สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject ลีซู,ความรู้, การรักษาพยาบาลพื้นบ้าน, มิติทางวัฒนธรรม, การจัดการทรัพยากรชีวภาพ, แม่ฮ่องสอน
Author วิเชียร อันประเสริฐ
Title ความรู้และการรักษาพยาบาลพื้นบ้านของชาวลีซู : มิติทางวัฒนธรรมของการจัดการทรัพยากรชีวภาพ
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ลีซู, Language and Linguistic Affiliations จีน-ทิเบต(Sino-Tibetan)
Location of
Documents
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Total Pages 168 Year 2544
Source หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้แนวคิดสองประการ คือ แนวคิดว่าด้วยวิธีคิดเรื่องการรักษาพยาบาลพื้นบ้านและแนวคิดเรื่องการปรับตัวเพื่อทำความเข้าใจการจัดการทรัพยากรชีวภาพในมิติทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการกลายเป็นหมอยา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการกลายเป็นหมอยาพื้นบ้านเกิดขึ้นภายใต้องค์ประกอบสามประการคือ 1. องค์ความรู้ในการรักษาพยาบาลพื้นบ้าน 5 ชุด (ความรู้ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ, ลักษณะพืชและส่วนของพืชที่นำมาเป็นยา, ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้พืชเพื่อเป็นยา, ความรู้เรื่องระบบนิเวศของพืช และ ความรู้เรื่องระบบคุณค่า กฎเกณฑ์ และอำนาจ) 2. การเป็นหมอยาพื้นบ้านต้องอาศัยความรู้จากการปฏิบัติจริง 3. ต้องได้รับการยอมรับจากชุมชน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำผลกระทบมาสู่ชุมชน หมอยาพื้นบ้านได้ประยุกต์ตีความความเชื่อเดิมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย การปรับตัวพบว่ามี 3 ระดับคือ ระดับการจัดการ ระดับวัฒนธรรม และ ระดับวิธีคิด ซึ่งการปรับตัวทั้ง 3 ระดับ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การปรับตัวที่ยังคงยอมรับอำนาจของชุมชนและการปรับตัวที่หลุดออกจากอำนาจของชุมชน การปรับตัวของหมอยาพื้นบ้านแสดงถึงแนวคิดที่ซับซ้อนในเรื่องความรู้และสิทธิที่มิได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว เช่นเดียวกับการจัดการทรัพยากรชีวภาพที่ไม่อาจแบ่งออกเป็นระบบกรรมสิทธิ์แบบใดแบบหนึ่งอย่างเป็นเอกเทศ หากแต่ต้องคำนึงถึงมิติทางวัฒนธรรมของชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย (หน้า จ - ฉ)

Focus

1. ทำความเข้าใจระบบความรู้ และการจัดการทรัพยากรชีวภาพของลีซู 2. ทำความเข้าใจกับภูมิปัญญาในด้านการรักษาพยาบาลพื้นบ้าน และการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (หน้า 5)

Theoretical Issues

ไม่มี

Ethnic Group in the Focus

ภาษา "ลีซู" อยู่ในตระกูล Sino - Tibetan กลุ่มย่อย Tibeto - Burman หรือ Lolish มีการกระจายตัวอยู่ในเขตมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เขตรัฐฉานในประเทศพม่า บางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ในแคว้นอัสสัมของประเทศอินเดีย และอาศัยอยู่บนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 31,000 คน (หน้า 7) สำหรับลีซูที่ถูกศึกษานี้อยู่ในหมู่บ้านหน่าโข อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

Language and Linguistic Affiliations

ภาษา "ลีซู" อยู่ในตระกูล Sino - Tibetan กลุ่มย่อย Tibeto - Burman หรือ Lolish

Study Period (Data Collection)

ผู้ศึกษาเริ่มต้นเข้าหมู่บ้านหน่าโขปลายปี พ.ศ. 2540 ในฐานะของผู้ช่วยนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องการใช้สมุนไพรของชาวบ้าน หลังจากนั้นในปี 2542 จึงเข้าหมู่บ้านอีกครั้งในฐานะของนักศึกษาปริญญาโท ผู้ศึกษาใช้เวลาเข้าหมู่บ้าน 8 ครั้ง ครั้งละ 1 - 3 สัปดาห์ ตลอดช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 - ต้นปี พ.ศ. 2544 (หน้า 30)

History of the Group and Community

การเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณบ้านหน่าโข เกิดจากการอพยพโยกย้ายของลีซูหลายกลุ่ม เช่น นายหลวง เล่ายี่ป่า มีเส้นทางอพยพดังนี้ เมื่อก่อนอยู่ที่เมิงจิงต๋ง ประเทศพม่า จนอายุ 13 ปี จึงได้เข้ามาอยู่เมืองไทยที่บ้านหัวแม่คำ ต.ป่าซาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย หลังจากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่บ้านห้วยหยวก อ.เชียงดาว ต่อมาย้ายมาอยู่ที่ดอยแม่สะลอง แล้วจึงย้ายมาอยู่ที่ท่าเงาะ แล้วจึงมาอยู่ที่บ้านหน่าโข การอพยพเข้ามาเพื่อสร้างชุมชนบ้านหน่าโข ยังมีอีก 2 - 3 กลุ่ม เช่น ลีซูจากบ้านแพมบก ต.ทุ่งยาว อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน หรือกลุ่มลีซูที่ปางแบก บางส่วนได้อพยพตามเข้ามาอยู่ด้วย (หน้า 37) นอกจากนี้งานวิจัยยังได้กล่าวถึงการอพยพโยกย้ายของลีซูบ้านหน่าโขโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและระบบนิเวศ จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการย้ายเข้ามาในระดับครัวเรือนต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมของชุมชน ผู้ที่จะขอเข้ามาอยู่ต้องนำเหล้า 1 ขวดมาคุยกับคนแรกที่บุกเบิกเข้ามาเพื่อขอเข้ามาอยู่ร่วมด้วย หลังจากนั้น ผู้บุกเบิกคนแรกจะเรียกประชุมหมู่บ้านเพื่อสอบถามว่าจะให้อยู่ได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบดูว่าคนที่จะเข้ามาอยู่เป็นคนดีหรือไม่ งานวิจัยยังระบุด้วยว่าเหตุผลของการย้ายหมู่บ้านแต่ละครั้งคือ การแสวงหาพื้นที่เพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์และการหลบหลีกโจรขโมย การอพยพแต่ละครั้งต้องเข้าไปดูลักษณะของพื้นที่ก่อน เช่น พื้นที่ตั้งหมู่บ้าน พื้นที่ทำกินทั้งพื้นที่ไร่ข้าวและไร่ฝิ่น โดยจะมีกลุ่มผู้อาวุโสที่มีความรู้ในด้านดังกล่าวไปดูพื้นที่ด้วย เหตุผลในการอพยพโยกย้าย ประเด็นแรก เกิดขึ้นจากระบบการผลิต แม้ว่าลีซูจะปลูกฝิ่นแล้วนำเงินมาซื้อข้าวได้ แต่บางปีฝิ่นราคาไม่ดีก็จะมีเงินซื้อข้าวไม่ถึงปี แต่หากปลูกข้าวและทำฝิ่นร่วมกันจะได้ข้าวเพื่อดำรงชีวิตอยู่และมีฝิ่นไว้ขายเพื่อซื้อสิ่งที่ต้องการ ประเด็นที่สอง คืออพยพเพราะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย ประเด็นที่สาม คือ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ หากพื้นที่ใดอุดมสมบูรณ์สูงก็จะอยู่พื้นที่นั้นได้นาน แต่หากพื้นที่ใดมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็จะอยู่ได้ไม่นาน การอพยพโยกย้ายอาจจะอพยพทั้งหมู่บ้าน อพยพเพียงบางกลุ่มเครือญาติหรือเพียงครอบครัวเดียว อย่างไรก็ตามการอพยพแต่ละครั้งจะมีอย่างน้อยประมาณ 20 ครอบครัว ที่จพเป็นต้องมีขนาดใหญ่เช่นนี้เนื่องจากลีซูมีประเพณีที่ใหญ่โตและใช้คนร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก (หน้า 57 - 60)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

จากการสำรวจประชากรและกลุ่มเครือญาติของบ้านหน่าโข ของสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (IMPECT) ในปี 2542 พบว่า หมู่บ้านนี้มีประชากรทั้งสิ้น 306 คน มีกลุ่มตระกูลอยู่ทั้งหมด 11 ตระกูล (ดูตารางที่ 1 หน้า 34 ประกอบ)

Economy

ลีซูมีระบบการผลิตแบบตัดฟันโค่นเผา โดยใช้พื้นที่ป่าผืนใดผืนหนึ่งจนหมดความอุดมสมบูรณ์แล้วจะย้ายพื้นที่เพาะปลูก ลีซูนิยมทำการเพาะปลูกข้าว ข้าวโพด และฝิ่นเป็นพืชหลัก โดยปลูกข้าวไร่บนที่ดินแปลงเดิมเป็นเวลาประมาณ 1 - 3 ปี ในการอพยพโยกย้าย พวกเขานิยมที่จะย้ายไปอยู่ใกล้กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ เช่น กะเหรี่ยงเพื่อได้มีแรงงานราคาถูกและอยู่ใกล้กับจีนฮ่อ เพื่อทำการค้าขายด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการค้าขายจะใช้เงินแถบและฝิ่นในการแลกเปลี่ยน (หน้า 8) ระบบการผลิตของลีซูบ้านหน่าโขในอดีตเป็นการทำไร่แบบย้ายที่ (shifting cultivation) กล่าวคือ มีการตัดฟันโค่นต้นไม้ ปล่อยไว้ให้แห้งประมาณ 1 - 2 เดือน แล้วจึงเผา จากนั้นจึงจะปลูกข้าว ข้าวโพด หรือฝิ่น และเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวบ้านจะทำการผลิตในพื้นที่ประมาณ 2 - 3 ปี เมื่อปีใดผลผลิตข้าว ฝิ่น ลดลงชาวบ้านก็จะย้ายพื้นที่เพาะปลูกใหม่ในปีต่อไป โดยจะเข้าไปเปิดพื้นที่ป่าใหม่อีกครั้ง หลังจากปล่อยให้ที่ดินคืนสภาพประณ 6 - 8 ปี ชาวบ้านก็จะเข้ามาทำการผลิตซ้ำในพื้นที่เดิมอีกครั้ง (หน้า 61) นอกจากการเพาะปลูกแล้ว กิจกรรมที่สำคัญในระบบการผลิตของลีซู คือ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ ลีซูบ้านหน่าโขจะคัดเลือกเมล็ดพันธุ์เพื่อเพาะปลูกในปีต่อไป พันธุ์พืชที่ใช้คัดเลือกมีพันธุ์ข้าว ข้าวโพด ฝิ่น และพืชอื่น ๆ ที่อยู่ในระบบการผลิตของตนเอง จะคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง หลังจากคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แล้ว ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ตนเองคัดเลือกมา เช่น ข้าวก็เก็บไว้ในถุงปุ๋ยไว้ในยุ้งข้าว ข้าวโพดจะแขวนไว้ตามขื่อบ้าน ฝิ่นจะห่อผ้าไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ หากเห็นว่าเมล็ดข้าวไม่พอที่จะนำไปเพาะปลูกในปีต่อไป ก็จะนำเมล็ดข้าวอีกชนิดหนึ่งหรืออาจจะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหรือพืชอื่น ๆ ไปแลกกับพี่น้อง หรือเครือญาติ หรือกับคนที่สืบรู้มาว่าเขามีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้องการ (หน้า 64-65)

Social Organization

ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สืบเชื้อสายทางบิดา (patrilineal) ฝ่ายหญิงที่แต่งงานแล้วจะต้องใช้นามสกุลและไหว้ผีบรรพบุรุษของสามี สภาพในครอบครัวของผู้ชายมีสถานะสูงกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายจะมีหน้าที่ตัดสินใจสิ่งที่สำคัญในครอบครัว เช่น การย้ายถิ่นฐาน การตัดสินคดีความในหมู่บ้าน การติดต่อกับคนภายนอกหมู่บ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงมีอิสรภาพในการดำเนินชีวิตและตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิตของตนเองได้มาก เช่น การเลือกคู่แต่งงาน การหย่าร้างเมื่อมีปัญหาชีวิตคู่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีระบบการแต่งงานแบบ Exogamy กล่าวคือ จะต้องแต่งงานกับคนต่างตระกูลเท่านั้น หากแต่งงานในแซ่สกุลเดียวกันจะถือเป็นการผิดจารีตประเพณีอย่างร้ายแรง ดังนั้น การตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นชุมชนจะต้องประกอบไปด้วยแซ่สกุลอย่างน้อย 2 - 3 ตระกูล (หน้า 7 - 8) กลุ่มเครือญาติเป็นแหล่งข้อมูลที่มีเครือข่ายใหญ่มากกว่าชุมชนหรือหมู่บ้าน ในอดีตชาวบ้านที่เป็นพี่น้องกันจะเดินทางไปมาหาสู่กันเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน เครือญาติยังเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญของคนในตระกูล เช่น ความรู้เรื่องสมุนไพร การผลิต การตีเหล็ก เป็นต้น ความรู้เหล่านี้จะถ่ายทอดให้กับคนภายในตระกูล หรือถ่ายทอดให้กับคนนอกตระกูลอย่างมีเงื่อนไข เช่น ต้องจ่ายค่าครูก่อนถึงจะถ่ายทอดความรู้ให้

Political Organization

ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมของลีซูมีลำดับขั้น เฉพาะในความสัมพันธ์ระดับครัวเรือน เครือญาติและการนับถือผีเท่านั้น ส่วนความสัมพันธ์กับคนอื่นนอกระบบเครือญาติจะเป็นไปอย่างเท่าเทียมกันและมีความสมดุล นอกจากนี้ลีซูจะมีความภาคภูมิใจและมีเกียรติอย่างมากหากได้รับการเคารพยกย่องได้มากกว่าคนอื่นๆ แต่การได้สิ่งนี้มาจะต้องขึ้นอยู่กับการประพฤติปฏิบัติของตนเอง ไม่ได้อยู่ที่เพศ ความอาวุโส หรือเครือญาติ หรือแม้แต่การมีอำนาจเหนือคนอื่น (หน้า 7) ลักษณะการปกครองหมู่บ้านหน่าโขในปัจจุบันเหมือนกับหมู่บ้านในชนบทของประเทศไทยทั่วไป กล่าวคือ มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน สำหรับการปกครองของลีซูในอดีตนั้น การตั้งหมู่บ้านของลีซูต้องการคนที่มีความรู้ความสามารถทำหน้าที่แตกต่างกัน เช่น ฆูเดอผะ (ช่างตีมีด), หนี่ผะ (หมอผี), หมอเมืองผะ (ผู้ดูแลอาปาหมู่ฮี), ฆว่าทู (ผู้นำชุมชนตามประเพณี), โชโหม่โชตี (คณะกรรมการอาวุโส), หนี่ตีผะ (ผู้มีความชำนาญในการร้องขวัญ, มัดมือ) เพื่อช่วยกันดูแลและปกครองชุมชน (หน้า 41)

Belief System

ลีซูมีความคิดเรื่องสิทธิว่า หากใครบุกเบิกพื้นที่ป่าก่อนจะมีสิทธิเข้าไปใช้ประโยชน์พื้นที่นั้นๆ และสิทธิดังกล่าวจะติดตามบุคคลนั้นไปด้วย สามารถที่จะถ่ายทอดให้ลูกหลานเข้ามาทำประโยชน์ได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ระยะหนึ่งไม่เข้ามาทำประโยชน์ชาวบ้านคนอื่นก็สามารถขอเข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ ซึ่งสิทธิลักษณะนี้เป็น "สิทธิการใช้" ไม่ได้แสดงเป็นเจ้าของพื้นที่ เพราะพื้นที่นั้นเป็นของผี (หน้า 25) ลีซูบ้านหน่าโขนับถือสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติหรือพลังที่อยู่เหนือธรรมชาติ ลีซูเชื่อว่าสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลกนี้ขึ้น แม้แต่มนุษย์ก็ถูกสร้างมาจากสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาตินี้ ลีซูเรียกสิ่งนี้ว่า "หนี่" แปลว่า ผี หรือเทพ ซึ่งจะพบได้ทุกหนแห่ง นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า "หนี่" บางองค์หรือบางตนมีพลังอำนาจเหนือกว่าตนที่จะบันดาลให้เกิดความเจ็บป่วยได้หรือทำให้ผลผลิตตนเสียหาย ในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยหรือทำให้ผลผลิตของตนเพิ่มมากขึ้น, การประกอบพิธีกรรม การเลี้ยงดู การเซ่นไหว้จึงเป็นหนทางที่ลีซูติดต่อและขอใช้สิ่งที่ "หนี่" เป็นเจ้าของ และหากตัดไม้เพื่อทำไร่ โดยไม่ได้ขอต่อเทพที่ดูแลป่าบริเวณนั้นหรือเจ้าที่เจ้าทาง เมื่อกลับมาบ้านอาจจะป่วย บางคนอาจเป็นบ้า สติไม่ดี พูดไม่รู้เรื่อง พูดคนเดียว หากรู้ว่าทำผิดต่อผีคนใดก็สามารถที่จะแก้ไขได้โดยไปขอขมาต่อผีตนนั้น (หน้า 51 - 55) พิธีกรรมในระบบการผลิต ในทุกกิจกรรมการผลิตจะมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อติดต่อกับเทพของลีซู ด้วยเหตุผล 4 ประการดังนี้ 1. เพื่อขอใช้พื้นที่เพื่อการผลิต 2. เพื่อขอให้เทพประทานผลผลิตให้ตนมากๆ 3. เพื่อขอให้เทพคุ้มครองดูแลทั้งผลผลิตและคนที่ทำงานในไร่ 4. เพื่อแสดงการขอบคุณต่อเทพที่มอบความอุดมสมบูรณ์แก่พวกเขา (หน้า 62)

Education and Socialization

ปี พ.ศ. 2526 ทางอำเภออนุมัติให้มีโรงเรียนที่หมู่บ้าน อำเภอส่งครูมา 2 คน แต่ชาวบ้านต้องสร้างโรงเรียนกันเอง โดยสร้างเป็นศาลาที่ใช้หญ้าคาเป็นหลังคา และอีก 1 ปีต่อมาได้สร้างบ้านพักให้กับครูโดยใช้แรงงานชาวบ้าน เนื่องจากทางอำเภอไม่มีงบประมาณ จนในปัจจุบัน โรงเรียนได้มีงบประมาณสร้างอาคารเรียนที่ถาวร ในช่วงการก่อตั้งหมู่บ้านหน่าโข ประมาณปี 2522 - 2523 มิชชันนารีได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในหมู่บ้าน ในช่วงแรกมีชาวบ้านเพียง 2 - 3 ครัวเรือนที่รื้อหิ้งผีเพื่อเข้าสู่ คริสตศาสนา ในปัจจุบันมีชาวบ้านนับถือคริสต์ทั้งหมด 16 หลังคาเรือน จากทั้งหมด 60 กว่าหลังคาเรือน (หน้า 39)

Health and Medicine

ลีซูมีความเชื่อว่าความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้จากการกระทำของผี และไม่ใช่การกระทำของผี การรักษาความเจ็บป่วยที่เกิดจากการกระทำของผีจะใช้การประกอบพิธีกรรม อย่างไรก็ตาม จะต้องดูว่าความเจ็บป่วยนั้นเกิดขึ้นในระดับของสังคม แบ่งออกได้ 4 ระดับ คือ ระดับปัจเจก ระดับครอบครัว ระดับเครือญาติ และ ระดับชุมชน ส่วนความเจ็บป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของผี ชาวบ้านจะรักษาตัวเองด้วยสมุนไพรหรือไปหาหมอที่โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัย ในอดีตลีซูทุกคนจะมีความรู้เรื่องสมุนไพรเพื่อรักษาตนเองหรือคนในครอบครัว ลีซูจะพยายามรักษาตนเองให้ได้ก่อน โดยใช้ความรู้ของตนและเครือญาติ หากไม่ได้ผลก็จะไปหาหมอยาคนอื่นๆ ต่อไป เพราะการเดินทางไปสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลเป็นเรื่องลำบาก นอกจากจะเจ็บป่วยหนักจริงๆ จึงจะเดินทางไปโรงพยาบาล การรักษาพยาบาลผู้ป่วยจะมีทั้งการรักษาด้วยพิธีกรรมและการรักษาด้วยสมุนไพร การรักษาทั้งสองประเภทนี้ไม่ได้แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด แม้ว่าจะรักษาด้วยพิธีกรรมแล้วก็ตามก็ยังคงมีการใช้สมุนไพรเพื่อช่วยในการรักษาด้วย เพื่อเป็นหลักประกันว่าความเจ็บป่วยนั้นจะหายเป็นปกติได้ กระนั้นก็ตามทุกครั้งที่เกิดความเจ็บป่วยขึ้น ลีซูจะใช้พิธีกรรมในการรักษาเยียวยาตนเองก่อนเสมอ จากนั้นจึงจะใช้สมุนไพรในการรักษาพยาบาลทีหลัง (หน้า 80-82)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

ไม่มีข้อมูล

Folklore

ลีซูมีความเชื่อว่า ในอดีตเมื่อ 4,000 ปีมาแล้ว พวกเขามีอาณาจักรหรือประเทศเป็นของตนเอง แต่ต่อมาได้สู้รบกับจีนแล้วพ่ายแพ้ จึงเป็นคนไร้แผ่นดิน อพยพไปอยู่ตามส่วนต่างๆ (หน้า 7) ตามตำนานของลีซูเกี่ยวกับข้าวที่ได้เล่าสืบต่อกันมา ในอดีตนั้นโลกมีเมล็ดข้าวที่ใหญ่มากขนาดเท่าลูกฟัก เมื่อจะกินต้องเอาเปลือกออกแล้วนำมาตำให้ละเอียดจึงนำมาหุงกิน มีอยู่วันหนึ่งลูกของหญิงสาวคนหนึ่งปวดท้องอุจจาระ และได้ถ่ายออกมา เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว แม่ก็พยายามที่จะเช็ดก้นลูก เมื่อเทพแห่งข้าวเห็นก็โกรธบอกว่า ตนได้ให้ข้าวกับเจ้ากิน แต่เจ้ากลับนำมาเช็ดอุจจาระจึงเก็บข้าวไปจนหมดโลก หลังจากนั้นโลกก็อดอยาก ไม่มีข้าวกิน แต่มีลีซูคนหนึ่งรู้ว่าบนสวรรค์นั้นมีข้าวของเทวดาอยู่ และตอนนี้เทวดากำลังตากข้าวอยู่ จึงได้บอกให้สุนัขไปนอนบริเวณที่เทวดาตากข้าว สุนัขก็ตามไปที่ลีซูคนนั้นบอก เมื่อนอนจนเมื่อยแล้วก็จะลงมาสู่โลกมนุษย์ ข้าวที่ตากอยู่ก็จะติดอยู่ตามขนของสุนัขตัวนั้น เมื่อเทวดามาเห็นจึงไล่ตามเพื่อนำเมล็ดข้าวคืน แต่สุนัขก็วิ่งหนีมาอย่างรวดเร็วจนข้าวที่ติดมาตามตัวร่วงออกหมด เมื่อมาถึงโลกมนุษย์ ลีซูคนนั้นก็เข้าไปหาสุนัขและค้นหาเมล็ดข้าว ในที่สุดก็พบข้าว 3 เมล็ดอยู่ที่พวงหางของสุนัขตัวนั้น จึงได้นำมาปลูก และขยายพันธุ์ต่อมาจนมีข้าวมากมาย นับตั้งแต่นั้นมาลีซูจึงเชื่อว่าสุนัขเป็นผู้ที่ทำให้ตนมีข้าวกิน (เชิงอรรถหน้า 62-63)

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ลีซูจัดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ไม่เท่าเทียมกัน โดยมองกลุ่มว้า หรือกาลา และมูเซอร์ เป็นพวกคนป่า ซึ่งแตกต่างจากลีซูซึ่งฉลาดปราดเปรื่องมากกว่า นอกจากนี้ ลีซูเชื่อว่าตนเองนั้นมีความเหนือกว่าอาข่า อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาติพันธุ์ที่ลีซูเห็นว่าเหนือกว่าหรือไม่ด้อยกว่าตนเอง คือ คนจีน การจัดความสัมพันธ์เช่นนี้มีผลต่อการแต่งงาน โดยลีซูไม่นิยมให้ลูกสาวแต่งงานกับกลุ่มอื่นที่ด้อยกว่าตนเอง แต่จะยอมให้ผู้ชายไปแต่งงานกับกลุ่มอื่นได้ (หน้า 7)

Social Cultural and Identity Change

ในมุมมองของลีซู การใช้แรงงานเพื่อผลิตปัจจัยในการดำรงชีพนำเอาผลผลิตที่เกินความต้องการไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินแถบสำหรับเป็นสินสอดเจ้าสาวเพื่อให้ได้แรงงานเพิ่มขึ้นในครัวเรือน งานที่ใช้แรงกายเป็นงานที่หนักและเหนื่อย แต่สำหรับลีซูแล้วไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายทว่าเป็นสิ่งที่สร้างเกียรติภูมิให้กับตนเอง และถือว่าเป็นการทำงานที่แท้จริง (Real Work) ที่แสดงถึงคุณค่าหรือศักดิ์ศรีของการเป็นลีซู เมื่อเกิดปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรและการพัฒนาชาวเขาอย่างมีอคติทำให้งานที่แท้จริงลดลง งานที่แปลกปลอมเข้ามาไม่ต้องใช้แรงงานอย่างเหนื่อยยากแต่กลับมีความสำคัญมากขึ้น เช่น การเย็บผ้า การเลี้ยงดูเด็ก การดูแลบ้าน ฯลฯ งานประเภทนี้สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ชายได้น้อยกว่าการใช้แรงงานหนักในไร่ ความแปลกแยกและความตึงเครียดจึงเกิดขึ้นในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย นอกจากนี้ ในสังคมอดีตความสัมพันธ์หญิงชายมีความสมดุล ผู้ชายเปรียบเป็นสุนัข ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความคล่องตัวและกล้าหาญ เดินทางไปไหนมาไหนอย่างมีอิสระ ผู้หญิงเปรียบเสมือนช้างที่สง่างาม ทำงานหนัก และมีบุคลิกน่ายกย่อง การเปรียบเทียบเหล่านี้ไม่ได้เป็นจริงอีกต่อไป เมื่อรัฐได้เข้ามาทำลายระบบการผลิตฝิ่นของลีซู ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของเงินแถบที่จะซื้อผู้หญิงมาเป็นแรงงาน ผู้ชายเริ่มไม่มีงาน (ที่มีเกียรติ) ทำให้มีความเครียดมากขึ้นและสยบยอมต่ออำนาจจากภายนอกและไร้ศักดิ์ศรี ผู้หญิงเริ่มต้องทำงานหนักมากขึ้น มีการระบายออกด้วยการซุบซิบทางเรื่องเพศและมีลักษณะการเป็น "สุนัข" ในสัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาในอดีตแทนผู้ชายและเป็นผลให้ความสัมพันธ์ของหญิงชายตกอยู่ในภาวะแปลกแยก (หน้า 10-11) ในปี พ.ศ. 2528 เจ้าหน้าที่รัฐได้เข้ามาหมู่บ้านให้ชาวบ้านเลิกปลูกฝิ่น โดยใช้วิธีการตัดต้นฝิ่นขณะที่กำลังให้ผลผลิต ชาวบ้านหลายคนถูกจับ จนในปี พ.ศ. 2537-2538 ชาวบ้านก็เลิกปลูกฝิ่นในที่สุด และนับตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็ยากจนลงเรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว ดังนั้น การปลูกพืชอื่นทดแทนเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองของชาวบ้านจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ชาวบ้านเริ่มหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี ขิง กระเทียม แต่ก็ประสบกับความล้มเหลว เนื่องจากปลูกแล้วไม่มีใครมาซื้อผลผลิต เนื่องจากถนนหนทางไม่ดี และการจ้างรถเพื่อนำผลผลิตออกไปขายก็ไม่คุ้ม ปี พ.ศ. 2538 กรมป่าไม้ได้ประกาศให้พื้นที่บริเวณบ้านหน่าโขเป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้เข้ามาห้ามชาวบ้านบุกเบิกที่ทำกินใหม่และได้จับกุมชาวบ้านบางส่วน รัฐห้ามชาวบ้านบุกเบิกพื้นที่ใหม่และห้ามตัดต้นไม้ขนาดใหญ่ นับแต่นั้นชาวบ้านไม่กล้าบุกเบิกพื้นที่ใหม่เพราะกลัวถูกจับ ชาวบ้านพยายามปรับวิธีการผลิตของตนเอง โดยต้องปลูกข้าวและข้าวโพดบนพื้นที่เดิม ทำให้ผลผลิตลดลง จนต้องซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลงเข้ามาเพิ่มผลผลิต มีชาวบ้านออกไปขายแรงงานนอกหมู่บ้านมากขึ้น การปรับตัวเช่นนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ยั่งยืน ระบบการผลิตใหม่ของชาวบ้านกำลังประสบกับความล้มเหลว เงินที่เคยสะสมไว้กำลังร่อยหรอ ภาวะอับจนเช่นนี้เป็นแรงผลักดันให้กระทำเรื่องผิดกฎหมาย เช่น ขายยาเสพติด, มีการทำหัตถกรรมที่เป็นรูปแบบของลีซูโดยเฉพาะ รวมทั้งการซื้อสินค้าจากไนท์บาร์ซาร์เพื่อขายแก่นักท่องเที่ยว ผลกระทบจากการออกไปขายแรงงานนอกหมู่บ้านรวมทั้งการเรียนต่อในเมืองของเด็กๆ ทำให้หมู่บ้านขาดแรงงานการผลิต ทำให้ต้องจ้างแรงงานที่เป็นชาวบ้านด้วยกันเอง (หน้า 66-70) การจับกุมชาวบ้านในข้อหาบุกรุกอุทยานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อไม่ให้ขยายพื้นที่การผลิตต่อไปอีกในช่วงปี 2538 รวมทั้งห้ามไม่ให้อพยพไปอยู่พื้นที่ใหม่ ให้อยู่พื้นที่เดิม และห้ามตัดต้นไม่ใหญ่ ทำให้ชาวบ้านรับรู้เรื่องสิทธิของรัฐ (state property) มากขึ้น จากเดิมที่รู้เพียงแค่ว่า นี่คือแผ่นดินไทย (หน้า 74) การปรับตัวของหมอยาพื้นบ้านลีซู 1. การปรับตัวในระดับการจัดการ จากเดิมที่หมอยาจะรักษาคนไข้ด้วยการใช้สมุนไพรเฉพาะอาการป่วยนั้นๆ แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงเข้ามา ชาวบ้านได้แปรเปลี่ยนพืชสมุนไพรมาเป็นยาห่อ เพื่อนำออกขายสร้างรายได้ให้กับตนเอง 2. การปรับตัวทางวัฒนธรรม "การเก็บหิ้งผี" เป็นรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นการปรับตัวทางวัฒนธรรมระหว่างการเป็นหมอยากับการเป็นคนขายยาห่อ เป็นการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างสองโลก คือ โลกภายใต้ระบบจักรวาลวิทยาแบบเดิมของลีซูกับโลกในระบบทุนนิยม จากเดิมหิ้งผีครูสอดคล้องกับการดำรงอยู่ของวิถีชีวิต แต่การเข้ามาของภาวะกดดันทำให้ภาวะสับสนและความไม่เป็นระเบียบของในจักรวาลวิทยาเดิม การเก็บหิ้งผีจึงเป็นการยุติพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีครู เพื่อให้การดำรงอยู่ร่วมกันของทั้งสองโลกนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นหรือเพื่อปรับความสัมพันธ์ทางสังคมให้ฟื้นสู่ความสมดุลอีกครั้ง 3. การปรับตัวทางด้านวิธีคิด จากเดิมพืชสมุนไพรได้รับการให้คุณค่าต่อหมอยาพื้นบ้านในฐานะที่เป็น "ยา" ซึ่งถือว่าเป็น "ของสูง" และถูกกำกับด้วยชุดความรู้ที่ผ่านการเรียนรู้อย่างผีมีครู เมื่อมีความจำเป็นทางเศรษฐกิจที่ทำให้พืชสมุนไพรมาเป็นสินค้า หมอยาพื้นบ้านจึงเลือกให้ความหมายพืชสมุนไพรในฐานะที่เป็นพืชตัวหนึ่ง โดยตัดความสัมพันธ์ระหว่างพืชสมุนไพรกับผีครู เพื่อขยายสิทธิการใช้สู่สมาชิกนอกชุมชนลีซู เป็นการทำให้ความรู้ที่เกี่ยวกับสมุนไพรเป็นสินค้าเพื่อขยายสู่ระบบตลาดมากขึ้น (หน้า 162 - 163)

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้เขียนได้ใช้แผนผัง แผนที่ และแผนภาพ ดังนี้ (1) แผนที่อาณาเขตจังหวัดเชียงใหม่ (หน้า 31) (2) แผนผังสถานที่ตั้งบ้านเมืองก๊ะ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (หน้า34) (3) แผนผังของหมู่บ้านโดยสังเขป (หน้า 43) (4) แผนภูมิการสืบทอดทางพ่อ (หน้า89) (5) แผนภูมิการนับญาติ (หน้า 91) (6)แผนภาพ โครงสร้างโดยย่อของหมู่บ้านเมืองก๊ะ (หน้า 127)

Text Analyst สิทธิพร จรดล Date of Report 13 ธ.ค. 2555
TAG ลีซู, ความรู้, การรักษาพยาบาลพื้นบ้าน, มิติทางวัฒนธรรม, การจัดการทรัพยากรชีวภาพ, แม่ฮ่องสอน, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง