโซ่ง ใส่เสื้อก้อม,กางเกงส้วงก้อม,สวมหมวก มีกระเป๋าคาดเอว,ชุดของเด็กผู้ชาย(44) - หมวกของเด็กผู้ชาย,การแต่งกายของเด็กหญิงโซ่ง ใส่เสื้อก้อม นุ่งผ้าซิ่นลายแตงโมมีผ้าคล้องไหล่ของเด็กผู้หญิง(45) - หมวกของเด็กเล็ก,กำไลข้อมือ,กำไลข้อเท้าของเด็กเล็ก(46) - การเกล้าผมทรงผมปั้นเกล้าของผู้หญิงสูงอายุ(48) - พยัญชนะโซ่งเทียบกับพยัญชนะไทย(50) - พยัญชนะพิเศษมี 8 ตัว(51) - การออกเสียงพยัญชนะของโซ่ง(52-53) - ตัวอย่างการเขียนอักษร - ภาษาโซ่ง(54 - 59) -หมอเสนใส่เสื้อฮี ถือวี(พัด)นั่งในกะล้อห่องทำพิธีเสนเรือนผู้น้อย(72) - หมอเสนเรียกชื่อบรรพบุรุษทีละคนให้มากินอาหารโดยคีบอาหารใส่รูที่เจาะไว้ข้างฝาบ้าน(73) - หมอเสนใส่เสื้อสีแดง ทำพิธีเสนเรือนผู้ท้าว เรียกเสนปางแปง(76) - หมอเสนกำลังหย่อน"ห่อหล่อ"ลงใต้ถุนเรือน(77) - หญิงสาวใส่ชุดฮีตามประเพณี หาบขันหมากไปยังบ้านเจ้าสาว,เจ้าบ่าวและเพื่อนทำพิธีไหว้พ่อและแม่ของเจ้าสาว ใช้นิ้วมือทั้งสองประสานกันระหว่างอก(89) - เจ้าสาวและเพื่อนเจ้าสาวแต่งชุดฮีตามประเพณี,เจ้าบ่าวนำเงินสินสอดทองหมั้น สร้อยทอง เครื่องประดับมอบแก่เจ้าสาว(90) - การตั้งศพจะพาดเสื้อฮีไว้บนโลง กลับด้านในที่มีลวดลาย สีสวยงามออกไว้ข้างนอก,การย้ายศพของโซ่งไปป่าช้า จะวางโลงศพบนแคร่ไม้ไผ่ปูด้วยมี่นอน(96) - ญาติๆจะเคลื่อนขบวนตามไปส่งศพที่ป่าแห้วหรือวัดเพื่อเผาศพ, หอแก้ว ปลี ธง สำหรับผู้ตายที่อายุ 70 ปีขึ้นไป นำไปใช้ในเมืองแถง,เขยทำพิธีส่งวิญญาณผู้ตาย จะใส่เสื้อสีดำ สวมหมวก พกมีดหมอ ลูกหลานใส่เสื้อต๊กสีขาวมีผ้าขาวโพกหัว(97) - พิธีสู่ขวัญเขยหลังจากกลับจากป่าช้า,ญาติๆผีเดียวกันกำลังทำพิธีสับลาบก้อยให้แก่ผู้ตายกิน,การมอบ"งายก๊บ งายกู"ให้แก่ผู้ตาย มีข้าวหลาม บั้งข้าวสุกใส่เหล้า บั้งพริก บั้งเกลือ บั้งโต๊กน้ำและบั้งโต๊กใส่แกง(98) - พิธีกินข้าวปานโต๊ก มีแกงใส่ชาม บั้งแกง วางบนกระด้งให้ญาติของผู้ตายกิน,ญาติๆกำลังทำ"ใบไม้"คือธงผ้าไหมสีเหลืองและสีแดงมอบให้แก่ผู้ตาย,แห้ว บ้านจำลอง สร้างอุทิศให้กับผู้ตาย(99) - เขยและญาติกำลังทำบ้านจำลองสำหรับฝังกระดูกผู้ตายในป่าช้า,ผู้ชายโซ่งพกมีดเสียบเอว ช่วยตัดไม้ไผ่ทำเสาหลวง สร้าง บ้านจำลอง(100) - ญาติๆกำลังช่วยกันทำแห้ว(101) - ญาติๆ ใช้ไม้ไผ่คีบกระดูกใส่หม้อดินเผานำไปฝังใต้บ้านจำลองในป่าช้า,พิธีสู่ขวัญเขย เขยจะขลิบผมและโกนหัวให้แก่ลูกชายผู้ ตาย(102) - เสาหลวง สำหรับผู้ตายที่เป็นผู้หญิง(103) - หอแก้ว เซียนและปลีสำหรับผู้ตายที่เป็นผู้หญิง(104) - การเล่นลูกช่วง ในงานเทศกาลประจำปีของหมู่บ้าน(111) - ประเพณีเล่นคอนร้องเพลงแคนและร่ายรำในงานรื่นเริง(112) - โซ่งจะทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ในวันเทศกาลสำคัญต่างๆ (113)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 10 เม.ย 2556
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, ภาษา, วัฒนธรรม, สุพรรณบุรี, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง