สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject เย้า,การปักผ้า,การถ่ายทอด,ประวัติความเป็นมา,เชียงราย
Author วรวิทย์ องค์ครุฑรักษา
Title กระบวนการถ่ายทอดศิลปะการปักผ้าของชาวเขาเผ่าเย้า บ้านห้วยแม่ซ้าย จังหวัดเชียงราย
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อิ้วเมี่ยน เมี่ยน, Language and Linguistic Affiliations ม้ง-เมี่ยน
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 105 Year 2537
Source ภาควิชาศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract

ในสังคมเย้าที่มีการเลี้ยงดูแบ่งแยกตามเพศนั้น หญิงสาวเย้าทุกคนจะต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการปักผ้าจากมารดา รวมถึงลักษณะเฉพาะกลุ่ม เช่น เรื่องความขยัน ที่หญิงสาวเย้าถ้ามีเวลาว่าง จะต้องนำผ้าขึ้นมาปักอยู่ตลอดเวลา รวมถึงคติ ในการเลือกคู่ครองของชายหนุ่ม ที่ให้ความสำคัญแก่หญิงสาวที่ขยันปักผ้า ทำให้การปักผ้าของเย้านั้นยังสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ภาวะความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

Focus

การถ่ายทอดความรู้เรื่องการปักผ้าของชาวเขาเผ่าเย้า

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

เย้า

Language and Linguistic Affiliations

นักภาษาศาสตร์จัดภาษาของเย้าให้อยู่ในตระกูลภาษา "จีน-ธิเบต" เนื่องจากเย้าได้ยืมตัวอักษรจีนมาใช้ในการเขียนบันทึกหรือตำราต่างๆ แต่ภาษาที่เย้าใช้พูดในชีวิตประจำวันนั้นไม่มีตัวเขียน ดังนั้นหมอสอนศาสนาจึงพยายามคิดตัวอักษรและระบบการเขียนภาษาเย้า โดยใช้ตัวอักษรโรมันและอักษรไทย ปัจจุบันมีระบบการเขียนภาษาเย้าถึง 8 ระบบ และกำลังคิดระบบที่ 9 ที่ จะเป็นภาษาเขียนของเย้าที่เป็นสากล (หน้า 22-23)

Study Period (Data Collection)

ไม่ระบุ

History of the Group and Community

ในราวศตวรรษที่ 15 มีบันทึกในพงศาวดารฮั่นตอนปลายว่า พระเจ้าเกาเซียนซื่อ จักรพรรดิจีนองค์หนึ่งได้ประกาศว่าจะยกพระธิดาองค์หนึ่งให้สยุมพรกับใครก็ตามที่สามารถปราบชนเผ่า Chnan Jang ซึ่งก่อการกบฏโดยมีขุนพลหวูเป็นผู้นำลงได้ ในครั้งนั้นมีสุนัข 5 สีตัวหนึ่งชื่อผันหู ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงในพระราชสำนักอาสาไปปราบกบฏ และฆ่าขุนพลหวูได้สำเร็จ ผันหูจึงได้สยุมพรกับพระธิดา แล้วไปสร้างครอบครัวอยู่บนภูเขาสูงที่ห่างไกลผู้คน ต่อมาได้ให้กำเนิดพระโอรส 6 องค์ และ พระธิดา 6 องค์ ซึ่งเป็นต้นตระกูลของคนเย้า 12 แซ่ต่อมา ซึ่งประมาณศตวรรษที่ 18-19 เย้าบางส่วนได้อพยพจากประเทศจีนลงมาทางใต้ โดยเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ประเทศเวียดนามและลาว และได้เริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 (หน้า 21-22)

Settlement Pattern

บ้านเย้าส่วนมากมักปลูกบนไหล่เขา โดยหันหน้าบ้านออกจากภูเขา ทำให้บ้านเย้ามีลักษณะเป็นแนวยาวเรียงกันไปตามไหล่เขา (หน้า 25) ลักษณะบ้านของเย้าเป็นบ้านชั้นเดียว ปลูกคร่อมดิน มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุงหลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบหวาย ฝาบ้านอาจเป็นไม้เนื้ออ่อน การกั้นฝาบ้านจะกั้นในแนวตั้ง บ้างก็ใช้ไม้ไผ่หรือฟางข้าวผสมดินโคลน ภายในแบ่งเป็นห้องๆ ตัวบ้านมีประตูทางเข้าทั้ง 2 ด้านของตัวบ้าน ส่วนประตูหน้าบ้านนั้นปกติจะปิดไว้ เรียกว่า "ประตูผี" ด้านหน้าของบ้านนิยมสร้างยื่นออกไปเล็กน้อย (หน้า 25)

Demography

จากการสำรวจจำนวนประชากรเย้าของกรมประชาสงเคราะห์ ในปี พ.ศ. 2529 พบว่ามีประชากรชาวเขาเผ่าเย้าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 33,997 คน (ไม่รวมที่อาศัยอยู่ในค่ายอพยพ) มีทั้งหมด 159 หมู่บ้านตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ ในจังหวัดเชียงราย 10,465 คน จังหวัดน่าน 7,110 คน จังหวัดพะเยา 6,605 คน จังหวัดกำแพงเพชร 4,192 คน จังหวัดลำปาง 3,709 คน จังหวัดสุโขทัย 1,083 คน จังหวัดเชียงใหม่ 873 คน ( หน้า 23-24)

Economy

ระบบเศรษฐกิจของเย้าขึ้นอยู่กับการเกษตร พืชหลักที่ปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวโพด มันฝรั่งและงา สัตว์ที่เลี้ยง ก็มีบ้าง ได้แก่ หมู ไก่ และม้า นอกจากนี้เย้ายังมีการทำโม่หิน การลับมีด การทำเครื่องเงิน (หน้า 28) การปักผ้า และรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยว เช่น บริการเช่าช้างเพื่อการเดินป่า บริการบ้านเช่า และการขายของที่ระลึก เป็นต้น แต่งานเหล่านี้ก็ไม่สามารถทำรายได้ให้กับเย้ามากเท่ากับสินค้าทางการเกษตร (หน้า 100)

Social Organization

ครอบครัวเย้าเป็นครอบครัวแบบขยาย (extended family) คือ ภายในบ้านหลังหนึ่งประกอบด้วยครอบครัวหลายครอบครัว และอาจมีสมาชิกถึง 3 รุ่น ทั้งนี้เพราะเมื่อบุตรชายแต่งงานแล้ว จะนำภรรยาเข้ามาอยู่ในบ้านของพ่อ-แม่ตน ยกเว้นบางบ้านที่มีแต่ลูกสาว เมื่อแต่งงานสามีจะต้องเข้ามาอยู่ในบ้านของพ่อแม่ตนและเปลี่ยนมาใช้แซ่ (สกุล) ของฝ่ายหญิง แต่ลักษณะครอบครัวของเย้าในบางกรณีก็เป็นครอบครัวเดี่ยว (หน้า 26) เย้าจะเลี้ยงดูบุตรหลานชายให้มีลักษณะเป็นผู้นำ ในขณะที่ฝึกบุตรหลานสาวให้เป็นแม่บ้านแม่เรือน (หน้า 32) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปักผ้า ซึ่งผู้เป็นมารดาจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุตรสาว (หน้า 35) นอกจากนี้ กลุ่มเพื่อนก็มีความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้การปักผ้าของหญิงสาวเย้าจากการนั่งล้อมวงปักผ้าเป็นกลุ่ม (หน้า 72) ผู้หญิงเย้าถูกสอนให้ขยัน เมื่อมีเวลาว่างให้จับเข็มจับผ้าอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้เป็นแม่จะสอนให้ลูกของตนปักผ้า พร้อมกับฝึกให้มีความขยันขันแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมเย้าต้องการ เพราะจากคำสอนชายในการเลือกคู่ครองที่กล่าวว่า "ความสวยกินไม่อิ่ม" ซึ่งเป็นการสอนให้ผู้ชายเลือกหญิงที่มีความขยันขันแข็งเป็นคู่ครองมากกว่าที่จะเลือกหญิงที่มีแต่ความสวยเพียงอย่างเดียว (หน้า 99)

Political Organization

ไม่มีข้อมูล

Belief System

ความเชื่อของเย้าเป็นการถือผี เชื่อในเรื่องผีหรือสิ่งที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือผีดีที่คอบพิทักษ์รักษาสมาชิกในครอบครัวให้อยู่อย่างปกติสุข เช่น ผีบรรพบุรุษ เป็นต้น และผีร้าย ที่ให้โทษแก่มนุษย์ เช่น ผีตายโหง เป็นต้น นอกจากนี้ เย้ายังนับถือลัทธิเต๋าตามแบบที่นับถือกันในประเทศจีนเมื่อราวศตวรรษที่ 13-14 ซึ่งนับถือพระเจ้าและเทพยดาอารักษ์ต่างๆ ในลัทธิเต๋า ซึ่งในงานพิธีสำคัญๆ จะต้องนิมนต์ภาพของเทพเจ้าเหล่านั้นมาให้ครบชุด (หน้า 29-30) บ้านของเย้ามีความเชื่อมากมาย เช่น เชื่อว่ามีผีอยู่ในเตาไฟ จึงไม่มีใครกล้าวางเท้าหรือนั่งหันหลังให้เตาไฟ และเขาจะไม่นำ สิ่งใดไปตั้งกีดขวางทางผีซึ่งก็คือพื้นที่ระหว่างประตูใหญ่ไม่ว่าด้านนอกหรือด้านในบ้านเป็นอันขาด ส่วนคอกสัตว์หรือสิ่งปลูก สร้างอื่นๆ จะต้องอยู่พ้นบริเวณหลังคาบ้าน เพื่อให้ผีมังกรน้ำนำโชคลาภมาให้โดยสะดวก และจะไม่นำไม้บางประเภทที่ถูก ฟ้าผ่ามาสร้างบ้าน (หน้า 25-26) หรือแม้แต่การปักผ้าของเย้าก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องวันเริ่มต้นเรียนการปักผ้า ซึ่งมักกระทำกันในวันขึ้นปีใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วและปักได้ดี (หน้า 74) และไม่นิยมทอผ้าในช่วงที่มีคนเสียชีวิตในหมู่บ้าน เพราะผู้คนส่วนใหญ่ต้องไปช่วยเหลืองานพิธี เป็นการแสดงความอาลัยต่อผู้เสียชีวิต แต่ถ้าผู้เสียชีวิตเป็นบิดาหรือมารดา หญิงที่เป็นบุตรต้องงดปักผ้าเป็นเวลา 1 เดือน ( หน้า 102)

Education and Socialization

เด็กเย้าจะไปเรียนที่โรงเรียนประจำหมู่บ้าน เป็นการศึกษาภาคบังคับ (ประถม 1-6) ถ้าบ้านใดมีฐานะดี ก็อาจจะส่งเข้าไปเรียนต่อในอำเภอจนจบชั้นมัธยมปีที่ 6 (หน้า 31) นอกจากการเรียนในโรงเรียนแล้ว เมื่อมีเวลาว่าง หญิงสาวเย้าจะได้รับการถ่ายทอดการปักผ้าจากมารดา ตั้งแต่อายุเท่าไรไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพียงแต่ผู้เรียนจะต้องนับเลขเป็นแล้วและสามารถจับเข็มและบังคับเข็มได้ แต่เดิมวันที่นิยมเริ่มการสอนปักผ้าคือวันขึ้นปีใหม่ (ตรุษจีน) การสอนปักผ้าเป็นการสอนโดยปากเปล่า ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร วิธีการสอนที่พบมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ 1. สอนโดยการปักลายให้ดูเป็นตัวอย่างในแต่ละขั้นตอน แล้วให้ผู้เรียนปักตามแบบ 2. สอนโดยใช้ลายที่ปักไว้แล้วให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้ผู้เรียนปักตาม ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะในการปักผ้ามาบ้างแล้ว 3. สอนโดยจับมือสอน สำหรับผู้เริ่มหัดปักใหม่ๆ (หน้า 73-74)

Health and Medicine

เมื่อเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ในอดีต เย้าจะใช้ยาสมุนไพรหรือให้หมอผีประจำหมู่บ้านทำการรักษา แต่ในปัจจุบันเย้าแทบทุกบ้านจะมียาสามัญประจำบ้าน แต่ความเชื่อดั้งเดิมก็ยังคงปรากฎอยู่(หน้า 28)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เย้ามีเครื่องดนตรี คือ พิณจีน ปี่วา ฆ้อง เป็นต้น ผู้หญิงจะมีเครื่องเป่าด้วยปากเล็กๆ ทำด้วยทองแดงขนาดซี่ไม้ขีดไฟ ใช้ปากคาบแล้วใช้นิ้วข้างหนึ่งดีดให้กังวาล (หน้า 30) ส่วนเครื่องมือที่เกี่ยวเนื่องกับการทอผ้าของเย้าที่ยังคงพบอยู่ ได้แก่ ตะหลุย ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือปั่นด้าย มีลักษณะคล้ายลูกข่างทำด้วยไม้ ด้านแหลมของตะหลุยมีแกนไม้ ที่ปลายสุดมีตะขอเหมือนเข็มฟัก (หน้า 89) เครื่องแต่งกายผู้หญิงประจำเผ่า ประกอบด้วยกางเกงขาก๊วยประดับด้วยลายปัก เสื้อคลุมตัวยาวถึงข้อเท้า ผ้าคาดเอว และผ้าโพกศีรษะ ส่วนเครื่องแต่งกายผู้ชายประกอบด้วยเสื้อหลวมตัวสั้นคอกลมป้ายทับกัน ติดด้วยกระดุมลูกตุ้มเงิน 8-10 เม็ดทางด้านขวา มีการประดับริมผ้าด้วยผ้ากุ๊นสลับสีขาว ดำ แดง หรือปะผ้าลวดลายงดงามเป็นกระเป๋า และกางเกงขาก๊วย ส่วนผ้าโพกศีรษะจะใช้ในงานพิธีเท่านั้น ส่วนคนรุ่นเก่ายังมีสวมเสื้อกำมะหยี่ในงานพิธี ซึ่งการแต่งกายของชายเย้า เมื่ออายุมากขึ้น สีสัน ก็เริ่มลดลงจนเป็นเสื้อพื้นธรรมดาในวัยชรา เครื่องแต่งกายของทั้งหญิงชาย ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มทั้งหมด ซึ่งเย้าในแต่ละท้องถิ่น ก็จะนิยมสีด้านที่ปักบนกางเกงแตกต่างกันไป เช่น เย้าในกลุ่ม เชียงราย-พะเยา-น่าน นิยมใช้เฉดสีแดงมากกว่าสีอื่นๆ กลุ่มเชียงใหม่-เชียงราย นิยมใช้สีอื่นๆมากกว่าสีแดง ส่วนกลุ่มอพยพหนีภัยสงคราม นิยมใช้เฉดสีเขียวมากกว่าสีอื่นๆ (หน้า 97) นอกจากนี้แล้ว เย้าก็ยังมีเครื่องประดับต่างๆ ซึ่งส่วนมากเป็นเครื่องเงิน เช่น ห่วงคอ ต่างหู กำไลแขน สร้อยแขน เข็มกลัดที่หน้าอก และเครื่องประดับผ้าโพกศีรษะ เป็นต้น ส่วนเด็กชายหญิงเย้าส่วนมากมักแต่งกายเหมือนคนพื้นราบ นอกจากในฤดูหนาว พ่อแม่จะให้เด็กใส่เสื้อหรือกางเกงแบบเย้าเพื่อความอบอุ่น (หน้า 32-33)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

เมื่อการท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเย้า เย้าก็ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงลวดลายปักบนผ้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีการปรับปรุงลวดลายและสีสันให้เป็นไปตามความต้องการของนักท่องเที่ยว หรือผู้ที่สั่งทำขึ้น ไม่ได้เป็นการปักลายเพื่อนำไปประกอบกับชุดประจำเผ่าดังเช่นเดิม (หน้า 73) รวมไปถึงขั้นตอนกรรมวิธีเตรียมการปักผ้า เช่นการย้อมสีเส้นด้าย ก็เป็นการซื้อเส้นด้ายที่มีสีสันสำเร็จรูปมาใช้ในการปัก ส่วนผ้านั้น จากที่เคยทอใช้เองในครัวเรือน ก็เปลี่ยนไปติดต่อซื้อผ้าของไทลื้อ แล้วนำมาย้อมด้วยสีจากต้นฮ่อม ซึ่งในปัจจุบันก็เปลี่ยนมาใช้สีวิทยาศาสตร์แทน (หน้า 75-76) ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การคมนาคม และแม้กระทั่งการท่องเที่ยว

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

การปักผ้าของเย้าแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.การจับเข็ม เย้าใช้นิ้วกลางเข้ามาช่วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ในการปักผ้า โดยเวลาปัก จะวางเข็มให้ทำมุมกับผ้าแคบที่สุด 2.การสนเข็ม 3.การจับผ้า เย้าปักผ้าจากด้านหลัง และใช้หัวแม่มือจับด้านหลังของผ้าแล้วใช้นิ้วมือทั้งสี่รองด้านล่างไว้ 4.การนับเส้นฝ้าย ผู้ปักจะต้องนับจำนวนเส้นฝ้ายของแต่ละลายได้ เพราะการสอยเข็มผ่านเส้นฝ้ายจำนวนต่างกัน ก็จะเกิดลวดลายแตกต่างกันไป การปักลวดลายแบบดั้งเดิมหรือลายที่ปักอยู่บนชุดประจำเผ่า จะเป็นลายที่มีตำแหน่งเฉพาะ ซึ่งระเบียบแบบแผนการปักลายผ้าเป็นความรู้ที่ลูกสาวได้รับการถ่ายทอดมาจากแม่หรือคนรู้จักที่เป็นผู้หญิงในหมู่บ้านเดียวกัน ดังนั้นลวดลายปักของเย้าแต่ละกลุ่ม จึงอาจจะมีแตกต่างไปบ้างในรายละเอียด และลายปักบางลายก็มีความหมายในตัว เช่น ลายฟามชิง มีความหมายเกี่ยวข้องกับการนับถือภาพผีใหญ่ ซึ่งเป็นภาพวาดเทพยดาและเทพเจ้าต่างๆ 17 ภาพ แต่จะมีภาพที่สำคัญที่สุด 3 ภาพ เรียกว่า ฟามชิง, ลายบ่งเบียวทิว (ลายเมล็ดข้าว) มีความหมายเกี่ยวข้องกับพืชผล เป็นต้น (หน้า 88-104)

Text Analyst ชมพรรณ จันทิมา Date of Report 18 ส.ค. 2557
TAG เย้า, การปักผ้า, การถ่ายทอด, ประวัติความเป็นมา, เชียงราย, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง