สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู,สื่อประเพณี,ภาคเหนือ
Author ประเสริฐ ชัยพิกุสิต, ทวิช จตุวรพฤกษ์
Title สื่อประเพณีดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าลีซอ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 42 Year 2531
Source สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

สื่อประเพณีดั้งเดิมของชาวเขาเผ่าลีซอ เป็นเรื่องราวของการสื่อสารหรือการถ่ายทอดข่าวสารในชีวิตประจำวัน โดยรูปแบบตามประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ เนื้อหากล่าวถึงวิธีการและรูปแบบการสื่อในเรื่องความเชื่อ การเกษตร สุขภาพอนามัย บุคคลที่มีอำนาจในการสื่อสาร นิทาน ดนตรี และเพลงของลีซอ การสื่อสารโดยทั่วไปใช้การพูดจา ยกเว้นดนตรีและเพลง ส่วนการสื่อระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มคนมีพิธีกรรมตามประเพณีเป็นองค์ประกอบหลักในการสื่อสาร การสื่อสารแบบดั้งเดิมตามประเพณีของลีซอยังคงใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน หากมีการใช้สื่อใหม่ๆ เข้าไปพัฒนาโดยใช้วิธีการและรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมสอดคล้องกับสื่อดั้งเดิมของชาวเขา จะทำให้เกิดประโยชน์ต่องานพัฒนาในระดับหมู่บ้าน (หน้า (3))

Focus

วิธีการและรูปแบบการสื่อในเรื่องความเชื่อ การเกษตร สุขภาพอนามัย และ บุคคลที่มีอำนาจในการสื่อสาร นิทาน ดนตรี และเพลงของลีซอ (หน้า (3) )

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ศึกษาหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ 4 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่บ้านปางแปก อำเภอปาย 2) หมู่บ้านหนองตอง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน 3) หมู่บ้านหนองแขม อำเภอเชียงดาว และ 4) หมู่บ้านต้นลุง (ปางไม้แดง) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า (4)

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ไม่มีข้อมูล

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

ไม่มีข้อมูล

Economy

ชาวเขาเผ่าลีซอปลูกข้าวและข้าวโพดเป็นพืชหลัก ซึ่งในอดีตมีการปลูกฝิ่นกันมาก และยังคงมีการปลูกอยู่บ้างในบางท้องที่ที่อยู่ห่างไกลเส้นทางคมนาคม ปัจจุบัน หันมาปลูกพืชส่งเสริมแทน เช่น ถั่วแดง กาแฟ ชา มันฝรั่ง มะเขือเทศ และขิง ข้าวปลูกไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน หากปีใดได้ผลผลิตมาก ก็อาจขายเมื่อมีคนมาซื้อ ข้าวโพดปลูกไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์และสำหรับขาย พืชชนิดอื่น เช่น กาแฟ ชา ถั่วแดง มันฝรั่ง มะเขือเทศ ขิง ปลูกไว้เพื่อขายเช่นเดียวกัน (หน้า 14) ชาวเขาเผ่าลีซอใช้แรงงานในครอบครัวทำการผลิต ตลอดจนการแลกเปลี่ยนแรงงาน การจ้างแรงงานและการลงแขก ลักษณะงานในไร่เริ่มจากแผ้วถางหญ้าหรือเก็บกิ่งไม้ใบไม้ ที่เผาไหม้ไม่หมดมากองรวมกันเพื่อเผาไฟอีกครั้ง แล้วจึงขุดดินเตรียมไว้สำหรับเพาะปลูกพืช ก่อนเก็บเกี่ยวจะต้องมีการถางหญ้าพรวนดิน ในช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวโพด และตีข้าวในไร่ โดยปกติจะใช้ แรงงานจากครอบครัวเป็นหลัก แต่จะมีการขอให้ญาติหรือเพื่อนบ้านมาช่วยงานเพื่อให้งานเสร็จเร็วขึ้น การแลกเปลี่ยนแรงงาน หากญาติคนใดไปช่วยงานให้กับใครเป็นเวลากี่วัน เมื่อถึงเวลาที่ญาติมีงานในไร่ ก็จะติดต่อบอกกล่าวแก่ผู้ที่ตนเคยไปช่วยงานให้มาทำงานให้ตนตามจำนวนวันที่เคยช่วยทำงานแลกเปลี่ยน แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นงานชนิดเดียวกันก็ได้ การลงแขก ลักษณะงานในไร่ที่ใช้วิธีลงแขกโดยมากจะเป็นงานบุกเบิกป่า แห่งใหม่ มีการตัดโค่นต้นไม้และแผ้วถางป่า งานลงแขกอีกประเภทหนึ่งที่กระทำกันทุกปีคือการปลูกข้าว เนื่องจากงานดังกล่าวจำเป็นต้องใช้แรงงานมากและต้องทำงานเสร็จให้ทันเวลา การลงแขก เจ้าของบ้านจะติดต่อบอกกล่าวญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านในหมู่บ้าน เพื่อขอความช่วยเหลือให้มาทำงาน ผู้ที่ได้รับการติดต่อจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ของตนไปด้วย เจ้าของบ้านจะจัดเตรียมอาหารเครื่องดื่มสำหรับรับประทานอาหารกลางวัน การลงแขก เป็นการระดมแรงงานในหมู่บ้านที่เจ้าของบ้านไม่ต้องทำงานชดใช้แรงงานคืน อย่างไรก็ตาม ตามธรรมเนียมแล้ว ผู้ใดเคยช่วยงานคนอื่นไว้ เมื่อถึงเวลาตนมีงาน ผู้ที่เคยรับการช่วยเหลือก็จะมาทำงานให้เป็นการตอบแทน แต่ทั้งนี้ หากไม่มีเวลาว่างหรือไม่อยู่ ก็ไม่จำเป็นต้องไปช่วย (หน้า 10 -12)

Social Organization

พิธีการแต่งงาน จะมีขึ้นหลังจากที่ชายหนุ่มหญิงสาวได้อยู่กินร่วมกันแล้ว ก่อนการทำพิธีแต่งงาน จะมีการตกลงกันเรื่องค่าตัว เรื่องที่อยู่อาศัย ขั้นตอนของพิธีแต่งงาน จะมีการทำพิธีเซ่นไหว้ผีประจำหมู่บ้าน (อาปาหมุฮี) ผีบรรพบุรุษภายในบ้านของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และมีการกินเลี้ยงฉลองงานแต่งงาน หลังจากนั้น จึงกำหนดวันพิธีแต่งงาน ซึ่งอาจกำหนดหลังจากอยู่กินมาด้วยกันเป็นเวลา 1-2 ปีแล้วก็ได้ การทำพิธีแต่งงาน จะทำกันที่บ้านของบิดามารดาฝ่ายหญิง ซึ่งต้องขอให้ญาติทีเป็นผู้ชายเป็นสื่อกลางไปบอกข่าวเชิญญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้านในหมู่บ้านมาร่วมพิธี (หน้า 3)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ชาวเขาเผ่าลีซอจะนับถือผี มีการบูชาผีที่ตั้งหิ้งไว้ข้างฝาด้านในตรงกับประตูบ้าน และศาลผีประจำหมู่บ้านซึ่งปลูกสร้างไว้เป็นเพลิงหมาแหงนมีหิ้งบูชาผี และถ้วยชาจีนตั้งอยู่ ในวันศีล (15 วัน ต่อ 1 ครั้ง) หมอเมืองจะต้องเปลี่ยนน้ำในถ้วย ทำความสะอาดศาลและเซ่นไหว้บูชาผีด้วย การนับถือผีของลีซอเป็นการนับถือผีบรรพบุรุษเป็นสำคัญ จะมีถ้วยชาจีนตั้งอยู่บนหิ้งบูชา แต่ละครัวเรือนจะมีถ้วยไม่เท่ากัน ในวันศีลแต่ละครั้ง ชาวบ้านจะหยุดงานในไร่และทำพิธีบูชาผีในบ้านเรือน นอกจากการนับถือผีบรรพบุรุษแล้ว ยังนับถือฝีฟ้า ผีประจำหมู่บ้าน ผีภูเขา ผีน้ำ ผีทางเดิน ผีดิน มีการทำพิธีปัดเป่าผีร้ายเช่นผีตายโหง ผีป่าไม่ให้มาทำอันตรายต่อชีวิตของคน และสัตว์เลี้ยง (หน้า 1-2) พิธีกรรมการตั้งชื่อเด็ก เมื่อมีเด็กเกิดในครอบครัวใด บิดาของเด็กจะต้องบอกผีประจำหมู่บ้านให้ทราบ และต้องทำพิธีตั้งชื่อภายใน 7 วัน จะมีการเชิญญาติและเพื่อนบ้านมาพร้อมกันในวันทำพิธี เสร็จแล้วจะมีการกินเลี้ยงร่วมกัน โดยสมาชิกในครอบครัวจะหยุดงานในวันที่ทำพิธี (หน้า 2) พิธีปีใหม่ ตรงกับวันตรุษจีน ในช่วงปลายเดือนมกราคมหรือเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการเชิญผู้อาวุโสมาตกลงกำหนดวันร่วมกัน พิธี ปีใหม่จะมีอย่างน้อย 2 วัน วันแรกเป็นวันส่งท้ายปีเก่า เป็นวันทำข้าวปุก "เปี่ยปาปา" ทำขนมหลังจากทานอาหารเช้าแล้ว มีการเริ่มเต้นรำที่หน้าบ้านหมอเมืองแล้วจึงเคลื่อนย้ายวงไปตามบ้าน วันที่ 2 เป็นวันต้อนรับปีใหม่ ก็จะมีการเต้นรำหน้าบ้านทุกหลังคาเรือนอีกเช่นกัน (หน้า 4-5) การตาย หากมีการตายเกิดขึ้นบุตรชายจะใช้ผ้าขาวคาดที่หน้าผาก คนในครอบครัวจะต้องบอกให้สมาชิกในหมู่บ้านทราบ ทุกบ้านจะมีการจุดธูปปักไว้ที่หน้าบ้าน 2 ดอกเพื่อให้ทราบว่ามีการตายเกิดขึ้น เมื่อทราบแล้วจะต้องหยุดงานทันที เพื่อไปช่วยงานศพจนกว่าจะมีการนำศพไปฝังแล้วจึงทำงานต่อได้ (หน้า 6-7) นอกจากนี้ ยังมีพิธีกินข้าวโพดใหม่ ซึ่งจะต้องหยุดงานในไร่และไม่ไปค้างคืนที่อื่น พิธีกินข้าวใหม่ ซึ่งจะกระทำในช่วงที่ผลผลิตแก่จัดสามารถรับประทานได้ และมีการเลี้ยงบูชาผีด้วย (หน้า 7-10)

Education and Socialization

ไม่มีข้อมูล

Health and Medicine

ชาวเขาเผ่าลีซอมีความเชื่อว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากผีเป็นผู้กระทำ จึงต้องทำพิธีสื่อสารแสดงให้ผีหายโกรธหรือออกไปจากตัวผู้ป่วย มีพิธีกรรมรักษาความเจ็บป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุ หรือพิธีเรียกขวัญ เรียกว่า "ชอฮาคัว" เช่น เป็นไข้ ปวดหัว ปวดท้องอย่างรุนแรง อ่อนเพลียไม่มีแรง กินข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ หรือมีอาการทางจิต เช่น พูดเพ้อเจ้อ ตาเหม่อลอย หรือมีอาการชักกระตุก ลีซอมีความเชื่อว่า เป็นอาการถูกผีกระทำ จึงต้องทำพิธีเรียกขวัญ ต้องทำพิธีโดยหมอผีหรือผู้อาวุโสผู้ชายที่บ้านของผู้ป่วย ผู้อาวุโสชายจะทำพิธีสวดหน้าหิ้งบูชาผีในบ้าน มีการฆ่าไก่เพื่อใช้ในพิธีกรรม เมื่อสวดเสร็จแล้ว จะให้เส้นด้ายผูกข้อมือผู้ป่วยและสมาชิกในบ้านด้วย หากผียินดีหรือพอใจแล้วจะออกไปจากร่างผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคภัยได้ (หน้า 15-16) การทำบุญต่ออายุ เป็นพิธีกรรมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ ลีซอมีความเชื่อว่าคนชราที่เจ็บป่วยอาจเสียชีวิตเพราะความชรา หากได้ทำบุญต่ออายุนำโลงศพมาไว้ จะเป็นเคล็ดให้คนชราที่กำลังป่วยหายจากโรคได้ โดยบุตรหลานหรือญาติพี่น้องจะเป็นผู้จัดพิธีให้ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคภัยไข้เจ็บและมีอายุยืนยาวต่อไป เริ่มจากบุตรหลานจะบอกกล่าวให้ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านทราบ และขอให้ผู้ชายช่วยกันหาไม้ชนิดหนึ่งมาทำโลงศพ ซึ่งเป็นไม้ชนิดที่ลีซอนิยมนำมาทำเป็นโลงศพ และแบกหามกลับมาที่บ้านผู้ป่วย จะมีผู้อาวุโสทำพิธีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษด้วยเนื้อหมู ไก่ ข้าว สุรา น้ำชา พร้อมธูปเทียนบูชาผี มีการสวดให้พรและผูกข้อมือผู้ป่วย หลังจากนั้นจึงร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน (หน้า 16-17)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เพลงลีซอ "โก่กั๊ว" เป็นเพลงที่จดจำสืบทอดกันมา มีลักษณะเป็นการตอบโต้กันระหว่างฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เนื้อหาของเพลงที่ร้องแต่ละครั้งจึงไม่ซ้ำกัน การร้องเพลงตอบโต้กันจะมี 2 แบบ คือ 1. การร้องเพลงตอบโต้กันระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว เป็นการเกี้ยวพาราสีกันเนื้อหา จะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่เปล่าเปลี่ยวหัวใจไร้คู่ รูปร่างหน้าตาก็ไม่หล่อ เมื่อมาพบหญิงงาม ได้แต่ชมด้วยวาจาเท่านั้น หวังจะอยู่กินเป็นไปไม่ได้ ฝ่ายหญิงจะร้องตอบโต้ว่า รูปร่างหน้าตาไม่ใช่สิ่งสำคัญ สำคัญอยู่ที่จิตใจ ถ้าเป็นคนขยันขันแข็ง เอาการเอางาน แต่ถ้าจะให้ฝ่ายหญิงจริงจังกับคำพูดหวานๆ ก็ยังไม่แน่ใจ 2. และการร้องเพลงตอบโต้กันระหว่างฝ่ายชายผู้อาวุโสกับฝ่ายหญิงผู้อาวุโส เป็นการร้องเพลงเพื่อความสนุกสนานผ่อนคลายอารมณ์เท่านั้น การร้องเพลงอาจเป็นการร้องเดี่ยวคือชายเดี่ยวหญิงเดี่ยว อาจมีลูกคู่ประสานพร้อมกัน ร้องกันในบริเวณที่เปิดเผยรวมอยู่กันเป็นกลุ่ม เนื้อหาของเพลงเกี่ยวข้องกับการทำมาหากินในอดีต ชีวิตที่มีความเป็นอยู่สุขสบาย ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ยากลำบากมากขึ้น หรือเรื่องการย้ายที่อยู่ การทำบุญสร้างศาลาตามประเพณี จะมีคำร้องเป็นคำถาม หากอีกฝ่ายร้องตอบไม่ได้ หรือตอบไม่ตรงประเด็นถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ การร้องเพลงมีข้อห้ามคือห้ามผู้ที่เป็นญาติพี่น้องที่อยู่ในแซ่สกุลเดียวกันมาร้องเพลงอยู่กันคนละกลุ่ม หรือญาติพี่น้องที่ไม่ได้อยู่แซ่สกุลเดียวกันแต่มีลำดับญาติเป็นผู้สืบสันดานของตนก็จะร้องเพลงกันคนละกลุ่มไม่ได้ ข้อห้ามอีกประการหนึ่งคือห้ามจับเนื้อต้องตัวกัน (หน้า 33-38) ชาวเขาเผ่าลีซอนิยมเล่นเครื่องดนตรี 3 ชนิดคือ ซึง แคนน้ำเต้า เรียกว่า "ปะลิฝุลุ" ทำจากผลน้ำเต้ากับไม้ไผ่ มี 2 ชนิดคือแคนสั้นกับแคนยาว และขลุ่ย เรียกว่า "หญิหลึ" เด็กผู้ชายเมื่อเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นจะเริ่มหัดดีดซึง ส่วนแคนกับขลุ่ย จะเริ่มหัดเป่าเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว การเล่นดนตรีจะเล่นตามประเพณีปีใหม่ และวันแต่งงานซึ่งเป็นงานสนุกสนานรื่นเริงเท่านั้น เนื่องจากโอกาสดังกล่าวจะมีการเต้นรำ จึงต้องมีดนตรีประกอบ มีการเต้นรำกันเป็นกลุ่มทั้งชายหญิง (หน้า 30-33)

Folklore

เผ่าลีซอมีนิทานเล่าสืบต่อกันมาหลายเรื่อง ตั้งแต่เรื่องการกำเนิดและการแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ เรื่องการนับถือผี ข้อห้ามบางอย่างตามประเพณี เรื่องการที่ลีซอไม่มีดินแดนของตัวเอง เรื่องความขยันอดทน การเล่นการพนัน การดื่มสุรา การตำข้าว ภาษาที่ใช้ตัวหนังสือ แซ่สกุลลีซอ ความเชื่อโชคลางเกี่ยวกับวันดี วันไม่ดี ภาษิตที่แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ คติสอนใจให้ทำความดี นิทานลีซอแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือนิทานตำนาน เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา และนิทานที่มีคติสอนใจ สอนศีลธรรม การเล่านิทานจะถ่ายทอดสืบต่อกันไปพร้อมกับจิบน้ำชา ดื่มสุรา หรือบุหรี่ กินหมากพลู ทั้งผู้เล่าและผู้ฟัง อาจจะนั่งรอบเตาไฟในบ้าน หรือจับกลุ่มนั่งคุยกันข้างบ้าน นิทานลีซอไม่ได้มีการบันทึกเป็นตัวหนังสือ ใช้วิธีจดจำแล้วเล่าสืบต่อกันมา ปัจจุบันนี้ มีผู้รู้ที่สามารถเล่านิทานได้มีจำนวนไม่มากนัก (หน้า 28-30)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Text Analyst ชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช Date of Report 01 พ.ย. 2555
TAG ลีซู, สื่อประเพณี, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง