สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ,พิธีเสนตั้งบั้ง,นครปฐม
Author สานิตย์ รัศมี
Title พิธีเสนตั้งบั้ง : กรณีศึกษาดนตรีและพิธีกรรมของลาวโซ่งหมู่บ้านเกาะแรด จังหวัดนครปฐม
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ไทดำ ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ไทยทรงดำ ไทดำ ไตดำ โซ่ง, Language and Linguistic Affiliations ไท(Tai)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Total Pages 186 Year 2546
Source ปริญญาศิลปกรรมมหาบัณฑิต วิชาเอกมานุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract

พิธีเสนตั้งบั้งเป็นพิธีเซ่นไหว้ครูของหมอเสน นิยมทำในช่วงเดือน 4 เดือน 6 และเดือน 12 ทำได้เฉพาะบ้านที่มีพ่อหรือปู่เป็นผู้มีเวทมนต์สามารถรักษาไข้ ด้วยเวทย์มนต์ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีเสนตั้งบั้งที่พบมีด้วยกันอยู่ 2 ส่วนคือเครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ปี่ เสนสั้นและปี่เสนยาว เครื่องทำจังหวะได้แก่ กระบอกไม้ไผ่สำหรับกระทุ้ง แผ่นกระดานและโอ่ง บทเพลงที่ใช้ในพิธีเสนตั้งบั้งของลาวโซ่งหมู่บ้านเกาะแรดมีทั้งหมด 3 เพลงได้แก่ เพลงไหว้ครู เป็นเพลงแรกที่ต้องบรรเลงและร้องก่อนเพื่อบูชาครูและเป็นการบอกกล่าวอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีบ้านผีเรือนและครูบาอาจารย์เพื่อให้มาเข้าร่วมพิธี ซึ่งมีลักษณะคล้ายบทสวดมนต์ เพลงพื้น เป็นเพลงที่มีวัตถุประสงค์ของการจัดพิธีและบอกกล่าวผีต่างๆ ให้มารับของเซ่นไหว้ เป็นเพลงที่ตัดมาจากเพลงไหว้ครูตอนหนึ่งนำมาร้องบรรเลงซ้ำหลาย ๆ เที่ยว เพลงเซิ้ง เป็นเพลงจังหวะสนุกสนานสลับกับเพลงพื้นเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี ลักษณะของเพลงจะบรรเลงปี่เสนคลอไปกับเสียงร้องของหมอพิธี

Focus

พิธีกรรม เครื่องดนตรี และเพลงในพิธีเสนตั้งบั้งของลาวโซ่งหมู่บ้านเกาะแรด จังหวัดนครปฐม

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ลาวโซ่ง

Language and Linguistic Affiliations

ไม่มีข้อมูล

Study Period (Data Collection)

พ.ศ. 2545

History of the Group and Community

ลาวโซ่ง เป็นชนชาติไทยโบราณ ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณมณฑลกวางสี ยูนาน ตังเกี๋ยจนถึงแคว้นสิบสองจุไท บริเวณลุ่มแม่น้ำดำและแม่น้ำแดงลุ่มน้ำดังกล่าวอยู่ในเขตของประเทศเวียดนาม ติดกับประเทศลาวทางตอนใต้ของประเทศจีน อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราว พ.ศ. 2322 เป็นต้นมาการตั้งถิ่นฐานระยะแรก จะอยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดเพชรบุรีซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศใกล้เคียงกับบ้านเก่าเมืองเดิมของลาวโซ่ง ต่อมาได้อพยพออกจากพื้นที่เดิมเพราะลาวโซ่งบางกลุ่มต้องการกลับไปถิ่นเดิมจึงเดินทางกลับขึ้นไปทางเหนือ เพื่อให้ถึงแคว้นสิบสองจุไท ทำให้ลาวโซ่งกระจายอยู่ตามเส้นทางในจังหวัดต่างๆ (หน้า 24) ราวปี พ.ศ. 2441 ลาวโซ่งกลุ่มหนึ่งซึ่งตั้งหลักแหล่งบริเวณคลองในตำบลบ่อหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ได้เดินทางโดยทางเท้ามุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านทางอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ติดต่อกับอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีเดินทางข้ามแม่น้ำแม่กลองไปตามคลองดำเนินสะดวก (สมัยนั้นเป็นเพียงลำธารเล็ก ๆ) ผ่านบ้านบัวลอยแล้วเดิน ทางไปถึงทุ่งหนองผำ (บ้านเกาะแรตปัจจุบัน) ก็เดินทางข้ามแม่น้ำท่าจีนไปทางทิศตะวันออกถึงเขตคลองหนองกระทุง ตำบล บางภาษี อำเภอบางเลน ปรากฏว่าเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน จึงได้ตั้งบ้านเรือนในพื้นที่เกาะแรตจนทุกวันนี้ หัวหน้าหมู่บ้านคนแรกคือ นายทรัพย์ ครั้นในรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งนามสกุลขึ้น เพื่อระลึกถึงถิ่นเดิม คนในหมู่บ้านจึงนิยมใช้คำว่า "เพชร" นำหน้านามสกุลเพราะได้ย้ายมาจากเมืองเพชรบุรี เช่น นายทอน เพชรรุญ นายเพียง เพชรแอน เป็นต้น (หน้า 38)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

อำเภอบางเลนมีพลเมืองประมาณ 76,389 คน ตำบลบางปลามี 1,235 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 6,975 คน จำแนกเป็นชาย 3,388 คนและหญิง 3,587 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 367 คนต่อตารางกิโลเมตร (หน้า 28-29)

Economy

สภาพทางเศรษฐกิจของอำเภอบางปลา โดยมากประกอบอาชีพทำนา 83% อาชีพรับจ้าง 5% อาชีพค้าขาย 3% และอาชีพอื่นๆ 9 % (หน้า29)

Social Organization

ไม่มีข้อมูลด้านสังคม แต่ได้กล่าวไว้เล็กน้อยเรื่องการละเล่นซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์เชิงสังคนของหนุ่มสาวในหมู่บ้าน การละเล่นพื้นบ้านของลาวโซ่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่แตกต่างจากคนไทยและกลุ่มลาวกลุ่มอื่นๆ เช่นการเล่นคอน การลง ข่วงหรือการอยู่ข่วง ซึ่งเปิดโอกาสให้ชายหนุ่มได้มาเที่ยวจีบสาวและสนทนากัน (หน้า 29)

Political Organization

จังหวัดนครปฐมแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 7 อำเภอ อำเภอบางเลนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล ตำบลบางปลาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน โครงสร้างการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา มีคณะกรรมการบริหาร 3 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา 28 คนและพนักงานส่วนตำบล 3 คน (หน้า 31-32)

Belief System

ประเพณีและความเชื่อโดยมากมีรากฐานจากความเชื่อเรื่องผี แถนและขวัญ เช่น การเสนเรือน การเสนตั้งบั้ง เสนเรียกขวัญ การไหว้ศาลประจำหมู่บ้าน งานแต่งงาน การทำศพและการขึ้นบ้านใหม่ พิธีเสนตั้งบั้งของลาวโซ่ง ได้รับการสืบทอดมาจากแคว้นสิบสองจุลไททางตอนเหนือของเวียดนาม ตามประเพณีกระทำได้ทุกเดือน โดยมากนิยมทำกันในเดือน 4 เดือน 6 และเดือน 12 เพราะถือว่าเป็นเดือนร้อน และไม่นิยมทำในเดือน 9 ถึงเดือน 11 เพราะเชื่อว่าระยะนี้ผีบรรพบุรุษไปเฝ้าแถนและตรงกับฤดูทำนาจะประกอบพิธีกรรมต่อจากการเสนเรือนในตอนเช้า พิธีเสนตั้งบั้งทำได้ต่อเมื่อบ้านใดที่มีพ่อหรือปู่เป็นผู้มีเวทย์มนต์ สามารถรักษาอาการป่วย ด้วยเวทย์มนต์ได้เมื่อผู้นั้นตาย ลูกหลานจะอัญเชิญมาเป็นผีเรือน จัดหิ้งต่างหากจากผีบรรพบุรุษธรรมดาแต่อยู่ในห้องผีเรือนเดียวกัน ในโอกาสสำคัญจะถูกอัญเชิญมาร่วมพิธีกรรมหรือบอกกล่าวเหตุการณ์สำคัญและความเปลี่ยนแปลงของครอบครัวเสมือนว่าผีเหล่านั้นยังมีชีวิต (หน้า 38-39) พิธีเสนตั้งบั้งเป็นพิธีเซ่นไหว้ครูของหมอเสน นิยมทำในช่วงเดือน 4 เดือน 6 และ 12 มีขั้นตอนในการทำพิธี ดังนี้ - หมอผีเริ่มไหว้ครูเพื่อความเป็นสิริมงคล - หมอผีบอกกล่าวแถนให้รับรู้เกี่ยวกับการเซ่นไหว้มนต์ - หมอผีเชิญแถนลงมารับเครื่องเซ่นไหว้ - หมอผีทำพิธีรับขวัญมนต์ - การเลี้ยงอาหารมนต์ - การรำและการกระทุ้งกระบอกไม้ไผ่แสดงความยินดี - เชิญแถนและมนต์กลับ - เลี้ยงอาหารผู้ร่วมพิธี เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีเสนตั้งบั้งที่พบมีด้วยกันอยู่ 2 ส่วนคือเครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ ปี่เสนสั้น และปี่เสนยาว เครื่องทำจังหวะได้แก่กระบอกไม้ไผ่สำหรับกระทุ้ง แผ่นกระดานและโอ่ง บทเพลงที่ใช้ในพิธีเสนตั้งบั้งของลาวโซ่งหมู่บ้านเกาะแรดมีทั้งหมด 3 เพลงได้แก่ เพลงไหว้ครู เพลงพื้น และเพลงเซิ้ง

Education and Socialization

ตำบลบางปลามีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐ 3 แห่งได้แก่ โรงเรียนวัดบางปลา โรงเรียนวัดเกาะแรต และโรงเรียนตลาดเกาะแรต มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนตลาดเกาะแรตและโรงเรียนวัดบางปลา (หน้า 30)

Health and Medicine

มีสถานีอนามัยตำบลบางปลา ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 (หน้า 30)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ด้านวัฒนธรรมที่หมู่บ้านเกาะแรตยังคงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือ การนุ่งผ้าลายแตงโม ทำผมปั้นเกล้า ทอผ้าอยู่กับบ้านการจัดพิธีต่าง ๆ โดยมากพบในบุคคลที่อายุ 40 ปีขึ้นไป (หน้า 29) บทเพลงที่ใช้ในพิธีเสนตั้งบั้งของลาวโซ่งหมู่บ้านเกาะแรดมีทั้งหมด 3 เพลงได้แก่ เพลงไหว้ครู เพลงพื้นและเพลงเซิ้ง เครื่องดนตรีที่ใช้มีด้วยกันอยู่ 2 ส่วนคือเครื่องดำเนินทำนอง ได้แก่ ปี่เสนสั้น และปี่เสนยาว เครื่องทำจังหวะได้แก่กระบอกไม้ไผ่สำหรับกระทุ้ง แผ่นกระดานและโอ่ง การแต่งกายในพิธีเสนตั้งบั้ง หมอผีจะสวมกางเกงขายาวปลายขาแคบเรียวยาวถึงตาตุ่มเรียกว่า "ซ่วงขาฮี" ใช้ใส่ในงานพิธีเป็นผ้าฝ้ายทอด้วยมือและย้อมด้วยครามให้เป็นสีดำและย้อมด้วยมือ สวมเสื้อฮีเป็นชุดใหญ่หรือชุดพิเศษสำหรับงานพิธีในประเพณีโดยเฉพาะ การแต่งกายโดยทั่วไปของผู้เข้าร่วมพิธีเสนตั้งบั้งของหมู่บ้านเกาะแรตจะมีการแต่งกายตามประเพณีนิยมท้องถิ่น โดยมากจะแต่งกายตามสบาย ผู้สูงอายุ (อายุ 40 ปีขึ้นไป) จะแต่งกายในชุดดำ (หน้า 161)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ไม่มีข้อมูล

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ไม่มี

Text Analyst สุวิทย์ เลิศวิมลศักดิ์ Date of Report 05 พ.ย. 2555
TAG ลาวโซ่ง ไทยโซ่ง ผู้ลาว โซ่ง ไตดำ, พิธีเสนตั้งบั้ง, นครปฐม, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง