สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject พวน ไทยพวน ไทพวน,วัฒนธรรมการทอผ้า,คำศัพท์,พิจิตร,สุโขทัย
Author สุพัตรา จิรนันทนาภรณ์
Title วงจรศัพท์ในวัฒนธรรมการทอผ้าของชนกลุ่มไทยพวน
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทยพวน ไทพวน คนพวน, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 105 Year 2535
Source ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Abstract

การศึกษาวงจรศัพท์ในวัฒนธรรมการทอผ้าของไทยพวน ในพื้นที่ 2 หมู่บ้านได้แก่ ไทยพวนบ้านป่าแดง จังหวัดพิจิตรและไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ไทยพวนบ้านป่าแดงเป็นไทยพวนที่อพยพมาจากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี การทอผ้าจะเป็นการทอผ้าไหม ได้แก่ ไหมมัดหมี่สามกษัตริย์ ไหมมัดหมี่ทั้งตัว ไหมหมี่เบี่ยง เป็นต้น ไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย เป็นไทยพวนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยเป็นเวลาประมาณ 150 ปีมาแล้ว การทอผ้าเป็นการทอผ้าแบบโบราณเรียกว่า ผ้าซิ่นตีนจก การศึกษาวงจรศัพท์การทอผ้าของไทยพวนทั้งสองหมู่บ้าน ได้ศึกษาศัพท์ที่ใช้ในการทอผ้าที่สัมพันธ์กับเทคนิควิธีการทอ ลวดลายการทอ เครื่องมือและวัสดุการทอ ประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อจากวัฒนธรรมการทอ จากการศึกษาได้วงคำศัพท์ทั้งสิ้น 400 คำ ซึ่งนำมาเสนอในรูปภาพประกอบคำศัพท์และการจัดหมวดคำศัพท์ตามชนิดของคำเป็นหมวดคำนาม คำลักษณะนามและคำกิริยา

Focus

รวบรวมและจัดหมวดหมู่คำศัพท์ที่ใช้ในวัฒนธรรมการทอผ้าของไทยพวน รวมถึงศึกษาภาพสะท้อนชีวิต ประเพณีและความเชื่อจากผลิตภัณฑ์สิ่งทอ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ภาษาพวน

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2535

History of the Group and Community

บ้านป่าแดง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ไทยพวนบ้านป่าแดงเป็นไทยพวนที่อพยพมาจากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรีเมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว อพยพครั้งแรกมาเพียง 7 ครอบครัว ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมทางรถไฟอำเภอตะพานหินในปัจจุบัน จากนั้นจึงอพยพมาจับจองที่ดินบริเวณบ้านป่าแดงในปัจจุบันและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ (หน้า 6) บ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัยเดิมชื่อ "อำเภอด้ง" จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เล่าสืบต่อกันมาว่า ธิดาเจ้าเมืองเชียงหลวง นั่งเรือมาที่เมืองแพร่ เสด็จลำน้ำยมเพื่อเยี่ยมธิดาเจ้าเมืองตาก ผ่านมาถึงหมู่บ้านหาดเสี้ยวในปัจจุบัน เป็นบริเวณที่แม่น้ำยมไหลเป็น 2 สาย ได้สอบถามว่าหมู่บ้านนี้ชื่ออะไร แต่ไม่มีคำตอบ จึงได้แนะนำให้หัวหน้าตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหาดเชี่ยว" ต่อมากลายเสียงเป็น "บ้านหาดเสี้ยว" อำเภอด้งเปลี่ยนเป็นอำเภอหาดเสี้ยว ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้เปลี่ยนอำเภอหาดเสี้ยวเป็นอำเภอศรีสัชนาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2466 เป็นต้นมา ไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวเล่ากันว่าอพยพมาจากหลวงพระบางเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (พงศาวดารรัชกาลที่ 1-3) ได้ให้การว่าพวนอพยพมาจากเมืองพวน แคว้นเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว โดยเริ่มอพยพมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา เมื่อเข้าถึงประเทศไทย จึงได้กระจายไปตามมณฑลต่างๆ และตกค้างตามจังหวัดต่างๆ ในปัจจุบัน (หน้า 9)

Settlement Pattern

บ้านป่าแดง จังหวัดพิจิตร บ้านเรือนตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ อยู่ห่างกันเป็นหย่อม ๆ (หน้า 8)

Demography

ตำบลหนองพะยอมประกอบด้วยประชากรทั้งหมด 5,830 คน 1,485 หลังคาเรือน (หน้า 8) ตำบลหาดเสี้ยว มีประชากรจำนวน 8,154 คน 1,665 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 1,350 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรหมู่บ้านหาดเสี้ยวมีประมาณ 4,000 คน หนึ่งในสี่เป็นคนไทยที่อพยพมาจากถิ่นอื่น ส่วนที่เหลือเป็นไทยพวน (หน้า 11)

Economy

บ้านป่าแดง จังหวัดพิจิตร อาชีพหลักคือการทำนา ทำไร่ อาชีพเสริมรายได้ที่สำคัญคือ การทอผ้า ประชากรมีรายได้ต่อหัวปีละประมาณ 5,000 - 10,000 คน บ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประชากรโดยมากมีอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม ได้แก่การทำนา ทำสวนผลไม้และการปลูกพืชไร่ประเภทถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้ายและอ้อย (หน้า 9,12)

Social Organization

ไม่มีข้อมูล

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

วันใดก็ตามที่มีคนตายเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือในช่วงประเพณีกำฟ้า ชาวบ้านจะงดการทอผ้าในวันนั้น มิฉะนั้น คนในบ้านจะได้รับอันตรายหรือล้มเจ็บ (หน้า 28) สมัยก่อนหญิงสาวไทยพวนหาดเสี้ยวเมื่อจะเข้าพิธีแต่งงานจะต้องเตรียมข้าวของเครื่องใช้สำหรับเจ้าบ่าว เช่น ผ้าขิด ผ้าขาวม้า ถุงย่ามแดงและผ้าเช็ดหน้าเพื่อใช้ในพิธีและหลังแต่งงาน สำหรับชายจะใช้หีบเหล็กสำหรับใส่เงินเสี้ยน, เงินด่าน อูบม่ะสำหรับใส่เงินค่าสินสอดจำนวน 12 บาท 50 สตางค์ใส่ไว้ในถุงย่ามแดงและดาบอีก 1 เล่มใช้สะพายเพื่อป้องกันโจรปล้นขันหมาก สำหรับผู้ชายหาดเสี้ยว เมื่อถึงเวลาบวชจะต้องมีผู้หญิงซึ่งเป็นคู่รักทำกองบวชให้ กองบวชประกอบด้วย เครื่องอัฐบริขาร ได้แก่ผ้ากั้ง ผ้าคลุมหัวช้าง ผ้านั่ง ผ้ากราบพระและผ้าห่อคัมภีร์ (หน้า 36)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ไม่มีข้อมูล

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผ้ามัดหมี่บ้านป่าแดงมีหลายชนิด เช่น ผ้าไหมมัดหมี่สามกษัตริย์ทั้งใส่ดิ้นและไม่ใส่ดิ้น หมี่ใหญ่ หมี่เบี่ยง หมี่ทั้งตัว หมี่ถี่ หมี่ย้อย หมี่ซะและหมี่สอด มีลวดลายเลียนแบบต้นไม้และดอกไม้ธรรมชาติ ลายเรขาคณิตและลายประยุกต์ โดยนำลายจากท้องถิ่นอื่นมาผสม เช่น ลายนาค ลายดอกมะตุ้ม ลายดอกพิกุล ลายดอกฉัตร เป็นต้น (หน้า 25) ไทยพวนบ้านป่าแดงยังคงใช้ผ้าขิดสมัยโบราณในพิธีต่าง ๆ เช่น ผ้าคลุมหัวนาคใช้คลุมหัวนาคในพิธีบวชพระ ปลอกหมอนลายขิดใช้ในกองบวชหรือถวายพระในเทศกาลทอดกฐิน ผ้าม่วงสำหรับเจ้าบ่าวใช้นุ่งในพิธีแต่งงานแต่ปัจจุบันนำมาคลุมพานขันหมากเอก "เสื้อมะกะแล้ง" เป็นเสื้อที่หญิงสาวพวนใช้สวมในพิธีแต่งงาน พาดไหล่ด้วยผ้าขาวม้าพ้ายโต่ง สำหรับผู้ชาย เดิมนุ่งผ้าม่วงสวมเสื้อคอกลมสีขาว มีผ้าขาวม้าอีโป๊ะคาดเอว ในประเพณีกำฟ้า หญิงไทยพวนจะคาดสไบแจ้มองซึ่งเป็นผ้าที่ใช้คาดหน้าอกและใช้ผ้าคล้องคอเป็นผ้าสีต่าง ๆ ผ้าถุงหญิงพวนนุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ (หน้า 26) การทอผ้าตีนจกบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย ผ้าตีนจก เป็นผ้าหน้าแคบมีลวดลายพิเศษใช้เป็นเชิงผ้าซิ่นของผู้หญิง ผืนผ้านุ่งที่ตีนจกจะนำไปประดิษฐ์ได้แก่ ซิ่นมุก ซิ่นตาเติบ ซิ่นเข็ญ วิธีจกมีหลายชนิด เช่น จกยก จกหน้าเอาหลัง จกหลังเอาหน้า และจกโบราณ เป็นต้น ลักษณะของตีนจกจะทำเป็นลวดลาย ดังนี้ ลายกระหนาบบน ลายดอก ลายกระหนาบล่าง ลายตีนจกที่นิยมทอที่บ้านหาดเสี้ยว ลายโบราณจะมีอยู่ 9 ลาย ได้แก่ ลายดอกเครือน้อย ลายดอกเครือกลาง ลายดอกเครือใหญ่ ลายดอกสิบสองหน่วยตัด ลายดอกมนสิบหก ลายดอกน้ำอ่าง ลายแปดขอและลายสี่ขอ (หน้า 28) การแต่งกายของไทยพวนหาดเสี้ยว สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองจะแบ่งเพศและอายุ สังเกตได้จากสีและชนิดของผ้า เดิมแต่งกายนุ่งโจงกระเบน มีผ้าขาวม้าคาดเอว ไม่สวมเสื้อแต่เวลาไปทำไร่จะใส่เสื้อคอตั้งแขนยาวสีน้ำเงิน หญิงสาวพวนที่ยังไม่แต่งงานจะนุ่งซิ่นเข็ญเป็นผ้าฝ้ายสีดำปนสีเขียวทอสลับเส้นด้ายกัน ในโอกาสพิเศษจะนุ่งซิ่นตีนจกหรือซิ่นตีนแดง ถ้าเป็นตีนจกพื้นแดงเรียกว่า ซิ่นตีนแดง เสื้อ จะเป็นผ้าแถบคาดปิดหน้าอก ทอเป็นผืนยาว เรียกว่า "ขาวม้าแฮ้งตู้" สำหรับหญิงที่แต่งงานแล้วจะเปลี่ยนเป็นซิ่นตีนและซิ่นตาเติบเป็นผ้าฝ้ายสีดำปนสีแดงทอสลับเส้นด้ายกันเป็นแถบ สีดำจะใช้ตัวผ้า สีแดงจะใช้เป็นเชิง ถ้าแต่งในโอกาสพิเศษจะเป็นผ้านุ่งซิ่นมุกตีนจก (หน้า 35)

Folklore

วัฒนธรรมการทอผ้าของไทยพวน ยังสะท้อนให้เห็นรูปของคำพังเพย คำทายและการเล่นที่แสดงให้เห็นถึงการทอผ้าของไทยพวนที่มีมานานแล้ว - คำพังเพย เช่น "คนใจดีแก้ฝ้าย คนใจฮ้ายแก้ไหม" หมายถึง คำเปรียบเปรยระหว่างไหมกับฝ้าย ไหมจะปั่นยากต้องระมัดระวังเพราะขาดง่ายจึงต้องอาศัยคนมีจิตใจเยือกเย็น ถ้าใจร้อนก็ทำไม่สำเร็จ - คำทาย เช่น แม่มันร้องอี้อี้ ลูกมันพีอ๊องล่อง (หลา) สองเสาเก้าห้อง พี่น้องมาญามบ่มีที่อยู่ (หลา) หลาบ่สมฝ้าย ดึงหลายย่านแต่กิ่ว อิ้วบ่สมดอกฝ้าย แสนกี่ป้อนก็เล่าคาย (เครื่องอิ้งฝ้าย) - การละเล่น เช่น การเล่นนางกวัก อุปกรณ์ในการเล่นได้แก่ การทำตัวนางกวักและเครื่องเซ่น ตัวนางกวักจะใช้ตัวกวักซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า นำกะลามะพร้าวด้านที่มีรูมาร้อยเชือกมัดกับหัวกวักแล้วนำไม้บงหรือไม้รวกยาวประมาณ 1 วา นำมาเสียบกลางตัวกวัก การเล่นกวัก หนุ่มๆสาวๆจะนั่งล้อมวงนางกวักแล้วให้ผู้หญิงสองคนจับกวักที่ทรงเครื่องแล้วคนละข้างส่วนคนอื่นร้องเพลงนางกวัก เชิญวิญญาณนางกวักมาเข้าตัวกวัก เพลงนางกวักมีเนื้อร้องดังนี้ "นางกวักเอย นางกวักเจ้าแม่กวัก เจ้าแม่ยักแย่ เจ้าแม่แย่ยอ คนยกคนยอให้สูง เพียงข้างเจ้าอวดอ้างตำหูกเดือนหงาย ตกดินกกทรายเดือนแจ้ง เอ็ดแอ้งแม้ง นางฟ้าสงมา นาสีดาแกว่งแขนต่องแต่ง ต้องแต่ง "เมื่อร้องเพลงกลับไปกลับมาผีนางกวักจะลงมาเข้ากวัก เมื่อเข้าแล้วก็จะสามารถทำในสิ่งที่คนรอบข้างขอให้ทำได้ เช่น ทายชื่อคน ทายชื่อเนื้อคู่ เป็นต้น (หน้า 27)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

การแต่งกายของไทยพวนหาดเสี้ยว สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองจะแบ่งเพศและอายุ สังเกตได้จากสีและชนิดของผ้าแต่ปัจจุบันจะแต่งกายเหมือนชายไทยทั่วไป (หน้า 35)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ - เครื่องทอผ้าแบบกี่กระตุก,เครื่องทอผ้าพื้นเมือง(57) - ไม้ย่ำตีนหรือไม้เหยียบตีน,ไม้กำปั่นใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอเสร็จ(58) - ข้อศอกฮ้างกระสวย,ฮ้างกระสวย ใช้สอดกระสวยพุ่งไปมาเวลาทอ(59) - ลูกกลิ้ง,ฟืมและไม้ประกบฟืม(60) - เทาเท็งและเหาล่าง,ไม้กังหัน(61) - กงปั่นฝ้าย,เผือค้นด้าย(62) - ม้วนเครือด้ายยืนสำหรับทอ,ไม้จีมสำหรับสานแหบ้านป่าแดง,ไม้คิ้มปาดสำหรับใส่ไหมบ้านหาดเสี้ยว(63) - แป้นกี่สำหรับนั่งทอผ้า,เครื่องกวักฝ้าย(64) - หลา,กงปั่นฝ้าย(65) - โฮงมัดหมี่,เครื่องค้นหมี่หรือเครื่องเป้กหมี่(66) - ไม้ดีดฝ้าย,สาธิตการดีดฝ้าย(67) - ไม้ล้อม,สาธิตการล้อมฝ้าย,สาธิตการเข็ญฝ้าย(68) - ไม้เปีย,สาธิตการเปียฝ้าย(69) - สาธิตการกวักฝ้าย(70) - สาธิตการสืบหุบ้านหาดเสี้ยว,สาธิตการเก็บเหาบ้านป่าแดง(71) - สาธิตการเดินด้ายบ้านป่าแดง,สาธิตการค้นเผือบ้านหาดเสี้ยว(72) - สาธิตการร้อยฮูฟืม,สาธิตการม้วนเครือด้ายยืน(73) - สาธิตการมัดหมี่,สาธิตการค้นหมี่(74) - สาธิตการทอผ้าบ้านหาดเสี้ยว,สาธิตการทอผ้าบ้านป่าแดง(75) - ผ้าไหมมัดหมี่ลายเชิงพญานาคผสมก้านสนใหญ่,ผ้าไหมมัดหมี่ลายไทยตีนหยัก(76) - ผ้าไหมมัดหมี่ลายข้าวหลามตัดดอกใหญ่,ผ้าไหมมัดหมี่ลายตาข่าย 2 ตะกอ(77) - ผ้าไหมมัดหมี่ลายข้าวหลามตัดตีนลายหยักดอกมะตุ้ม,ผ้าไหมมัดหมี่ลายขอใหญ่(78) - ผ้าไหมมัดหมี่ลายนาคผสมลายสนเล็ก,ผ้าไหมมัดหมี่ทั้งตัวลายเฉียง(79) - ผ้าไหมมัดหมี่ 25 ลำลายนาคคู่ผสมฉัตรตีนลายสนเล็ก,ผ้าไหมมัดหมี่สามกษัตริย์ใส่ดิ้นเขียว,เหลือง,น้ำตาล(80) - ผ้าไหมมัดหมี่เปี่ยงลายยกดอก,ผ้าไหมมัดหมี่สอดดิ้น 13 ลำ(81) - ผ้าไหมมัดหมี่ลายข้าวหลามตัดดอกใหญ่ 13 ลำ,ผ้าไหมมัดหมี่ลายข้าวหลามตัดดอกคู่(82) - ผ้าไหมมัดหมี่เป้กเดียวลายไทย,ผ้าไหมมัดหมี่ถี่ 9 ลำ(83) - ผ้าไหมมัดหมี่ห่าง 7 ลำ,ผ้าไหมมัดหมี่ข้าวหลามตัดลายไทยตีนหยักดอกมะตุ้ม(84) - หมี่พุ่งลายดอกหญ้า,ผ้าไหมมัดหมี่พื้นสีเขียวลายขอดอกฉัตร(85) - โสร่งผ้าไทยตราอีโป๊ะ,ผ้าขาวม้าพ้ายโต่ง(86) - ผ้าไหมมัดหมี่ทั้งตัว 2 เหา ลายพริกไทย.ผ้าม่วงสำหรับเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน(87) - ผ้าเคียนนม,หมอนขิดลายต่างๆ(88) - ผ้าคลุมหัวช้าง,ผ้านั่ง(89) - ผ้ากราบพระ,ผ้าห่อคัมภีร์(90) - ผ้ากั๊ง,ผ้าเช็ดหน้า(91) - ผ้าคลุมหัวนาค,ถุงย่ามแดง(92) - ซิ่นน้ำอ่อยลายสองท้อง,ซิ่นตาหว้าลายแปดขอ(93) - ซิ่นเข็นลายน้ำอ่าง,ซิ่นตาหว้าลายสี่ขอ(94) - ซิ่นตีนดำแฮ้งตู้,ซิ่นตีนแดงแฮ้งดู้(95) - ซิ่นตาหว้าลายน้ำอ่าง,ซิ่นตาเติบลายดอกมนสิบหก(96) - ซิ่นตาหว้าลายสิบสองหน่วยตัด, ,ซิ่นตาเติบลายดอกมนสิบหก(97) - ซิ่นล้วงลายดอกเครือใหญ่,ซิ่นมุกลายดอกเครือใหญ่(98) - ซิ่นมุกลายดอกเครือใหญ่,ซิ่นมุกลายน้ำอ่าง(99) - ซิ่นมุกลายดอกมนสิบหก,ซิ่นไหมลายสิบหกขอ(100) - ซิ่นไหมลายดอกบัวไหล,ซิ่นไหมลายน้ำอ่าง(101) - ซิ่นไหมลายดอกบัวไหล,ซิ่นเข็นลายดอกเครือกลาง(102)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 29 มิ.ย 2560
TAG พวน ไทยพวน ไทพวน, วัฒนธรรมการทอผ้า, คำศัพท์, พิจิตร, สุโขทัย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง