สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู,มุสลิม,นักเรียน,วิทยาลัยครู,การปรับตัวทางสังคม,ยะลา
Author อุบล เสถียรปกิรณกรณ์
Title การปรับตัวทางสังคมของนักเรียนไทยมุสลิมในวิทยาลัยครูยะลา
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity มลายู ออแฆนายู มลายูมุสลิม ไทยมุสลิม, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเนเชี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร Total Pages 262 Year 2521
Source หลักสูตรปริญญาสังคมวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ผู้วิจัยได้เน้นศึกษาถึงลักษณะ การปรับตัวของนักเรียนไทยมุสลิมในชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และชั้น ประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง (ป.กศ. สูง) ในวิทยาลัยครูจังหวัดยะลา พบว่าภูมิหลังทางครอบครัว ได้แก่ อาชีพของบิดาและระดับการศึกษาของบิดาและภูมิหลังทางศาสนามีผลต่อการปรับตัวด้านต่าง ๆ ของนักเรียนไทยมุสลิมต่างกัน โดยพิจารณาการปรับตัวในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปรับตัวในด้านการใช้ภาษาไทย การคบค้าสมาคมกับนักเรียนไทยพุทธ การปรับตัวเมื่ออยู่ท่ามกลางไทยพุทธ การปรับตัวเข้ากับครูอาจารย์และการปรับตัวในเรื่องการรับประทานอาหารร่วมกับนักเรียนไทยพุทธ (หน้า ง.)

Focus

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เน้นศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนไทยมุสลิมในชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และชั้นประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง (ป.กศ. สูง) ในวิทยาลัยครูจังหวัดยะลา โดยพิจารณานักเรียนที่มีภูมิหลังทางครอบครัว และมีความเคร่งศาสนาที่แตกต่างกัน (หน้า ง.)

Theoretical Issues

ผู้วิจัยได้เสนอว่านักเรียนไทยมุสลิมในวิทยาลัยครูในภาพรวมมีความสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมไทยพุทธได้ดีพอสมควร โดยได้พิจารณาจากทัศนคติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การคบค้าสมาคมกับนักเรียนไทยพุทธ และกับข้าราชการ รวมทั้งความรู้สึกว่าเป็นคนไทย แต่พบว่าความสามารถในการปรับตัวนี้มีความแตกต่างกัน ตามเงื่อนไขภูมิหลังของครอบครัว เช่น การศึกษาของบิดา เป็นต้น (หน้า 250-251)

Ethnic Group in the Focus

ผู้เขียนเน้นการศึกษานักเรียนไทยมุสลิมในจังหวัดยะลาเป็นกลุ่มประชากรศึกษา ซึ่งนักเรียนเหล่านี้ส่วนใหญ่มาจาก จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (หน้า ง.)

Language and Linguistic Affiliations

จากการศึกษาพบว่า นักศึกษาไทยมุสลิมส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยทั้งหมดในการพูดกับเพื่อนในโรงเรียน แต่เมื่อพิจารณาแยก ตามเพศ ปรากฏว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศในเรื่องของการใช้ภาษา กล่าวคือ นักศึกษาชายที่ใช้ภาษาไทยพูดกับเพื่อน ในโรงเรียนร้อยละ 33.7 เปรียบเทียบกับนักเรียนหญิงที่ใช้ภาษาไทยพูดกับเพื่อนในโรงเรียนถึงร้อยละ 55 สำหรับการใช้ภาษามลายูและภาษาไทยของนักเรียนไทยมุสลิมพูดกับบิดามารดา ปรากฏว่านักศึกษาไทยมุสลิมส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูพูดกับบิดามารดา ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศแล้ว นักศึกษาหญิงใช้ภาษามลายูน้อยกว่านักศึกษาชาย คือ ร้อยละ 44.6 ส่วนนักเรียนชายมีถึงร้อยละ 68.0 (หน้า 33-34)

Study Period (Data Collection)

การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม โดยให้ผู้ตอบรวมกันในหอประชุมวิทยาลัยครูยะลา ตอนพักรับประทานอาหารกลางวัน ในวันที่ 15 กันยายน 2518 เวลา 12.00-13.00 นาฬิกา แต่ไม่ได้ระบุระยะเวลาทั้งหมดในการวิจัย (หน้า 14)

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จำนวนนักเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 296 คน ประกอบด้วย นักเรียน ป.กศ. จำนวน 199 คน เป็นนักเรียนชาย 130 คน นักเรียนหญิง 69 คน นักเรียน ป.กศ. สูง 97 คน เป็นนักเรียนชายไทย 48 คน หญิง 49 คน (หน้า 28)

Economy

นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมาจากครอบครัวที่มีอาชีพต่าง ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรรม และประมง (54.7%) กับกลุ่มพ่อค้า (44.3%) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมค่อนข้างต่ำ (หน้า 90)

Social Organization

ผู้ศึกษาไม่ได้อธิบายถึงโครงสร้างทางสังคมของนักเรียนไทยมุสลิมไว้อย่างเด่นชัด แต่ให้ความสำคัญ ในเรื่องของครอบครัวระดับชั้นกลางและชั้นต่ำว่ามีความสามารถในการปรับตัวต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือนักเรียนจากครอบครัวชั้นกลาง ได้รับการยอมรับจากเพื่อนในห้องเรียนมากกว่านักเรียนจากครอบครัวชั้นต่ำ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าปัจจัยทางครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนในโรงเรียน (หน้า 88)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ผู้ศึกษาอธิบายว่า นักเรียนไทยมุสลิมมีความสัมพันธ์ต่อความเคร่งครัดทางศาสนามาก จะเห็นได้จาก การปฏิบัติศาสนกิจ การทำละหมาดประจำวัน การถือบวช และการประกอบพิธิฮัจยีห์ที่เมกกะ เหตุที่ผู้วิจัยเลือกเอาการทำละหมาดประจำวัน การถือศีลอด และการไปประกอบพิธีฮัจยีห์ที่เมกกะ เป็นตัววัดความเคร่งศาสนานั้น ก็เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อปฏิบัติที่สามารถสังเกตเห็นได้ เพราะตามหลักโครงสร้างของศาสนาอิสลามแล้ว ประกอบด้วยหลักการใหญ่ 2 ประการ คือ หลักศรัทธา และหลักปฏิบัติ เป็นเครื่องชี้วัดความเคร่งทางศาสนา ซึ่งทำให้นักเรียนเหล่านี้ปรับตัวได้ช้า ส่วนนักเรียนไทยมุสลิมที่มีความเคร่งศาสนาน้อย สามารถปรับตัวในด้านต่าง ๆ ได้ดีกว่านักเรียนที่มีความเคร่งทางศาสนามาก (หน้า 139) ทัศนคติของนักเรียนไทยมุสลิมในการไปร่วมพิธีกรรมของไทยพุทธว่า อาชีพของบิดามีอิทธิพลต่อทัศนคติในการไปร่วมงาน พิธิต่าง ๆ ของไทยพุทธอยู่บ้าง กล่าวคือ นักเรียนไทยมุสลิมที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามีอาชีพเป็นพ่อค้า ข้าราชการมักจะมี โลกทัศน์สมัยใหม่ เพราะอยู่ในเมืองและมีความเข้าใจเหลักศาสนาอย่างถูกต้อง ฉะนั้นจึงมีความเห็นว่า การไปร่วมงานพิธี ต่าง ๆ ของไทยพุทธนั้น ถ้าไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็น "ชิร์ก" ก็ถือว่าไม่ผิดหลักศาสนาอิสลาม ฉะนั้นนักเรียนไทยมุสลิมที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามีอาชีพเป็นพ่อค้า ข้าราชการ จึงปรับตัวได้ดีกว่านักเรียนไทยมุสลิมที่มีบิดามีอาชีพเป็นเกษตรกรและประมง ซึ่งมักเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในชนบท มีโลกทรรษน์แบบอนุรักษ์นิยม (หน้า 216)

Education and Socialization

ผู้ศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาของนักเรียนไทยมุสลิมไว้ว่า นักเรียนไทยมุสลิมมีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษา มีความตั้งใจที่จะอบรมภาษาไทยกับบุตรในอนาคต ต้องการที่จะให้บุตรประกอบอาชีพข้าราชการ และมีความตั้งใจที่จะตั้งถิ่นฐานในชุมชนที่มีทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนไทยมุสลิมที่บิดามีการศึกษาสูง เห็นด้วยกับการไปร่วมงานพิธีต่าง ๆ มากกว่านักเรียนที่บิดามีการศึกษาต่ำ นักเรียนไทยมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ว่าจะมีภูมิหลังครอบครัวอย่างไร ต่างก็คิดว่าข้าราชการไม่สามารถเข้ากับราษฎรในท้องถิ่นได้ โดยเฉพาะนักเรียนชายและนักเรียน ป.กศ. สูง นอกจากนั้นพบว่า ทัศนคติในการเลือกคู่ครองนั้น นักเรียนหญิงจะเลือกคู่ครองโดยคำนึงถึงศาสนามากที่สุด และไม่ว่าจะมีภูมิหลังทางครอบครัวอย่างไร ส่วนความสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยนั้นพบว่า นักเรียนไทยมุสลิมส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.6 คิดว่าตนเป็นคนไทย (หน้า ฉ.)

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

โดยทั่วไปไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเข้าใจว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจต่อประชาชน มีอคติและกีดกันอยู่เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือการศึกษา นอกจากนี้ยังกีดกันมิให้ไทยมุสลิมรับราชการในสี่จังหวัดภาคใต้ (หน้า199)

Social Cultural and Identity Change

นักเรียนไทยมุสลิมส่วนใหญ่มีเพื่อนไทยพุทธมากขึ้นกว่าเดิม และนักเรียนชายมุสลิมมีเพื่อนไทยพุทธมากกว่านักเรียนหญิงมุสลิม แสดงว่ามีการปรับตัวทางสังคมกับนักเรียนไทยมากขึ้น ในเรื่องการปรับตัวในเรื่องของภาษา พบว่า นักเรียนไทยมุสลิมที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามีการศึกษาสูง จะใช้ภาษาไทยส่วนใหญ่หรือทั้งหมด มีอัตราร้อยละสูงกว่านักเรียนไทยมุสลิมที่มาจากครอบครัว ซึ่งมีการศึกษาต่ำ ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า ระดับการศึกษาของบิดามีความสัมพันธ์กับการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนไทยมุสลิม (หน้า 251-252)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst วศิน เชี่ยวจินดากานต์ Date of Report 07 พ.ย. 2555
TAG ออแรนายู มลายูมุสลิม มุสลิมมลายู, มุสลิม, นักเรียน, วิทยาลัยครู, การปรับตัวทางสังคม, ยะลา, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง