สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง),ทุนทางวัฒนธรรม,การเมือง,อัตลักษณ์,เชียงใหม่
Author วินัย บุญลือ
Title ทุนทางวัฒนธรรมและการช่วงชิงอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของชุมชนชาวปกาเกอะญอ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ปกาเกอะญอ, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 222 Year 2545
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

ศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนทุนทางวัฒนธรรมและการสะสมอำนาจเชิงสัญลักษณ์ของชุมชนปกาเกอะญอ เพื่อท้าทายวาทกรรมของรัฐเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสู่เวทีการต่อสู้ทางการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (หน้า ง)

Focus

ศึกษาการเปลี่ยนองค์ประกอบทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนปกาเกอะญอให้เป็นเครื่องมือของอำนาจเชิงสัญลักษณ์ สำหรับการสร้างอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน (หน้า 5)

Theoretical Issues

ผู้เขียนได้ประยุกต์มโนทัศน์เรื่อง "ทุนทางวัฒนธรรม" ของปิแอร์ บูร์ดิเยอร์ (Pierre Bourdieu) มาใช้วิเคราะห์ปรากฏการณ์การพัฒนาระบบสัญลักษณ์ของปกาเกอะญอที่บ้านหนองเต่า มาต่อสู้กับการที่รัฐและตลาดได้เบียดขับ ปกาเกอะญอซึ่งด้อยในสิทธิต่าง ๆ แต่ไม่ยอมจำนนโดยอาศัยเรื่องเล่าหรือตำนาน "ติลูลา" ที่เล่ากันมาช้านาน (หน้า 147-148) ปกาเกอะญอได้พยายามแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์โดยอาศัยการฟื้นฟูวัฒนธรรมและให้ความหมายใหม่เพื่อสื่อสารกับรัฐ และคนนอกอื่น ๆ ให้รู้ว่าปกาเกอะญอเป็นผู้ที่สามารถอยู่ร่วมกับป่า มีภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แสดงให้รู้ว่า ปกาเกอะญอมีระบบความคิดความเชื่อในเรื่องป่าและมีปฏิบัติการอนุรักษ์ป่า อย่างเช่น การทำ "ไร่หมุนเวียน" ไม่ใช่ "ไร่เลื่อนลอย" ในคำนิยามของรัฐ แสดงให้เห็นว่าชุมชนปกาเกอะญอมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในประเทศไทย (หน้า 131) โดยอาศัยหลักฐานต่าง ๆ และมีความชอบธรรมทางสิทธิต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าปกาเกอะญอสามารถใช้ความรู้สมัยใหม่เช่นแผนที่ทหารมาช่วยให้เห็นภาพความสามารถของการอยู่ร่วมกับป่า (หน้า 135) และเปิดพื้นที่ทางสังคมโดยใช้สื่อสมัยใหม่ (หน้า 141-142) ในรูปของการทำสื่อ การเล่านิทาน และเพลง อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้สรุปประเด็นวิพากษ์ว่าการต่อสู้ดังกล่าวยังเป็นการต่อสู้ที่ขาดความเท่าเทียมในทางสิทธิ เพราะเป็นการต่อสู้ในกระแสการพัฒนาทางทุนนิยม มิใช่ท้าทายทุนนิยม การสร้างภาพ "ปกาเกอะญอพิทักษ์ป่า" จะจำกัดสิทธิของปกาเกอะญอที่มีวิถีชีวิตแบบอื่น ในเรื่องนี้ผู้วิจัยซึ่งเป็นคนปกาเกอะญอมีข้อคิดเห็นว่าข้อวิพากษ์ดังกล่าวขาดความเข้าใจการต่อสู้ของปกาเกอะญอ ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนทุนวัฒนธรรม มาเป็นอำนาจเชิงสัญลักษณ์ เพื่อมีศักยภาพในการสร้างความชอบธรรมทางสังคมซึ่งมีรากฐานของการปฏิเสธ "ทุน" ในความหมายที่เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (หน้า 157-161)

Ethnic Group in the Focus

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อาศัยอยู่บนที่สูงเฉลี่ย 600-1000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แถบภาคเหนือของประเทศไทย ตลอดแนวเขตชายแดนไทย พม่า ในภาษาอังกฤษเรียก สกอว์ คาเรน (Sgaw Karen) หรือโปว์คาเรน (Pow Karen) ซึ่งน่าจะมาจากคำว่า คายิน (Kayin) โดยรากศัพท์ของคำว่า ยิน (yin) แปลว่า "ป่าเถื่อน ล้าหลัง" ไทยวนภาคเหนือและไตใหญ่เรียก "ยาง" หรือ "ยางกะเลอ" ส่วนคนไทยภาคกลางและเอกสารราชการเรียก "กะเหรี่ยง" (หน้า 36)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

แบ่งช่วงระยะเวลาการศึกษาออกเป็น 3 ยุค คือ 1) ยุคชุมชนชาวป่า (ก่อนปี พ.ศ. 2489) มีผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมอาศัยอยู่ตั้งแต่ที่ราบจนถึงยอดดอย ซึ่งต่างมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันตลอดเวลา และมีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์พึ่งพาอยู่กับธรรมชาติ ปกาเกอะญอในบริเวณนี้สันนิษฐานว่าเคยอยู่นอกเมืองเชียงใหม่ จึงค่อย ๆ ขยายออกหาที่ทำกินใหม่ในแถบขุนแม่วิน ห่างจากแม่วางประมาณ 20 กิโลเมตร (หน้า 39) อีกกลุ่มมาจากวัดจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม เข้ามาโดยการแต่งงานซึ่งมีไม่มากนัก และอีกกลุ่ม มาจากทางภาคตะวันตก ซึ่งอพยพมาตามเส้นทางการค้าโบราณระหว่างรัฐคะยา รัฐฉาน และล้านนาตอนบน ในรูปของคาราวานพ่อค้าวัวต่าง (หน้า 40) 2) ยุคชุมชนชาวเขา (พ.ศ. 2489-2530) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เต็มไปด้วยความอดอยาก เกิดลัทธิทางศาสนาเพื่อมากอบกู้ชีวิตความเป็นอยู่ให้หลุดพ้นจากทุกข์ยาก (หน้า 47) แต่สุดท้ายเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาควบคุมปราบปรามทำให้ขบวนการเหล่านี้หมดไป แต่ก็ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวเจ้าหน้าที่อย่างมาก (หน้า 50) เริ่มมีการพัฒนามาจากภายนอก เช่น การเข้ามาของนักศึกษาสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนรู้โลกภายนอกและปัญหาของชุมชน เริ่มสำนึกถึงความไม่เป็นธรรมจากนายทุน (หน้า 50-52) ขณะเดียวกันอำนาจรัฐเริ่มเข้ามาควบคุมพื้นที่อย่างจริงจัง เกิดโครงการพัฒนาต่าง ๆ เช่น กองลูกเสือชาวบ้าน ตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาป้องกันตนเอง การเผยแพร่ความเชื่อทางศาสนา การตัดถนนหนทาง และการเข้ามาของโครงการหลวง (หน้า 54-55) 3) ยุคชุมชนปกาเกอะญอ (พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน) จากปัญหาความไม่มั่นคงในชีวิต และอำนาจรัฐที่เข้ามาควบคุมมากขึ้น ทำให้ปกาเกอะญอกลับไปฟื้นฟูวัฒนธรรมการอยู่ร่วมและรักษาป่า มีการรวมกลุ่มตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรชาวบ้านเพื่อต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ เช่น ทรัพยากร สิทธิชาติพันธุ์ ซึ่งทำให้ปกาเกอะญอมีพื้นที่ในสังคมขึ้นมา (หน้า 65-70)

Settlement Pattern

การเลือกพื้นที่ตั้งหมู่บ้านจะดูความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ ผสมกับความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ ปกาเกอะญอจะไม่ตั้งหมู่บ้านในหุบเขาที่ภูเขาสองลูกมาบรรจบกัน เรียกว่ากิ่วดอย ถือว่าเป็นเส้นทางผ่านของวิญญาณ และ "ปอมีปอเทอ" หรือมนุษย์ล่องหน ซึ่งเชื่อว่าปอมีปอเทออาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์บนโลกนี้เช่นเดียวกัน แต่จะอยู่อีกภพหนึ่ง (หน้า 44) หมู่บ้านที่ตั้งระหว่างกิ่วดอยมักประสบภัยจากธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ขวางทางลม เมื่อมีลมพายุมา ช่องว่างระหว่างเขาจะเป็นช่องที่มีลมแรงที่สุด ทำให้บ้านปะทะกับลมโดยตรง (หน้า 44) บ้านหนองเต่าจะตั้งบ้านอยู่เป็นหย่อมบ้านเล็ก 5-7 ครอบครัวทำไร่ข้าว เก็บของป่าเป็นหลัก การทำไร่ข้าวส่วนใหญ่ทำกันภายในหุบห้วยสันเขาเดียวกัน โดยใช้เขตของห้วยเล็ก ๆ แบ่งพื้นที่ทำกินกับหย่อมบ้านอื่นซึ่งมีอยู่ชัดเจน ต่างเคารพไม่ข้ามเขตกัน (หน้า 41-42)

Demography

บ้านหนองเต่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรกว่า 500 คน 90 หลังคาเรือน (หน้า31)

Economy

ทำไร่ข้าวหมุนเวียนส่วนใหญ่ทำกันภายในหุบห้วยสันเขาเดียวกัน มีการแบ่งพื้นที่ทำกินกับบ้านอื่นตามเขตของห้วย (หน้า 42)

Social Organization

ในช่วงแรก จะอยู่กันเป็นหย่อมบ้านเล็ก ๆ มีการทำงานช่วยเหลือเกื้อกูลกันแบบครอบครัว การปกครองของแต่ละหย่อมบ้านไม่ขึ้นต่อกัน มีฮีโข่ เป็นหัวหน้าหมู่บ้านเป็นคนที่มีสิทธิในการจัดการโยกย้ายหมู่บ้าน เพราะมีอำนาจสื่อสารกับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เมื่อเกิดโรคระบาด หรือทำให้ผีไม่พอใจ จำเป็นต้องย้ายหมู่บ้านด้วยการเผาทำลายบ้านร้าง ฮีโข่เป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้าน ให้ทำหน้าที่ดูแลความสงบสุขของหมู่บ้าน รับผิดชอบความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน

Political Organization

เริ่มต้นจากความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารกับทางราชการและบุคคลภายนอก จึงเลือกผู้ที่สามารถพูดภาษาไทยได้ เรียกว่าแก่บ้านหรือพ่อหลวง ซึ่งภาษาของปกาเกอะญอเรียกว่า "ซะปก่า" (หน้า 44) บ้านหนองเต่าเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อ 110 ปีที่แล้ว มีผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว 11 คน ในบริเวณนั้น บ้านหนองเต่าเป็นหมู่บ้านที่ 4 ที่เป็นการจัดตั้งของรัฐ (หน้า 44) พ่อหลวงหรือผู้ใหญ่บ้านจะอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวบ้าน เพราะผู้นำตามประเพณียังมีความสำคัญอยู่มาก การปกครองโดยรวม ยังอยู่ในความดูแลของผู้นำดั้งเดิม และไม่ค่อยมีความขัดแย้งกัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงเคารพและยอมรับอำนาจของฮีโข่ (หน้า 45)

Belief System

ปกาเกอะญอมีวิธีคิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ที่เคารพอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ซึ่งเห็นว่ามนุษย์มีมิติความสัมพันธ์อยู่ 3 มิติ คือมิติจิตวิญญาณ คือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ โดยมองว่าโลกจักรวาลนั้นเป็นสิ่งสร้างจากอำนาจเหนือธรรมชาติของยวา ยวาเป็นเจ้าผู้ครอบครองสรรพสิ่งทั้งมวล มนุษย์เป็นเพียงผู้รับใช้และดูแลเท่านั้น รวมทั้งต้องรักษาสมดุลของธรรมชาติ หากมนุษย์เข้าไปรบกวนหรือเปลี่ยนแปลงต้องทำด้วยความระมัดระวัง เช่น การทำไร่หรือละเมิดธรรมชาติ จะต้องประกอบพิธีกรรมเพื่อบอกกล่าวแก่เจ้าชีวิตผู้ดูแล (หน้า 75-76) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ปกาเกอะญอเชื่อว่า การเกิดมาในโลกนี้เป็นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพ เลี้ยงลูกหลานให้เติบโตและดูแลบ้านเกิดเมืองนอน นอกจากนี้ ปกาเกอะญอยังเชื่อว่าขวัญ (เกอะลา) ของคนเรามีอยู่ 37 ขวัญ ในตัวมนุษย์มี 5 ขวัญ อีก 32 ขวัญนั้น จะไปผูกไว้กับชีวิตของสรรพสัตว์ในป่า ทำให้เห็นว่า การดำรงชีวิตในป่านั้นต้องพึ่งพาอาศัยกัน ผูกพันกับธรรมชาติตั้งแต่เกิดจนตาย จึงต้องปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความเคารพอ่อนน้อม (หน้า 76-78) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม ปกาเกอะญอมีความเชื่อว่า "ยวาผู้สร้าง" ให้ปกาเกอะญอเป็นพี่คนโตของมนุษย์ทั้งมวล ที่ต้องคอยรับผิดชอบความผาสุกของน้อง ๆ และถือว่าทุกคนเป็นลูกหลานของแผ่นดิน มนุษย์จึงควรอยู่บนแผ่นดินด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน ไม่เอาเปรียบดูถูกกัน (หน้า 80-83)

Education and Socialization

ไม่ระบุรายละเอียด

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เสื้อของแม่บ้านปกากะญอจะปักลวดลายเป็นรูปดอกมะเขือ มีกิ่งก้านเป็นรูปใยแมงมุมที่เชื่อมร้อยกิ่งไม้ใบไม้เข้ามาเป็นที่ยึดเกาะของรังแมงมุม (หน้า 39)

Folklore

บ้านหนองเต่าเดิมมีชื่อเรียกว่า "นอ ต่อ ปู" ซึ่งเรียกตามหนองน้ำใหญ่ท้ายหมู่บ้าน ภาษาคำเมือง คือ "หนองต้าว" หรือหนองที่หกล้ม มีลักษณะเหมือนรอยมนุษย์ดึกดำบรรพ์หกล้ม มีรูปร่างเหมือนรูปพรรณของมนุษย์ เล่ากันว่ามนุษย์ผู้นี้ชื่อ "ชิกือ" หรือผู้ทำร้ายโลก ขณะที่เขาหนีตายจากการไล่ล่าของพระเจ้าผู้สร้างโลก เกิดสะดุดล้มลงจนกลายเป็นบึงใหญ่ มีรอยแยกปรากฏอยู่บนดอยผาแง่ม ซึ่งเชื่อว่าเป็นรอยดาบที่ใช้ฟันชิกือ (หน้า 41) ส่วนอีกตำนานคือ "แหม่เปาะคี" คำว่า "เปาะ" แปลว่า กระท่อม ซึ่งเล่าว่า มีคนลัวะเคยไปยิงเก้งยิงกวางและตั้งกระท่อมเพิงพักในบริเวณแถบนี้ จึงเรียกขุนห้วยนี้ว่า "แหม่เปาะคี" เป็นที่ตั้งกระท่อม และเรียกห้วยว่า "แหม่เปาะโกละ" (หน้า 41) คำว่า "เปาะ" ยังหมายถึง ตรวนล่ามช้าง หรือ "เกลอ ชอ อะ เปาะ" เพราะในสมัยโบราณปกาเกอะญอจะมาปล่อยช้างแถบนี้ เมื่อช้างหลุดจากตรวนและหนีเข้าป่าจึงเรียกห้วยนี้ว่า "แหม่เปาะโกละ" (หน้า 41)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

จากการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างกัน ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น ม้ง ต่อมาม้งนำเอาฝิ่นมาเผยแพร่ ทำให้ปกาเกอะญอติดฝิ่นกันมาก มีชาวบ้านออกไปรับจ้างขุดไร่ฝิ่นให้กับม้ง ช่วงที่ม้งเข้ามาบริเวณแม่วาง ปกาเกอะญอไม่ได้รู้สึกว่าเป็นการแย่งพื้นที่ทำกิน เพราะทั้งสองกลุ่มต่างแบ่งปันและแลกเปลี่ยนผลผลิตกันอยู่เสมอ ต่อมาจึงค่อยเปลี่ยนแปลงเอื้อเฟื้อจุนเจือมาเป็นการรับจ้าง เพราะม้งมีความสามารถทำไร่บนที่สูง ซึ่งสร้างรายได้กับม้งเป็นอย่างดี (หน้า 45) ความสัมพันธ์กับม้งอีกด้านหนึ่งคือ ด้านจิตวิญญาณ ม้งจะมีวิธีทำนายเสี่ยงทายสาเหตุของอาการเจ็บป่วยที่เชื่อว่ามีสาเหตุมาจากผีป่า เมื่อปกาเกอะญอไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าผีตัวใดที่ทำให้เจ็บป่วย ก็จะไปหาม้งซึ่งสามารถสื่อสารกับจิตวิญญาณเพื่อประกอบพิธีกรรมให้ (หน้า 45-46)

Social Cultural and Identity Change

ปกาเกอะญอมีวิถีชีวิตที่อ่อนน้อมต่อธรรมชาติ พึ่งพาป่าทั้งทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม นิทานโบราณและสุภาษิต ต่างแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ต่อมาเมื่อระบบการเมืองจากภายนอกเข้ามารบกวน โดยมีการประกาศจัดตั้งหมู่บ้าน และการเข้ามากลุ่มนักศึกษาที่หนีภัยทางการเมืองได้มาสร้างจิตสำนึกและความรู้เรื่องสิทธิ (หน้า 50-52) ขณะเดียวกันรัฐเริ่มมองว่าชาวเขาเหล่านี้เป็นผู้ทำลายป่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ มีการจัดการกับชาวเขาด้วยการควบคุมโดยตรง การใช้ความรุนแรง และการพัฒนา เช่น การยึดกุมมวลชนผ่านการเป็นลูกเสือชาวบ้าน (หน้า 54-55) การสร้างถนน (หน้า 56) การเผยแพร่ศาสนา (หน้า 59) และการเข้าแทรกแซงวิถีการผลิตผ่านโครงการหลวง (หน้า 62) ผลกระทบจากภายนอกล้วนส่งผลให้ชุมชนปกาเกอะญอตกอยู่ในสภาพความกดดันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง การจัดการทรัพยากร รวมถึงอัตลักษณ์ของปกาเกอะญอเอง (หน้า 71) ในช่วงปัจจุบันมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมดั้งเดิมนำไปสู่กระบวนการสร้างและผลิตซ้ำอัตลักษณ์ของปกาเกอะญอในโลกสมัยใหม่ เพื่อเผชิญหน้ากับปัญหาความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรและการนิยามอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (หน้า 112) โดยมีแนวทางคือ กระบวนการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์จากไร่เลื่อนลอยสู่ไร่หมุนเวียน เพื่อยืนยันถึงชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ (หน้า 113) การใช้หลักการเชิงนิเวศในการสร้างอัตลักษณ์ของปกาเกอะญอ ให้เห็นว่าปกาเกอะญอเป็นคนที่รักป่า ไม่ใช่ผู้ทำลาย (หน้า 117) การใช้มิติเชิงประวัติศาสตร์ใหม่เพื่อตอบโต้การลดทอนความเป็นมนุษย์ของปกาเกอะญอ (หน้า 125) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาอธิบายรองรับองค์ความรู้การจัดการทรัพยากร ต่อรองกับความรู้การจัดการป่าไม้แบบวิทยาศาสตร์ (หน้า 135) และการเปิดพื้นที่ทางสังคมโดยใช้สื่อสมัยใหม่ สำหรับการสร้างภาพลักษณ์ของปกาเกอะญอ ในฐานะที่มีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน เป็นนักอนุรักษ์ที่สามารถดูแลป่าได้ ไม่ใช่ชาวเขาที่ทำลายป่า (หน้า 141)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

แผนที่แสดงการกระจายตัวของชุมชนปกาเกอะญอในระหว่างรัฐสองฝั่งฟ้า (หน้า 37) แผนที่แสดงบริเวณที่ตั้งพื้นที่ที่ศึกษาและหมู่บ้านใกล้เคียง (หน้า 38) แผนที่การกระจายตัวของป่าไม้ในประเทศไทย (หน้า 136) แผนที่การกระจายตัวของชุมชนชาวเขาในประเทศไทย (หน้า 137) การจำแนกป่าประเภทต่างๆ ในเขตพื้นที่บ้านหนองเต่า (หน้า 139)

Text Analyst ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ (กะเหรี่ยง), ทุนทางวัฒนธรรม, การเมือง, อัตลักษณ์, เชียงใหม่, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง