สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,ความเชื่อ,พิธีกรรม,นครปฐม
Author เรณู เหมือนจันทร์เชย
Title โลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : ความเชื่อเรื่องผีของไทยโซ่ง
Document Type หนังสือ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 159 Year 2542
Source หนังสือชุดโลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract

ปัจจัยหนึ่งที่สามารถดำรงเอกลักษณ์ของโซ่งไว้ได้คือ ความผสมกลมกลืนระหว่างความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผี พุทธศาสนาและพราหมณ์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีข้อโต้แย้งและไม่ขัดต่อหลักปฏิบัติ ส่วนการนับถือศาสนาคริสต์นั้นมีข้อห้าม คือต้องเลิกการนับถือผีทำให้ไทยโซ่งนับถือน้อย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงโลกทัศน์ที่เริ่มเปลี่ยนไปจากของเดิม มีการยอม รับสิ่งใหม่ที่เห็นว่าดี โดยมิได้ทำให้ความเชื่อและพิธีกรรมในการนับถือผีเสียหายหรือลดบทบาทลง ไทยโซ่งได้เลือกสรร ปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน

Focus

ความเชื่อ พิธีกรรมเกี่ยวกับผีและวัฏจักรชีวิตของไทยโซ่ง

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ไทยโซ่ง

Language and Linguistic Affiliations

ภาษาลาวโซ่งหรือไทยโซ่งคือภาษาไทดำ จัดอยู่ในตระกูลภาษาไท สาขาตะวันตกเฉียงใต้ไทยโซ่งมีภาษาพูดเป็นของตนเอง สำเนียงจะผิดเพี้ยนจากลาวเวียงจันทน์และลาวทางภาคอีสานไม่มากนัก มีตัวอักษรเป็นของตนเองรูปอักษรคล้ายอักษรลาว ลักษณะไวยากรณ์แบบเดียวกับภาษาไทย (หน้า 23)

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2542

History of the Group and Community

ไทยโซ่ง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท ซึ่งตั้งอยู่ในแถบแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ปัจจุบันอยู่ในเขตเวียดนามเหนือเชื่อมต่อกับจีนและลาวตอนใต้ ไทยโซ่ง เดิมเรียกว่า "ไทดำ" หรือ "ผู้ไทดำ" เพราะนิยมสวมเสื้อสีดำล้วน ต่างกับกลุ่มคนไทยที่อยู่ใกล้เคียง คนไทยภาคกลางเรียกกันว่า "ลาวทรงดำ" ต่อมาคำว่า "ดำ" หายไป นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า "ลาวทรง"หรือ "ลาวโซ่ง" ตามพงศาวดารเมืองไลหรือไลเจากล่าวว่า เมืองที่ผู้ไทดำอาศัยอยู่คือ "แถน" หรือ "เมืองแถง" หรือ "เมืองทันต์" ปัจจุบันคือเมือง "เดียนเบียนฟู" ประเทศเวียดนาม ไทดำถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้งตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ.2322 ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ระยะแรกโดยมากจะถูกส่งให้มารวมกันที่จังหวัดเพชรบุรี ทังนี้เพราะจังหวัดเพชรบุรีมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายภูมิประเทศของเมืองแถง แคว้นสิบสองจุไท (หน้า 8-9)

Settlement Pattern

เรือนของไทยโซ่ง โดยมากไม่มีรั้วแต่บางแห่งมีรั้วเตี้ยทำด้วยไม้ไผ่ เป็นเรือนหลังใหญ่ มีห้องกว้าง มีระเบียงด้านหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ด้านหน้าเป็นที่รับแขกและนั่งเล่นรียกว่า "กกชาน" ด้านหลังเรียกว่า "กว้าน" สำหรับประกอบพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษ ชายคาด้านหน้าจั่วทำเป็นวงโค้ง หลังคามีลักษณะสูงชันมุงด้วยตับหญ้าคา ชายคายาวต่ำลงจนบังพื้นบ้านทำหน้าที่เป็นทั้งหลังคาและฝาบ้าน มีบันไดขึ้นเรือนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่บันไดด้านหน้าจะมีขนาดใหญ่กว่าบันไดด้านหลัง ครัวไฟจะไม่สร้างไว้ที่หัวสกัดของบ้าน แต่จะสร้างไว้ที่หัวสกัดนอกชานบ้าน ทั้งนี้เพราะ สกัดของตัวบ้านด้านหนึ่งจะมีห้องทำพิธีเซ่นผีเรือน จึงไม่ตั้งครัวไฟบังห้องนี้เพราะถือว่าห้องครัวเป็นสิ่งที่ไม่สะอาด สำหรับบ้านที่นับถือศาสนาคริสต์จะไม่มีห้องผีเรือน เนื่องจากคนที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องเลิกการนับถือผี ยุ้งข้าว จะมุงด้วยกระเบื้องมีจั่ว เสาที่ค้ำยุ้งข้าวจะใช้ต้นไม้ที่มีง่ามและวางต้นเสาแทนคาน จะสร้างไม่ไกลจากตัวบ้าน (หน้า 15 -17)

Demography

ในประเทศไทยมีประชากรที่พูดภาษาไทยโซ่งประมาณ 100,000 - 500,000 คน(หน้า 15)

Economy

อาชีพหลักของไทยโซ่งในอดีต คือ ทำไร่ ทำนา อาชีพเสริมได้แก่ จักสาน ทอผ้า เย็บปักถักร้อย นิยมปลูกต้นไผ่ไว้จักสาน ปัจจุบันงานฝีมือน้อยลงทำให้มาปลูกไม้ผลไว้กินและขาย เช่น มะพร้าว มะม่วง และกล้วย หรือแม้แต่การปลูกผักสวนครัว นอกจากนี้ ยังมีการประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ เป็นต้น (หน้า 28)

Social Organization

โครงสร้างทางสังคมแบ่งได้เป็น 2 ระดับได้แก่ โครงสร้างสังคมระดับครอบครัวและเครือญาติ ระบบครอบครัวเป็นระบบครอบครัวขยาย (Extended Family) แต่ปัจจุบันครอบครัวไทยโซ่งมีขนาดเล็กลง ลูกชายนิยมพาภรรยาแยกครอบครัวไปตั้งเรือนใหม่ รูปแบบครอบครัวจึงมีขนาดเล็กลงเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) สังคมโซ่งใช้ระบบเครือญาติในการจัดระเบียบครอบครัวโดยมีแนวคิดเรื่องผีเดียวกันเป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน โครงสร้างสังคมระดับชุมชน เป็นชุมชนตามแนวคิดดั้งเดิมมิได้ขึ้นอยู่กับดินแดน (Territory) แต่ขึ้นอยู่กับระบบเครือญาติ (Kinship System) ซึ่งประกอบด้วยญาติทางสายโลหิตและญาติทางการแต่งงาน ลำดับชั้นทางสังคม แบ่งได้เป็น 2 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้น "ผู้ท้าว" หมายถึงบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าหรือผู้ปกครองเมืองสมัยก่อน ชนชั้นผู้น้อย หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มคนที่เกิดในตระกูลสามัญชน (หน้า 24 - 27) สมัยก่อนไทยโซ่งถือกันว่า เด็กหญิงที่ผมยังไม่ยาวพอที่จะปั้นเกล้าได้นั้นยังไม่ถึงวัยทำพิธีแต่งงานห้ามติดต่อฉันท์ชู้สาวกับชายหนุ่ม ถ้าพอปั้นเกล้าได้บ้างแล้วจึงจะให้ลงนั่งข่วงมีเพื่อนชายได้ (หน้า 23)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

เดิมไทยโซ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเกี่ยวข้องกับผี และมีความเชื่อเรื่องขวัญ ผีของไทยโซ่งมีทั้งผีดีและผีร้ายซึ่งมีหลายชนิดแบ่งตามความสำคัญ เช่น แถนหรือผีฟ้า เป็นเทวดาที่อยู่บนสวรรค์ สามารถดลบันดาลให้บังเกิดความเป็นไปต่างๆได้ทั้งทางดีและทางร้ายต่อคน สัตว์และพืชต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อเกิดการเจ็บป่วยหรือเคราะห์ร้ายจึงทำพิธีขอร้องให้แถนช่วย ผีบ้านผีเมือง ไทยโซ่งเชื่อว่าเมืองแต่ละเมืองมีผีสิงสถิตอยู่เพื่อดูแลและรักษาคนในเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข มีการสร้างศาลให้อยู่บริเวณที่มีหลักเมืองและถือว่าเป็นเขตหวงห้าม เจ้าเมืองต้องทำพิธีเซ่นไหว้เมืองทุกปี ปัจจุบันการเซ่นไหว้ผีเมืองระงับไปเพราะขาดเจ้าเมือง ส่วนผีบ้านทำหน้าที่ดูแลรักษาหมู่บ้าน โดยจะสร้างศาลประจำหมู่บ้านเรียกว่า "ศาลพ่อปู่" หรือ "ศาลตาปู่" ต้องเซ่นไหว้ทุกปี หากมีเหตุอาเพศจะต้องมีการเซ่นไหว้เป็นกรณีพิเศษ ผีบรรพบุรุษ ซึ่งเรียกว่า "ผีเฮือน"หรือ "ผีเรือน" คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ที่ถึงแก่กรรมแล้ว ถือเป็นผีที่มีความสัมพันธ์และใกล้ชิดมากที่สุด โดยมีลูกชายเป็นผู้สืบผีสกุล ส่วนบุตรสาวสืบผีมิได้เพราะต้องแต่งงานไปถือผีของฝ่ายชาย ผีป่า ผีเขาและผีอื่นๆ ไทยโซ่งเชื่อกันว่าในป่า เขา ลำธารและสิ่งธรรมชาติมีผีสิงสถิตอยู่หากเราทำการละเมิดหรือทำไม่ถูกใจผีแล้วอาจจะได้รับภัยจากผีที่สิงอยู่ในสิ่งเหล่านั้น - ผีประจำสถานที่ ได้แก่ ผีบันได ผีประตูและผีเตาไฟ จึงมีข้อห้ามมิให้ละเมิด เช่น ห้ามนั่งคาบันได ห้ามเล่นที่บันได ห้ามใช้ของมีคมฟันบันได ห้ามตำจนครกแตกเพราะครกจะไปถูกแม่พระธรณี ห้ามเหยียบธรณีประตู เป็นต้น - ผีที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เชื่อว่าจะมีผีประจำอยู่ในไร่นาและพืชผล เช่น ผีนา ผีประจำเมล็ดข้าวหรือแม่โพสพ เป็นต้น - ผีตายโหง เช่น ถูกยิงตาย รถชนตาย เป็นต้น คนโซ่งจะไม่เผาคนที่ตายโหงและจะไม่เชิญมาเป็นผีบ้านผีเรือนหรือผีนาแต่จะเชิญให้ไปเป็นผีประจำวัดจะมีพิธีให้ เช่น ทำบุญกลางบ้าน ซึ่งมีการทำสังฆทานหรือสังกบาลให้กิน เป็นต้น - ผีร้าย เช่น ผีปอบ ผีกระสือ พวกนี้ไม่เซ่นไหว้เช่นเดียวกับผีเฮือนแต่ไทยโซ่งจะป้องกันมิให้มารบกวนหรือทำอันตรายคนในบ้าน ปัจจุบันผีประเภทนี้ไม่มีอีกแล้ว แต่รู้จักเพราะการเล่าสู่กันมา พุทธศาสนาเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกล่าวคือ ไทยโซ่งได้เห็นการปฏิบัติพิธีกรรมทางพุทธศาสนาจึงเกิดความสนใจและเริ่มเรียนรู้ และรับเอาความเชื่อและแนวทางปฏิบัติพีธีกรรมทางพุทธศาสนาแบบคนไทย เช่น ความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องนรก - สวรรค์ เป็นต้น และได้ผสมผสานกับความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการนับถือผีอย่างกลมกลืน และมีเพียงส่วนน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์เพราะคนที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องเลิกนับถือผีอันเป็นความเชื่อที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ (หน้า 32-42) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีเฮือนหรือผีบรรพบุรุษ - พิธีขึ้นบ้านใหม่ ไทยโซ่งให้ความสำคัญกับเรือนมาก มีการเลือกวันปลูกเรือนไม่นิยมวันพุธเพราะเป็นวันจมทำมาหากินไม่พอใช้ โดยมากจะปลูกในวันจันทร์และวันเสาร์ เรียกกันว่า "วันลอยวันฟู" ในอดีตจะไม่ใช้ตะปูเพราะเชื่อว่าตะปูจะทำให้ผีเรือนไม่มาอยู่ ภายในเรือนจะต้องกั้นห้องสำหรับผีเรือนและห้ามคนที่ถือผีคนละผีเข้า เพราะเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของเรือนเจ็บป่วย เมื่อสร้างเรือนเสร็จจะต้องทำพิธีเชิญผีขึ้นเรือนโดยมีหมอเสนเป็นผู้ประกอบพิธี - พิธีเสนเรือน คือการสังเวยผีเรือน นิยมทำ 2 -3 ปีต่อครั้งโดยมากนิยมทำพิธีเสนเรือนในเดือนคู่ - พิธีเสนกวัดไกวหรือเสนกวัดกวาย เป็นพิธีเสนปัดกวาดสิ่งชั่วร้ายออกจากเรือนโดยมีแม่มดทำพิธีเพื่อให้เรือนพ้นจากเคราะห์และจากทุกข์โศก - พิธีเสนปาดตง เป็นพิธีที่ปฏิบัติเพื่อระลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วเพื่อให้มีของกินเหมือนตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ คำว่า "ปาดตง" แปลว่า วางตั้งไว้ หมายความว่านำเครื่องเซ่นไปให้ผีเรือนกินที่กะล่อหอง - พิธีปาดตงข้าวใหม่ไทยโซ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะทำปาดตงข้าวใหม่ ปีละ 1 ครั้งราวเดือนอ้าย เดือนยี่ โดยมีความหมายว่า ได้กินข้าวใหม่แล้วจะต้องให้ผีเรือนมากินข้าวใหม่ก่อนเพื่อจะได้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว โดยมีเจ้าของบ้านเป็นผู้ประกอบพิธี (หน้า 69 -75 ) พิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีมด - พิธีเสนหับมด จัดขึ้นเพื่อรับผีมด - พิธีเสนกินปางหรือ เสนอานปาง เป็นพิธีกรรมที่เซ่นครูบาอาจารย์ของผีมด - พิธีตามขวัญผู้ป่วย จะจัดขึ้นเมื่อคนในบ้านเจ็บป่วยไม่หาย จนต้องไปหาหมอเยื้องดูว่าเจ็บป่วยเป็นเพราะสาเหตุใด ถ้าหมอเยื้อง ดูแล้วบอกว่าที่ป่วยเพราะขวัญไม่อยู่กับเนื้อกับตัวต้องไปให้มดทำพิธีตามขวัญ ("มด" หรือ "Sorceror" เทียบได้กับหมอผีตามคติของไทย ซึ่งต่างกับ "หมอ" หรือ "Prist") - พิธีเสนตัว กรณีเจ็บป่วยไม่หาย ถ้าหมอเยื้องดูแล้วมีเคราะห์ต้องทำพิธีแก้เคราะห์และต่อเงาหัว - พิธีเสนแก้เคราะห์ เมื่อมีคนตายในบ้านหรือคนที่เป็นผีเดียวกันตายจะต้องทำพิธีเสนแก้เคราะห์ สะเดาะเคราะห์ให้คนในบ้านทุกคนโดยให้คนเฒ่าคนแก่มาสะเดาะเคราะห์ให้ดีแล้วจากนั้นจะทำพิธีเสนเรือนหรือจัดงานมงคลต่างๆ พิธีกรรมเกี่ยวกับแถนหรือผีฟ้า - พิธีเสนเต็งหรือเสนผีน้อยจ้อย เป็นพิธีเซ่นไหว้ผีฟ้าหรือแถนเพื่อเป็นการไถ่ตัวพ่อแม่ (ผีเรือน) ที่ถูกจับขังอยู่บนฟ้า ในกรณีที่มาเข้าฝันหรือทำให้ลูกเจ็บป่วย ถ้าให้หมอเยื้องดูแล้วพบว่าผีเรือนถูกแถนจับ จะต้องบนว่าถ้าหายเจ็บป่วยจะต้องทำพิธีเสนเต็งให้ - พิธีกรรมเกี่ยวกับผีประจำหมู่บ้าน ประเพณีไว้ศาลประจำหมู่บ้าน จะจัดในวันที่ 14 เมษายนของทุกปีโดยมีเจ้าจ้ำเป็นผู้ทำพิธี - พิธีกรรมเกี่ยวกับผีเกือด พิธีเสนฆ่าเกือด เป็นพิธีที่จัดทำเพื่อให้เด็กหายจากการเจ็บป่วย โดยมีหมอเยื้องเป็นผู้ทำพิธี - พิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีนาและแม่โพสพ พิธีเลี้ยงผีนา เป็นการบนบานผีนาที่ศาลนาว่าถ้าข้าวในนาดีจะมาเลี้ยง พิธีกรรมนี้จะทำ หลังการเก็บเกี่ยว เวลา 8.00 น.การเรียกขวัญข้าวขึ้นยุ้ง เป็นการเรียกขวัญข้าวจากที่นาให้มาอยู่ที่บ้าน พิธีกรรมเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิต - การคลอดลูกจะทำคลอดโดยหมอตำแย โดยมีเคล็ดลับในการทำให้คลอดง่าย เช่น การกินมะพร้าวอ่อนทั้งน้ำและเนื้อทั้งหมดคนเดียวหนึ่งลูก เป็นต้น - การบรรพชา โซ่งโดยมากจะให้ลูกชายบวชแก้บนหรือบวชหน้าไฟโดยมากบวชประมาณ 3 วัน 7 วัน 15 วัน การอุปสมบท ชายที่อายุครบ 20 ปีนิยมบวชเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ - การแต่งงาน ไทยโซ่งเรียกว่า "งานกินดอง" เป็นการเลี้ยงฉลองเกี่ยวดองเป็นญาติกันและเป็นการบอกกล่าวผีเรือนว่าผู้ใดจะมาเป็นเขยเป็นสะใภ้ - พิธีเกี่ยวกับการตาย เรียกว่าเฮดแฮว ไทยโซ่งเชื่อว่าคนตายจะกลับมายังถิ่นฐานเดิมของบรรพบุรุษและไปเฝ้าแถนที่เมืองฟ้าโดยมีเขยกกเป็นผู้บอกทาง ถ้ามีคนตายในหมู่บ้านไทยโซ่งทุกคนจะไว้ทุกข์ ตามความเชื่อของไทยโซ่ง พื้นยุ้งข้าวจะไม่สร้างให้ต่ำกว่าพื้นเรือน เพราะข้าวเป็นแม่โพสพ ไทยโซ่งนับถือแม่โพสพซึ่งมีบุญคุณที่ทำให้ชีวิตดำเนินอยู่ได้ ยุ้งข้าวเก่าจะไม่รื้อมาทำเป็นที่พักอาศัยหรือเหยียบย่ำเด็ดขาด (หน้า 17)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

โซ่งนิยมรักษาการเจ็บป่วยด้วยคาถาอาคมควบคู่กับการใช้ยาสมุนไพร (หน้า 61)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

การแต่งกายแบบดั้งเดิมนิยมใช้ชุดสีดำหรือสีครามแก่เป็นพื้น จึงได้ชื่อเรียกกันว่า "ลาวทรงดำ" การแต่งกายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ชุดที่ใช้ในชีวิตประจำวันและชุดที่ใช้ในโอกาสสำคัญ เสื้อของผู้ชายเรียกว่า "เสื้อไท" เป็นเสื้อผ้าฝ้ายสีดำ ติดกระดุมเงินประมาณ 10 - 15 เม็ด ผู้ชายนิยมสวมเสื้อไทกับกางเกงขาก๊วยสีดำหรือสีครามแก่คล้ายกับกางเกงของจีน ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ถ้าเป็นโอกาสพิเศษจะใช้ผ้าขาวม้าทอจากผ้าไหมคาดเอว เสื้อของผู้หญิงเรียกว่า "เสื้อก้อม" ชุดธรรมดา จะเป็นชุดรัดรูปพอดีตัว เอวสั้น แขนกระบอกรัดข้อมือ คอเสื้อคล้ายแบบคอจีนผ่าหน้าตลอดติดกระดุมเงิน ผ้าซิ่นหรือผ้านุ่งของผู้หญิง ทำด้วยฝ้ายแกมไหม ย้อมสีครามแก่ มีลายสีขาวสลับเล็ก ๆ คล้ายลายบนผลแตงโม เชิงซิ่นจะติดตีนซิ่นเป็นลวดลายต่างหากกว้างประมาณ 2 นิ้ว ไทยโซ่งจะไม่ขมวดชายผ้าพกไว้ด้านข้างสะเอวแต่จะจับผ้ามาทบกันตรงกลางให้จีบแยกจากกัน แล้วขมวดไว้ตรงหน้าท้อง ดึงซิ่นข้างหน้าสูงกว่าด้านหลังเพื่อสะดวกในการก้าวเดินและทำงาน "เสื้อฮี " เป็นชุดที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เสื้อฮีของผู้ชาย คล้ายเสื้อคอกลมยาวคลุมตะโพก กุ๊นรอบคอด้วยผ้าไหมสีแดงแล้วเดินเส้นทับด้วยสีอื่น คอเสื้อด้านข้าง ติดกระดุม 1 เม็ดผ่าตลอด แต่มิได้ผ่ากลางแบบเสื้อตามปกติ แขนเสื้อเป็นแขนกระบอกยาวปลายแคบ จากรักแร้ถึงชายเสื้อจะตกแต่งด้วยเศษผ้าและด้ายไหมและติดกระจกชิ้นเล็ก ๆ ตามลวดลาย ด้านข้างผ่าตั้งแต่ปลายเสื้อเกือบถึงเข่าแล้วปักตกแต่งอย่างสวยงาม เสื้อฮีแบบนี้จะใช้ในงานมงคลต่างๆ ส่วนอีกด้านหนึ่งเมื่อพลิกกลับออกมาจะเป็นด้านที่มีสีสันหลากสี จะใช้ในโอกาสอวมงคล "ส้วงฮี" หมายถึงกางเกงขายาวสีดำขาแคบและยาวถึงข้อเท้าใช้สวมใส่คู่กับเสื้อฮีในโอกาสพิเศษ "เสื้อฮี" ของผู้หญิงมีสองด้านเช่นเดียวกับของผู้ชายแต่ตัวเสื้อใหญ่และยาวกว่ามาก คอแหลมลึก ใช้สวมหัวไม่ผ่าหน้า แขนแคบเป็นแขนกระบอก เสื้อฮีของผู้หญิงใช้ใส่กับผ้าถุง แบบทรงผม ผู้ชายโซ่งจะตัดผมสั้นเกรียนเรียกว่าทรงหลักเจวและทรงมหาดไทย ปัจจุบันนิยมไว้รองทรง ส่วนคนเฒ่านิยมตัดสั้นเกรียนเหมือนทรงทหาร สำหรับผู้หญิงไทยโซ่งสมัยก่อนจะเกล้าผมแบบต่าง ๆ อย่างประณีตทั้งในชีวิตประจำวันและในโอกาสพิเศษ การเกล้าผมเรียกว่า "ปั้นเกล้า" (หน้า 18 - 23)

Folklore

"ปั้นเกล้ายก คือถกกอขาม ปั้นเกล้างามคือโถงเศร้า ไม้ขัดเกล้าเหมือนแอกเกวียนควาย" วรรณกรรมของไทยโซ่งมีทั้งมุขปาฐะและลายลักษณ์อักษร โดยมีเนื้อหาเป็นเครื่องบ่งบอกถึงคตินิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและความเชื่อ สามารถสะท้อน สภาพสังคมของกลุ่มชนได้เป็นอย่างดี วรรณกรรมแบบมุขปาฐะมีทั้งนิทานพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย สุภาษิต ข้อห้ามและเพลง กล่อมเด็ก วรรณกรรมลายลักษณ์อักษรเป็นวรรณกรรมที่บันทึกไว้ในสมุดข่อย เช่น เรื่องจำปาสี่ต้น นางแตงอ่อน ขูลูนางอั้ว พระลักษณ์พระราม ขุนบูลม (ขุนบรม) บทสวดในพิธีเสนเรือน การเรียกขวัญและบอกทางศพ (หน้า 22,24)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

เชื่อกันว่าภาษาโซ่งมีความสัมพันธ์กับภาษากลุ่มไทดำ ไทขาวที่พูดในประเทศเวียดนาม (หน้า 24)

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันรูปทรงบ้าน หลังคาที่มุงด้วยจาก แฝกเปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ส่วนหลังคามุงสังกะสีก็มีแต่น้อย หลังคาทำเป็นทรงจั่วเหมือนบ้านชนบทของคนไทย บางหลังเปลี่ยนเป็นเรือนไทยประยุกต์แบบครึ่งปูนครึ่งไม้ (หน้า 16-17) ปัจจุบันไทยโซ่งใช้รถเกี่ยวข้าวแทนแรงงานคนและไม่ต้องขนข้าวเปลือกไปเก็บไว้ที่ยุ้งเหมือนสมัยก่อน ทำให้ยุ้งข้าวร้าง (หน้า 17) ปัจจุบันไทยโซ่งจัดพิธีศพแบบคนไทยมากขึ้น คือนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่บ้าน สวดอภิธรรมไว้นานประมาณ 3 วัน ผู้ชายสวด 2 วัน ผู้หญิงสวด 3 วันหรือมากกว่านี้ เวสลา 20.00 นาฬิกาของทุกวันจะนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม 4 รูป มีการทำอาหารและน้ำเลี้ยง(หน้า 129)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ภาพเรือนไทยโซ่ง(ก) ภาพกะล่อหอง แปลว่ามุมห้อง เป็นท่อยู่ของผีเรือน(ข) ภาพไต เครื่องหมายของเด็กผู้ชายทำด้วยไม้ไผ่จัก ตอกสานเป็นกระพ้อมเล็กๆ(ข) ภาพทรงผมขอดกระต๊อก สำหรับสาวไทยโซ่งที่มีอายุ 16 - 17 ปี,ทรงผมปั้นเกล้าหรือปั้นเกล้าถ้วนสำหรับสาวไทยโซ่งวัยที่จะแต่งงานได้(ค) ภาพการแต่งกายผู้หญิงในพิธีมงคล,ชุดเดินทางของผู้หญิง,ผู้ชายใส่เสื้อฮีคล้องคอในพิธีเสนเรือน,การแต่งกายของผู้ชายในพิธีมงคล(ฆ) ภาพกระเหล็บ ทำด้วยไม้ไผ่และหวายใช้ใส่สิ่งของเวลาเดินทาง,กะแอบ ทำด้วยไม้ไผ่จักตอกใช้ในพิธีเสนเรือน,ปานเผือน ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ้จักตอก ใช้ใส่เครื่องเซ่น,หาบเข่ง สมัยก่อนใช้หาบสิ่งของไปทำบุญที่วัดหรือข้าวไปกินที่นา(ง) เฉลวหรือตาเหลว สานด้วยตอกไม้ไผ่รูปห้าหรือหกเหลี่ยมใช้ป้องกันผีร้าย,หิ้งมด หิ้งมนต์เป็นที่สักการะ เคารพบูชา(จ) หมอผีคีบเครื่องเซ่นให้ผีบรรพบุรุษกิน,หมอผีทำพิธีเสนเรือน(ฉ) ภาพแม่มดเสี่ยงทายด้วยไม้มอเพื่อเรียกขวัญคนในบ้านให้มาสะเดาะเคราะห์,แม่มดท่องคาถาทำพิธี(ช) หมอผีเสี่ยงทายด้วยไข่และเมล็ดข้าวสาร,หมอพิธีเป่าปี่ประโคมเมื่อแถนตกลงตามผีมนต์มารับเครื่องเซ่น(ซ) หมอพิธีรำตามจังหวะกระแทกบั้ง(กระบอกไม้ไผ่),เจ้าของบ้านเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะ"ตั้งบั้งหน่อ"ในพิธีเสนกินปาง(ฌ) คนเฒ่าคนแก่ ญาติผู้ใหญ่ผูกข้อมือให้ศีลให้พรคู่บ่าวสาว,การทำพิธีสู่ขวัญคู่บ่าวสาว(ญ) การกินข้าวปานต๊ก เป็นการกินข้าวไว้ทุกข์ของญาติผีเดียวกัน,เขยหามยกศพไปเผา บนโลงศพจะมีเสื้อฮีด้านสวยงามวางขวางโลง(ฎ) ภาพบ้านป่า เป็นบ้านเล็กๆ ทำไว้สำหรับใส่สิ่งของที่จะให้คนตาย จะใส่ไว้ในรั้ว เช่นอาหาร เสื้อผ้า ไหน้ำ เป็นต้น โดยเชื่อว่าสิ่งของเหล่านี้คนตายจะนำไปใช้ร่วมกับบรรพบุรุษที่เมืองแถง(ฏ) ภาพศาลประจำพื้นที่ทำกิน เช่น ทำนา เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง(ฐ) ภาพศาลเจ้าที่ ,ศาลพระภูมิ,ศาลตาปู่ เป็นศาลศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านเกาะแรต(ฑ)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, ความเชื่อ, พิธีกรรม, นครปฐม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง