สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
Ethnic Groups Research Database
Sorted by date | title

   Record

 
Subject คะแมร์ลือ,ไทยเขมร, บทเพลงกล่อมเด็ก, ร้อยเอ็ด
Author อรชร ทองสตา
Title บทเพลงกล่อมเด็กของชาวไทยเขมร บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Document Type วิทยานิพนธ์ Original Language of Text ภาษาไทย
Ethnic Identity ขแมร์ลือ คะแมร คนไทยเชื้อสายเขมร เขมรถิ่นไทย, Language and Linguistic Affiliations ออสโตรเอเชียติก(Austroasiatic)
Location of
Documents
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(เอกสารฉบับเต็ม)
Total Pages 196 Year 2539
Source หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Abstract

การศึกษาวิจัยบทเพลงกล่อมเด็กของไทยเขมร บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ทำการศึกษารูปแบบและการใช้ถ้อยคำของเพลงกล่อมเด็ก และศึกษาภาพสะท้อนที่ปรากฏในบทเพลงกล่อมเด็ก ในด้านของรูปแบบและการใช้ถ้อยคำ พบว่าฉันทลักษณ์ในบทกล่อมเด็กไม่มีแบบแผนแน่นอน ฉันทลักษณ์โดยทั่วไปคล้ายเพลงพื้นเมืองจังหวัดสุรินทร์และประเทศกัมพูชา การใช้ถ้อยคำ จะใช้ถ้อยคำพื้นฐานในชีวิตประจำวัน มีการใช้คำซ้ำ คำซ้อน คำนามนัย คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำบอกลักษณะสิ่งของ สำนวนเปรียบเทียบและคำยืม เนื้อหาของเพลง มีทั้งการปลอบประโลม การขู่ และการวางเงื่อนไขให้รางวัลเด็ก สำหรับภาพสะท้อนมีทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ด้านรูปธรรม กล่าวถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสังคมเกษตรกรรม อาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์ ธรรมชาติ และบทบาทสตรี ในด้านนามธรรม สะท้อนให้เห็นความรักที่มีต่อลูก การสั่งสอนอบรม ความเชื่อของไทยเขมร ค่านิยมในการดำเนินชีวิต คุณธรรมเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การพึ่งพาอาศัย ประเพณีและพันธุกรรม (บทคัดย่อ)

Focus

วิเคราะห์รูปแบบและการใช้ถ้อยคำของเพลงกล่อมเด็กภาษาเขมร และศึกษาภาพสะท้อนที่ปรากฏอยู่ในเพลงกล่อมเด็กของไทยเขมร บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด (หน้า 4-5)

Theoretical Issues

ไม่ระบุ

Ethnic Group in the Focus

ไทยเขมร บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Language and Linguistic Affiliations

เขมรเป็นกลุ่มชนชาติที่ใช้ภาษาตระกูลมอญ-เขมร ภาษาพูดมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤตเป็นส่วนมาก (หน้า 26)

Study Period (Data Collection)

เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2535 (หน้า 6)

History of the Group and Community

- ความเป็นมาไทยเขมร กูย หรือ ส่วย เป็นชนเผ่าเขมรเดิม ส่วนอีกพวกหนึ่งถูกพวกอารยันรุกรานอพยพมาจากประเทศอินเดียมาทางแม่น้ำสาละวินเป็นบรรพบุรุษของมอญ อีกกลุ่มหนึ่งมาทางแม่น้ำโขง ตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเทือกเขาดงรักแผ่กระจายไปยังที่ราบต่ำบริเวณทะเลสาบใหญ่และชายทะเลเป็นบรรพบุรุษของเขมร มีพัฒนาการเป็นอารยธรรมขอมที่ขยายอิทธิพลมายังแถบอีสานของไทยอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และยังคงมีผู้ที่พูดภาษาเขมรอยู่จำนวนมากบริเวณอีสานใต้ จากเอกสารประวัติมหาดไทยก็เรียกคนกลุ่มนี้ว่าเขมรป่าดง หรือ ส่วยป่าดง ซึ่งได้ทำความดีความชอบด้วยการจับช้างแตกโรงไปอยู่แขวงจำปาศักดิ์มาคืนที่กรุงศรีอยุธยา จึงได้รับการพระราชทานยศให้เป็นเจ้าเมือง นอกจากนี้ยังมีการกวาดต้อนเขมรเมื่อครั้งเกิดสงครามระหว่างราชอาณาจักรไทยกับกัมพูชาในสมัยกรุงธนบุรี และที่อพยพเข้ามาเอง ส่วนมากจะตั้งถิ่นฐานในเขตสังขละ ขุขันธ์ จังหวัดสุรินทร์เป็นส่วนมาก - ความเป็นมาของไทยเขมรบ้านตาหยวก เมื่อ 190 ปีมาแล้วมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ หลวงพ่อหยวก ได้ธุดงค์มายังที่ตั้งบ้านดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ละเมาะและสัตว์ป่า ชาวบ้านกลุ่มแรกคือกลุ่มคนที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อ ได้อพยพครอบครัวเดินทางติดตามมาด้วย เห็นพื้นที่เหมาะสม อุดมสมบูรณ์ จึงได้ถากถางป่าเพื่อสร้างวัดและที่อยู่อาศัย หลังจากนั้นจึงมีผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น (หน้า 26-29)

Settlement Pattern

ไม่มีข้อมูล

Demography

บ้านตาหยวกแบ่งเป็น 2 หมู่ หมู่ที่ 1 มี 320 ครัวเรือน ประชากรชาย จำนวน 792 คน ประชากรหญิง จำนวน 836 คน รวมประชากรทั้งหมด 1,628 คน หมู่ที่ 2 มี 290 ครัวเรือน ประชากรชาย จำนวน 750 คน ประชากรหญิง จำนวน 805 คน รวมประชากรทั้งหมด 1,555 คน (หน้า 33)

Economy

ด้วยที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง การทำนาจึงเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน โดยใช้น้ำจากลำน้ำพลับพลา และหนองน้ำชื่อหนองโพธิ์ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน และมีอาชีพเสริมคือการทอผ้าไหมและเลี้ยงสัตว์ โดยนำผ้าไหมส่งออกขายในเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ (หน้า 37)

Social Organization

จากเนื้อหาในบทกล่อมเด็กบ้านตาหยวก พบระบบคิดเกี่ยวกับการแบ่งแรงงานชาย-หญิง คือ ชายที่ดีจะต้องทำมาหากิน ขยันไม่เกียจคร้าน สร้างฐานะให้ตนเอง จะต้องจักสานได้เพราะเป็นเครื่องมือทำมาหากิน และมีค่านิยมให้ลูกชายเป็นทหาร ผู้หญิงก็จะต้องทอผ้า เย็บปักถักร้อยได้ มีหน้าที่หลักในการเลี้ยงและดูแลลูก และยังต้องเป็นแรงงานในครอบครัวด้วย สำหรับชายที่จะบวชก็จะบอกให้คู่รักช่วยดูแลแม่ของฝ่ายชาย ในการแต่งงานก็จะต้องรู้จักนิสัยใจคอกันก่อน ก่อนแต่งงานก็ต้องดูวันเดือนปีเกิดของทั้งคู่ว่าสมพงศ์กันหรือไม่ ถ้าไม่สมพงศ์กันก็ไม่มีการแต่งงาน การสู่ขอ จะต้องบอกกล่าวให้ญาติฝ่ายหญิงมารวมกันและรับทราบ เมื่อถึงกำหนดวัน ฝ่ายชายจึงยกขันหมากไป (หน้า 80-83, 140-141,177) ในเพลงกล่อมเด็กยังสะท้อนถึงคุณธรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมที่เน้นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวสังคมไทยเขมรให้แน่นแฟ้น สามัคคีมาตลอด เช่น การให้แบ่งปันสิ่งของหรือข้าวแก่กัน การขอร้องหรือบอกฝากให้ดูแลสิ่งของให้ (หน้า 178-179)

Political Organization

บ้านตาหยวกแบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่ มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง 2 คน แต่ละหมู่บ้านจัดรูปแบบการปกครองแบ่งเป็นคุ้ม แต่ละคุ้มมีหัวหน้าปกครอง และมีคณะกรรมการหมู่บ้านฝ่ายต่าง ๆ (หน้า 33-34)

Belief System

จากเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อในพระพุทธศาสนา ให้สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน บูชาคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีความเชื่อเกี่ยวกับเทวดาอารักษ์ ความเชื่อในศาลพระภูมิ ไหว้พระภูมิเจ้าที่เพื่อรักษาบ้านเรือนไร่นาสวน มีความเชื่อในโหราศาสตร์ วันเดือนปีเกิด บุญวาสนา อำนาจคาถาอาคมเรื่องมหาเสน่ห์ (หน้า 168-172)

Education and Socialization

ชาวบ้านตาหยวกส่วนมากได้รับการศึกษาจากรัฐทั้งในและนอกระบบ ปัจจุบันมีโรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านตาหยวก เปิดสอนในระดับอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (หน้า 39)

Health and Medicine

มีสถานีอนามัย 1 แห่ง ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ให้บริการด้านสาธารณสุขภายในตำบลทุ่งหลวง (หน้า 39)

Art and Crafts (including Clothing Costume)

เพลงกล่อมเด็ก ถือเป็นวรรณกรรมชาวบ้านประเภทร้อยกรอง ที่ปลูกฝังการใช้ภาษาให้เด็กเป็นครั้งแรกโดยมีแม่หรือผู้หญิงทำหน้าที่เลี้ยงดูและขับกล่อมเพลงกล่อมเด็ก เพลงกล่อมเด็กภาษาเขมรบ้านตาหยวกนั้นมีจำนวน 55 เพลง มีทั้งเพลงกล่อมเด็กจริง และเพลงเจรียง (เพลงพื้นบ้าน) มาใช้เป็นเพลงกล่อมเด็ก มีเนื้อเพลงหลายลักษณะ ได้แก่ 1) เพลงที่ปลอบประโลมให้เด็กหลับ มีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมใกล้ตัวเด็ก ความรักของหนุ่มสาว การถามข่าวการพลัดพราก และเนื้อหาตลกแยบคาย 2) เป็นเพลงที่ขู่ให้เด็กหลับ 3) เพลงที่วางเงื่อนไขหรือติดสินบนให้รางวัลเด็ก (หน้า 112) การใช้ถ้อยคำ จะใช้ภาษาเขมรพื้นฐาน ที่ทุกคนฟังแล้วเข้าใจไม่ต้องแปล มีการใช้คำซ้ำ คำซ้อน คำนามนัย เพื่อความสละสลวยและความไพเราะ มีการนำภาษาไทยอีสาน หรือภาษาต่างประเทศมาใช้บ้าง และเพื่อความสมจริงก็มีการเลียนเสียงธรรมชาติ (หน้า 127) เนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น บทบาทสตรี การประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตประจำวัน อาหารการกิน สถาปัตยกรรม หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน พืช สัตว์ เครื่องดนตรี สภาพภูมิศาสตร์ และเหตุการณ์ในสังคม (หน้า 164-165) ในด้านนามธรรม จะพบในเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูก การอบรมสั่งสอน ความเชื่อ ค่านิยม และการแสดงออกทางความคิด ขนบธรรมเนียม ประเพณี คุณธรรมในการดำเนินชีวิต จิตวิทยาในการเลี้ยงดูลูก การให้ความรู้ทั่วไปและแฝงไปด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน (หน้า 187)

Folklore

ไม่มีข้อมูล

Ethnicity (Ethnic Identity, Boundaries and Ethnic Relation)

ชาวบ้านตาหยวก ยังคงรักษาเอกลักษณ์เฉพาะของตน คือ ภาษาเขมรที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และในบทกล่อมเด็ก (หน้า 36)

Social Cultural and Identity Change

ไม่มีข้อมูล

Critic Issues

ไม่มีข้อมูล

Other Issues

ไม่มี

Map/Illustration

ผู้วิจัยได้มีการนำเสนอข้อมูลด้วยการใช้ตาราง , แผนภูมิ , รูปภาพ ซึ่งจะระบุรายละเอียดดังนี้ ตาราง : ตารางที่ 1 แสดงจำนวน ประชากร พื้นที่ ความหนาแน่น และจำนวนบ้านในเขตบางขุนเทียนในปี พ.ศ.2542 หน้า 38 ตารางที่ 2 แสดงการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร ของเขตบางขุนเทียนและแขวงแสมดำ (คน) หน้า 38 ตารางที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงจำนวนบ้าน (หลัง) หน้า 39 ตารางที่ 4 แสดงการย้ายเข้า-ออกของประชากร ของเขตบางขุนเทียน (คน) หน้า 39 ตารางที่ 5 แสดงการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรมในเขตบางขุนเทียนระหว่างปีพ.ศ.2534-2538 หน้า 42 ตารางที่ 6 แสดงการเปลี่ยนแปลงครัวเรือนเกษตรกรรมในเขตบางขุนเทียนระหว่างปีพ.ศ.2534-2538 หน้า 43 ตารางที่ 7 แสดงสถิติการขอจดทะเบียนการค้ารายแขวงในเขตบางขุนเทียนปีพ.ศ.2537-2538 หน้า 44 ตารางที่ 8 แสดงจำนวนสถานประกอบการและคนงานภาคเอกชนในเขตบางขุนเทียน ปี พ.ศ.2537 หน้า 45 ตารางที่ 9 แสดงประเภทอุตสาหกรรม จำนวนโรงงาน จำนวนคนงานและเงินทุนจดทะเบียนแขวงแสมดำเทียบกับเขตบางขุนเทียน ในปี พ.ศ.2537 หน้า 45 ตารางที่ 10 แสดงจำนวนรายและพื้นที่อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ ปลูกสร้างในปี พ.ศ.2542 เรียงลำดับตามปริมาณพื้นที่รวม หน้า 54 ตารางที่ 11 แสดงค่าตัวชี้วัดคุณภาพน้ำในคลองสนามชัยปี 2542 หน้า 60 ตารางที่ 12 แสดงจำนวนประชากร และจำนวนครัวเรือนในหมู่ 2, 8 และ 9 ในปี พ.ศ.2543 หน้า 63 ตารางที่ 13 แสดงการคำนวณหาจำนวน และการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง หน้า 107 ตารางที่ 14 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและการถือผีของผู้ตอบแบบสอบถาม หน้า 110 ตารางที่ 15, 16 แสดงความถี่ของการประกอบกิจกรรมในรอบสัปดาห์จำแนกตามอายุ และอาชีพตามลำดับ หน้า 128 ตารางที่ 17 แสดงค่าตัวชี้วัดคุณภาพน้ำในคลองสนามชัยปี 2542 หน้า 155 ตารางที่ 18 แสดงลำดับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ หน้า 194 ตารางที่ 19 แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมมอญดั้งเดิม ปัจจัยด้านวัฒนธรรมมอญและปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกับรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน หน้า 201 ตารางที่ 20 การประเมินศักยภาพของพื้นที่จากรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน หน้า 212 ตารางที่ 21 การประเมินปัญหาของพื้นที่ หน้า 214 ตารางที่ 22 แสดงศักยภาพในการพัฒนาของพื้นที่ หน้า 214 แผนภูมิ : แผนภูมิที่ 1 ที่ตั้งพื้นที่ศึกษาและการแบ่งแขวงในเขตบางขุนเทียน หน้า 7 แผนภูมิที่ 2 แสดงการแบ่งเขตการปกครองในชุมชนมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 8 แผนภูมิที่ 3 ความหนาแน่นของประชากรรายเขตในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2537 หน้า 40 แผนภูมิที่ 4 การเปลี่ยนแปลงประชากรรายเขตในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ.2532-2537 หน้า 41 แผนภูมิที่ 5 การกระจายตัวของชุมชนชานเมืองในเขตบางขุนเทียน หน้า 48 แผนภูมิที่ 6 การใช้ที่ดินในเขตบางขุนเทียน ปี พ.ศ.2529 หน้า 52 แผนภูมิที่ 7 การใช้ที่ดินในเขตบางขุนเทียน ปี พ.ศ.2539 หน้า 53 แผนภูมิที่ 8 สถานที่ให้บริการสาธารณะและสถานที่ราชการในเขตบางขุนเทียน หน้า 57 แผนภูมิที่ 9 การกระจายตัวของสถานศึกษาในเขตบางขุนเทียน หน้า 58 แผนภูมิที่ 10 แสดงขอบเขตและเส้นทางคมนาคมในเขตบางขุนเทียน หน้า 68 แผนภูมิที่ 11 การใช้ที่ดินในเขตบางขุนเทียน ปี พ.ศ.2540 หน้า 69 แผนภูมิที่ 12 แสดงที่ตั้งของกลุ่มบ้านกรณีศึกษา หน้า 102 แผนภูมิที่ 13 แสดงกิจกรรมการใช้สอยอาคารในชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 161 แผนภูมิที่ 14 แสดงจำนวนชั้นความสูงอาคารในชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 162 แผนภูมิที่ 15 แสดงวัสดุก่อสร้างอาคารในชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 164 แผนภูมิที่ 16 แสดงรูปแบบบ้านเรือนในชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 166 แผนภูมิที่ 17 แสดงการแบ่งกลุ่มสิ่งปลูกสร้างภายในชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 167 แผนภูมิที่ 18 แสดงลำดับศักย์ของเส้นทางสัญจรในชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 191 แผนภูมิที่ 19 การแบ่งเขตย่อยของพื้นที่ศึกษา หน้า 209 แผนภูมิที่ 20 แสดงการแบ่งกลุ่มพื้นที่พัฒนา หน้า 217 แผนภูมิที่ 21 แนวทางการพัฒนาภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมหน้า 222 แผนภูมิที่ 22 แนวทางการพัฒนาโครงข่ายเส้นทางสัญจร หน้า 226 รูปภาพ : ภาพที่ 1 แสดงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานต่างๆ หน้า 13 ภาพที่ 2 การตั้งถิ่นฐานของชาวเมืองนาน หน้า 20 ภาพที่ 3 แนวความคิดเรื่องวัฒนธรรม หน้า 22 ภาพที่ 4 การตั้งถิ่นฐานของเผ่าบุชแมน หน้า 26 ภาพที่ 5 แสดงกรอบแนวคิดในการศึกษา หน้า 35 ภาพที่ 6 แสดงภาพโดยรอบพื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ.2517 หน้า 71 ภาพที่ 7 แสดงภาพโดยรอบพื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ.2530 หน้า 72 ภาพที่ 8 แสดงภาพโดยรอบพื้นที่ศึกษาในปี พ.ศ.2544 หน้า 73 ภาพที่ 9 แสดงโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานจากภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2496 หน้า 76 ภาพที่ 10 แสดงโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานจากภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2517 หน้า 77 ภาพที่ 11 แสดงโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานจากภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2530 หน้า 78 ภาพที่ 12 แสดงโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานจากภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2538 หน้า 79 ภาพที่ 13 แสดงโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานจากภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2542 หน้า 80 ภาพที่ 14 แสดงการเปรียบเทียบการขยายตัวของพื้นที่ปลูกสร้างระหว่างปี พ.ศ.2497-2538 หน้า 81 ภาพที่ 15 แสดงการวิเคราะห์ทิศทางการวางตัวของบ้านจากภาพถ่ายทางอากาศ หน้า 100 ภาพที่ 16 ผังกลุ่มบ้านกรณีศึกษาที่ 1 หน้า 103 ภาพที่ 17 ผังกลุ่มบ้านกรณีศึกษาที่ 2 หน้า 104 ภาพที่ 18 ผังกลุ่มบ้านกรณีศึกษาที่ 3 หน้า 105 ภาพที่ 19 ภาพขบวนแห่ศพของชาวมอญบางกระดี่ หน้า 86 ภาพที่ 20 แสดงการประกอบกิจกรรมในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มอาชีพ หน้า 133 ภาพที่ 21 แสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มอาชีพ กิจกรรม และเวลา หน้า 140 ภาพที่ 22 องค์ประกอบของวัดบางกระดี่ หน้า 173 ภาพที่ 23 แสดงที่ตั้งของศาสนสถาน สถานศึกษา และสถานพยาบาล หน้า 180 ภาพที่ 24 ความเชื่อมโยงของชุมชนกับการใช้ที่ดินโดยรอบ หน้า 185 ภาพที่ 25 แสดงสภาพการสัญจรในชุมชนมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 189 ภาพที่ 26 แสดงสภาพเส้นทางเดินเท้าในชุมชนมอญบ้านบางกระดี่ หน้า 190 ภาพที่ 27 โครงสร้างการตั้งถิ่นฐานของบ้านบางกระดี่ หน้า 196 รูปถ่าย ภาพที่ 1 การฟังธรรมเทศนา หน้า 85 ภาพที่ 2 การถือศีล หน้า 86 ภาพที่ 3 การสรงน้ำพระของฝ่ายชาย หน้า 86 ภาพที่ 4 การสรงน้ำพระของฝ่ายหญิง หน้า 86 ภาพที่ 5 การสรงน้ำพระพุทธรูป หน้า 87 ภาพที่ 6 การสรงน้ำพ่อปู่ หน้า 87 ภาพที่ 7 คอนเสิร์ตลอยชาย หน้า 87 ภาพที่ 8 การเล่นสะบ้าที่สมาคมชาวรามัญ หน้า 88 ภาพที่ 9 การแสดงรำหงส์ หน้า 88 ภาพที่ 10 การเล่าเรื่องราวของมอญ หน้า 88 ภาพที่ 11 พื้นที่ที่ทางวัดจัดให้สำหรับใส่บาตร หน้า 89 ภาพที่ 12 ชาวบ้านที่มาใส่บาตรวันออกพรรษา หน้า 89 ภาพที่ 13 การวางศาลพระภูมิ หน้า 105 ภาพที่ 14 บันไดบ้านหันลงไปทางทิศใต้ หน้า 106 ภาพที่ 15 ด้านข้างพระอุโบสถวัดบางกระดี่ หน้า 170 ภาพที่ 16 ด้านหน้าพระอุโบสถวัดบางกระดี่ หน้า 170 ภาพที่ 17 ศาลาการเปรียญในปัจจุบัน หน้า 171 ภาพที่ 18 มณฑปวัดบางกระดี่ หน้า 171 ภาพที่ 19 ศาลาท่าน้ำ และโรงครัว หน้า 172 ภาพที่ 20 สุสานท้ายวัด และโรงเก็บเรือ หน้า 172 ภาพที่ 21 ภาพมุมกว้างของวัดบางกระดี่ จากลานด้านหน้าวัด หน้า 174 ภาพที่ 22 ภาพมุมกว้างของคลองสนามชัย จากวัดบางกระดี่ หน้า 174 ภาพที่ 23 ศาลพ่อปู่ข้างมณฑป หน้า 175 ภาพที่ 24 ป้ายวัดบางกระดี่และเสาหงส์ หน้า 175 ภาพที่ 25 ศาลเจ้าพ่อบางกระดี่ที่เพิ่งสร้างเสร็จ หน้า 177 ภาพที่ 26 ศาลเจ้าแม่หัวละหานหลังใหม่และเก่าซึ่งอยู่บริเวณท้ายหมู่บ้าน หน้า 177 ภาพที่ 27 อาคารโรงเรียนวัดบางกระดี่ หน้า 177 ภาพที่ 28 ทางเข้าโรงเรียนวัดบางกระดี่ หน้า 177 ภาพที่ 29 ศูนย์บริการสาธารณสุข หน้า 178 ภาพที่ 30 ศูนย์สุขภาพชุมชน หน้า 178 ภาพที่ 31 การรวมกลุ่มหน้าร้านของชำของเยาวชน หน้า 179 ภาพที่ 32 การรวมกลุ่มกันเล่นฟุตบอลภายในที่ว่างเล็กๆ หน้า 179 ภาพที่ 33 มินิมาร์ท บริเวณปากทางเข้าชุมชน หน้า 181 ภาพที่ 34 ตลาดสดบางกระดี่ หน้า 181 ภาพที่ 35 ตลาดนัดบริเวณปากซอยบางกระดี่ หน้า 181 ภาพที่ 36 ตลาดนัดบริเวณกลางซอยบางกระดี่ หน้า 181 ภาพที่ 37 ป่าจากท้ายหมู่ 9 หน้า 182 ภาพที่ 38 การทำจากในชุมชน หน้า 182 ภาพที่ 39 นากุ้งท้ายหมู่บ้าน หน้า 183 ภาพที่ 40 เรือนพักของคนดูแลบ่อกุ้ง หน้า 183 ภาพที่ 41 มุมมองโรงงานจากชุมชน หน้า 184 ภาพที่ 42 โรงงานอุตสาหกรรมด้านข้าง หน้า 184 ภาพที่ 43 ถนนบริเวณทางเข้าชุมชน หน้า 186 ภาพที่ 44 ต้นสายรถสองแถวท้ายหมู่บ้าน หน้า 186 ภาพที่ 45 คิวรถจักรยานยนต์บริเวณทางเข้าชุมชน หน้า 186 ภาพที่ 46 ถนนด้านข้างวัดบางกระดี่ขณะปรับปรุง หน้า 187 ภาพที่ 47 ถนนสำหรับรถยนต์วิ่งด้านทิศใต้ของชุมชน หน้า 187 ภาพที่ 48 ทางสัญจรหลักในหมู่ 2 หน้า 188 ภาพที่ 49 ถนนด้านข้างโรงเรียนวัดบางกระดี่ หน้า 188 ภาพที่ 50 ทางสัญจรในหมู่ หน้า 189 ภาพที่ 51 ทางสัญจรในหมู่ 8 หน้า 188 ภาพที่ 52 ทางสัญจรในหมู่ 8 ฝั่งตะวันออกของคลองบางกระดี่ หน้า 188 ภาพที่ 53 คลองสนามชัยจากสะพานบางกระดี่ หน้า 192 ภาพที่ 54 คลองสนามชัยมองจากสะพานบางกระดี่ หน้า 192 ภาพที่ 55 การเดินทางทางน้ำในคลองสนามชัย หน้า 192 ภาพที่ 56 ซองจอดเรือริมคลองบางกระดี่ หน้า 192

Text Analyst ขนิษฐา อลังกรณ์ Date of Report 30 มิ.ย 2560
TAG คะแมร์ลือ, ไทยเขมร, บทเพลงกล่อมเด็ก, ร้อยเอ็ด, Translator -
 
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง