สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อาข่า,สภาพแวดล้อม,วิถีชีวิต,เชียงราย
Author Walker, Pauline H.
Title The Akha of Huai San : A Note
Document Type บทความ Original Language of Text ภาษาอังกฤษ
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 4 Year 2518
Source Farmer in the Hills : Upland Peoples of North Thailand, Anthony R. Walker (Editor) p.183-186, จัดพิมพ์โดย The School of Comparative Social Sciences, พิมพ์ที่ Universiti Sains Malaysia Press.
Abstract

พรรณนาถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพและชีวิตประจำวันของอาข่า (Akha) บ้าน Huai San จังหวัดเชียงราย ทางเข้าหมู่บ้านมีประตูหมู่บ้านเป็นประตูพิธีกรรม บ้านยกใต้ถุนสูง ชีวิตประจำวันเวลาส่วนใหญ่จะทำงานในไร่ อาข่าปลูกข้าวไร่เป็นหลัก ไม่ปลูกฝิ่น ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการพัฒนาบนที่สูงของรัฐบาล

Focus

พรรณนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพหมู่บ้านอาข่า (Akha) บ้าน Huai San จังหวัดเชียงราย

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อาข่า

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

เมษายน - พฤษภาคม ค.ศ. 1973

History of the Group and Community

อาข่าบ้าน Huai San อพยพมาครั้งแรกประมาณ 48 ปีที่แล้ว บ้านเดิมอยู่ที่รัฐฉาน พม่า บริเวณพรมแดนระหว่างพม่าและอำเภอแม่สายและแม่จันของไทย ความผูกพันกับพม่ายังมีอยู่ บ้านที่ผู้วิจัยไปเยือน มีพ่อของภรรยามาจากพม่าเพื่อเยี่ยมลูกสาวอยู่ด้วย (หน้า 185)

Settlement Pattern

บ้าน Huai San บ้านสร้างบนเสาและตั้งอยู่บนด้านใดด้านหนึ่งของสันเขาที่ค่อย ๆ ลาดลง แนวเหนือใต้อย่างหยาบ ๆ แต่ละบ้านสร้างด้วยไม้ไผ่เกือบทั้งหลัง มุงหลังคาด้วยหญ้า และมีเฉลียงด้านนอก ส่วนหนึ่งเปิดส่วนหนึ่งปิด เข้าบ้านทางเฉลียง เดินขึ้นบันไดบ้านจะเข้าสู่ส่วนของบ้านครึ่งที่เป็นของผู้ชาย ใช้ฉากไม้ไผ่กั้นระหว่างที่นอน (sleeping platforms) และเตาไฟทำจากดินอัดแน่นแบ่งส่วนของบ้านออกเป็นสองส่วน ด้านหลังเป็นส่วนของผู้หญิง และมีเตาไฟอีกเตาอยู่ที่ส่วนของผู้หญิงด้วย ด้านนอกของส่วนผู้หญิงมีที่ต้มอาหารสำหรับหมู มีเครื่องตำข้าวทำงานโดยใช้ขาเหยียบ (หน้า 183, 185)

Demography

บ้าน Huai San มีประชากรจำนวน 164 คน มี 27 ครัวเรือน (หน้า 185)

Economy

บ้าน Huai San ปลูกข้าวไร่ (hill rice) เป็นหลัก มีพืชเสริมเช่น ข้าวโพด น้ำเต้า แตงกวา งา ถั่วเหลือง เป็นต้น บ้าน Huai San ไม่ปลูกฝิ่น แต่ชาวบ้านใช้ฝิ่นอย่างกว้างขวาง คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากร ที่ดินรอบๆ หมู่บ้านถูกใช้เพาะปลูกซ้ำซากจนพืชที่ขึ้นตามพื้นดินคือพืชประเภทหญ้า cogon เป็นทุ่งหญ้า savannah ทุ่งหญ้านี้จะใช้เพาะปลูกได้ก็ต้องขุดหญ้า cogon ซึ่งมีรากแผ่ขนานไปกับผิวดิน จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมาก ชาวบ้านเลี้ยงหมูจำนวนมาก สัตว์ปีกและวัว เลี้ยงสุนัขไว้เฝ้าบ้านและเป็นอาหาร โดยเฉพาะเวลามีพิธีกรรมสุนัขตัวเล็ก ๆ จะถูกฆ่าเพื่อเซ่นไหว้ บ้าน Huai San ได้รับเลือกร่วมกับหมู่บ้าน อาข่าใกล้เคียงเข้าร่วมโครงการพัฒนา Mae Slaep Zonal Department Project ซึ่งเป็นโครงการของรัฐ อาข่าบ้าน Huai San เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการทำนาข้าวแบบชลประทาน (irrigated rice) การทำแปลงที่ดินขั้นบันไดแบบใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดังกล่าว (หน้า 185-186)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ผู้นำตามจารีตของชุมชนอาข่าบ้าน Huai San คือนักบวชของหมู่บ้าน (Village priest, dzoe ma) นักบวชของหมู่บ้านเป็นผู้นำศาสนาของหมู่บ้าน มีหน้าที่จัดการพิธีกรรมสำคัญทั้งหมด แต่ผู้นำที่นอกเหนือจากผู้นำทางศาสนา จะได้รับแต่งตั้งโดยอำเภอ หัวหน้าหมู่บ้านมีตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าอย่างเป็นทางการ หมู่บ้านอาข่าที่ใหญ่กว่าอยู่ติดกันมีทีมหัวหน้าหมู่บ้านและผู้ช่วยที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐเต็มทีม (หน้า 185)

Belief System

ทางเข้าหมู่บ้านมีประตูพิธีกรรม คือประตูหมู่บ้านลักษณะเป็นเสาสองเสาและคานเหนือเสาตั้งค่อมทางเดิน ประดับด้วย spirit guards รูปทรงหกเหลี่ยมสานด้วยไม้ไผ่ เพื่อขวางกั้นไม่ให้สิ่งเหนือธรรมชาติชั่วร้ายเข้ามา บนประตูและบริเวณใกล้ประตูมีรูปสลักไม้จำนวนหนึ่งเป็นรูปคน นกและอุปกรณ์สมัยใหม่ เช่น เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น รูปสลักไม้รูปคนยืนใกล้ ๆ ประตูเป็นคู่ เป็นเพศชายและเพศหญิงที่มีอวัยวะเพศซึ่งเหนือจริง รูปสลักคนเป็นสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของคน สัตว์ และพืชผล ท้ายหมู่บ้านอีกด้านพบประตูพิธีกรรมอีกแห่งหนึ่งเช่นกัน ภายในประตูหลักทางเข้าหมู่บ้านมี ชิงช้า อันใหญ่ซึ่งจะสร้างใหม่ทุกปี และมีพิธี โล้ชิงช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รวงข้าวสุกงอม ด้านนอกประตูหลักของหมู่บ้านประมาณ 100 เมตร บนไหล่เขาที่เป็นป่ามีศาลคล้ายบ้านหลังเล็ก ๆ สร้างบนเสาและล้อมรอบด้วยรั้ว เป็นที่สถิตของเจ้าที่เจ้าทาง (หน้า 183) ? บ้าน Huai San มีนักบวชของหมู่บ้าน (village priest, dzoe ma) เป็นผู้นำทางศาสนา มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการพิธีการสำคัญทั้งหมด (หน้า 185)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่ปรากฏข้อมูลชัดเจน แต่กล่าวถึงบ้าน Huai San ว่า ชาวบ้านใช้ฝิ่นกันอย่างกว้างขวาง คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากร (หน้า 186)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ชีวิตประจำวัน ของอาข่าบ้าน Huai San เป็นดังนี้ ตื่นเข้าม้วนเสื่อที่ใช้ปูนอน ไม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเพราะนอนด้วยชุดที่ใส่ปกติ แม้แต่หมวกที่ทำอย่างประณีตของผู้หญิงก็ไม่ได้ถอดในเวลากลางคืน ผู้หญิงคนหนึ่งจะตำข้าว เด็ก ๆ ไปตักน้ำและเก็บฟืน อาหารเช้าเป็นข้าว พริกเกลือ แกง หรือผักต้ม นั่งรับประทานรอบโต๊ะหวายเป็นวง ใช้ตะเกียบหรือเปิบด้วยมือ เศษอาหารทิ้งลงพื้นให้สุนัขกินต่อ หรือกวาดลงใต้ถุนที่มีไก่และหมูอยู่ หลังอาหารเช้าจะใช้เวลาทั้งวันในไร่ อาหารกลางวันก็เป็นอาหารเช้าห่อด้วยใบไม้นำมารับประทานกลางวันด้วย อาหารเย็นกลับไปรับประทานที่บ้าน เมื่อกลับถึงบ้านจะเริ่มกิจวัตรเหมือนที่ทำตอนเช้า หลังอาหารค่ำหนุ่มสาวไปที่ลานพบปะของหนุ่มสาว (courting place) (หน้า 185)

Map/Illustration

แผนที่ : หมู่บ้านอาข่า Ban Huai San (หน้า 184)

Text Analyst บุญสม ชีรวณิชย์กุล Date of Report 19 เม.ย 2564
TAG อาข่า, สภาพแวดล้อม, วิถีชีวิต, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง