สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject อีก้อ,สังคม,เศรษฐกิจ,ผู้หญิง,ภาคเหนือ
Author ละเอียด ชอบธรรม
Title รายงานบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของสตรีชาวเขาเผ่าอีก้อ
Document Type รายงานการวิจัย Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity อ่าข่า, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 76 Year 2523
Source ศูนย์วิจัยชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย
Abstract

สังคมอีก้อ ยกย่องสตรีเพราะถือว่าสตรีคือผู้ให้กำเนิดผู้สืบเผ่าพันธุ์ อีก้อถือว่าความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องอิสระเสรี ขึ้นอยู่ กับความสมัครใจรักใคร่ของเจ้าตัวเป็นใหญ่ บทบาททางสังคมและเศรษฐกิจของสตรีชาวเขาเผ่าอีก้อ ในแต่ละช่วงวัยและสถานภาพทางสังคมมีบทบาทที่ต่างกัน ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 5 สถานภาพได้แก่ สถานภาพของเด็กหญิงอีก้อ สถานภาพ ของสตรีสาวเผ่าอีก้อ สถานภาพของสตรีหม้ายหรือสตรีที่หย่าร้าง สถานภาพของการเป็นลูกสะใภ้และสถานภาพของสตรีที่ เป็นภรรยาของหัวหน้าครัวเรือน เหตุที่แต่ละสถานภาพมีบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจที่ต่างกัน ผลโดยมากเกิดจากปัจจัย ทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ วุฒิภาวะและสถานภาพทางสังคมของบุคคลที่ต่างกัน

Focus

ศึกษาถึงบทบาทและสถานภาพของสตรีชาวเขาเผ่าอีก้อ ทั้งบทบาทที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ทัศนคติ และบทบาทของสตรีในแต่ละวัยและในแต่ละสถานภาพ

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

อีก้อ เรียกตนเองว่า "อะข่า" คนไทยและไทยใหญ่เรียก "ก้อ" หรือ "อีก้อ" ลาวเรียกว่า "ข่าก้อ" จีนและเวียตนามเหนือเรียกว่า "ฮานี้"หรือ "โวนี"

Language and Linguistic Affiliations

อีก้อมีภาษาพูดของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน ภาษาอีก้อจัดอยู่ในตระกูลภาษาธิเบต - พม่า กลุ่มโลโล - พม่า สาขาโลโล ลักษณะภาษาคล้ายคลึงกับภาษามูเซอและลีซอมาก คำบางคำมีรากศัพท์มาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาจีน พม่า ไทยใหญ่และไทยภาคเหนือ (หน้า 4)

Study Period (Data Collection)

ธันวาคม พ.ศ.2521 - กันยายน พ.ศ.2522

History of the Group and Community

อีก้อสืบเชื้อสายมาจากชนชาติโลโลในจีนตอนใต้ เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว มีอาณาจักรอิสระอยู่บริเวณต้นแม่น้ำไทฮั้วสุย ในแคว้นธิเบต ต่อมาถูกชนชาติอื่นรุกรานจนต้องร่นมาทางใต้ อยู่บริเวณภูเขาสูงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะมณฑลยูนนาน แคว้นสิบสองปันนาและในมณฑลไกวเจา ต่อมาได้อพยพมาอยู่ในแคว้นเชียงตุง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แคว้นหัวโขงทางตะวันตกของพม่าและแคว้นพงสาลีทางเหนือของลาว เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว อีก้อได้กระจายตัวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่ (หน้า 3)

Settlement Pattern

บ้านของหยื่อมะหรือผู้นำทางพิธีกรรมอยู่ตรงศูนย์กลางของหมู่บ้าน โดยมีบ้านของชาวบ้านธรรมดาอยู่รอบๆ และมีทางเดินผ่านกลางหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยังมีลานพิธีกรรมและเป็นที่เล่นของเด็กๆ (หน้า 4) อีก้อจะสร้างเรือนแบบยกพื้นมีเสา บางหลังจะสร้างอยู่บนลาดเขาโดยส่วนหน้าอยู่บนเสา ส่วนด้านหลังจะติดอยู่กับพื้นดิน โครงสร้างทั้งหมดของเรือนจะใช้ไม้จริงหรือไม้ไผ่โดยมีตอกผูกยึด พื้นทำด้วยฟากหรือไม้กระดาน ฝาเรือนทำด้วยไม้ไผ่ สับฟาก หลังคามุงด้วยหญ้าคา องค์ประกอบของเรือน ได้แก่ ชานบ้านด้านหน้า จากชานบ้านเข้าสู่ประตูจะเป็นห้องนอน ของฝ่ายชายและใช้ส่วนนี้เป็นที่รับแขก ถัดไปจะเป็นห้องนอนของฝ่ายหญิงโดยมีฟากกั้นระหว่างห้อง ทั้ง 2 ห้องจะมีเตาไฟ ห้องละ 1 เตา ใกล้ประตูหลังบ้านจะมีเตาไฟสำหรับประกอบอาหารอีก 1 เตา ส่วนหิ้งผีบรรพบุรุษจะแขวนที่ห้องฝ่ายหญิง (หน้า 5)

Demography

หมู่บ้านแสนสุข มีประชากรทั้งหมด 40 หลังคาเรือน 230 คน จำแนกเป็นชาย 111 คน หญิง 119 คน (หน้า 1) ชาวเขาเผ่าอีก้อที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศต่างๆ มีประชากรรวมกันประมาณ 500,000 คน สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีอีก้ออยู่ทั้งหมด 136 หมู่บ้าน 3,064 หลังคาเรือน 18,864 คน อยู่ในจังหวัดเชียงราย 131 หมู่บ้าน 2,967 หลังคาเรือน 18,251 คน จังหวัดเชียงใหม่มี 2 หมู่บ้าน 52 หลังคาเรือน 315 คน จังหวัดลำปางมี 2 หมู่บ้าน 27 หลังคาเรือน 160 คน และอยู่ในจังหวัดแพร่ 1 หมู่บ้าน 27 หลังคาเรือน 137 คน(หน้า 3)

Economy

ประชากรในหมู่บ้านแสนสุข ส่วนใหญ่มีอาชีพทำข้าวไร่ งา ข้าวโพด ถั่วเหลือง พริก ข้าวฟ่าง ผักและพืชต่าง ๆ หาของป่า เลี้ยงสัตว์ งานหัตถกรรมในครัวเรือนและการรับจ้างตามหมู่บ้านคนไทยใกล้เคียงและศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา จังหวัดเชียงราย อีก้อประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพไปวัน ๆ มิได้คิดสะสมหรือขยายฐานะแต่อย่างใด คิดเพียงว่าทำอย่างไรจึงมีกินมีใช้ตลอดปี มีสัตว์เลี้ยงในการประกอบพิธีกรรมและมีเครื่องนุ่งห่มเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน (หน้า 2,8-12) อีก้อมีการแบ่งงานทำระหว่างชายหญิง โดยงานหนักจะถือเป็นงานของผู้ชาย ส่วนงานเบาจะเป็นงานของผู้หญิง เช่น ในการปลูกข้าว ผู้ชายจะเป็นผู้ขุดหลุม ส่วนผู้หญิงจะหยอดเมล็ดข้าว เป็นต้น นอกจากนี้ การปลูกพืชผสมในไร่ข้าว การเลี้ยงสัตว์ ปั่นด้าย ตัดเย็บเสื้อผ้าตลอดจนงานเรือนต่าง ๆ ยังถือเป็นงานเฉพาะของสตรีอีกด้วย (หน้า 19-25)

Social Organization

เป็นสังคมกึ่งเร่ร่อนมีการอพยพโยกย้ายบ่อย ทุกคนในหมู่บ้านมีอิสระในการดำรงชีวิตภายใต้กฎแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างทัดเทียมกัน อีก้อเป็นพวกสืบสายโลหิตทางบิดาเป็นสำคัญ ผู้ชายทุกคนต้องมีความรู้ในเรื่องความเกี่ยวดองของทั้งฝ่าย ตนและฝ่ายภรรยา สกุลของอีก้อมีความสำคัญหลายประการ เช่น เป็นข้อกำหนดการแต่งงานซึ่งห้ามแต่งงานระหว่างคนในสกุลเดียวกัน ถ้าจะแต่งต้องสืบเชื้อสายห่างกัน 7 ชั่วคน ในการจัดพิธีศพ จัดตามความเชื่อว่าขวัญของผู้ตายสกุลใดก็จะต้องไปอยู่ ตามที่อยู่ของสกุลนั้นๆ เป็นต้น ในหน่วยครัวเรือนหนึ่งจะมีหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูกสาวที่ยังมิ ได้แต่งงาน ลูกชาย ลูกสะใภ้และหลานๆ ลูกชายและลูกสะใภ้จะหลับนอนกันในเรือนใหญ่มิได้ แต่จะมีบ้านหลังเล็กๆ อยู่หลัง บ้านใหญ่ไว้หลับนอน ในบ้านหลังใหญ่จะมีห้องผีบรรพบุรุษไว้บูชาร่วมกัน คนที่มีอำนาจในครัวเรือนคือคนที่เป็นสามี (หน้า 6) แต่ก็ยกย่องผู้หญิงในฐานนะผู้ให้กำเนิด (หน้า 33)

Political Organization

สังคมของอีก้อ มีความอิสระในการปกครองตนเอง ซึ่งประกอบด้วยผู้อาวุโส 3 คน เป็นอย่างน้อย ชายที่อาวุโสที่สุดเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำหน้าที่เสมือนกับหัวหน้าพิธีกรรมของครอบครัว เป็นผู้ควบคุมและตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงการเป็นตัวแทนติดต่อกับคนภายนอกและตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ (หน้า 6,8)

Belief System

การเกิด อีก้อเชื่อว่า อีก้อทุกคนจะมีผีประจำตัวแม่หรือผีผู้สร้างเด็ก ผีจะอนุญาตให้สตรีใดตั้งครรภ์ได้ก็โดยปล่อยน้ำมาจากทะเลสาบเด็กๆ (Lake of Childrens) รกของเด็กจะใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกยาวประมาณ 1 ศอกใส่และนำไปฝังใต้ถุนบ้านติดกับเสาเอก เมื่อฝังเสร็จ เอาน้ำร้อนรดปากหลุม ใช้พริกป่นผสมขี้เถ้าโรยบนหลุมจนมองไม่เห็นดินเพื่อกันผีร้ายมารบกวนและกันสัตว์มาขุดคุ้ย ในกรณีที่เด็กเกิดมาปกติ จะมีการเรียกขวัญเข้าสู่ร่างและเอาด้ายผูกข้อมือรับขวัญไว้ และนิยมนำเขี้ยวเสือผูกไว้ที่คอเด็ก โดยเชื่อว่าจะทำให้เด็กมีพลังมากและช่วยป้องกันผีร้าย แต่ถ้าเด็กเกิดแล้วตายภายในวันเดียวหรือภายใน 2 - 3 วัน อีก้อเชื่อว่า ผีเอาเด็กกลับคืน (หน้า 13 - 16 ) เทศกาลที่มีการประกอบพิธีของเผ่า ปีละ 9 ครั้ง อาทิเช่น - พิธียะอุผิ จัดขึ้นราวปลายเดือนเมษายนของทุกปี จัดขึ้นเพื่อเอาใจผีใหญ่ "อะเพออะพี" แต่ละครอบครัวจะนำไข่ 1 ฟองมาต้มเพื่อทำพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษหรือผีใหญ่ ทุกคนจะหยุดงานในไร่และหยุดตำข้าว - พิธีส่งผี "ขะแหยะแหยะ" จะจัดในเดือนตุลาคมเมื่อสิ้นฤดูฝนของทุกปี เหตุที่ต้องจัดพิธีนี้เพราะมีความเชื่อว่า ในฤดูฝนที่ผ่านมานั้นแม้จะมีประตูหมู่บ้านคอยป้องกันผีร้าย แต่ก็อาจมีผีเล็ดลอดมากับฝนและลม ดังนั้นชาวบ้านจึงต้องช่วยกันขับไล่ผีให้ออกไปจากหมู่บ้าน (หน้า 22) การปลูกข้าวโพดในไร่ข้าวของชาวอีก้อนั้น มีข้อห้ามมิให้ปลูกตรงเขตรอยต่อระหว่างไร่ที่ต่างเจ้าของกัน เพราะเป็นการแสดงถึงเจ้าของไร่หนึ่งไปได้ภรรยาที่เลิกร้างกันแล้วของอีกเจ้าของหนึ่งเป็นภรรยา อีก้อนิยมปลูกหัวเผือกและขิงไว้ในไร่ก่อนถางไร่เพราะผีร้ายกลัวหัวเผือกและขิงจึงพากันหนีไปหมด (หน้า 30) ประเพณีการเปิดทางพรหมจรรย์ โดยเด็กหนุ่มจะมีหญิงสาวโสดหรือม่ายวัยกลางคนเรียกว่า "คะจีมิดะ" ส่วนหญิงสาวจะมีชายที่แต่งงานแล้วแต่เป็นหม้ายเรียกว่า "คะจียะดะ" หรือ "ปู่จี" เป็นผู้สอนวิธีการพลอดรักให้ก่อน อีก้อเชื่อว่าจะเริ่มมีประจำเดือนเมื่อ ได้เปิดทางพรหมจรรย์แล้วประมาณ 1 ปี คือหลังจากได้เสียกับเพศตรงข้ามแล้ว 1 ปี (หน้า 34 - 35) สังคมอีก้อมีการทำเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามที่ตนรัก เช่น การเอาขี้ผึ้งจากโพรงไม้มาเสกแล้วนำไปป้ายที่เสื้อผ้าหรือที่ผมของสตรี เป็นต้น (หน้า 37) อีก้อมีข้อห้ามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ ตัวอย่างเช่น ห้ามเกี้ยวพาราสีในบ้านเพราะถือว่าเป็นการไม่เคารพต่อผีบรรพบุรุษ ห้ามร่วมประเวณีในไร่ข้าวเพราะจะทำให้ผีข้าวโกรธ ไม่ร่วมประเวณีในยุ้งข้าวหรือระเบียงยุ้งข้าวเพราะครอบครัวจะไม่มีข้าวกินและจะโดนปรับไหมถ้าถูกพบ เป็นต้น (หน้า 38-39) อีก้อเชื่อว่าถ้าชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้ทำพิธีแยกสกุล เขาจะเป็นหมัน เป็นคนบาปและอายุสั้น ถ้ามีลูกจะเป็นใบ้หรือโง่ (หน้า 41) พิธีแต่งงาน จะมี 3 วันโดยจะจัดที่บ้านฝ่ายชาย ฝ่ายชายจะเป็นผู้จัดการเรื่องอาหารและสิ่งของทั้งหมดในการแต่งงาน โดยปกติญาติฝ่ายหญิงจะไม่ไปร่วมพิธีเพราะถือว่า การยกลูกสาวให้ ถือเป็นการสูญเสียของครอบครัวและเมื่อแต่งงานแล้วสตรีอีก้อจะต้องไปอยู่กับครอบครัวของสามี (หน้า 42,50) สตรีมีครรภ์มีข้อห้ามที่เข้มงวดต่างๆ มิให้เข้าไปในบ้านของผู้ที่มีผีแรง เช่น บ้านของหัวหน้าพิธีกรรม บ้านหมอผี เพราะเชื่อว่าอำนาจผีจะทำให้เด็กไม่ได้เกิด ห้ามมิให้ดูจันทรุปราคาหรือสุริยุปราคาและจะไม่กินข้าวนอกชานบ้านเพราะถือว่าเป็นลางไม่ดี (หน้า 54)

Education and Socialization

เด็กชายจะมีพี่ชายหรือบิดาเป็นคนชักนำให้รู้จักหลับนอนกับหญิงสาว ส่วนมารดาจะคอยเตือนมิให้เด็กรุ่นสาวไปได้เสียกับชายหนุ่ม (หน้า 34)

Health and Medicine

อีก้อไม่มีหมอตำแยอาชีพ ผู้ที่ทำคลอดจะเป็นสตรีอาวุโสที่ผ่านการมีลูกมาแล้วและเป็นเครือญาติของหญิงหรือสามีของหญิงนั้นสตรีที่อาวุโสที่สุดหรือผู้เป็นย่าจะเป็นหัวหน้าทำคลอดให้ถือว่าเป็นตำแหน่งเกียรติยศและจะเป็นผู้ตั้งชื่อให้เด็กทันทีที่เด็กเกิด (หน้า 57)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ผู้หญิงอีก้อที่พบทั่วไปในประเทศไทย ไว้ผมยาวหวีแสกกลาง ป้ายลงมาปรกใบหูทั้งสองข้าง นำไปรวมกันตรงต้นคอแล้วตวัดปลายม้วนขึ้นเป็นก้อนกลมเป็นกระจุกบนศีรษะด้านหลังแล้วสวมหมวกทรงสูงรูปกรวยคว่ำ อีก้อลอมี บริเวณดอยผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นพวกที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนา จะสวมหมวกทรงห้าเหลี่ยมทำด้วยโลหะ ด้านหลังประดับด้วยเหรียญเงินรูปีและเงินของจีน กระดุมเงิน สายสร้อยเงินและลูกปัดทั้งใบ ส่วนพวก "ยึยอ" พบบริเวณอำเภอแม่จัน เขตติดต่อกับพม่าจะสวมหมวกคล้ายอีก้อในประเทศไทยแต่ทรงหมวกจะสูงและแหลมกว่า สำหรับ อีก้ออาเคอ ที่ดอยสะโงะ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จะทำผมต่างไปจากพวกอื่น คือ จะถักเปียเล็กๆ เป็นสิบๆ อัน รวบไว้เป็นกระจุกกลางศีรษะ ใช้ผ้าโพกศีรษะซึ่งเป็นฝ้ายทอมือสีดำใกล้เคียงกับผ้าโพกศีรษะของชาวเย้าแต่มิได้ปักลวดลาย ใช้พันศีรษะแทนการใส่หมวก สำหรับกระโปรงของอีก้อเป็นกระโปรงสีดำหลวมๆ ทำด้วยผ้าฝ้ายทอมือ นุ่งกระโปรงใต้สะดือและสั้นเหนือเข่าประมาณ 1 คืบส่วนเสื้อจะเป็นสีดำยาวทำด้วยผ้าฝ้ายทอมือแค่เอว ไม่มีกระดุมแต่เย็บติดกันตรงชายมองดูคล้ายๆ เสื้อของสตรีมูเซอ มีผ้าคาดเอวและสวมปลอกขาซึ่งทำด้วยฝ้ายทอมือเพื่อป้องกันหญ้าบาด ส่วนเครื่องประดับอื่นๆ ได้แก่ เข็มขัดคาดเอวทำด้วยหอยเบี้ย มีห่วงเงินหรือออคล้องคอ หญิงสาวจะนิยมห้อยน้ำเต้าลูกเล็กๆ ไว้ที่เอวเพื่อแสดงความเป็นสาว เด็กหญิงอีก้อที่แต่งงานแล้วจะไม่ประดับหมวกและเสื้อมากเหมือนหญิงสาวและไม่แขวนน้ำเต้าที่เอว เด็กๆ จะสวมหมวกผ้าฝ้ายสีดำทรงกะลาครอบ สำหรับหญิงสูงอายุจะสูบกล้องไม้ไผ่และกินหมากแทบทุกคน (หน้า 24 - 25) เพลง - เพลงเกี้ยวพาราสี เมื่อพบสาวหรือหนุ่มจะมีการร้องเพลง "เอ่อเข่อกุ๊" เมื่อหนุ่มไปพบหญิงสาวต่างหมู่บ้านก็จะร้องเพลงเกี้ยวที่เรียกว่า "ล่าเช่อกูเออะ" เมื่อเวลาที่ไปลานสาวกอดในเวลากลางคืนจะร้องและเต้นเพลงที่เรียกว่า "แดะข่วงเกอะ" ซึ่งมีมากมายหลายเพลง เช่น เพลงถ่องโจเล เพลงแอออกือ เพลงอะเยาะยะ เพลงโซ้โซ่โซ เป็นต้น - เพลงที่ร้องอวยพรในการกินงานเลี้ยงหรือเวลามีเลี้ยงกันในพิธีกรรมจะร้องเพลงชื่อว่า "ซะอีอี้เยอะ" (หน้า 48-49)

Folklore

การละเล่นของชาวเขาเผ่าอีก้อมีค่อนข้างหลากหลายตัวอย่างเช่น - การเล่นเดินต่อขาซึ่งเป็นการเล่นของผู้ชายโดยเฉพาะ - การเล่นเลื่อนไถลลงเนินหรือเล่นรถไถ - การเล่นซ่อนหา มีลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับการเล่นของเด็กไทยแต่มีชื่อเรียกตามเพลงที่ร้องเวลาหาตัวผู้ปิดตาอยู่โยงก่อนเล่นเกมส์ เช่น อะซูลอบ่อมือแฉะ เน่อจิเน่อยา เป็นต้น - การเล่นลูกสะบ้า ถือเป็นของสตรีสาวโดยเฉพาะ นิยมเล่นบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน การเล่นจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายละเท่าๆ กัน ผู้เล่นฝ่ายหนึ่งจะมีลูกสะบ้าคนละลูกไปยืนอยู่บริเวณเส้นที่ขีดไว้ด้านหนึ่ง และทอยลูกสะบ้าทีละคนไปที่เส้นที่ขีดไว้ตรงกันข้าม ซึ่งมีลูกสะบ้าเรียงไว้เป็นแถว ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนรออยู่นอกเส้น ถ้าผู้เล่นฝ่ายแรกทอยสะบ้าแล้ววิ่งตามลูกสะบ้าของตนไม่ทัน ลูกเลยออกนอกเส้นนี้ไป ลูกจะเป็นของฝ่ายตรงข้ามผู้เล่น คนนั้นจะต้องแพ้ออกไป คนที่สองจะมาเล่นแทน จนแพ้หมดทีม ฝ่ายตรงกันข้ามจึงจะมาเล่นแทน การเล่นสะบ้ามีหลายท่า ทุกคนถ้ามีความสามารถผ่านได้ทุกท่าก็จะได้เล่นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแพ้ (หน้า 18 - 19)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ปัจจุบันแนวโน้มของการทำการเกษตรแบบถาวรมีมากขึ้น เนื่องจากการทำเกษตรแบบเลื่อนลอยลดน้อยลง ชาวเขาจึงหันมาสนใจทำการเพาะปลูกด้วยการขุดป่าหญ้าคาและป่าเลาในพื้นที่ที่เคยทำการเพาะปลูกมาก่อน (หน้า 9) ตามปกติเด็กจะต้องเกิดในบ้านเล็ก "ยุ้มยะ" ซึ่งสร้างไว้หลังบ้านใหญ่ แต่ปัจจุบันอีก้อมีการคลอดบุตรในบ้านใหญ่ ถ้าสตรีนั้นเป็นภรรยาของหัวหน้าครัวเรือน (หน้า 57)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

รูปภาพ -ภาพจำลองบ้านหลังหนึ่งของม้ง (หน้า 54) -แผนภาพแสดงวงจรผลกระทบต่อกันและกันจากการกระทำซึ่งข้ามภพข้ามชาติ (หน้า 78) -แผนภาพแบบจำลองโครงสร้างจักวาลวิทยาเกี่ยวกับโลกมนุษย์และโลกแห่งผี (หน้า 89) รูปในภาคผนวก -การแต่งกายของม้ง (หน้า 136) -หญิงม้งขาว (หน้า 136) -พิธีกรรมสะเดาะเคราะห์ (หน้า 137) -การตำข้าวปุ้หรือฉัว (หน้า 137) -ประเพณีสงกรานต์ (หน้า 138) -กีฬาฟุตบอล (หน้า 138) -การศึกษา (หน้า 139) -พิธีกรรมศพ (หน้า 139) -การเคารพศพเพื่อบุญกุศล (หน้า 140) -การเคารพศพที่เรียกว่าการ "เป" (หน้า 140) -การแสดงความขอบคุณ (หน้า 141) -การคำนับกัน (หน้า 141) -การชี้ทางให้วิญญาณ (หน้า 142) -แคนและกลอง (หน้า 142) -สัตว์เลี้ยงที่ใช้ฆ่าในพิธีกรรม (หน้า 143) -ส่งวิญญาณสัตว์ (หน้า 143) -การเคารพศพ (หน้า 144) -หลุมศพ (หน้า 144) -จื้อเน้งจื้อใหญ่ (หน้า 145) -ศาลของผีเน้งและผีสื่อก๊า (หน้า 145) -อุปกรณ์เซ่นไหว้ผีเน้ง (หน้า 146) -สิ่งแทนของผีเน้ง (หน้า 146) -การประกอบพิธีกรรมทรงเจ้าหรืออัวเน้ง (หน้า 147) -ผีที่ประจำอยู่ในธรรมชาติ (หน้า 147) -การเซ่นไหว้ผีประจำธรรมชาติ (หน้า 148) -ภาพบรรยากาศพิธีกรรมดงเซ้ง (หน้า 148)

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 24 พ.ค. 2548
TAG อีก้อ, สังคม, เศรษฐกิจ, ผู้หญิง, ภาคเหนือ, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง